วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

ฉลาดเล่นเกียร์ขั้นสูง


เกียร์นั้นสำหรับคนอ่อนแออย่างนั้นหรือ? ไม่เลย สำหรับโปรมืออาชีพที่แต่ละคนมีกำลังระเบิดออกมาไม่น้อยไปกว่ารถสกู๊ทเตอร์ไฟฟ้าย่อมๆสักคันหนึ่งก็ใช้เกียร์เพื่อสร้างความได้เปรียบ เกียร์เป็นสิ่งสำคัญที่เปลี่ยนรูปโฉมของกีฬาจักรยานไปตลอดกาลตั้งแต่มันถูกคิดค้นขึ้น และเกียร์ที่ถูกสร้างมาให้รักษารอบขาและการออกแรงให้คงที่อยู่ในช่วงที่รู้สึกสบายนั้นก็ช่วยให้เราสามารถรีดเอาศักยภาพของกล้ามเนื้อออกมาได้โดยที่ไม่มีอาการบาดเจ็บและเหมาะสมกับเส้นทาง

มาลองดูสถานการณ์การเลือกเล่นเกียร์แบบโปรกัน

เนินยาวๆไม่ชันมาก
นี่คือสถานการณ์ที่"ง่ายที่สุด"แล้ว ที่ทางราบก่อนเข้าสู่ระดับความชัน นักปั่นควรอยู่ในช่วงรอบขาที่สบายซึ่งแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละคน จงจำไว้ว่าการใช้เฟืองหลังไล่ไปจะให้อัตราทดที่ละเอียดกว่าในเส้นทางแบบนี้ หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนจานหน้าอย่างกระทันหัน หากต้องการยืนปั่นให้ลดเฟืองลงเล็ก 1-2 เฟือง และกลับมานั่งปั่นที่เฟืองเดิม ไปเรื่อยๆจนสุดปลายเนินยาวนี้ การอยู่ในกลุ่มความเร็วสูงที่กำลังจะสปรินท์จบ
ข้อผิดพลาดใหญ่ของมือสมัครเล่นคือการส่งสัญญาณโทรเลขไปบอกเพื่อนในกลุ่มว่าคุณกำลังจะสรินท์ด้วยการตบเฟืองเล็กลงทันที 1-2 เกียร์ เสียงเปลี่ยนเกียร์เป็นเหมือนรหัสส่งสัญญาณบอกทุกคนว่ามีคนกำลังพร้อมจะกระชากออกไป นักปั่นที่มากประสบการณ์จะออกตัวด้วยเกียร์ที่เป็นปกติและใช้รอบขาที่มากกว่าปกติเร่งความเร็วจากนั้นค่อยๆไล่เกียร์ลงเฟืองเล็กทีละเฟือง โดยเน้นใช้รอบขาในการสร้างความเร่งออกไปแทนการใช้เกียร์หนักขึ้นแบบก้าวกระโดดแล้วพยายามส่งกำลัง หากซ้อมเทคนิคมาดี การสปรินท์แบบนี้สามารถสร้างแรงกระชากได้เร็วกว่าและไปสู่ความเร็วสูงสุดที่มากกว่า

การลงเขาด้วยความเร็วสูงและคดเคี้ยว
การลงเขาเป็นจุดแตกต่างระหว่างนักปั่นที่มีทักษะและนักปั่นมือใหม่ นักปั่นมือใหม่จะปล่อยขาฟรีลงมา ปล่อยให้แรงดึงดูดพารถลงมา แต่นักปั่นที่มีประสพการณ์จะควงขาตามด้วยเกรียร์หนักๆค่อยๆไต่ความเร็ว และใช้เกียร์ช่วยเร่งความเร็วออกจากโค้ง ซึ่งในระยะยาวๆจะสร้างความต่างได้มาก และพบว่าการออกแรงควงขาลงมาช่วยให้สามารถควบคุมรถได้ง่ายขึ้น เกียร์ที่เหมาะสมคือจานหน้าใบใหญ่และเฟืองหลังชุดเล็กๆ ค่อยๆออกแรงควงขาไปเบาๆ ไม่มีความจำเป็นต้องคอยเร่งกระชากส่งทุกครั้งเนื่องจากเป็นการลงเขาคดเคี้ยว ไม่นานก็ต้องลดความเร็วและเบรคเพื่อเข้าโค้ง ก่อนจะเข้าโค้งให้ลดเกียร์ไปเฟืองใหญ่ขึ้น 2-3 เฟือง เมื่อออกจากโค้งให้นั่งปั่นควงขาไล่เกียร์กลับมาใหม่ ทำแบบนี้ซ้ำไปเรื่อยๆจะรักษาระดับความเร็วโดยรวมได้ดีกว่าและปลอดภัยกว่า

การแข่งไครทีเรียม
ไครทีเรียม หรือการแข่งที่เน้นการเร่งสปรินท์บ่อยๆ แทนที่การทำความเร็วสูงและคงที่ นักปั่นต้องเร่งความเร็วอย่างรวดเร็วและลดความเร็วลงสลับไปเรื่อยๆตลอดเส้นทาง เกียร์ที่เหมาะสมสำหรับเทคนิคการปั่นนี้ถือว่ายากที่สุด เนื่องจากในการเร่งสปรินท์ต้องใช้เีกียร์หนักจานหน้าใบใหญ่ร่วมกับเฟืองขนาดเล็ก แต่เมื่อลดความเร็วลงความเร็วจะลดลงมามาก ดังนั้นเพื่อให้เปลี่ยนเกียร์ได้เร็วกว่าการคอยไล่เฟืองหลังไปใหญ่ขึ้น 3-4 เฟือง พบว่าเทคนิคการเล่นด้วยจานหน้าใบเล็กและเฟืองหลังเล็กลงแทนช่วยได้มากกว่า และเมื่อเข้าสู่ช่วงก่อนสปรินท์ก็เปล่ยนเฟืองใหญ่ขึ้นและสับจานหน้าขึ้นใบใหญ่เพื่อสปรินท์เร่งออกไป ทำเช่นนี้สลับไปเรื่อยๆ
สรุปได้ว่าการเล่นเกียร์อย่างชาญฉลาดคือการเข้าใจและวางแผนสถานการณ์เบื้องหน้าอย่างรอบคอบ ไม่ใช่การเปลี่ยนเกรียร์เพื่อแก้ปัญหา แต่เป็นการใช้เกียร์เพื่อสร้างสรรรค์สถานการณ์ที่เหมาะสมกับเส้นทางและร่างกายของนักปั่นเพื่อความได้เปรียบนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น