วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

เรียนรู้การใช้เกียร์

อัตราทดและการใช้เกียร์
ต่อกันตอนที่สอง หลังจากที่พอจะเข้าใจเรื่องการใช้เกียร์พื้นฐาน เรื่องค่าเกียร์เรโชกันแล้ว ตอนนี้ลองมาเลือกใช้เกียร์ให้เหมาะและเรียกเกียร์ที่เข้ากับเส้นทางกันดูนะครับ ซึ่งสถานการณ์หลักๆที่เรามักจะต้องใช้เกียร์อย่างฉลาดก็ได้แค่ เส้นทางภูเขา เส้นทางลมแรง และการขี่กลุ่มที่มีความเร็วสูงพร้อมกับมีการเร่งความเร็วบ่อยๆ ลองมาดู"เคล็ดลับ"เล็กๆน้อยๆเมื่อเจอสถานการณ์ต่างๆกันดังนี้

1.ก่อนขึ้นเขา
ทุกท่านคงเคยเจอเหตุการณ์ขี่ทางราบมาดีๆแล้วจะต้องไปขึ้นเขาอีกไม่ไกลข้างหน้า คนทั่วไปนิยมที่จะเร่งความเร็วอัดขึ้นเขาไป แล้วไปค่อยๆไล่เกียร์เปลี่ยนเบาจนกว่าจะไหวเอาบนภูเขาซึ่งเปลืองแรง และเสี่ยงที่จะเกิดอาการ"หม้อน้ำระเบิด"มาก วิธีการใช้เกียร์อย่างฉลาดคือ ก่อนถึงภูเขาลองสับจากจานใหญ่ลงมาที่จานเล็ก และไล่เฟืองไปที่เฟืองเล็กๆเอาไว้ รอบขาอาจจัดขึ้นบ้างแต่ไม่นานอัตราทดเบาๆที่ได้จะทดแทนด้วยความชันของภูเขา และสามารถไล่เฟืองหลังได้ง่ายกว่า บนเขาเมื่อรอบขาต่ำ เกียร์จะเปลี่ยนได้ช้าลงกว่าปกติ หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนเกียร์วินาทีสุดท้ายก่อนกดบันไดไม่ไหวคือทางออกที่ดีที่สุด

2.ก่อนลงเขา
บนยอดเขาหรือยอดเนินส่วนมากความชันจะลดลง และเป็นทางลงเขาต่อ ซึ่งนักปั่นส่วนมากก็มักจะหมดแรงและปล่อยรถไหลลงเขามาฟรีขาสบายๆ แต่นักปั่นที่ชาญฉลาด จะสลับจานหน้าขึ้นไปเป็นใบใหญ่ และไล่เฟืองหลังไปเฟืองใหญ่ชดเชยเอาไว้ เมื่อถึงยอดเขาก็จะ"ควงขา"ตามบันไดเบาๆ พร้อมกับค่อยๆไล่เฟืองเล็กลงเรื่อยๆ ทำความเร็วไปได้มากกว่าคนที่ปล่อยลงมาโดยไม่ปั่น ซึ่งส่งผลช่วยให้สามารถไต่เนินต่อไปได้ง่ายขึ้น หรือประหยัดแรงในการรักษาตำแหน่งได้มากขึ้น การควงขาเบาๆตามบันไดยังช่วยคลายความเครียดและกรดแล็คติกในกล้ามเนื้อได้ดีกว่าการปล่อยขานิ่งๆดีกด้วย

3.ก่อนเข้าโค้ัง
การเข้าโค้งส่วนใหญ่เราต้องลดความเร็วลงและออกจากโค้งแล้วเร่งความเร็วต่อ ซึ่งนักปั่นส่วนมากมักปล่อยให้รถความเร็วตกลง และออกจากโค้งด้วยเกียร์ที่หนักเกินไป เมื่อลดความเร็วได้แล้วลองเตรียมเกียร์ที่เบากว่าเดิมสัก 1-2 เกียร์และออกจากโค้งด้วยเกียร์ที่เบาก่อน จากนั้นเร่งความเร็วกลับขึ้นไปอีกครั้ง วิธีนี้จะทำให้รักษารอบขาและถนอมแรงได้ดีกว่าการคอยกระแทกเกียร์หนักเร่งความเร็วทุกครั้งที่ต้องเข้าโค้งหรือชลอความเร็ว

