วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

ถอดล้อจอดรถ

ทำไมต้องถอดล้อ?? ผมเชื่อว่าที่หลายๆคนไม่ได้สนใจว่ามันจะถอดอย่างไรก็เพราะไม่รู็จะถอดมันมาทำไม แต่การถอดล้อหน้าและหลัง คือก้าวแรกที่ท่านกำลังจะกลายเป็นนักปั่นที่รักจักรยานจริงๆ เพราะเมื่อท่านถอดล้อได้เอง ท่านจะล้างจักรยานได้สะอาดขึ้น เข้าถึงซอกมุมได้มากขึ้น ท่านจะได้เห็นรอยเลอะและกลไกต่างๆชัดเจนขึ้น ที่สำคัญเมื่อยางรั่ว ท่านสามารถพอดงัดยางได้ง่ายขึ้นถ้าถอดล้อออกมาได้ แค่ก่อนจะถอดล้อเป็นเรามาดูวิธีการจอดรถที่ควรฝึกเป็นนิสัยกันกน่อ
เกียร์จักรยานทั่วไปไม่ว่าเสือหมอบหรือเสือภูเขา ในระบบการเปลี่ยนเกียร์ทั้งหน้าและหลัง(สับจานและตีนผี)จะมีสปริงโลหะทำหน้าที่ดึงการเคลื่อนไหวเอาไว้อยู่ ยิ่งเราเอาโซ่วิ่งบนเฟืองใหญ่และจานใหญ่ ก็คือการง้างสรปิงนั้นเอาไว้ตลอดเวลา เมื่อเอาเข้าเฟืองเล็กสุด สปริงจะหดตัวกลับมาในสภาพดั้งเดิมไม่มีแรงเครียด ดังนั้นวิธีการจอดจักรยานเก็บที่ดีที่สุดคือการลดแรงตึงในสปริงลง เข้าเฟืองหลังเอาไว้ที่เฟืองเล็กสุด และจานหน้าใบเล็กที่สุด สปริงของอุปกรณ์ท่านก็จะมีอายุการใช้งานยาวนาน
และที่เฟืองหลังนี้เอง คือทริคเล็กๆในการถอดล้อหลัง
แต่ยังหรอกครับเรามาหัดถอดล้อหน้ากันก่อนดีกว่า
วิธีการถอดล้อนั้นขั้นแรกที่สุด เราต้องทำการ"ง้าง"ก้ามเบรคออกเสียก่อน สำหรับ Shimano และ Sram เอามือไปหมุนลูกบิดอ้าก้ามเบรคให้กว้างขึ้น ถ้าเป็น Campagnolo เอามือกดสลักที่มือชิฟเตอร์ และหากเ)็นเบรคแบบอื่นๆเช่นวีเบรค ก็ปลอดสายเบรคออกจากตัวล็อคสายเบรค เบรคก็จะอ้าออกกว้างพอที่จะให้ยางผ่านไปได้
จากนั้น เอามือหมุนปลดสลักแกนปลดแล้วคลายน็อตที่ยึดออกพอประมาณ อย่าหมุนจนหลุดนะครับ เดี๋ยวสปริงมันจะหลุดหาย ถ้าหมุนออกมาแล้วจนคลายล็อค ก็จะดึงล้อออกได้โดยไม่ต้องใช้แรง เพียงเท่านี้ล้อหน้าก็หลุดออกมาอย่างง่ายดาย
ต่อมาคือล้อหลัง หลังจากที่เข้าเกียร์ไปที่เฟืองเล็กสุด อ้าก้ามเบรคแล้ว ก็คลายล็อคแกนปลด หมุนคลายแกนปลดออก จากนั้นยกเฟรมดึงขึ้นถอยหลังนิดหน่อย ล้อก็จะหลุดออกมาโดยง่าย ไม่ต้องเอามือไปจับโซ่เลย อย่างมากหากดึงไม่ออกจริงๆ ลองเอามือง้างขาตีนผีนิดหน่อยแล้วดึงเฟรมขึ้นเบาๆ ล้อก็หลุดแล้วครับ ปัญหาที่ถอดกันไม่ออกก็คือ ไม่ได้เข้าเกียร์ไว้ที่เฟืองเล็กสุด ตีนผีมันง้างตัวเองอยู่ โซ่มันรัดล้ออยู่ ดึงออกยาก ติดแนวตีนผี พอเราเอาไปอยู๋เฟืองเล็กสุด โซ่มันพาดเข้าล็อคอยู๋ ตีนผีหดตัวกลับและเบี่ยงตัวเองหลบแนวที่ดึงล้อออก
เวลาไม่มีล้อ อย่าวางจักรยานลงไปบนตีผีนะครับ ตีนผีเป็นส่วนที่อ่อนแอมากของรถ เบี้ยวนิดเียวเกียร์เพียร์แหลกได้เลย วางนอนลงไปเลยเบาๆดีที่สุด หรือจะจับวางตั้งเอาหัวลงบนปลายตะเกียบกับมือเบรคเอาตีนผีชูฟ้าพิงเอาไรไว้ก็ได้แต่อาจมีรอยที่มือก้านเบรค หรือจะวางกลับหัวเอาเบาะกับแฮนด์ลงพื้น แต่วิธีนี้ โซ่อาจหลุดออกมาจากจานได้ แถมโซ่อาจพลิกจนต้องมาแกะข้อโซ่ที่พันกันได้อีก (ผมจึงคิดว่าวางนอนไปดื้อๆนั่นแหละ)
เอาล่ะครับ ต่อมาคือการใส่ล้อกลับเข้าไป เราต้องเริ่มจากล้อหลังก่อนเสมอ
จับตักรยานแนวตั้งตรงปกติ เอาล้อเล็งเข้าช่องซุ้มล้อ ให้เข้าไปที่ก้ามเบรคพอดี เล็งพาดให้โซ่อยู๋บนเฟืองเล็กสุดพอดีเป๊ะ ดึงล้อเข้ามาที่หางปลาหลัง จากนั้นดึงล้ำขึ้นหรือเข้าหาเฟรม ถ้าทุกอย่างถูกต้อง ล้อจะเข้าล็อคพอดีเป๊ะ แกนปลดสองข้างเข้าที่ เฟืองและโซ่เข้าที่ แต่ถ้าเบี้ยวไปอาจเกิดอาการล้อติดก้ามเบรค หรือล้อเบียดเฟรม ก็ถอดออกแล้วเล็งใหม่ บางกรณีอาจพบว่าตีนผีแข็งมาก วิธีช่วยก็คือ ดึงล้อเข้าหาเฟรมพร้อมๆกับเอามือง้างขาตีนผีลงล่างไปพร้อมกัน โซ่จะเข้าล็อคเฟืองได้ง่ายขึ้น
จากนั้น วางลงพื้นแนวตั้ง ให้น้ำหนักรถกดลงบนแกนล้อ แล้วขันแกนปลดเข้าพอตึงมือแล้วล็อคหางแกนปลดเอาไว้ แล้วปิดก้ามเบรคเข้าที่เดิม ลองหมุนบันไดดู ถ้าทุกอย่างถูกต้อง ก็จะไม่มีปัญหาอะไร ปัญหาที่อาจเกิดเช่น

1.ใส่แล้วล้อเบี้ยวไปสีก้ามเบรค วิธีแก้คือ คลายแกนปลดออก วางรถลงพื้น เอามือบีบเบรคหลังให้แน่น แล้วล็อคแกนปลดโดยไม่คลายเบรค แล้วลองหมุนล้อดูอีกครั้งว่าสีผ้าเบรคอยู่หรือไม่

2.เฟืองล็อคล้อล็อคไม่หมุน แสดงว่าโซ่ไม่เข้าที่เฟืองเล็กเกิดขบกันอยู่ ให้ถอดล้อแล้วใส่ใหม่ ทำเองครั้งแรกๆมักจะเป็นครับ เพราะแนวล้อและโซ่ไม่ตรงกัน

3.ใส่อย่างไรก็เบี้ยว ปัญหามักมาจากการหงายรถขึ้นฟ้าแล้วใส่ล้อ เวลาหงายรถขึ้นฟ้า น้ำหนักรถไม่ได้ตกลงบนแกนล้อ ทำให้ล้อเบี้ยวไปมาได้ง่าย ดังนั้นการใส่ล้อที่ดีคือการใส่ล้อโดยให้น้ำหนักเฟรมรถกดลงบนแกนล็อคแล้วล็อคให้แน่น ล้อจะเข้าล็อคสุดไม่เหลื่อมและไม่เบี้ยว
ต่อมาก็ใส่ล้อหน้า ซึ่งง่ายมากเมื่อเทียบกับล้อหลัง..เพียงเอาล้อมา ดูให้แกนปลดอยู๋ด้านซ้ายของรถ วางตะเกียบลงบนล้อให้พอดี ขันแกนปลดให้ตึงมือแล้วปิดล็อค ปิดก้ามเบรคลง ลองหมุนดู เป็นอันเสร็จสิ้นครับ

สรุป
- จอดรถทุกครั้ง เข้าจานเล็ก เฟืองเล็กเก็บเอาไว้ดีกว่า เข้าเฟืองเล็กทุกครั้งเวลาจะจอดเปลี่ยนล้อหลัง ถอดได้ง่ายกว่า
- ถอดล้อหลัง ต้องอยู๋ที่เฟลืองเล็กสุด ถอดและใส่โดยให้โซ่อยู๋ตรงกับเฟืองเล็กสุดเสมอ มือจะไม่ต้องไปจับโซ่เลย

10 เคล็ดลับการฝึกซ้อมจักรยาน


จักรยานเป็นกีฬาและการออกกำลังกายที่อาศัยพลังใจและความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เอาชนะตนเอง แต่ไม่เพียงเท่านั้น ในการฝึกซ้อมและพัฒนาศักยภาพทั้งความเร็ว ไปจนระยะทางที่ปั่นได้ จาก 15 กม. ไปเป็น 45 กม. หรือจาก 180 กม. ไปสู่ 250 กม. ต่างก็มีปัจจัยต่างๆเข้ามาอีกมากมาย
ถ้าคุณกำลังมองหาวิธีการและโอกาสที่จะเริ่มพัฒนาการปั่นจากที่มีอยู่ หรือจะเร่ิมวางเป้าหมายไปข้างหน้าอย่างจริงจังมากกว่าขี่ๆเล่นๆยามว่าง ลองทำความเข้าใจกับปัจจัยเหล่นี้

-อุปกรณ์จักรยาน
-อาหารและพลังงาน
-เครื่องดื่มและของเหลว
-แบบฝึกและแผนการซ้ม

หรือลองดูเคล็ดลับหัวใจทั้ง 10 ประการของการฝึกซ้อมต่อไปนี้

1.ฟิตติ้ง
การขี่จักรยานที่ปรับตั้งไม่ถูกต้อง สร้างความทรมานจนการปั่นจักรยานไม่สนุก หรืออาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ หากคุณกำลังคิดจะเริ่มฝึกซ้อมหรือเพิ่มเวลาฝึกซ้อม ไม่ดีแน่หากต้องปั่นจักรยานที่ผิดขนาดหรือไม่เหมาะสมกับร่างกาย จะเป็นการฟิตติ้งพื้นฐานด้วยตนเอง หรือใช้บริการฟิตติ้งมืออาชีพทั้งแบบปกติและแบบไฮเทคก็คุ้มค่าและไม่ควรมองข้าม เลือกให้เหมาะกับงบประมาณของแต่ละคน

2.กำจัดน้ำหนักบนตัว
ไม่ว่าจะเป็นการปั่นเพื่อเดินทางสัญจร หรือเพื่อเดินทางไกล และการฝึกซ้อมของนักกีฬา ลองดูดีๆว่าคุณแบกอะไรไว้บนร่างกายมากเกินไปหรือเปล่า? ย้ายของเหล่านั้นไปอยู่ติดกับจักรยานให้หมดจะดีที่สุด ลองมองหากระเป๋าติดรถใบเล็กๆ กระเป๋าติดแฮนด์ กระเป๋าใต้อาน อุปกรณ์เหล่นี้จะช่วยให้สามารถขี่จักรยานได้สบายตัวยิ่งขึ้น เมื่อสบายและคล่องตัว ก็สามารถขี่ได้นานและสนใจกับรายละเอียดอื่นๆได้มากขึ้นเช่นกัน

3.เครื่องแต่งกายที่ดีพร้อม
เครื่องแต่งกายเป็นสิ่งสำคัญ มากกว่าแค่ความหล่อ ความสวยของนักปั่น ลองมองหาเครื่องแต่งกาย ที่เหมาะสม
กางเกงจักรยาน : กางเกงจักรยานช่วยให้คุณสามารถขี่จักรยานได้นานขึ้น บ่อยขึ้น โดยที่ไม่ต้องเสียแรงเพิ่มขึ้น เพิ่มความสบายและลดการระคายเคืองลง อย่าลืมนะครับว่ากางเกงจักรยานถูกออกแบบให้ใส่แบบไม่มีกางเกงใน
แว่นกันแดด : จักรยานเป็นกีฬากลางแจ้งที่ผู้เล่นอยู่ภายใต้แสงอาทิตย์แรงจ้าเป็นเวลานานๆ ซึ่งรังสีอุลตร้าไวโอเลทส่งผลกับจอประสาทตาและความผิดปกติของสายตาได้ แว่นจักรยานช่วยกันอันตรายเหล่านี้ รวมไปถึงลมและสิ่งแปลกปลอมที่อาจเข้าตาได้ขณะปั่น

4.ระวังหิว
การปั่นโดยทีท้องว่าง พลังงานหมด หมดแรง ถือเป็นความผิดแรกๆที่พบในนักปั่นหน้าใหม่ๆ โดยเฉพาะคนที่อยากลดน้ำหนัก ลดความอ้วน เพราะจักรยานใช้พลังงานมหาศาลในการขี่ เผาผลาญได้ไม่น้อย หากร่างกายไม่มีพลังงาน หรือไม่พร้อมจะใช้พลังงาน อาการ"หมด"ก็จะมาถึงก่อนเวลาอันสมควร

5.ดื่มน้ำและของเหลว
ศึกษาหาวิธีและปริมาณการดื่มน้ำและเครื่องดื่มต่างๆอย่างถูกต้องช่วยให้การขี่จักรยานทำได้ง่ายและนานขึ้น เมื่อขี่ได้นานและสบายแปลว่าคุณสามารถซ้อมได้มากขึ้น พัฒนามากขึ้น การซ้อม"อด"เอาไว้นั้นนอกจากจะไม่ได้อะไรมากแล้วยังทรมานสังขารตัวเองเปล่าๆอีกด้วย

6.มองหาระยะทางไกลๆ
พื้นฐานของการปั่นจักรยานก็คือความอึด ทนทานของร่างกาย ให้คนปกติมาขี่จักรานอัดกันเร็วๆใครๆก็ทำได้ แต่คนซักกี่คนเล่า ที่จะสามารถขี่จักรยานได้ 100 กม. ตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มปั่น การฝึกซ้อมระยะทางไกลช่วยพัฒนาความทนทานได้เป็นอย่างดี

7.อินเทอร์วัล
อินเทอร์วัล (Interval) หมายถึงการฝึกซ้อมที่อาศัยรูปแบบการปั่นหนักเบาเป็นช่วงๆสลับกันไปมาตามการออกแบบ ควบคุมความหนักและระยะเวลาของแต่ละช่วงเอาไว้เพื่อพัฒนาเฉพาะเจาะจงศักยภาพแต่ละส่วนให้ได้เต็มที่ สามารถเน้นพัฒนาเฉาะเรื่องต่างๆได้ดีไม่ว่าจะความทนทาน แข็งแรง ความคล่องแคล่ว เพราะต่อยอดจากพื้นฐานการปั่นที่มีอยู่

8.เครื่องมือพกพา
จัดเป็นสิ่งที่ควรติดตัวเอาไว้ เพราะวันไหนที่อารมณ์ดีอยากจะปั่นซัก 2 ชม.แบบเนื้อๆ ดันยางรั่วเสียตั้งแต่ 15 นาทีแลรก ทำให้ความตั้งใจพังลงอย่างรวดเร็ว

9.บันได
บันไดคลิปเลส หรือบันไดตะกร้อ อุปกรณ์ง่ายๆที่ช่วยให้การขี่จักรยานมีประสิทธิภาพขึ้นได้ทันที เพียงนำมาติดและฝึกฝนทักษะง่ายๆในการปั่น

10.หมวกกันน็อค
สิ่งสำคัญที่สุดเพื่อความปลอดภัย ถ้าคุณเกิดอุบัติเหตุและศีรษะกระแทก แน่นอนว่าคุณจะพลาดการฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาตัวเองไปอีกนาน อาจจะตลอดไปก็ได้

เครื่องมือสามัญประจำบ้าน

ต้องเริ่มกันก่อนว่าเครื่องมือในรายการนี้ เป็นเครื่องมือสามัญที่หาซื้อได้ไม่ยาก มีขายทั่วไป หลากหลายราคา เพียงแต่อยากให้นักปั่นลงทุนซื้อของดีสักนิด เพราะเครื่องมือที่ไม่ได้คุณภาพอาจทำลายหัวน็อตที่ติดรถของท่านมากับชิ้นส่วนต่างๆ บางตัวน็อตทำจากไทเทเนียม แพงเสียยิ่งกว่าหกเหลี่ยมที่ใช้เสียอีก หัวรูด บานขึ้นมางานเข้าเสียของกันมาแล้วไม่น้อย เสียเงินซื้อจักรยานคันละหลักหมื่นไปจนแสน อย่ขี้่เหนียวเครื่องมือหลักพันเลย ส่วนใครจะใช้เครื่องมือยี่ห้อแบรนด์ช่างจักรยานอาชีพ ก็ทำงานได้ครอบคลุมและวางใจกับคุณภาพได้แน่นอน ส่วนตัวผมคิดว่าเลือกระดับราคาที่พอเหมาะ คุณภาพงานดี เนื้อโลหะดี ก็ใช้งานได้แล้วครับ


1.ชุดไขควง
สำหรับจักรยานใช้ไขควงกับน็อตสกรูน้อยมาก หลักๆคือน็อตที่สับจานและตีนผี นอกนั้นก็เป็นชิ้นส่วนยิบย่อยต่างๆ แต่เนื่องจากไขควงเป็นเครื่องมือที่หาได้ง่าย ราคาไม่แพง มีติดบ้านเอาไว้ก็ไม่เสียหายใข้งานอื่นได้ด้วย ไขควงสำหรับจักรยานใช้เป็นปากแฉกขนาดเล็กเสียเป็นส่วนใหญ่ ปากแฉกหัวเบ้อเร่อไม่จำเป็นนะครับ ส่วนตัวผมคิดว่าพวกกล่องๆขายทั่วไปก็ใช้งานได้แล้ว เพราะน็อตบนจักรยานขันแรงตึงไม่มากเท่าไหร่ ถ้ามือไม่แย่จริงๆ ไม่ทำหัวน็อตบานแน่นอน

2.หกเหลี่ยม
หกเหลี่ยมหรือ Allen Key เป็นเครื่องมือจำเป็นสำหรับจักรยานก็ได้ ไม่เชื่อท่านลองไปดูจักรยานของท่าน แล้วนับดูจะเห็นได้ ว่านับกันง่ายๆ คร่าวๆ บนจักรยานมีน็อตหกเหลี่ยมร่วมๆ 30 ตัวเข้าไปแล้ว และแต่ละตัวขันในจุดที่สำคัญ ต้องการแรงตึงเช่นหลักอาน, ปลายเสต็ม หรือยึดตีนผี ดังนั้นขอสนับสนุนให้ลงทุนใช้หกเหลี่ยมคุณภาพดีที่สุดเท่าที่งบจะมีได้ และหากเป็นไปได้จริงๆ ถ้าลงทุนได้ ใช้ชุดประแจปอนด์พร้อมบล็อคหกเหลี่ยมเบอร์มาตรฐานไปเลยจะดีที่สุด เพราะน็อตเกือบทั้งหมดบนจักรยานระบุมาพร้อมแรงบิดที่เฉพาะ หากขันไม่แน่นพออาจเกิดอันตรายได้เช่นน็อตยึดแฮนด์ หรือถ้าแน่นเกินไปอาจทำให้ชิ้นส่วนเสียหายได้เช่นบรรดาคาร์บอนทั้งหลาย ถ้าท่านคิดจะปรับระยะฟิตติ้งจักรยานง่ายๆเอง หกเหลี่ยมถือเป็นสิ่งที่"ต้องมี"ขาดไม่ได้อย่างเด็ดขาด

3.ที่งัดยาง
ไม่ว่านักปั่นจะนิยมการปะยางหรือไม่ แต่บอกได้เลยว่าในชีวิตการปั่นจักรยานใครไม่เคยยางรั่วถือว่าเป็นบุคคลผู้เปิดมาพร้อมกับโชคบุญหนุนนำเป็นอย่างยิ่ง รวมถึงการเปลี่ยนยางนอกขนาดต่างๆด้วยตัวเอง ไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นอะไรเลย ใครคิดว่ายากและทำไม่เป็นลองคิดดูดีๆว่าร้านซ่อมจักรยานเล็กๆรับซ่อมจักรยานแม่บ้าน ปะรูละ 5 บาท 10 บาท สามารถงัดยาง ปะและใส่กลับได้คล่องมือ มันอาจต้องใช้เทคนิคบ้างนิดหน่อย แต่ไม่ยากไปกว่าการซื้อสมาร์ทโฟนมาสักเครื่องแล้วเริ่มต้นตั้งค่าการใช้งานตั้งแต่แรกแน่ ชุดงัดยางมักมาพร้อมกับชุดปะยางพกพา ซึ่งเจ้านี่ก็เป็นหนึ่งในรายการของที่ควรพกเอาไว้เวลาออกไปปั่นอยู่แล้ว ดังนั้นมีติดไว้ชุดเดียวก็ใช้ได้ทั้งที่บ้านและนอกสถานที่ ราคาก็หลักสิบบาทเท่านั้น... ไม่มีสาเหตุอะไรที่จะไม่มี

4.สูบ
สูบลมเป็นเครื่องมือดูแลรักษาจักรยานที่สำคัญที่สุดในบรรดาอุปกรณ์ทีควรมีทั้งหมดที่กล่าวมา ชิ้นส่วนหลวม เบี้ยว ผิดขนาด ยังพอขี่ได้ เกียร์ไม่ลง ชำรุดยังพอขี่ได้ แต่เช้าวันไหนตื่นมายางแบบฟีบไร้ลม แล้วจะไปปั่นถ้าไม่ฝากชีวิตไว้กับเพื่อนที่มีสูบ รับรองว่าอดปั่นแน่ สูบแบ่งเป็นทั้งสูบพกพาและสูบตั้งพื้นใช้งาน สูบพกพาสามารถพกติดตัวได้ ขนาดเล็ก แต่ข้อเสียหลักๆคือกินแรงเพราะต้องอัดลมกันหลายสิบ หรือหลักร้อยครั้งกว่าจะได้แรงดันที่ต้องการ สูบใหญ่อัดลมได้เบามือกว่า แถมอัดลมต่อครั้งได้ลมมากกว่า ใช้จำนวนครั้งในการสูบน้อยกว่ากันมาก เลือกสูบให้เหมาะกับจักรยานของแต่ละท่าน สูบสำหรับเสือหมอบควรมองหาสูบที่อัดแรงดันลมยางได้ไม่น้อยกว่า 100psi ขึ้นไป และ/หรือเลือกสูบที่ปรับหัวเปลี่ยนใช้งานได้ทั้งหัวจุ๊บสูบเสือหมอบและเสือภูเขาก็ได้ สำหรับเสือภูเขาหรือจักรยานทั่วไป สูบที่ขายตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปก็ตอบโจทย์การสูบได้ แม้แต่สูบมอเตอร์ก็ใช้งานได้ดี แต่เสือหมอบโดยเฉพาะสายซิ่งอัดลมกัน 140-160psi เลือกสูบดีๆจะดีกว่า และอย่าลืมเลือกสูบที่มีเกจบอกแรงดันนะครับ มือใหม่นิ้วยังไม่เทพ บีบๆเอาวันไหนมือหนักจะสูบจนเกินแรงดันลมยางที่ควรสูบได้
สูบราคาตั้งแต่ 500 บาทไปจนหลายพันบาท ใช้งานดีเด่นต่างกันในรายละเอียด แต่ถ้าถามว่า"ใช้งานได้" ผมว่าใช้ได้เหมือนกัน

5.น้ำมันหยอดโซ่และจารบี
ข้อนี้อาจไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นอุปกรณ์ดูแลรักษา ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญขาดไม่ได้ เพราะน้ำมันโซ่ที่หล่อลื่นให้โซ่วิ่งไปได้ ขดตัวได้ เสียดสีกับเฟืองได้และสึกหรอน้อยที่สุดไม่ได้มีอายุใช้งานชัวฟ้าดินสลาย ไหนจะสิ่งแวดล้อม ฝุ่น ดิน จากถนนที่สะสมอยู่บนโซ่และในข้อต่อโซ่จนเป็นคราบสีดำๆ ฟ้องว่าการหล่อลื่นได้ลดประสิทธิภาพลงไปแล้ว ดังนั้นต่อให้ไม่ได้ล้างโซ่จนหมดจด แต่นักปั่นที่รักจักรยานและชุดขับเคลื่อนราคาหลายหมื่น สามารถยืดอายุการใช้งานได้มากกว่าสองเท่าด้วยการดูแลง่ายๆเพียงเอาผ้าเช็ดรูดคราบให้โซ่สะอาด ล้างน้ำเปล่าหรือน้ำผงซักฟอกเจือจางแล้วเช็ดจนแห้ง จากนั้นหยอดน้ำมันกลับเข้าไป ทำบ่อยๆโซ่จะสึก(ยืด)ช้าลง วิ่งเงียบเสียงนุ่ม ส่วนจะเป็น้ำมันแบบไหน ราคาอย่างไร ตามแต่ทรัพย์และใจจะจัดหา บางคนชอบแบบน้ำมัน บางท่านชอบแบบแว็กซ์ แต่เลือกให้ถูกกับอากาศก็ดีครับ น้ำมันขวดละไม่กี่ร้อย...ดูแลชุดขับราคาหลายหมื่นได้ คุ้มออก ส่วนจารบี เป็นสารหล่อลื่นเอนกประสงค์ที่ช่วยหล่อลื่นในส่วนต่างๆ รวมถึงพอกเคลือบกันน้ำและความชื้นเข้าไปในชิ้นส่วนต่างๆ เช่นปลายปลอกสายหรือน็อตและเกลียว(บางชิ้นห้ามใส่ อ่านคู่มือประกอบเพื่อความแม่นยำ เช่นน็ฮตยึดใบจาน FSA ห้ามใส่จารบี บางรุ่นระบุให้ใช้กันคลายเลย) จารบีสำหรับจักรยานเลือกเอาแบบที่ไม่ข้นหนืดมาก เนื้อนวลเนียน เช่นจารบีเอนกประสงค์ที่มีในห้างขายอุปกรณ์ดูแลบ้านหลอดละไม่กี่ร้อยใช้งานได้ไม่เลว ส่วนจารบี Shimano ใช้งานได้ดีเยี่ยม แต่ออกจะเปลืองหากจะเอาใช้งานทุกอย่างทุกจุด เพราะราคาไม่ใช่ถูกๆ

อันที่จริงมีอีกหลายอย่างที่อยากแนะนำให้มีติดบ้านเอาไว้ เช่นตัวถอดโซ่, บล็อคถอดเฟือง และที่ถอดกระโหลก เพราะท่านจะสามารถดูและรักษาจักรยานของท่านได้เอง ยืดอายุได้ยาวนานประหยัดเงินค่าล้างบำรุงไปได้ไม่น้อย คิดเล่นๆว่าล้างบำรุงครั้งละร่วมพันบาท ปีนึงๆล้าง 4-5 ครั้งก็ครึ่งหมื่นแล้วนะครับ หรือใครจะวัดใจไม่ล้างไม่บำรุง อย่าได้แม้แต่จะคิด เพราะผมเคยกระโหลกตายลูกปืนแห้งสนิมขึ้นแตกล็อคจนไม่หมุน ขาจานอัดกระโหลกจนเกลียวกระโหลกที่เฟรมเกือบพัง เสียดสีร้อนจนมีกลิ้นไหม้โชย
อากาศฝนตกชุก ความชื้นสูงแบบบ้านเรา ถามทฤษฏีแนะนำให้ล้างดูแลทุกอย่างทุกๆ 3 เดือน

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

PACE LINE ขี่กลุ่มอย่างไรให้ปลอดภัย


การขี่กลุ่มเป็นสิ่งที่สร้างการแข่งจักรยานให้มีสีสันแบบที่เป็นอยู่ หลักการง่ายๆก็คือการที่คนหน้าทำหน้าที่ฝ่าอากาศไปด้านหน้า และคนหลังอาศัยกระแสอากาศที่ม้วนวนอยู่หลังคนหน้าเกิดเป็นแรงฉุด ดึงให้คนหลังเดินทางไปข้างหน้าโดยออกแรงน้อยลง และจะยิ่งส่งผลมากขึ้นเรื่อยๆหากกลุ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งการที่ประหยัดแรงนี้เองที่ทำให้เราเดินทางไปได้เร็วขึ้น ไกลขึ้น ด้วยความร่วมแรงร่วมใจสลับกันขึ้นมาทำหน้าที่นี้ และแน่นอนว่าเมื่อคนมาอยู่รวมกัน มันก็ต้องมีกฏ มีกติกามารยาทกันบ้าง ซึ่งไม่มีใครบันทึกเอาไว้หรอกครับ แต่เป็นคำภีร์ที่นักปั่นถ่ายทอดต่อๆกันมา เพื่อความปลอดภัยของพวกเรากันเอง
เอาล่่ะมาเข้าเนื้อหากัน