4.ยอดนักสปรินท์
สำหรับนักปั่นที่มีประสพการณ์และแรงดีๆนิยมสปรินท์เร่งความเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเร่งความเร็วจของกลุ่มหรือที่เรียกกันว่า"กระชาก" หรือการต้องการออกจากกลุ่มไปด้านหน้าแล้วเปิดช่องว่างออกไปหรือเรียกกันง่ายๆว่า"ยิง" และการสปรินท์จบสุดท้ายเพื่อเข้าไปสู่เส้นชัยที่หมาย บ่อยครั้งที่นักปั่นทรงพลังเหล่นี้นิยมที่จะใล่เฟืองไปที่เฟืองเล็กมากๆและลดรอบขาลง จากนั้นก็ใช้วิธีกระแทกแรงทั้งหมดที่มีลงไปที่บันได ผลที่ได้คืออัตราเร่งที่รุนแรง ยากต่อการไล่ตามของคนอื่น ทว่าต้องแลกมาด้วยพลังงานมหาศาลเช่นกัน ดังนั้นแต่ละคนมีปัจจัยยต่างกัน การสปรินท์จึงเป็นสิ่งที่เฉพาะตัวมากกว่า ไม่มีสูตรตายตัว

5.ลมแรงทางราบ
ลมแรงทางราบไม่ว่าจะลมสวนด้านหน้า หรือลมด้านข้าง เส้นทางแบบนี้ไม่ต่างอะไรกับเนินเขา และเพิ่มความยากหากลมนั้นมากระแทกเป็นระลอก เช่นลมทะเล หรือเส้นทางคดเคั้ยวที่ลมเปลี่ยนทิศทางบ่อยๆ การใช้เกียร์ในสถานการณ์นี้ถือว่ายากที่สุด เพราะนักปั่นต้องฉลาดเลือกใช้เกียร์ทั้งหมดที่มีสัมพันธ์กันทั้งจานใหญ่และเล็กสลับไปมาเพื่อรักษาอัตราทดเอาไว้ให้ได้คงที่ ถ้าสังเกตุดีๆจะเห็นว่าจะเปลี่ยนเกียร์ไปมาทั้งจานหน้าและเฟืองหลังทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงของลม ซึ่งต้องอาศัยความ"เก๋า"และเข้าใจรถของตนเองด้วยว่าต้องชดเชยเฟืองหลังเท่าไหร่ึงจะได้อัตราทดใกล้เดิมมากที่สุด
การใช้เกียร์เป็นเรื่องที่ไม่ยากที่จะทำความเข้าใจ แต่เป็นสิ่งที่น้อยคนที่มาเริ่มหัดปั่นจักรยานจะใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว ลแะการเลือกใช้อัตราทดเกียร์ก็เป็นอีกเรื่องที่นิยมถามกันบ่อยๆ เรา ถือว่าเป็นเืองยอดนิยมของเกียร์ก็ว่าได้ ทั้งเกียร์แบบธรรมดา 53/39 หรือเกียร์แบบ compact 50/34 และเกียร์แบบผสมอย่าง 52/36 หลายๆคนคงสงสัยว่าแตกต่างกันอย่างไรและจะเลือกใช้อย่างไรดี??ลองสังเกตุตารางประกอบทั้ง 3 ภาพ เป็นตารางแสดงเกียร์เรโช และความเร็วเทียบเคียงของล้อ 700x23 ที่รอบขา 90 รอบต่อนาทีของเกียร์ที่ได้จากชุดขับเคลื่อนทั้ง 3 แบบ

ลองพิจารณาเฉพาะชุดเกียร์เบาๆสำหรับไต่เขาผ่อนแรงขาของเกียร์ที่ได้จากจาน 39, 36 และ 34 พบว่า ที่เฟืองขนาดเท่าๆกันจาน compact มีอัตราทดเกียร์เบากว่าจานธรรมดามาก เรียกว่าที่เฟือง 28 จาน 39 ฟันยังมีอัตราทดหนักกว่าเกียร์ที่ได้จากจาน compact เฟือง 25 เสียอีก
ซึ่งความยุ่งยากของการเลือกใช้จานกับเฟืองจะอยู่ที่กรณีขึ้นเขาที่หลายๆคนมองหาอัตราทดที่ช่วยมากๆ เช่นเฟือง 32 หรือแม้แต่ทำการดัดแปลงเอาเฟือง 34 มาใช้งาน ยกตัวอย่างเช่นจานธรรมดากับเฟือง 32 ฟันจะได้อัตราทด 1.22 ซึ่งใกล้เคียงกับจาน compact เฟือง 28

ดังนั้นหากพบว่าต้องการใช้จานธรรมดาแต่อยากได้อัตราทดสบายๆแบบจาน compact ก็ควรเลือกใช้เฟือง 32 ก็จะได้อัตราทดใกล้ๆกัน แต่ความยุ่งยากจริงๆแล้วอยู๋ที่จานใหญ่ เพราะนักปั่นระดับขาแรงส่วนมากมักใช้จาน compact แล้วพบว่าไม่สามารถทำความเร็วตามกลุ่มได้ทัน ยกตัวอย่างเข่นหากเป็นการลงเขาทางไม่ชันมากแต่เป็นเนินซึมๆ ความเร็วระดับ 55-60 กม./ชม. จะสามารถใช้จานธรรมดาปั่นจาน 53 และเฟือง 11 ได้ในรอบขอประมาณ 100 รอบตอ่นาที แต่ถ้าเป็นจาน compact ต้องควงขามากกว่าอีกประมาณ 10 รอบต่อนาทีจึงจะได้ความเร็วเดียวกัน ซึ่งจะยิ่งทวีความต่างมากขึ้นเมื่อความเร็วสูงขึ้นเรื่อยๆ