1.รู้จัก PACE LINE

การขี่กลุ่มแบบที่พวกเราเรียกกัน คือสิ่งที่นักปั่นสากลเรียกรวมๆกันว่า "Pace Line" ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่
-Single Pace Line หรือบางตำราเรียก singular line และยังรวมไปถึง double pace line อีกด้วย การขี่กลุ่มแบบนี้เป็นพื้นฐานแรกสุดของการขี่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เหมาะกับการเดินทางไปข้างหน้าเมื่อลมมีทิศทางมาจากทิศหน้าตรงเป็นหลัก คนนำจะทำหน้าที่"หัวลาก"พาเพื่อนๆไปด้วยกัน และสลับผลัดลงไปต่อท้ายกลุ่มให้คนต่อไปทำหน้าที่แทน *ไม่มีกฏตายตัวนะครับว่าจะต้องสลับออกทางด้านซ้ายหรือขวา โดยส่วนมากจะสลับออกทางด้านซ้าย ยกเว้นกรณีที่ลมมาเฉียงจากด้านขวา คนลากจะสลับลงทางด้านขวา เพื่อบังลมให้แถวของเพื่อนที่กำลังจะเปลี่ยนเข้ามา แต่สิ่งจำเป็นคือต้องรู้กัน สื่อสาร ให้สุ้มเสียงกัน และหากคุณเข้าร่วมกลุ่มสิ่งที่พึงปฏิบัติคือ "คำหน้าทำแบบไหน เราทำแบบนั้น" ...ส่วน double pace line หรือแถวคู่ คนนำจะออกแยกไปสองทางเสมอ
-Circular Pace Line หรือการขี่กลุ่มแบบวน คล้ายกับแบบแรกแต่ต่างกันตรงที่คนนำเมื่อผลัดลงไปพักให้คนที่สองขึ้นมาทำหน้าที่คนลาก จะต้องวนต่อๆกันไปตลอดไม่มีจังหวะที่จะไหลลงไปเดี่ยวๆเพื่อต่อท้าย ข้อดีของรูปแบบนี้คือทำความเร็วได้สูงกว่าแบบแรกเพราะไม่ได้อาศัยพลังจากคนหน้าคนเดียว ทุกๆคนจะออกแรงช่วยกันในระดับเท่าๆกัน ข้อควรระวังคือต้องฝึกฝนมาก่อนระดับหนึ่ง มีโอกาสที่จะพลาดเกี่ยวกันเองหากไม่รู้จักวิธีการ
วิธีการขี่ให้ปลอดภัยและนำไปฝึกฝนคือ ก่อนที่คนนำอยู่จะหลบพักออกมาต้องให้คนที่นำก่อนเราส่งเสียงบอกเราก่อนว่าแนวลล้อหน้าของเขาพ้นจากล้อหลังของเราแล้ว และคนหน้าหลบออกมาอย่ากวาดออกไปไกล ให้ออกมาเพียงหนึ่งช่วงคนพอดีๆ คนที่ตามมากำลังจะขึ้นนำแทน ไม่ต้องรีบเร่งขึ้นไปแทนที่ ค่อยๆขี่ไปให้เร็วเท่าเดิมรอฟังเสียงจากคนก่อนว่าแนวล้อพ้นแล้ว (ถ้าฝรั่งจะส่งเสียงว่า"เคลียร์") และคนสุดท้ายก็จะให้สัญญาณก่อนเข้าไปในแถวเพื่อบอกคนหน้าให้รู้ว่าเค้ากำลังจะเป็นคนสุดท้าย
ลองสังเกตุในกีฬาจักรยานดู กลุ่มที่หนีออกมานิยมจะขี่กันแบบนี้ เนื่องจากทุกคนต้องทำงานกันเต็มที่ ไม่สามารถหมกเม็ดได้ และทำความเร็วได้สูงกว่ามาก ทีมไหน หรือกลุ่มไหนที่ขี่ด้วยกันบ่อยๆ ลองฝึกหัดดู มันจะเป็นบันไดไปหาแบบที่ 3 ได้ง่ายขึ้น
การผัดเปลี่ยนว่าจะหมุนทวนหรือตามเข็มนาฬิกา อยู่ที่ตกลงกันและดูทิศทางลมเป็นหลัก โดยสากลจะให้คนพักลงทางที่ลมไม่ได้มา เช่นลมมาจากด้านขวามือ กลุ่มจะวนตามเข็มนาฬิกา แต่หากลมมาจากทางซ้ายมือ กลุ่มจะวนทวนเข็มนาฬิกา
-Echelon Cross Wind หรือการขี่กลุ่มแบบลมด้านข้าง
การขี่จะคล้ายกับแบบที่ 2 แต่กลุ่มจะเอียงไปด้านข้าง ซึ่งการขี่แบบนี้จัดว่าอันตรายที่สุด เพราะล้อหน้าและหลังจะเกยกันอยู่ หากเพิ่งเริ่มขี่แรกๆไม่ควรขี่ให้ชิดกันจนเกินไป และอย่าให้ล้อเกยกันจะดีที่สุด (ดูภาพประกอบ) ด้วยข้อขำกัดของขนาดถนนและเส้นทาง การขี่แบบนี้อาจไม่เหมาะสำหรับการออกทริปหรือการแข่งรายการทั่วไปที่ไม่ได้ปิดภนน แม้แต่โปรเองก็อาศัยการขี่แบบนี้เพื่อบีบพื้นที่และทำเกมส์หนีจากคู่ต่อสู้ในสถานการณ์ที่ลมด้านข้างมาแรงๆ กลายเป็นกลยุทธที่สำคัญ
กติกามารยาทที่พึงทำเมื่อพบกับการขี่แบบนี้ ทางที่ดียอมใจดำแล้วต่อท้ายดูจังหวะไปก่อน จนมั่นใจในตัวเองว่าสิ่งที่เคยฝึกฝนมาสามารถร่วมได้แล้วค่อยเข้าไปร่วมวนในกลุ่ม มิเช่นนั้น ..เกาะตามไปเฉยๆสบายและปลอดภัยกว่า

2.รักษาระยะห่างให้พอเหมาะ

มีคำถามว่าระยะห่างแต่ละคันควรเป็นเท่าไหร่ บางท่านไปดูโปรขี่กันมาห่างกันแค่ 5 นิ้วก็มี แล้วพยายามจะขี่ให้ได้แบบโปร เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็ควบคุมไม่ได้และเกี่ยวกันในที่สุด ระยะห่างที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมาย แต่สิ่งสำคัญคือเราต้องรักษาระยะนั้นเอาไว้ให้คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น การเร่งกระชาก หรือการใช้เบรคจึงเป็นสิ่งต้องห้ามของการร่วมขี่กลุ่ม เราต้องเดินทางไหด้วยความเร็วที่คงที่มากที่สุด หากข้างหน้าเร่งความเร็ว ระยะห่างเริ่มมากขึ้น เราควรค่อยๆเพิ่มความเร็วและค่อยๆลดช่องว่างลง (ในสถานการณ์การแข่งควรมีคนทำหน้าที่"เชื่อม") หากข้างหน้าชลอลง เราควรชลอแต่เนิ่นๆ ไม่ใช่กดเบรค หรือปล่อยไหลฟรีขาไปแล้วเกยบานออกข้างๆ ซึ่งอาการบานนี่เองที่ทำให้เกิดสภาพ "ล้อเกย" หรือเมื่อล้อหลังคันหน้าเกยซ้อนล้อหน้าคันหลัง
ล้อเกย คือสาเหตุหลักๆของอุบัติเหตุในการขี่กลุ่มเลยทีเดียว เพราะเมื่อนำเนื้อหาการขี่กลุ่มร่วมกับเนื้อหาเรื่องการขี่ให้นิ่ง จะพบว่า หากนักปั่นละเลยจนเกิดสภาพล้อเกย ร่วมกับคนหน้าปั่นแบบไม่นิ่งสา่ยไปมา หรือนึกจะออกก็ออก เมื่อนั้นก็จะเกี่ยวกันจนล้ม และคนที่ซวยคือเพื่อนๆที่ตามมาอีกเป็นฝูง
นอกจากนั้นการที่ขี่แล้วไม่รักษาระยะให้เหมาะสมก็เป็นอันตรายอย่างมากในหลายสถานการณ์ เช่นถนนแคบ ลงเขา ทางขรุขระ เส้นทางเหล่านี้ นักปั่นควรเพิ่มระยะห่างจากคนหน้าให้มากขึ้น เพื่อชดเชยความผิดพลาดที่อาจเปิดขึ้นได้ แทนที่จะระวังกลัวตนเองจะหลุดกลุ่มก็จี้ติดเอาไว้ และเมื่อมีปัญหาผิดพลาด ก็แก้ไขไม่ทันและเป็นเหตุของอุบัติเหตุได้ในลำดับต่อมา

3.อย่าขี่คนเดียว

หลายๆท่านเวลาขี่กลุ่มท่านกำลังเข้าสู่โหมดข่คนเดียว อยู่กับล้อคันหน้า อยู่กับล้อคนหน้า แม้ว่าท่านจะนิ่ง และรักษาระยะดีอย่างไร ท่านกำลังสร้างความเสีี่ย่งให้กับเพื่อนๆ นักปั่นที่มากประสพการณ์และฉลาด จะมองผ่านไปที่หัวแถวและเส้นทางเสมอ เมื่อหัวแถวเร่งหรือชลอ ท่านสามารถประหยัดแรงได้มากกว่า ยกตัวอย่างเช่นเมื่อหัวแถวเร่งความเร็วสูงจนกลุ่มยืดออก ท่านอาจไม่จำเป็นต้องรีบเร่งตามเมื่อท่านมองไปข้างหน้าพบว่าทางแคบลง หรือกำลังจะเลี้ยว เพราะกลุ่มจะหดลงจนเข้าไปรวมกันเองโดยที่ท่านไม่ต้องเสียแรงเร่งเข้าไป แน่นอนว่าหากท่านก้มหน้าก้มตาปั่นกับล้อหลังของคนหน้า ท่านไม่มีทางรู้และเตรียมตัวรับสถานการณ์ข้างหน้าได้เลย
การเงยหน้ามองไปยังเบื้องหน้ายังข่วยอะไรท่านได้อีกหลายต่อหลายอย่าง ท่านสามารถมองเห็นเพื่อนนักปั่น มองเห็นเส้นทาง อุปสรรค สภาพถนน สิ่งกีดขวาง ซึ่งสำคัญมากกว่าความเร็วบนไมล์ที่กำลังวิ่งอยู่ ฝึกหัดที่จะขี่รักษาระยะโดยที่มองไปที่ไหล่หรือตัวของเพื่อนนักปั่นคนหน้าแทนที่จะจ้องไปที่ล้อหลังแต่เพียงอย่างเดียว
รวมไปถึงอย่าลืมนะครับว่าท่านมีเพื่อนร่วมทางอยู่รอบๆท่าน อย่าทำอะไรให้คนอื่นเดือดร้อนเช่นสั่งน้ำมูก เทน้ำ ราดน้ำ ทิ้งขยะ แม้แต่ฟรีขาปล่อยวางโบกมือลาจากกลุ่ม อย่าลืมบอกคนหลังท่านว่าท่านกำลังทำอะไรอยู่ (มันคือการ"สื่อสาร"กันครับ)
เอาล่ะ... 3 กฏ กติกา มารยาทพื้นฐานนี้ จำให้ขึ้นใจ ก่อนจะปิดท้ายบทความด้วย
Tips and Tricks สำหรับการขี่กลุ่ม
-ฝึกฝนจากเพื่อนๆขนาดเล็ก เริ่มหัดจาก 2-3 คน และค่อยๆขยายมากขึ้นก่อนจะเข้ากลุ่มใหญ่ ก็เฉกเช่นเดียวกับก่อนที่จะมาปั่นร่วมกันกับเพื่อนก็ควรขี่ให้นิ่งเสียก่อน หลายคนกล่าวว่าหากคุณไม่สามารถขี่กับเพื่อนคุณ 4-5 คนอย่างราบลื่นแล้ว อย่าได้ริคิดเข้ากลุ่มใหญ่ๆ เพราะจะอันตรายเป็นอย่างยิ่ง -ไม่มั่นใจ ให้อยู๋ท้ายๆ ...อย่ากลัวที่จะโดนหาว่าเป็นปลิงมาเกาะ เพราะหากคุณขึ้นไปแล้วก่อให้เกิดอันตรายจะยิ่งเป็นปัญหาหนักกว่าเก่า หากไม่มั่นใจในทักษะการคุมรถ ไม่มั่นใจในความนิ่ง ไม่มั่นใจในแรงของตน ...อยู่ท้ายของกลุ่มไปเสียตลอดทาง เมื่อคนนำลงมาพักสลับเปลี่ยนก็เปิดช่องด้านหน้าเราให้เขาเข้าแทน หากมีคนหลังจะแซงขึ้นมาก็เปิดช่องให้เขาแซงออกหรือมาแทนที่ได้แต่โดยดี ผมขอแปลง่ายๆว่า"เจียมตัว" ครับ
ปัญหาที่อันตรายมันมาจากที่นักปั่นพมาแต่ใจที่สู้แต่ทั้งทักษะและร่างกายไม่พร้อม
-ความเร็วไม่ใช่สาระสำคัญ ... ระหว่างคุณไปถึงเร็วสนุกสะใจ กับคุณไปไม่ถึงเพราะล้มเสียก่อน ผมว่าใครๆก็คงเลือกได้ทั้งสิ้นว่าจะเอาทางไหน และการจะเร็วได้สนุกมันต้องผ่านการฝึกฝนทั้งร่างกายและทักษะมาแล้ว มิเช่นนั้น ยอมรับและไปถึงช้าหน้่อยแต่ถึงชัวร์จะดีกว่า หรือให้คิดเสมอว่า หลุดกลุ่มนี้ยังมีกลุ่มอื่น ขอให้ปั่นดีเถอะครับ มีคนอ้าแขนต้อนรับแน่นอน ดีกว่าขาแรงแต่ปั่นแย่ๆ ใครๆก็ไม่อยากให้ร่วมแม้จะขาแกร่งปากเก่งขนาดไหน
-สุดท้ายที่สำคัญที่สุดกับการฝึกฝน ทั้งความปลอดภัยและพัฒนา .... ฝึกกับคนที่เก่งใกล้กับเรา ...ตรงนี้จะตรงข้ามกับคำแนะนำว่าอยากเก่งให้ขี่กับคนเก่งกว่านะครับ เพราะการขี่กลุ่มเป็นทักษะที่สำคัญ พยายามหาเพื่อนที่แข็งแรงพอๆกัน ทักษะพอๆกัน ค่อยๆพัฒนาไปด้วยกัน อย่าพยายามฝืนฝึกขี่กลุ่มไปกับกลุ่มขาแรงที่ลากจนคุณไส้แทบแตกแล้วแค่เอาตัวรอดก็หายใจทางเหงือกแล้ว ...หาเวลาฝึกฝนพัฒนาทักษะเหล่านี้เสียก่อนที่จะไส้แตก เพราะตอนนั้นคุณไม่มีเวลามาเรียนรู้อะไรหรอกครับ
ลองนำไปคิด ใส่ใจ และอย่าลืมฝึกฝนกันให้ดี เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง และเหนือสิ่งอื่นใดคือความปลอดภัยของเพื่อนนักปั่น อุบัติเหตุจักรยานร้อยละร้อย คนก่อ คนทำไม่ได้เจ็บมากหรือเสียหาย แต่คนที่เจ็บหนักหรือเสียหายมากคือคนที่ตามมาแบบดวงลากมาล้ม ....อย่านำความสุข ความสนุก และสะใจของตนเอง มาก่อให้เกิดความเสี่ยงกับผู้อื่นเลย ขอแก้ไขบทความเพิ่มเติมครับ ตกหล่นไปได้อย่างไร...

การสื่อสารพื้นฐานในกลุ่ม ผมไม่อยากเรียกว่าเป็นสัญญาณมือครับ แต่อยากให้รับรู้เอาไว้ในส่วนที่เป็นสากลของนักปั่นจักรยานจริงๆ ไม่เหมือนกับสัญญาณมือจรจรของจักรยานครับ สัญญาณมือพื้นฐานพวกนี้อาจต่างกันในแต่ละที่แต่โดยมากนักแข่งอาชีพที่เห็นจะใช้แบบนี้ตรงกันนะครับ

1.การขยับศอก หมายถึงต้องการจะลงพักให้คนต่อไปขึ้นมาทำหน้าที่นำกลุ่ม ตามหลักการจริงๆคือขยับด้านไหนลงด้านนั้นแต่จากที่ไปนั่งไล่ดูโปรแข่งมา ... พบว่าครึ่งๆของภาพที่เห็นจะไม่ได้ตามหลักนี้ครับ ดังนั้นผมจึงขอเสนอว่า แค่รู้กันว่าขยับคือจะลงก็พอครับ ...ทำไมต้องขยับศอก?? ในเมื่อส่วนมากเราจะชินการยกมือโบกกันมากกว่า (ที่ญี่ปุ่นใช้การโบกมือมากกว่าขยับศอกเช่นกัน) เพราะการขยับศอกเราไม่ต้องเอามือออกจากแฮนด์ครับ ที่สำคัญ คนหลังสามารถเห็นได้ง่ายชัดเจน ไม่สับสนกับการสลัดมือคลายเมื่อย หรือการชี้อะไรบนพื้นครับ

2.การเอามือกำไว้ด้านหลัง 1 ข้าง มักจะเป็นข้างซ้ายนะครับ แปลว่ากำลังลดความเร็วลง คนหน้าจะทำสัญญาณนี้เพื่อบอกให้กลุ่มรู็ว่าเค้าลดความเร็วลง แต่ไม่ได้ต้องการเปลี่ยนลงไปพักไม่ต้องแซงขึ้นมา ที่ว่ามักจะเป็นมือซ้ายเพราะ มือขวาจะได้คุมเบรคหลังอยู่ หากเอามือขวากำเหลือมือซ้ายจับเบรคหน้า อาจเกิดเหตุไม่คาดฝันกำเบรคหน้าแล้วตีลังกาได้ สัญญาณมืออื่นๆ แม้จะมีความเป็นสากลในหมู่นักจักรยานแต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่แตกต่างกัน ผมจึงขอไม่นำเสนอ เดี๋ยวจะกลายเป็นแบบแผนที่ต้องปฏิบัติตาม คำแนะนำที่ดีที่สุดคือให้เรียนรู้การสื่อสารกับกลุ่มที่เราอยู่ ใช้ทั้งเสียงและการส่งสัญญาณเข้าด้วยกัน ส่งสัญญาณที่สั้น ชัดเจน เสียงที่ดังและกระชับ

การขี่จักรยานในอากาศร้อน

ก่อนอื่นลองมาทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่าอากาศที่ร้อนขึ้นส่งผลอะไรกับร่างกายของเราบ้าง ...ปกติแล้วเวลาเราออกกำลังกายร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยธรรมชาติ และร่างกายจะระบายของเสียากระบบการสังเคราะห์พลังงานออกมาเป็นของเหลวทางผิวหนัง ซึ่งเป็นการลดอุณหภูมิของร่างกายด้วย ก็คือ"เหงื่อ"นั่นเอง แต่ปกตินักปั่นจะไม่ค่อยรู็สึกว่ามีเหงื่อออกสักเท่าไหร่ เนื่องจากสายลมที่พัดจะทำให้เหงื่อแห้งไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าอากาศจะเย็นสักเท่าไหร่ อากาศในประเทศไทยนี้เราเสียเหงื่อออกมาไม่น้อยในการปั่นจักรยาน ประเทศตะวันตกที่อากาศเย็นๆสบายๆ แนะนำให้ดื่มน้ำ 500 มิลลิลิตรต่อการปั่นจักรยาน 1 ชม. และแนะนำว่าในอากาศที่ร้อนกว่าปกติให้ดื่มน้ำ 700-1000 มิลลิลิตรต่อการปั่นจักรยาน 1 ชม. เพื่อชดเชยน้ำที่เสียไป รวมถึงการเติมพลังงานและเกลือแร่อีกด้วย ซึ่งเกลือแร่ที่เติมเข้าไปจะต้องสมดุลย์กับเกลือแร่และแร่ธาตุต่างๆที่เสียออกไปพร้อมกับเหงื่อ ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้เป็นตัวช่วยในกลไกการสร้างพลังงานของเรานั่นเอง


อุณหภูมิสูงยังส่งผลเชื่อมโยงกับระดับชีพจรที่สูงมากกว่าปกติ กล่าวคือถึงแม้จะออกแรงในระดับเดียวกัน แต่ในอากาศที่ร้อนอบอ้าว จะมีชีพจรสูงกว่าเมื่ออากาศเย็นสบาย หรือแปลง่ายๆว่า อากาศยิ่งร้อน เรายิ่งรู้สึกเหนื่อยได้ง่ายกว่าอากาศเย็น ...และส่งผลกับความหนักที่เราสามารถออกแรงได้ ดังนั้นภายใต้อากาศที่ร้อนมากๆ นักปั่นที่"ใจสู้"เกินขีดจำกัดเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหรือแม้แต่หัวใจวายเฉียบพลันได้ง่ายกว่า หากยึดแต่ความเร็วหรือแรงที่ออกแต่เพียงอย่างเดียว ละเลยการฟังร่างกายตนเอง
ร่างกายคนเราจะพยายามทำทุกทางเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิที่คงที่เอาไว้ให้ได้ ซึ่งในกระบวนการต่างๆอาศัยพลังงานเพื่อหล่อเลี้ยงระบบทั้งสิ้น และนั่นคือเหตุผลที่ทำไมอากาศที่ร้อนขึ้นมากๆทำให้เรารู้สึก"หมด"เร็วกว่าปกติ ลองคิดง่ายๆดังนี้นะครับ ...จักรยานที่เราปั่นส่งแรงถีบไปเป็นการเคลื่อนที่ได้มากมาย มีเพียง 1% ที่สูญเสียไปจากระบบ แต่่ร่างกายเราออกแรงปั่นจักรยานไปข้างหน้าแต่เราต้องสูญเสียพลังงาน 75% ไปเพื่อรักษาระบบต่างๆให้ทำงานอย่างมีประสิทธภาพในวันที่อากาศร้อนมากๆ ยิ่งออกแรงมากเท่าไหร่ ร่างกายก็ยิ่งร้อนขึ้น และยิ่งใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อรักษาอุณหภูมิให้คงที่

เมื่อร่างกายของเราทำงานอย่างหนักบนจักรยานจนเกิดความร้อนสูงกว่าบรรยากาศโดยรอบ กล้ามเนื้อทำงานและเกิดความร้อนมหาศาล ระบบหมุนเวียนโลหิตจะพาเอาความร้อนออกมาจากกล้ามเนื้อ จนอุณหภูมิของเลือดในร่างกายสูงขึ้น หลอดเลือดจะขยายตัวและขยายพื้นที่ผิวในการระบายความร้อนออกไปมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณใกล้ผิวหนัง ทว่าวิธีนี้จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่ออากาศรอบๆตัวเย็นกว่าอุณหภูมิร่างกาย หากอากาศรอบๆร้อนกว่าอุณหภูมิร่างกาย ร่างกายจะใช้ระบบการระบายความร้อนแบบที่สอง ซึ่งก็คือระบบการระบายความร้อนออกมาทางเหงื่ออย่างที่ได้อธิบายไปแล้ว นอกจากน้ำและแร่ธาตุที่ออกมาจากผิวหนัง เหงื่อจะเป็นตัวพาความร้อนออกมาจากร่างกาย เมื่อระเหยออกไปก็เท่ากับลำเลียงความร้อนออกไปด้วย ยิ่งมีลมพัดก็จะยิ่งช่วยระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในทางกลับกันเมื่ออากาศมีความชื้นมากๆ หรือสภาพอากาศอบอ้าว เหงื่อจะระเหยได้ช้าลลงและแปลว่าความร้อนถูกระบายออกไปช้าลงอีกด้วย
เมื่ออากาศร้อนขึ้น เมื่อเราออกแรงมากขึ้น ร่างกายก็ยิ่งร้อนขึ้น เมื่อร่างกายร้อนขึ้นก็ต้องระบายความร้อนออกมาทางเหงื่อ เมื่อเสียเหงื่อก็เท่ากับการเสียของเหลวในร่างกาย และเมื่อร่างกายสูญเสียของเหลวไปเพียง 2% ของน้ำหนักตัวก็จะเข้าสู่สภาวะดีไฮเดรชั่นหรือขาดน้ำ และส่งผลให้สมรรถนะของร่ายกายลดลงอย่างรวดเร็ว

ดังนั้นเคล็ดลับและข้อควรกระทำเมื่อต้องขี่จักรยานในวันที่อากาศร้อนได้แก่

-ดื่มน้ำ
การดื่มน้ำไม่ได้ช่วยลดอุณหภูมิโดยตรงและช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำและสามารถรักษาอุณหภูมิเอาไว้ได้ หากร่างกายไม่สามารถรักษาอุณหภูมิไว้ได้ จนร้อนเกินไปจะเกิดสภาวะ"ฮีทสโตรค" ซึ่งสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ต้องดื่มมากแค่ไหน?? ...เป็นคำถามที่หลายๆคนสงสัยทว่าคงไม่สามารถระบุได้ชัดเจน ขึ้นอยู๋กับร่างกายของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และขึ้นอยู่กับความหนักของการออกกำลัง ทว่าสิ่งที่สามารถระบุได้คือ ต้องดื่มน้ำอย่างต่อเนื่องครั้งละนิด อย่ารอจนร่างกายรู้สึกกระหายน้ำแล้วจึงดื่ม เพราะเมื่อร่างกายกระหายน้ำแปลว่าร่างกายต้องการน้ำแล้ว และร่างกายเรามักจะตอบสนองส่งข้อมูลนี้มาช้ากว่าที่ร่างกายต้องการจริงๆอยู่สักพักหนึ่ง แปลว่าหากท่านรู้สึกกระหายน้ำเมื่อไหร่ก็เท่ากับร่างกายของท่านได้ขาดน้ำไปแล้วสักพักก่อนหน้านั้น ยิ่งท่านปั่นหนักมากๆ ร่างกายอาจเสียน้ำไปแล้ว 1-2% ของน้ำหนักตัวก่อนที่จะรู้สึกกระหายน้ำเสียอีก
แต่การดื่มน้ำมากเกินไปอาจก่อให้เกิดสภาวะมีของเหลวมากเกินไปส่งผลกับสมดุลย์ของแร่ธาติในร่างกายขณะออกกำลังกาย ซึ่งส่งผลถึงชีวิตได้เช่นกัน แม้ว่าอาการนี้จะพบได้ยากมากในการปั่นจักรยานในประเทศเขตุร้อนอย่างบ้านเรา พยายามหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำครั้งละมากๆในเวลาอันรวดเร็ว เช่นเมื่อท่านเหนื่อยมากๆ กระหายมากๆ แล้วยกน้ำขวดลิตรอัดเข้าไปทีเดียวหมดขวด นอกจากจะจุกยังเป็นการเสี่ยงต่ออาการนี้ พอจะสรุปได้ง่ายๆว่า หากดื่มน้ำ 700-1000 มิลลิลิตรได้ทีละนิดๆในเวลา 1 ชม. ก็ถือว่าปลอดภัยอย่างแน่นอน
ลองหารน้ำ 700 มล. ด้วยปริมาณน้ำต่ออึกที่ดื่มก็จะพบว่า ทุกๆ 10 นาทีให้ดื่มน้ำหนึ่งอึกใหญ่ๆ หรือดื่มอึกเล็กๆ(จิบ)ทุกๆ 5-7 นาที เมื่อครบ 1 ชม. ก็จะได้น้ำครบปริมาณที่ต้องการได้อย่างไม่ยาก

-แต่งตัวให้เหมาะ
จริงๆแล้วการแก้ผ้าจนหมดทำให้ร่างกายเผิดเผยและแลกเปลี่ยนอุณหภูมิได้ดีที่สุด ระบายเหงื่อได้จากทุกอณูของผิวหนัง แต่นอกจากเหตุผลความอุจาดตาของเพื่อนนักปั่นยังมีปัญหาเรื่องการโดนแดดเผา เพราะอากาศที่ร้อนมากๆก็มาพร้อมกับแสงแดดแรงกล้าด้วย พยายามเลือกชุดปั่นจักรยานที่ปกปิดร่างกาย ป้องกันแสงแดดได้ดี แต่ระบายอากาศได้เยี่ยมด้วย เช่นเสื้อปั่นจักรานที่มีเนื้อผ้าบาง เบา ลมผ่านเข้าได้่ง่าย หรือแม้แต่เสื้อซับด้านในที่ออกแบบมาสำหรับอากาศร้อนก็จะช่วยให้ร่างกายระบายความร้อนได้เร็วขึ้นแม้ว่าจะใส่เสื้ออยู่ถึง 2 ฃั้น โดยเฉพาะเมื่อขี่ช้าลง หรือปั่นขึ้นเขาที่กระแสลมผ่านจะผ่านไปช้าๆเบาๆ ส่งผลให้เหงื่อระเหยออกไปช้าลง ควรเลือกเสื้อจักรยานที่สามารถรูดซิปลงมาได้กว้าง เพิ่มพื้นผิวสัมผัสอากาศมากขึ้น สำหรับนักปั่นหญิงแนะนำให้เลือกเสื้อชั้นในแบบกีฬาที่มีลักษณะคล้ายเสื้อสายเดี่ยวปิดมิดชิด แทนที่จะเป็นชั้นในลูกไม้สวยดันทรงอกบึ้ม เพราะเมื่ออากาศร้อนมากๆสามารถรูดซิปลงมาได้โดยที่ไม่ไปรบกวนสมาธิของนักปั่นชายที่อยู่ใกล้ๆ
ความฟิตของเสื้อปั่นจักรยานก็ส่งผลกับการระบายอากาศเช่นกัน เสื้อปั่นที่แนบเนื้อพอดีตัว จะช่วยให้เหงื่อถูกซึมซับมาอยู่บนเนื้อผ้าและถูกระบายออกไปได้เร็วกว่าเสื้อปั่นหลวมๆที่ระหว่างผิวหนังกับเนื้อผ้าจะมีช่องว่างอับลม และช่องว่างนั้นจะกลายเป็นชั้นฉนวนเก็บความร้อนแทน ทว่าเนื้อผ้าก็มีส่วนสำคัญกับทั้งเสื้อแนบเนื้อหรือแบบหลวมสบายเช่นกัน ผ้าบางชนิดแม้จะพอดีตัวแต่ด้วยคุณลักษณะที่ระบายความชื้นได้ช้า ก็ขะกลายเป็นตัวเก็บความร้อนเอาไว้แทนที่จะช่วยระบายออกไป