แล้วอะไรคือปัจจัยที่เราจะนำมาเป็นแนวทางในการเลือกใช้ชนิดของจานหน้าได้??
...คงต้องย้อนถามนักปั่นทุกท่านว่า เกียร์จักรยานของท่านนั้นท่านได้ใช้จานหน้า 53 ฟัน กับเฟือง 11 ฟันบ่อยแค่ไหน? บ่อยคร้งพบว่านักปั่นไม่มีแรงพอจะกดเฟืองคู๋นี้ลงในทางราบปกติ จะได้ใช้ก็ต่อเมื่อปั่นลงเขาเท่านั้น ดังนั้นอัตราทดดังกล่าวแม้ว่าจะสร้าง top speed ได้สูงกว่าจานอีกสองแบบ แต่หากกดไม่ลงก็คงไร้ประโยชน์ นักปั่นแบบนี้อาจจะเหมาะกับจานแบบ compact มากกว่า ซึ่งการสำรวจพบว่ามือใหม่โดยทั่วไปเหมาะสมกับจาน 50/34 และเฟืองอัตราทดปกติมากกว่า
แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เริ่มออกทริปหรือแข่งขันเส้นทางหลากหลายมากขึ้น จาน compact ก็จะพบขีดจำกัดของความเร็วสูงสุด ดังนั้นหากนักปั่นมั่นใจว่าไม่ได้ต้องการความเร็วระดับนั้นก็ไม่มีความจำเป็นที่จะมองหาจาน 53/39 มาใช้ ส่วนนักปั่นที่ต้องการพิกัดความเร็วสูงๆทั้งจากแรงกดสปรินท์หรือการลงเขาก็ไม่เหมาะที่จะเล่นจาน compact และควรเล่นอัตราทดเฟืองใหญ่ๆมาแทนในกรณีขึ้นเขา
ส่วนจาน 52/36 นั้นเป็นอัตราผสมตรงกลางของทั้งสองกรณีและทวีความนิยมมากขึ้นในระยะ 2-3 ปีมานี้ เนื่องจากตอบสนองความต้องการของนักปั่นได้ทั้งเส้นทางราบและภูเขา มี top speed ใกล้เคียงกับจาน 53 ฟัน และผ่อนแรงช่วยบนเขาได้มาก ยิ่งถ้าจับคู๋กับเฟืองใหญ่กว่าจาน compact ก็สามารถทดแรงได้เบากว่าอีกด้วย ข้อเสียเดียวของจานกลุ่มนี้คือระยะห่างระหว่างขอบใบจานและหมุดยึดจานมีระยะทางมาก และอาจเกิดอาการ"ให้ตัว"ได้เวลาสรปนิท์แรงๆ ส่งผลให้เสียแรงส่งกำลังไปบ้างบางส่วน นักปั่นที่เป็นขาแรง ร่างใหญ่ สปรินท์ระเบิดพลังได้ดีจึงไม่นิยมจานกลุ่มนี้

เรา จึงขอให้ความเห็นปิดท้ายเรื่องการเลือกใช้อัตราทดเกียร์ว่าลองเลือกเกียร์ให้เหมาะสมกับตนเองดีที่สุด ไม่มีใครรู้ตัวเราดีไปกว่าตัวของเรา และการใช้จาน compact ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่าท่านไม่ดูโปรแต่อย่างใด เพราะปัจจุบันนี้นักแข่งระดับอาชีพเองก็ใช้จาน compact ในเส้นทางภูเขาเป็นเรื่องปกติมาหลายปีแล้ว จาน compact จึงเป็นทางเลือกที่แท้จริงแล้วเหมาะกับนักปั่นส่วนมากจริงๆ เพราะโอกาสจะสัมผัสกับความเร็วระดับ 60 กม./ชม. นั้นน้อยมาก ปีหนึ่งๆจะมีเพียงไม่กี่ครั้งที่ต้องขี่ความเร็วนี้นานๆ แถมมีอัตราทดตัวช่วยบนเขาได้อีกต่างหาก เพราะบนเขาไม่มีอะไรย่ำแย่ไปกว่าสถานการณ์"เกียร์หมด" อีกแล้ว แรงกดไม่มีเหลือ แรงใจหายยังไม่เท่าไหร่ ถ้ามาพร้อมกับสถานการณ์เกียร์หมดไม่มีเฟืองให้ไล่แล้ว ไม่นานก็จะจบลงด้วย .... เข็น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น