-ราดน้ำ
นึกถึงรถยนต์ที่เครื่องย้นต์ต้องระบายความร้อนด้วยระบบของเหลวช่วยนอกเหนือจากอากาศที่ไหลผ่าน ร่างกายของเราก็เช่นกัน โดยเฉพาะช่วงกลางเดือนเมษายนถึงกลางเดือนพฤษภาคมที่อากาศอาจร้อนได้ถึง 42 องศา แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ร่างกายจะระบายความร้อนได้ทันเพียงด้วยเหงื่อและลมที่ผ่านตัวไป น้ำจากกระบอกน้ำหรือขวดน้ำที่ราดอยู่บนตัวจนชุ่มช่วยลดอุณหภูมิแทนเหงื่อและลดอัตราการเสียน้ำได้มาก อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการราดคือน้ำเย็นนิดหน่อย (25-30 องศา) อย่าใช้น้ำเย็นเจี๊ยบน้ำแข็งเกาะมาราดตัว เพราะอาจช็อคจากสภาพการเปลี่ยนอุณหภูมิฉับพลันได้อีกเช่นกัน ในการแข่งขันจักรยานอาชีพบางรายการที่ต้องแข่งในพื้นที่อากาศร้อนมากๆเช่น Vuelta A'Espana บนภูเขาสูงที่ร้อนอบอ้าว นักปั่นจะตัวเปียกตลอดเวลา เหมือนกับปั่นไปอาบน้ำไป เพื่อให้ร่างกายเย็นและทำงานได้ดีที่สุด
ลองคำนวนดูทั้งน้ำที่ต้องดื่ม และน้ำที่ต้องราดตัว แปลว่าในฤดูร้อนที่อากาศร้อนมากๆ นักปั่นทุกคนต้องการน้ำมากกว่า 1 ขวด การพยายาม"ฝืนทน"ปั่นโดยที่ใช้ความอึดเป็นปัจจัยไม่ใช่การออกกำลังกายที่ดี แต่เป็นการทรมานร่างกาย จากที่หวังจะได้สุขภาพอาจส่งผลในทางตรงกันข้ามแทน ดังนั้นอย่าลังเลที่จะติดกระบอกน้ำ 2 กระบอก และเลือกใช้กระบอกขนาดใหญ่สำหรับวันที่ต้องเดินทางระยะไกลๆภายใต้อากาศร้อน หรือวางแผนเส้นทางให้ผ่านร้านค้าที่สามารถเติมน้ำได้เป็นระยะๆ บางครั้งการ"มีเหลือดีกว่าขาด" ก็เป็นการวางแผนที่ดี ลองเสียบขวดน้ำสำรองเอาไว้ในกระเป๋าหลังก็ช่วยได้ไม่ยาก

-เกลือแร่
เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อร่างกายชาดเกลือแร่และแร่ธาติที่สมดุลย์ การทำงานของระบบพลังงานก็จะทำได้ไม่เต็มที่จนถึงขั้นล้มเหลว และเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดตะคริว ดังนั้นเลือกเรื่องดื่มเกลือแร่ที่ชดเชยการเสียเหงื่อจากการเล่นกีฬา โดยจิบทีละนิด ในปริมาณเจือจาง ช่วยชดเชยเกลือแร่ที่ร่างกายเสียออกไปได้มาก ซึ่งในเหงื่อของเราประกอบด้วยแร่ธาติต่างๆมากมาย การค่อยๆจิบเกลือแร่ไปเรื่อยๆควบคู่กับน้ำดื่ม ได้ผลดีกว่าการดื่มรวดเดียวหนึ่งขวดหลังการปั่นจักรยานมากๆ อย่างไรก็ดี พบว่าหากการปั่นจักรยานไม่ยาวกว่า 1 ชม. ร่างกายจะไม่เสียแร่ธาติมากจนต้องเติมกลับเข้าไปด้วยเครื่องดื่ม แต่สามารถใช้อาหาร ผัก ผลไม้ แทนได้ แม้จะย่อยช้ากว่าแต่ดีต่อสุขภาพมากกว่า หากการปั่นยาวนานต่อเนื่องกว่า 1 ชม. อาจชดเชยเกลือแร่ยี่ห้อยอดนิยมโดยทั่วไปครึ่งขวดต่อระยะเวลา 1 ชม. ...มาถึงจุดนี้ก็จะพบว่านอกจากน้ำดื่ม น้ำราดตัว ยังต้องเตรียมเกลือแร่ติดรถไปอีก นักแข่งจึงนิยมที่จะพกน้ำสองกระบอก กระบอกหนึ่งเป็นเกลือแร่ผสมพลังงาน อีกกระบอกเป็นน้ำดื่มธรรมดา และคอยเติมน้ำดื่มเรื่อยๆ เพราะสามารถหาน้ำดื่มได้งา่ยกว่า สำหรับนักปั่นที่ไม่ได้เน้นการแข่งขัน ทางออกที่ดีที่สุดคือการวางแผนเส้นทางและจุดพักให้เหมาะสมกับระยะเวลาในการปั่น สามารถหยุดเติมเสบียงได้เรื่อยๆ

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558

5 ข้อควรรู้นักปั่นสาว

จักรยานไม่ใช่กีฬาที่ยากเย็นจนเกินไป และไม่มีอุปสรรคไหนที่สาวๆนักปั่นจะหลีกเลี่ยงกีฬาชนิดนี้ แถมยังส่งผลดีอีกหลายๆด้านที่เป็นเสน่ห์น่าหลงใหลสำหรับสาวๆนักปั่น ทุกวันนี้มีสาวๆ ทั้งสาวน้อย สาวใหญ่ หันมาปั่นจักรยานเป็นกีฬาและออกกำลังกายกันมากมาย Velopedia ขอเอาใจสาวๆบ้าง นำเสนอ 5 ข้อควรรู้สำหรับนักปั่นสาวๆกันบ้าง


1.กางเกงจักรยานดีๆ ไม่มีชั้นใน
อย่าตกใจกับข้อเท็จจริงข้อนี้.. กางเกงจักรยานมีเป้าบุรองรับเพื่อความสบายในการปั่นจักรยาน และเจ้าเป้านี้ออกแบบมาให้รองรับสัมผัสกับผิวหนังคนเราโดยตรง ไม่ได้ออกแบบมาให้อยู่กับกางเกงชั้นใน ดังนั้นหากได้กางเกงจักรยานดีๆมาสักตัวแล้ว ทุกครั้งที่ปั่นจักรยาน ลองบอกลากางเกงในไม่ว่าจะเป็นลายลูกไม้หรือจีสตริง หรือแม้กระทั่งกางเกงชั้นในแบบกีฬา เพราะกางเกงในตัวน้อยจะกลายเป็นสิ่งระคายเคืองการขยับร่างกายไปแทน ใน 1 นาทีขาของนักปั่นขยับสองข้างรวมๆกันเกือบ 200 ครั้ง นั่นแปลว่าไม่ว่าจะเป็นตะเข็นหรือขอบกางเกงชั้นในจะเบียดเสียด เสียสี กับผิวหนังอ่อนนุ่ม บอบบางเป็นพันๆครั้งกว่าจะปั่นครบ 1 ชม. แรกๆอาจรู้สึกตะขิดตะขวงใจที่ต้องรู้สึก"เบาหวิว" แต่ความสบายตัวจะเป็นสิ่งพิสูจน์เองนะ ว่ามันดีอย่างนี้ นี่เอง
อย่าลืมหาโอกาสเลือกกางเกงจักรยานสำหรับผู้หญิงดีๆสักตัว ขนาดและรายละเอียดของตัวบุที่เป้าจะไม่เหมือนกับของผู้ชาย รองรับกับส่วนซ่อนเร้นของผู้หญิงได้พอดีกว่า มีพื้นที่บุดที่ก้นกว้างรองรับกับขนาดของอุ้งเชิงกรานที่กว้างกว่าผู้ชาย ทว่าหายากและราคาสูงสักหน่อย ทางที่ดีมองหากางเกงจักรยานที่ใส่แล้ว"พอดี" กระชับกับสรีระทั้งภายนอกและภายในจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

2.หาเบาะสำหรับผู้หญิง
เบาะหรืออานจักรยานเป็นส่วนที่สัมผัสกับร่างกายตรงๆและส่งผลกับความสบายในการปั่นมากที่สุด เบาะที่ไม่พอดีอาจทำให้วันสบายๆบนสองล้อกลายเป็นนรกที่ไม่อยากแม้แต่จะเอาก้นลงไปแตะมันก็ได้ สรีระของผู้หญิงแตกต่างจากผู้ชาย มีอุ้งเชิงกรานที่กว้างกว่า ซึ่งส่งผลให้ส่วนรองรับกว้างกว่าผู้ชาย การเลือกเบาะที่ดีที่สุดคือเบาะที่มี sit zone รองรับพอดีกับกระดูกเชิงกราน เบาะหลายๆยี่ห้อจะมีขนาดของเบาะให้เลือกความกว้างได้ ทางที่ดีควรมองหาเบาะที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับสรีระของสาวๆ แต่หากไม่สามารถหาได้ ลองมองหาเบาะที่มี sit zone กว้างๆ แต่ก็ต้องพิจารณาด้วยยว่าพอดีกับการขยับขาด้วยหรือไม่
หากคุณเป็นสาวๆหน้าใหม่ที่เพิ่งมาปั่นจักรยาน อย่าเพิ่งท้อเพียงเพราะว่าอาการเจ็บก้นแล้วปั่นไม่สนุก นักปั่นเกือบทุกคนต้องค้นมองหาเบาะคู่ก้นขนกว่าจะเจอใช้เวลากันพอสมควร เพราะก้นใครก็ก้นมัน ก้นเธออาจจะสบายสำหรับยี่ห้อนี้ แ่ใช่ว่าทุกคนจะสบายเหมือนกันหมด ค่อยๆมองหาเบาะที่เหมาะสมกับสาวๆแต่ละคน ราคาไม่ใช่ปัจจัยแต่อย่างใด

3.จักรยานสำหรับผู้หญิง
ร่างกายของผู้หญิงไม่ใช่ผู้ชายที่หดขนาดลงมา มีสัดส่วนความยาวที่แตกต่างกันระหว่างขา แขน และลำตัว ที่สำคัญ อุ้งเชิงกรานและสะโพกผายสวยงามของสาวๆทำให้จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายอยู่ต่ำกว่าผู้ชายที่มีจุดศูนย์ถ่วงอยู่เยื้องไปด้านบนของร่างกาย ดังนั้นหากสาวๆขึ้นไปขี่จักรยานที่ปรับมารองรับร่างกายของผู้ชาย แม้จะได้ระยะขนาดพอดีแต่ต้องเสี่ยงกับอาการบาดเจ็บที่ไหล่และต้คอ ลองมองหาจักรยานที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับผู้หญิงดู หรือเลือกใช้บริการฟิตติ้งมืออาชีพที่ปรับให้ระยะต่างๆลงตัวกับผู้หญิงมากที่สุด
อย่าเซ็ทรถด้วยองศาและระยะเดียวกับผู้ชายเด็ดขาด เพราะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อผู้หญิงก็น้อยกว่าผู้ชายอยู่แล้ว หากเกิดอาการบาดเจ็บจากการเซ็ทขนาดและระยะที่ไม่เหมาะสม จะบาดเจ็บมากกว่าหนุ่มๆ และส่งผลเร็วกว่ามาก

4.รองเท้าและบันไดจักรยาน
สาวๆต่างมารองเท้าหลายคู่เป็นปกติสำหรับโอกาสต่างๆกัน ลองเพิ่มรองเท้าจักรยานดีๆอีกสักคู่ในคอเล็คชั่นรองเท้า หรือจะเลือกหลายๆคู่สำหรับสลับกันใส่ให้เข้าชุดกันก็ไม่เลวนัก รองเท้าจักรยานออกแบบมาให้มีพื้นรองเท้าที่แข็งและส่งกำลังได้ดีกว่ารองเท้าผ้าใบธรรมดา โดยเฉพาะรองเท้าวิ่งหรือรองเท้ากีฬาเอนกประสงค์ที่ออกแบบมาให้รองรับแรงกระแทก และพื้นรองเท้าที่รองรับแรงกระแทกนั้นเองที่ซึมซับเอาแรงถีบที่เราอุตส่าห์ใส่ลงไปที่บันไดหายไปกับความนุ่ม แถมด้วยอาจส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บที่สะโพกและข้อเท้าจากความไม่มั่นคงของพื้นที่ปั่นอีกด้วย ลองมองหารองเท้าเสือหมอบ หรือเสือภูเขาก็ได้ การปั่นจักรยานจะสนุกขึ้นอีกมาก
และอย่าลืมหาบันไดจักรยานดีๆสักคุ๋ ไม่ว่าจะเป็นแบบคลิปสายรัด(ตะกร้อ) หรือแบบคลิปเลส(บันไดคลีท) นอกจากเท้าจะขยับไปพร้อมๆกับบันไดได้ไม่ต้องกลัวบันไดตีขาจนเจ็บแล้ว ยังช่วยให้ออกแรงควงบันไดได้ดีขึ้น และกระชับกล้ามเนื้อขาให้ได้ท่อนขาเรียวงามกลมกลึงรอบด้าน แทนที่จะน่องโป่งเป็นสามล้อถีบอย่างเดียว

5.อย่าลืมหัดซ่อมแซมง่ายๆเอง
แม้ว่างานช่าง งานสกปรกดูช่างไม่เข้ากับสาวๆเอาเสียเลย แต่การปั่นจักรยาน นักปั่นไม่ว่าหนุ่มหรือสาว ควรเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยตัวเองให้ได้ เช่นการถอด/ใส่ล้อ การปะยางในกรณียางรั่ว การแก้ปัญหาโซ่หลุด โซ่ตก ...แม้ว่ายิ้มหวานๆข้างทางจะเรียกเทพบุตรควบสองล้อมาจอดช่วยเหลือสาวๆได้ไม่ยาก แต่ไม่มีอะไรจะการันตีได้ว่าวันไหนที่ถนนว่างโล่ง สาวๆต้องยืนยิ้มจนเหงือกแห้งรอหนุ่มนักปั่นสักคนผ่านมาถึงครึ่งวันหรือไม่ เพื่อความปลอดภัย ลองปรึกษาหนุ่มนักปั่นใกล้ตัว หรือร้านจักรยานที่สนิทสนมให้สอนการดูแลและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆเล็กๆน้อยๆเอง หมั่นลองทำบ่อยๆไม่กี่ครั้งก็จะชินกับงานช่างมือเลอะได้เอง
วิธีแก้ปัญหาเรื่องมือเลอะง่ายๆก็คือ พกกระดาษทิชชู่เปียกติดกระเป๋าจักรยานไปสักแพ็ค นอกจากเช็ดมือได้แลเ้ว ยังช่วยให้การแวะทำธุระส่วนตัวสะอาดได้อนามัยมากขึ้นด้วย ...อย่าหวังว่าจะหาของแบบนี้ได้จากหนุ่มๆนักปั่นเลย พวกนั้นเช็ดกางเกงกับป้ายพื้นเอา
ขอให้สาวๆทุกคนปั่นจักรยานอย่างสนุกสนาน หุ่นสวย หุ่นดี มีสุขภาพ ได้พบเพื่อนๆและมิตรภาพอันสวยงามบนสองล้อ อย่าลืมชวนกันมาปั่นจักรยานมากๆ ลองมานัดกันปั่นจักรยานให้ได้เหงื่อสักนิด ก่อนจะไปช็ฮปปิ้งให้สบายใจ อย่างน้อยขนมที่กินเข้าไปเมื่อวานนี้ก็เผาผลาญไปได้ตอนที่เราปั่น

5 วิธีดื่มน้ำบนจักรยาน


มันอาจจะเป็นเรื่องง่ายๆที่ง่ายแสนง่ายจนหลายๆคนตั้งคำถามว่าทำไมต้องเอามาทำเป็นบทความด้วยนะ แต่จากเรื่องราวบอกเล่าที่ได้รับมา จากข่าวสารของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น และเรื่องเล่าจากหน้าโซเชียลไม่นานมานี้ เราจึงตัดสินใจหยิบเรื่องง่ายๆนี้แหละมาเล่าสู่กันฟัง มากลั่นกรองออกมาเป็น 5 ข้อหลักๆที่เชื่อว่าหลายๆคนอาจยังไม่ได้สังเกตุว่าการดื่มน้ำที่ไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดเรื่องใหญ่ระดับเสียหายหลายแสน ไปจนถึงเจ็บเนื้อเจ็บตัวได้ไม่ยากเลย
แต่ละคนอาจมีวิธีและกลเม็ดที่แตกต่างกันไป แต่ Velopedia เชื่อว่า 5 วิธีนี้จะครอบคลุมวิธีดื่มต่างๆที่พึงปฏิบัติ และแม้ว่ามันจะเป็นเรื่องที่ง่ายแสนง่าย หลายๆคนคงไม่พบปัญหากับมัน แต่ก็อยากฝากให้แชร์ต่อกันไปครับ น่าจะมีเพื่อนนักปั่นที่ได้รับประโยชน์จากบทความนี้อยู่ หวังว่าบทความจะสามารถเจาะเข้าไปหาเพื่อนนักปั่นได้ทั่วถึง เพื่อความสุข สนุก และปลอดภัยของทุกท่านนะครับ



1.จุกมีไว้..ฉีด ไม่ได้เอาไว้ดูด
ข้อแรกนั้นอาจจะไม่เกี่ยวกับความปลอดภัยมากนัก แต่เป็นสิ่งที่หลายๆท่านอาจไม่รู้ โดยเฉพาะเพื่อนนักปั่นที่มาจับจักรยานเป็นครั้งแรกๆ ขวดน้ำจจักรยานมีจุดที่แลดูคล้าย"ขวดนม" เอาเข้าปาก งับจุกให้เลื่อนออก แล้ว ดูดน้ำดื่มเข้าไป ....แต่จริงๆไม่ใช่นะครับ จุกนี้เอาไว้ปิดไม่ให้มีอะไรเข้าไปในขวดได้ และสามารถเปิดให้น้ำออกมาได้ง่ายๆโดยไม่ต้องบิดหรือดัน จุกไม่หลดกระเด็นไป และวิธีเอาน้ำออกจากขวดที่เหมาะที่สุดคือการ"บีบ"ขวดให้น้ำพุ่งออกมาทางจุกเข้าปากของท่าน เพราะหากท่านๆเราๆดูดน้ำ คงต้องแหงนหน้าตั้งขวดดูดกันเป็น baby นอนดูดขวดนมเวลาน้ำใกล้หมด แต่การบีบสามารถอัดน้ำออกมาได้โดยที่ไม่ต้องยกขวดตั้งมาก ที่สำคัญ...เชื่อว่าหลายๆท่านคงไม่ค่อยได้ล้างจุก... พยายามให้จุกโดนปากน้อยที่สุดเพื่อป้องกันการสะสม หมักหมดเชื้อโรคเลยนะครับ ถึงจะปากเราเองก็เถอะ

2.ปิดตาคลำ จับยัดใส่
จักรยานเป็นพาหนะ ที่เดินทางด้วยความเร็ว และอยู่ห่างกันเพียงไม่กี่ฟุต การละสายตาจากภาพเบื้องหน้าเพียงไม่กี่วินาที อาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ หรือเรียกอีกอย่างว่าประมาทเมื่อไหร่ อันตรายก็ถามหา ใช่แล้วครับ...ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม พยายามอย่าละสายตาออกจากเบื้องหน้าของเราเลยจะดีที่สุด จะหยิบ จะจับขวด จะใส่กลับไปที่เดิม พยายามทำให้ได้โดยไม่ต้องก้มลงไปมอง ฟังดูแล้วอาจเป็นไปได้ยาก แต่ลองจินตนาการว่าเวลาที่ขับรถยนต์ เคยมีใครต้องก้มลงไปมองหาแป้นเบรคก่อนเหยียบเบรคหรือไม่? มีใคต้องมองหาคันเกียร์ก่อนเข้าเกียร์หรือไม่? ความเคยชินและความคล่องแคล่วคือสิ่งสำคัญ หมั่นฝึกฝนและทำความคุ้นเคยกับจักรยานที่ท่านขี่ ยั่งท่านขี่และฝช้เวลากับมันมากขึ้นก็ยิ่งสามารถหยิบฉวยจับอะไรๆได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องก้มไปมองให้เสี่ยงอันตราย

3.มือซ้าย มือขวา มือไหนดีนะ
เคยสังเกตุไหมครับว่าบางครั้งการละมือหนึ่งมาหยิบขวดน้ำเพื่อดื่ม เราเหลือมืออะไรเอาไว้และจะส่งผลอย่างไร ในสภาพปกติก็คงไม่มีอะไรน่ากังวล แต่ลองนึกภาพว่าหากมือขวาของท่านกำลังถือขวดน้ำบีบเข้าปาก แล้วเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นเบื้องหน้าจำเป็นต้องเบรคอย่างแรง มือที่กำเบรคคือ...มือซ้าย และเบรคที่ห้ามล้อได้แก่เบรค ...หน้า ถ้าความ "ซวย" มาพร้อมกัน ความเร็วและจังหวะเหมาะ ท่านอาจจะได้บินข้ามแฮนด์และเสียหลักล้มลงไม่ยากเลย เพราะเบรคหน้าหากกำแรงๆสามารถส่งกำลังเบรคล็อคได้ทันที ดังนั้นในสถานการณ์สุ่มเสี่ยง ควรสามารถใช้มือซ้ายหยิบฉวยเพื่อปล่อยมือขวาเอาไว้ควบคุมรถจะดีกว่า แต่คนส่วนมากถนัดมือขวา จึงใช้มือขวาในการหยิบจับสิ่งของ อาจจะเป็นเป็นเรื่องเล็กๆ แต่สถานการณ์บางอย่างเช่นลงเขายาวๆ ทางไม่คุ้นชินและกลุ่มแออัดหนาแน่น ...ลองทบทวนสักนิดเพื่อความปลอดภัย

4.อย่าแหงนหน้า เอียงตัวเชียว
เวลายกขวดน้ำขึ้นเพื่อดื่มน้ำ หลายๆท่านยกขวดขึ้นตรงๆเบื้องหน้าแล้วแหงนหน้าขึ้นด้านบนเพื่อบีบให้น้ำเข้าปาก และจังหวะนั้นเองที่ท่านอาจมองไม่เห็นภาพเบื้องหน้า หรือแม้แต่หลายๆท่านเสียจังหวะการทรงตัวเมื่อหยิบขวดน้ำแล้วดื่มน้ำ รถส่ายไปส่ายมาเพราะตัวเอียงไปด้านข้าง วิธีที่เหมาะคือการยกขวดน้ำขึ้นเฉียงไปด้านข้าง ยกขึ้นนิดหน่อย เอียงหน้าอ้าปาก แค่นี้น้ำก็เข้าปากได้โดยที่ไม่ต้องเอียงทั้งตัวและละสายตาจากภาพข้างหน้า อยากให้ทุกท่านลองคิดเอาไว้ว่าไม่ว่าจะเป็นการดื่มน้ำ กินอาหาร หยิบของ ใส่เสื้อ หากท่านรักจะปั่นจักรยานจริงจังแล้วล่ะก็ ต้องฝึกหัดทักษะที่จะใช้ชีวิตอยู๋บนจักรยานได้อย่างสบายๆ ไม่เกร็ง ไม่เสียการทรงตัว เพราะทุกขณะเวลาที่เราเดินทางไปบนจักรยานเราควรสามารถควบคุมทุกอย่างได้มากที่สุด เพื่อความปลอดภัยของตัวเราและเพื่อนร่วมทางที่ไปด้วยกัน

5.บริหารน้ำทั้งสองขวด ให้ง่ายต่อการใช้
เป็นทริคเล็กๆที่หลายคนอาจไม่สังเกตุ เคยสังเกตุตัวเองไหมครับว่าท่านหยิบขวดน้ำทั้งสองขวดถนัดไม่เท่ากัน? ด้วยระยะเอื้อมและองศาที่ต่างกัน แต่ละคนจะถนัดขวดน้ำต่างกัน บางคนถนัดขวดที่ท่อนั่งมากกว่า บางคนถนัดขวดที่ท่อล่างมากกว่า ขวดที่ถนัดที่สามารถหยิบฉวยได้ง่ายและเร็วควรใช้เมื่อยามจำเป็นเช่นกรณีความเร็วสูง เส้นทางไม่คุ้นเคย คนหน้าแน่น ส่วนขวดที่ไม่ถนัดมากเท่า ใช้มันเวลาที่ถนนโล่ง ความเร็วไม่สูง และหากน้ำหมดขวดหนึ่งลองสลับขวดที่ยังไม่หมดมาไว้ในโครงกระติกที่เราถนัดสิครับ ชีวิตที่ง่ายดายจะอยู่คู่กับจักรยานไปตลอดกาล แปลง่ายๆก็คือถ้ามันยุ่งยากมากเราเลือกทำสิ่งที่ง่ายก่อน หากชีวิตไม่ได้ลำบากก็หยิบฉยอะไรที่ยากกว่าเก็บของง่ายๆเอาไว้ยามวุ่นวายดีกว่า สุดท้ายฝากว่าไม่ว่าจะแข่งขันหรือไม่แข่งขัน อยากให้ช่วงเวลาการดื่มน้ำผ่านไปโดยเร็วที่สุด แน่นอนครับในการแข่งขันการหยิบน้ำดื่ม ชักช้า อ้อยอิ่ง หรืองุ่มง่ามเก็บขวดน้ำไม่ลงรูสักที เป็นโอกาสช้ชะตาที่โดนคู่แข่งถือโอกาสหนีไปมาหลายกรณีแล้ว แต่สำหรับการขี่ปกติที่ไม่แข่งไม่ได้รีบร้อนแม้ว่าจะไม่ต้องมาเร่งรีบ แต่ช่วงเวลาที่ดื่มน้ำท่านเหลือมือคุมรถอยู่เพียงมือเดียว สมรรถนะในการควบคุมลดลงมาก โอกาสเกิดอุบัติเหตุมีสูงขึ้น
ด้วยเหตุนี้พยายาม"ฝึกฝน" การดื่มน้ำให้ถูกวิธีและปลอดภัยควบคู่กับการปั่นจักรยานให้ดีและแข็งแรง นอกจากจะดีต่อตัวท่านเอง ยังดีต่อเพื่อนร่วมทางที่ไปด้วยกัน เพราะการพลาดเพียงเสี้ยววินาทีที่ขวดน้ำหลุดมือท่านลงไปบนพื้น อาจทำให้เพื่อนที่ตามหลังมาต้องสะดุดล้ม หรือหลบกันให้วุ่นวายจนอาจเกี่ยวกันเกิดอุบัติเหตุได้
เรื่องง่ายๆที่อาจทำให้เกิดความเสียหายได้ ถึงเราจะไม่อยากเรียกมันว่า"ความประมาท" หรือ "เลินเล่อ" แต่คงต้องยอมรับว่าหากฝึกฝนจนมีทักษะที่ดี ความเสี่ยงก็จะลดน้อยลงไปด้วยนั่นเอง

วัตต์ vs รอบขา vs หัวใจ


รอบขาและวัตต์สำพันธุ์กันอย่างไร?
คำถามนี้เป็นสิ่งที่หลายๆคนอาจจะยังรุ็สึกว่าไม่เห็นน่าจะสำคัญ แต่ถ้าเปลี่ยนคำถามเป็นถามว่า "รอบขากับแรงที่ออกสัมพันธ์กันอย่างไร" ดูจะฟังแล้วน่าสนใจชึ้นมาเยอะ เพราะถ้าพูดว่า "วัตต์" หลายๆคนมองว่ามันไกลตัวเกินไป แต่แท้ที่จริงแล้ววัตต์คือการนำเอากำลังที่เราออกแรงเคลื่นจักรยานด้วยความเร็วหนึ่งออกมาเป็นตัวเลขให้เราเห็นชัดเจน ดังนั้นค่าวัตต์ที่สัมพันธ์กับรอบขา ก็คือการที่เราออกแรงนั้นสัมพันธ์กันอย่างไรนั่นเอง
ลองมาทบทวนเนื้อหาวิชาฟิสิกส์มัธยมปลายกันคร่าวๆ นะครับ ปัจจัยที่ส่งผลกับกำลังในการออกแรงก็คือมวลของวัตถุและความเร็วที่เคลื่อนที่ ดังนั้นที่การเคลื่อนที่ของคนปั่นจักรยานและความเร็วหนึ่งๆนั้นจะใช้กำลัง*เท่าเดิม* เสมอ กฏพื้นฐานนี้คงเข้าใจไม่ยากครับ
ต่อมาลองดูให้ดีๆจะพบว่า การที่เราจะเคลื่อนที่ไป(ปั่นจักรยาน)ให้ได้ความเร็วหนึ่ง เราสามารถออกแรงได้หลากหลายแบบมาก เช่น เราจะปั่นความเร็ว 25 กม./ช. เราสามารถปั่นด้วยเกียร์เบาจานเล็กเฟืองใหญ่ซอยขาไป 110rpm หรือจะกดจานใหญ่เฟืองเล็กรอบต่ำที่ 60rpm ไปก็สามารถเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วเดียวกันได้ แล้วเราออกแรงเท่าเดิมหรือไม่?? นี่แหละครับคือประเด็นหลักของบทความนี้เลย ผมขอให้ทุกท่านหลับตานั่งนึกถึงการปั่นที่ยกตัวอย่างทั้งสองแบบ แล้วตอบคำถามในใจว่าคำตอบออกมาเป็นเช่นไร ...ออกแรงปั่นมากกว่าที่รอบขาต่ำ ....หรือออกแรงปั่นมากกว่าที่รอบขาสูง ...หรือออกแรงปั่นเท่ากัน ...?
คำตอบคือ ...ย้อนกลับไปกฏฟิสิกส์ครับ มวลเท่าเดิม ความเร็วเท่าเดิม ดังนั้นออกแรงกระทำ "เท่าเดิม" สรุปคือ เกียร์เบาซอยยิก เกียร์หนักกดหนึบ ถ้าได้ความเร็วเท่ากัน ในสภาพแวดล้อมเหมือนกัน จะใช้แรงกดไม่ต่างกันเลย ออกแรงเท่ากันเป๊ะๆ นี่คือหัวใจของการออกแบบระบบเกียร์ให้เราได้เปรียบเชิงกลในการเคลื่อนที่ครับ
แล้วถ้าเราใช้เกียร์เดิมตลอด เช่นที่จานหน้า 53 เฟืองหลัง 20 ที่รอบขา 90 ได้ความเร็วหนึ่ง แล้วเราเพิ่มรอบขาไปเป็น 100 รอบต่อนาที ผลที่ได้คือ ...เราไปได้เร็วขึ้น และใช้กำลังมากขึ้นในการขับเคลื่อนฟ้องมาเป็นค่าวัตต์ที่เพิ่มขึ้น และในทางกลับกันที่เกียร์เดิมหากลดรอบขาลงมาที่ 80 รอบ ความเร็วก็จะช้าลงและใช้กำลังน้อยลง
น่าจะเข้าใจเรื่องของ วัตต์ vs รอบขา กันไปแล้ว ต่อไปมาดู วัตต์ vs หัวใจ กันนะครับ
วัตต์กับหัวใจนั้นจริงๆแล้วทำงานสอดคล้องกัน เพราะวัตต์คือค่ากำลังที่เราออกแรงกระทำลงไปจริงๆ หัวใจหรือชีพจร(heart rate) คือค่าที่ร่างกายตอบสนองฟ้องผลของการออกแรงกระทำนั้นกลับมา ดังนั้นหากออกแรงมากขึ้น(วัตต์เพิ่ม) ชีพจรก็จะสูงขึ้น(heart rate เพิ่ม) เป็นเรื่องปกติที่เข้าใจได้ไม่ยาก ในทางกลับกัน แน่นอนครับหากต้องการลดชีพจรก็ลดกำลังที่เราออกไปเมื่อวัตต์น้อยลงชีพจรก็ลดลงตามมาด้วย (หากสังเกตุดีๆใครที่มีทั้งสองอย่างจะเห็นได้ว่าชีพจรจะตอบสนองทีหลังการเปลี่ยนแรงที่ออกไปเสมอ เพราะมันคือ re-action) แล้วมันยุ่งยากน่าฉงนขนาดนั้นตรงๆหน ?? ลองมาดู รอบขา vs หัวใจ ดูนะครับ
บททดสอบที่หากใครมี HRM(Heart Rate Monitor) ลองสังเกตุดูง่ายๆ ลองปั่นความเร็ว 20 กม./ชม. ใช้เกียร์ที่รอบขาราวๆ 100rpm จากนั้นเปลี่ยนไปใช้เกียร์หนักๆ รอบขาเหลือ 60rpm แต่มีความเร็วเท่าเดิม แล้วสังเกตุชีพจรดูจะพบกับข้อน่าฉงน เราอธิบายไปแล้วว่าการปั่นทั้งสองแบบนี้ใช้กำลังวัตต์(หรือแรงที่ออกไป) เท่ากัน และวัตต์สอดคล้องกับชีพจรไปในทางเดียวกัน หากวัตต์เท่าเดิม ชีพจรก็ควรจะเท่าเดิม
...ทว่ากรณีนี้พบว่า "ชีพจรลดลง" หรือถ้านับเป็นความรู้สึกก็คือ "เหนื่อยน้อยลง" นั่นเอง และนี่คือกรณีสมมุติของหลายๆท่านที่คงมีอาการแบบนี้
..."ปั่นมาความเร็วคงที่ เหนื่อยหอบหายใจแทบจะไม่ทัน ใหนเค้าสอนให้ซอยยิกๆแล้วจะสบาย พอกดลดเฟืองไปหน่อยลดรอบขาเท่านั้นแหละ เออหายเหนื่อยเว้ย"... นั่นเพราะว่าเมื่อลดรอบขาลงมากๆ ระบบการทำงานของร่างกายจะเปลี่ยนไป(ลองอ่านเรือ่งระบบพลังงานแต่ละช่วง) ที่ร่อบขาต่ำ การทำงานไม่ถี่มาก แม้จะออกแรงเท่าเดิม กล้ามเนื้อยังสามารถหดตัวทำงานต่อไปเรื่อยๆได้ ถ้านับต่อหนึ่งช่วงขณะที่เกิดแรงบิด แท้ที่จริงแล้วการปั่นรอบต่ำจะเกิดแรงบิดมากกว่า ส่วนการปั่นรอบขาสูงร่างกายจะใช้การออกแรงบิดน้อยๆแต่ต่อเนื่องกันหลายๆทีติดๆกัน(หรือเอาจะนวนครั้งเข้าว่า) ทำให้ระบบทำงานแม้จะทำงานไม่ได้หนักมาก กล้านมเนื้ออกแรงไม่เยอะก็จริงแต่ระบบไหลเวียนโลหิตต้องทำงานเพิ่มขึ้นชดเชยการใช้พลังงานท่เบาแต่เร็วขึ้น ซึ่งหากดูแรงบิดของการปั่นแบบนี้แรงบิดจะต่ำกว่ามาก
ซึ่งเมื่อเข้าใจทั้งวัตต์, รอบขา และ หัวใจ ได้จะพบว่า รอบขาคือตัวช่วยที่สำคัญในการปั่นจักรยาน
ลองสังเกตุตัวเองดูนะครับว่าความเนหนื่อยขะปั่นจักรยานนั้นต่างกัน 2 แบบหลักๆก็คือ เหนื่อยแบบหายใจหอบถี่ หัวใจเต้นเร็ว กรณีนี้คืออาการทำงานระบบหมุนเวียนโลหิตหรือแปลง่ายๆผมขอเรียกมันว่า"หอบ" อีกอาการคืออาการขาร้อนผ่าวกดไม่ลงขยับแทบไม่ไหวเกิดจากกล้ามเนื้อที่ล้าและหมดเรี่ยวแรง ซึ่งมีทั้งสาเหตุและอาการแตกต่างกันอย่างที่อธิบาย(ถ้ามาพร้อมกันเรียกว่า"ง่อย"ครับ) หาก"หอบ"มากๆแล้วยังไม่สามารถลดระดับลงมาได้จะเกิดอการที่นักปั่นเรียกกันว่า"หม้อน้ำระเบิด"ตามมา ในขณะที่ถ้าฝืนกล้ามเนื้อไปมากๆเข้าหากไม่เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ฉีกขาด ก็มักจะตามมาด้วยตะคริวนั่นเอง
ความรู้เรื่องรอบขาและวัตต์กับหัวใจช่วยเราได้อย่างไร?
ในสถานการณ์ที่คุณกำลังหอบหายใจแทบไม่ทัน ลองกดเกียร์หนักแล้วลดรอบขาลง ชีพจรจะลดลงอย่างรวดเร็ว กล้ามเนื้อทำงานหนักขึ้น ยังคงได้ความเร็วเดิม หรือในกรณีที่กดก็จะไม่ลงอยู๋แล้วแต่ยังหายใจไม่เร็วมากก็ลองไปเฟืองใหญ่ขึ้นสักหน่อยเพิ่มรอบขาควงไปเร็วกว่าเดิมจะรู้สึกเบาขามากขึ้นในขณะที่เหนื่อยขึ้นแต่ก็ดีกว่าฝืนต่อไปจนกล้ามเนื้อบาดเจ็บ ...นี่คือคำอธิบายของประโยคที่บอกว่า"รอบขาคืออาวุธสำคัญของนักจักรยาน"
แล้วเราจะฝึกพัฒนาทั้งระบบหมุนเวียนโลหัดและกล้ามเนื้ออย่างไรเพื่อให้มีรอบขาที่ดีพอจะใช้งานได้ทั้งรูปแบบรอบต่ำและรอบสูง?? คอยติดตามต่อไปถึงรูปแบบการฝึกหัด ซึ่งต่อไปนี้จะเทียบอิงกับทั้งวัตต์และหัวใจซึ่งจะใช้ทั้งระบบชีพจรอ้างอิงกับ Max Heart Rate และใช้งานเชื่อมโยงกับ LTHR หรือ FTHR ดังนั้นใครยังงงเรื่องชีพจรต่างๆ

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558

กลเม็ดปลุกเร้าแรงใจ



วันนี้ เราขอนำเสนอ 5 กลเม็ดปลุกเร้าใจตัวเอง เพื่อให้ทุกท่านสามารถขี่จักรยานได้อย่างมีความสุข สุขภาพดีและสนุกสนานได้แม้ว่าจะพจญกับความวุ่นวายรัดตัว ...ใช่แล้วครับ เราไม่ใช่โปร เราจ่ายเงินเพื่อขี่จจักรยาน เรามีหน้าที่การงาน และความรับผิดชอบ แต่สิ่งเหล่านั้นอาจทำให้เราไม่มีเวลาปั่นได้เท่าใจหวัง แต่ไม่มีอะไรบั่นทอนใจเราได้นอกจากตัวของเราเองครับ

1.เสียเงินอัพของใหม่
ปกติแล้ว Velopedia ไม่ค่อยได้เชียร์ให้เล่นอัพเกรดหรือลงทุนทุ่มงบกับการอัพรถซักเท่าไหร่ ออกจะเน้นไปทางการพัฒนาร่างกายและการปั่นอย่างปลอดภัยมากกว่า แต่วันนี้ขอเชียร์ให้ท่านใดก็ตามที่กำลังห่อเหี่ยวหมดแรงใจจะออกปั่น ลองควักเงินซักหนึ่งก้อน อัพอะไหล่หรือชิ้นส่วนที่น่าสนใจซักชิ้น แม้แต่เสื้อผ้า แว่น หมวก รองเท้า รับรองว่าจิตใจของท่านจะกลับมาฮึกเหิมปั่นระห่ำได้อีกครังไปอีกระยะหนึ่ง และอาจนานพอที่ท่านจะเรียกความฟิตและความสนุกบนจักรยานกลับมาได้เหมือนวันเก่าๆ ลองส่องดูตั้งแต่โซ่ใหม่ เฟืองใหม่ สายเกียร์ใหม่ ไปจนถึงล้อเบาเทพ ล้อคาร์บอนงามๆ หรือแม้แต่ จัดโปรโมชั่นเฟรมรุ่นใหม่ รถใหม่ อะไรๆก็น่าขี่ไปหมด

2.มองหาเพื่อนร่วมทาง
ไม่ว่าจะไปขอแจมกับกลุ่มนักปั่นที่มีอยู๋แล้ว หรือจะสร้างเพื่อนนักปั่นใหม่ เดี๋ยวนี้ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพียงท่านไปร้านจักรยานใกล้บ้าน ลองถามหากลุ่มนักปั่น รับรองว่าจะพบกับเพื่อนนักปั่นใหม่ๆได้ไม่ยาก ลองไปแจมกับกลุ่มปั่นที่น่าสนใจ มีทักษะและความเร็วที่ใกล้เคยงกับท่าน ให้ได้ออกแรงสนุกสนาน ได้สปรินท์ทับเพื่อน ได้ลากเพื่อนลิ้นห้อย หรือได้เกาะติดหนึบเป็นปลิงดูดสะใจก็ตาม
หากมองหากลุ่มที่โดนใจไม่ได้ ลองเข้า website อย่าง thaimtb.com มองหาทริปปั่นเลยครับ เลือกเอาวันเวลาที่น่าสนใจ หรือแม้แต่ไล่หาใน facebook ตามกลุ่มต่างๆ สุดท้ายถ้ายังไม่ได้จริงๆ จัดการสร้างกระแสชวนปั่นเองเลยก็ไม่ใช่เรื่องยากครับ เลือกเส้นทางเหมาะๆ ผมเชื่อว่าหากเลือกเส้นทางน่าสนใจ เวลาที่เหมาะสม น่าจะหาเพื่อนนักปั่นมาร่วมกันได้ไม่มากก็น้อย

3.ตั้งเป้าหมายเอาไว้แล้วไปให้ถึง
หากการออกไปปั่นวันๆไม่สามารถสร้างแรงบันดาลใจของท่านได้มากพอ ลองค้นหาข้อมูลทริป การแข่งขัน ในอนาคต 3-5 เดือน แล้วตั้งใจมุ่งมั่นแน่วแน่เดินไปให้ถึงเป้าหมายให้ได้ ลองตั้งเป้าให้เหมาะสมครับ เช่นของจบทริป 70 กม. แบบหล่อๆ ขอพิชิตดอยอินทนนให้ได้แบบขาไม่แตะพื้น แน่นอนว่าท่านอาจห่างร้างจากฟอร์มสดมานาน อย่าคาดหวังประเภทขอโพเดี้ยมรายการทัวร์ 5 วัน ...แบบนั้นท่านจะท้อใจเสียอีกรอบและอาจแขยงจักรยานไปอีกนานแสนนาน

4.เทคโนโลยีช่วยท่านได้
ปัญหายิ่งใหญ่ที่คนเราหมดแรงบันดาลใจก็คือ "เราไม่สามารถรู้ว่าเราเสื่อมถอยหรือพัฒนาได้แค่ไหน" ผมขอแนะนำ power meter หรือ watt meter แม้แต่หา heartrate monitor ก็มาช่วยได้ ศึกษาหาวิธีใช้ให้เข้าใจ (หาไม่ยากครับ ไล่อ่านด้านล่างเอาเลย จนถึงวันนี้ Velopedia มั่นใจว่าคลายสงสัยเรื่องพื้นฐานเหล่านี้หมดแล้ว) อุปกรณ์เหล่านี้อาจจะแพงและดูไม่จำเป็นแต่ไม่มีอะไรที่จะบอกได้ชัดเจนว่าท่านกำลังค่อยๆพัฒนาได้ดีกว่า power meter ไม่มีอะไรที่ฟ้องความฟิตของท่านได้ดีไปกว่า heartrate monitor หากท่านชินกับการผูกใจเจ็บกับ av ของเส้นทาง กับระยะทางที่ขี่ได้ ท่านจะแทบไม่มีทางเห็นว่าตนเองกำลังพัฒนาขึ้นอย่างช้าๆ อย่าลืมวันแรกๆ เดือนแรกๆที่ท่านมาปั่นจักรยานอย่างจริงขัง ท่านแทบจะไม่เห็นการพัฒนาอะไรเลย ....ใจเย็นๆและมองหาเครื่องมือที่จะติดตามร่างกายและพัฒนาการของท่านให้ได้
หากท่านเข้าใจการใข้งานของอุปกรณ์เหล่นี้ แม้ว่าท่านจะหลุดกลุ่ม ท่านจะโดนเพื่อนทิ้ง แต่รับรองว่าคุณจะไม่หมดหวัง จะไม่มีทางเลื่อนลอยไร้จุดหมายบนสองล้อแน่นอน ตัวเลขต่างๆจะเป็นเหมือนเส้นชัยค่อยๆนำทางให้ท่านไปทีละก้าวๆอย่างมั่นคงและต่อเนื่อง

5.มองหาตารางการซ้อมที่เหมาะสม
ไม่มีอะไรแย่ไปกว่า การปั่นอย่างไร้ทิศทาง และไม่พัฒนา และไม่มีอะไรแย่เท่ากับการปั่นอย่างหนักแต่ไม่พัฒนาอะไรเลย ...เป็นเรื่องที่ง่ายมากๆที่นักปั่นจักซ้อมหนักเกินไปในวันที่ควรเบา และซ้อมเบาเกินไปในวันที่ควรหนัก และง่ายยิ่งกว่านั้นที่จะซ้อมแบบไม่เกิดการพัฒนาอะไรเลย ซึ่งผลสดท้ายจะทำให้ท่านรู้สึก"ตัน" และหมดสนุกกับการปั่นจักรยานต่อไป มองหาโค้ชส่วนตัว (เสียเงิน) หรือมองหาตารางการซ้อมแบบสำเร็จรูป (ฟรีก็มีหาได้ไม่ยาก) แล้วเอาปฏิฑินมากาง วางเวลาว่างตนเองให้ดี โค้ชที่ดีสามารถออกแบบตารางซ้อมให้ท่านโดยอิงจากเวลาว่างจริงๆของท่านได้ หรือเลือกตารางซ้อมสำเร็จรูปที่หาได้ทั่วไปให้เหมาะกับเวลาว่างของท่าน

พื้นฐานการใช้เกียร์

วันนี้จึงเลือกเอาบทความจากสำนักมาตรฐานระดับโลกมาแปลและเรียบเรียงให้อีกหนึ่งครั้ง เพื่อความกระจ่างชัดและเข้าใจง่าย
อาจจะดูแล้วพื้นฐานไปสำหรับเพื่อนนักปั่นที่ใช้เป็นแล้ว แต่บทความก่อนดูจะละเอียดยุ่งยากไปสำหรับมือใหม่ จนมีคำถามส่งมาถามมาก บทความนี้จึงเลือกเอาที่มาที่เขียนได้เข้าใจง่ายที่สุดมาแปลให้อ่านและง่ายต่อการปฏิบัติตามกัน
นิตยสาร Bicycling หัวหนังสือจักรยานขายดีอันดับต้นๆได้ให้ข้อคิดควรคำนึงถึง 6 ข้อเกี่ยวกับการเปลี่ยนเกียร์จักรยานเอาไว้ดังนี้

1.เกียร์
จักรยานโดยส่วนมากประกอบด้วยจานหน้าเป็นเฟืองใหญ่ 2-3 ใบ และมีเฟืองหลังเป็นชุดเฟืองเรียงกันตั้งแต่ 7 ถึง 11 เฟือง ซึ่งการเปลี่ยนโซ่บนเฟืองและจานต่างๆจะส่งผลต่อการทดแรงปั่นจักรยาน ที่เฟืองแต่ละเฟืองจะเปลี่ยนแล้วให้ความรู้สึกต่างกันน้อยกว่าจานหน้า เฟืองใบใหญ่กว่าจะเบาแรงกว่าและจะหนักขากว่าในเฟืองขนาดเล็ก ส่วนจานหน้าจะส่งผลต่างมากกว่า จานใบเล็กจะเบาขากว่าและจานใบใหญ่จะหนักแรงกว่า

2.ชิฟท์เตอร์
จักรยานโดยส่วนมากจะมีชิฟท์เตอร์ 2 ตัว โดยที่ตัวซ้ายจควบคุมการเปลี่ยนจานหน้า และมือขวาจะควบคุมการเปลี่ยนเฟืองด้านหลัง อาจจำง่ายๆว่า "ซ้ายหน้า-ขวาหลัง" ก็ได้

3.ไม่มีปัญหาอะไรทีที่จะ....
ใช้เพียงจานใบเล็กหรือใบกลางเวลาออกตัวแรกๆ.... ก้มลงมองดูว่าตอนนี้โซ่ของเราอยู๋ที่จานใบใหนและเฟืองที่เท่าไหร่.... เปลี่ยนเกียร์ตามนักปั่นที่มีประสพการณ์มากกว่าที่อยู่ใกล้ๆเรา....

4.เมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยนเกียร์
เกียร์จักรยานถูกออกแบบมาให้รักษาความรู้สึกและทดแรงให้ออกแรงได้ต่อเนื่อง ดังนั้นการเปลี่ยนเกียร์เพื่อรักษาการออกแรงเมื่อเส้นทางผ่านไปในรูปแบบต่างๆจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ เมื่อขึ้นเขาหรือทวนลมก็ควรปรับเกียร์ให้เบาลง เเมื่อลงเขาหรือลมส่งก็ควรปรับเกียร์ให้หนักขึ้น ขณะเปลี่ยนเกียร์ต้องปั่นบันไดตลอดเวลา แต่ผ่อนแรงลงบ้าง ไม่ควรออกแรงกระชากบันไดพร้อมกับการเปลี่ยนเกียร์ เพราะโซ่อาจไม่เข้าฟันเฟืองหรือเกิดอาการโซ่ตกได้

5.หลีกเลี่ยงโซ่เยื้องมาก
โดยการหลีเกเลี่ยงเกียร์ที่ใช้จานใบเล็ฏสุดร่วมกับเฟืองเล็ฏสุด และจานใหญ่สุดร่วมกับเฟืองใหญ่สุด นอกจากจะสร้างความตึงเครียดให้กับชุดขับเคลื่อนแล้วยังอยู๋ในสภาพมีตัวเลือกน้อยลงในการเปลี่ยนเกียร์ต่อไปอีกด้วย

6.สรุปการใช้
ชึ้นเขา : จานเล็กเฟืองใหญ่
ลงเขา : จานใหญ๋เฟืองเล็ก

บทความนี้อาจจะเป็นเรื่องเบสิคง่ายๆของการใช้เกียร์จักรยาน แต่เชื่อว่าน่าจะอ่านแล้วเข้าใจปฏิบัติตามได้ง่ายกว่าบทความที่แล้วที่ เราสร้างขึ้นพร้อมค่าทดเกียร์ต่างๆค่อนข้างซับซ้อน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถชอนไชไปหานักปั่นมือใหม่ๆที่เพิ่งหัดปั่นจักรยานได้ไขข้อกระจ่างเรื่องนี้กันนะครับ ก็ขอฝากเพื่อนนักปั่น แชร์ต่อๆกันไปจนไปถึงแหล่งเพื่ินนักปั่นมือใหม่จริงๆ


วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

หัวใจและการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายนั้นดีต่อหัวใจ แต่มันต้องมีขอบเขตุบ้าง?


...ผมเริ่มขี่จักรยานด้วยเหตุผลง่ายๆเพียงเหตุผลเดียวว่ามันต้องดีต่อสุขภาพหัวใจของผม หลายครั้งที่ผมจะผลักดันตัวเองให้ออกแรงหนักต่อสู้กับขีดจำกัดตัวเองและเชื่อว่ามันให้ผลที่ดีต่อร่างกาย แต่ในหนึ่งปีที่ผ่านมาผมได้พบกับกรณีที่มีการเสียชีวิตจากระบบหมุนเวียนโลหิตและหัวใจล้มเหลวจากการออกกำลังถึง 3 เคส บวกกับข่าวนักกีฬาหนุ่มๆระดับอาชีพที่เราเชื่อว่าร่างกายต้องอยู่ในระดับสุดยอดเสียชีวิตจากกีฬาที่ตนเองเล่น จึงเริ่มกังวลว่ากีฬาอาจไม่ได้ทำให้อายุผมยืนยาวแต่กำลังมีโอกาสเสี่ยงที่จะอายุสั้นอย่างฉับพลัน
จากนั้นผมได้พบกับ ดร.อังเดร ลา เกิร์ช นายแพทย์ชาวออสเตรเลียผู้เชี่ยวชาญระบบหมุนเวียนโลหิตที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับสภาพร่างกายและการตอบสนองของหัวใจในการเล่นกีฬาความเข้มช้นสูง ทำการศึกษานักกีฬาต่างๆรวมถึงนักจักรยานจากกลุ่มตัวอย่างในออสเตรเลียและยุโรปครอบคลุมทั้งนักกีฬาสมัคเล่นและนักกีฬาอาชีพ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการออกกำลังกายนั้นดีต่อสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง ลดอัตราการเกิดสภาวะล้มเหลวของระบบหมุนเวียนโลหิต พัฒนาระบบทางเดินหายใจ ลดอัตราการเกิดหัวใจล้มเหลว ไปจนสภาวะโรคเรื้อรังตั่งๆและลดการเกิดโรคมะเร็วหลายๆชนิด
ในมุมมองของผู้ที่รักการออกกำลังกายไม่ค่อยสนใจสถิติและการศึกษาเหล่านี้กันนักเพราะสัดส่วนการเสียชีวิตจากการออกกำลังกายคิดเป็นร้อยละ 0.1 ของการเกิดเหตุเสียชีวิต หรืออาจน้อยกว่าานั้นเมื่อเทียบกับประชากรผู้รักการออกกำลังกาย และในความคิดของผู้รักกีฬาเพื่อความแข็งแรง ใช้การแข่งกีฬาเป็นแรงูงใจกระตุ้นให้ออกกำลังกายได้มากขึ้น แข็งแรงขึ้น ข้อมูลเหล่นี้อาจไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจปั่นจักรยานในวันรุ่งขึ้นแต่อย่างใด
แต่ข้อควรรู้เหล่นี้อาจช่วยให้แต่ละคนที่ออกกำลังกายสังเกตุและพึงระวังตนเองในขณะที่ออกกำลังกายมากกว่าเดิม
การออกกำลังกายด้วยกีฬาที่อาศัยความทนทานเช่นวิ่ง จักรยาน ไตรกีฬา ร่างกายจะพัฒนาความแข็งแรงของระบบหมุนเวียนโลหัตได้มากกว่ากีฬาชนิดอื่นๆเนื่องจากร่างกายใช้พลังงานโดยรวมมาจากระบบแอโรบิคซึ่งเชื่อมโยงกับหัวใจโดยตรง การศึกษาพบว่าส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งความแข็งแรงและปริมาตรของหัวใจที่ใหญ่กว่าคนธรรมดา พบว่าในนักจักรยาน Tour de France มีขนาดหัวใจระหว่างแข่งขันใหญ่กว่าคนทั่วไปเกือบ 30% ซึ่งถือว่าส่งผลกับสมรรถนะของระบบแอโรบิคมาก เป็นผลจากการฝึกซ้อมและแข่งขันอย่างหนักต่อเนื่องกันเป็นเดือนๆตลอดเวลา หัวใจก็แข็งแรงและพัฒนาตัวเองให้ใหญ่ขึ้นเหมือนกับกล้ามเนื้ออื่นๆ ทว่าในการศึกษาพบต่อว่าแม้ว่านักกีฬาจะหยุดการออกกำลังกายไปแล้ว แต่ขนาดหัวใจไม่ได้ลดลงเหมือนกับกล้ามเนื้ออื่นๆ จากการศึกษานักจักรยานอาชีพที่หยุดแข่งจักรยานมาแล้ว 30 ปีก็ยังพบว่ามีขนาดหัวใจใหญ่กว่าคนปกติอยู่ดี
และจากการศ฿กษาที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้พบว่าขนาดของหัวใจที่ใหญ่ขึ้นไม่ได้ใหญ่ขึ้นด้วยการขยายตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อเทา่นั้น แต่พบว่ามีบางจุดของกล้ามเนื้อที่เกิดอาการเพิ่มขนาดจากการบาดเจ็บหรือเรียกง่ายๆว่าคล้ายรอยแผลเป็นบนร่างกาย ซึ่งส่งผลจากการฝึกซ้อมและเล่นกีฬาที่หนักมากๆ การศึกษานี้ยังหาข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนไม่ได้ แต่ในระดับกล้ามเนื้อปกติ เราสามารถพบร่องรอยของกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บเสียหายจากการฝึกซ้อมหนักเกินไปได้เป็นปกติซึ่งจะส่งผลให้เส้นใยกล้ามเนื้อขนาดเล็กจิ๋วเกิดการเสียหายและไม่ทำงาน แต่ในกล้ามเนื้อส่วนอื่นจะไม่ส่งผลต่อการออกกำลังกายแต่อย่างใดเนื่องจากเส้นใยกล้ามเนื้ออื่นๆรอบๆจะเพิ่มขนาดและประสิทธิภาพทำงานทดแทนได้เต็มที่ การศึกษายงไม่ระบุแน่ชัดว่าร่องรอยนี้ที่กล้ามเนื้อหัวใจส่งผลกับอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยหรือไม่
การศึกษาพบว่าในกรณีนักวิ่งมาราธอนที่เสียชีวิตรายหนึ่งในสหรัฐอเมริกา มีสภาวะหัวใจขนาดใหญ่กว่าคนปกติ (ซึ่งเป็นสิ่งปกติของนักกีฬากลุ่มนี้) และพบร่องรอยแผลเป็นในเส้นใยกล้ามเนื้อหัวใจ (ซึ่งไม่ค่อยพบในนักกีฬาอาชีพที่ถูกฝึกฝนมาอย่างถูกต้อง) ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดสภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและทำงานล้มเหลวณะออกกำลังกายอย่างหนัก
อย่างไรก็ดีสภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นสภาวะที่พบได้หลากหลายรูปแบบและพบได้ในนักกีฬาอาชีพ ซึ่งไม่ได้จำเพาะว่าต้องส่งผลถึงชีวิตเสมอไป
ดังนั้นข้อควรระวังที่ยังหาข้อสรุปลงตัวไม่ได้ถึงเหตุผลที่แท้จริงของการเสียชีวิตจากการออกกำลังกายขนาดหนัก จนก่อให้เกิดอาการหัวใจล้มเหลว เนื่องจากสาเหตุที่พบในหลายกรณีจำเพราะแต่ละเคสมีเหตุปัจจัยซ้อนที่ส่งเสริมเข้ามาประกอบด้วย แต่จากการศึกษาเป็นเวลาหลายปี พอจะสรุปเป็นข้อมูลเบื้องต้นได้ดังนี้

-การออกกำลังกายระดับเบาๆและปานกลางส่งผลที่ดีอย่างยิ่งสำหรับกีฬาทุกชนิดและคนทุกคนอย่างไม่ต้องสงสัย

-การออกกำลังกายขนาดหนักระดับนักกีฬาแข่งขัน ไม่มีข้อมูลยืนยันถึงอันตรายที่แน่ชัด และดูจะปลอดภัย แต่ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจน

-ยังมีข้อสงสัยอีกมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ยังหาคำตอบไม่ได้

-ยังสรุปไม่ได้ว่าการออกกำลังกายสามารถสร้างรอยแผลเป็นที่กล้ามเนื้อหัวใจได้หรือไม่ และอย่างไร

-อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดได้อย่างไรในนักกีฬาและชนิดไหนที่ส่งผลถึงชีวิต ? เรื่องนี้ก็ยังหาคำตอบไม่ได้

-อะไรคือปัจจัยเสี่ยงที่บ่งชี้ความเสี่ยงของแต่ละบุคคล? เนื่องจากคำถามต่างๆยังหาคำตอบไม่ได้ จึงไม่สามารถตอบคำถามข้อนี้ได้

ดังนั้นจากข้อมูลการศ฿กษาเชิงลึก ก็ยังไม่สามารถหาคำตอบและข้อสรุปของเหตุปัจจัยต่างๆได้ชัดเจน แต่สรุปได้หนึ่งอย่างที่แน่นอนว่า การเกิดเหตุโศกเศร้าในแต่ละครั้ง ตัวนักกีฬาและผู็ออกกำลังกายมักมีปัจจัยแทรกซ้อนอื่นๆส่งเสริมเช่นอาการหัวใจผิดปกติแบบซ่อนเร้น การดูแลร่างกายที่ไม่ถูกต้อง การฝึกซ้อมที่ผิดวิธี รวมถึงอถณหภูมิและการเตรียมตัวในสภาพอุณหภูมิสูงเกินปกติ ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงเราสามารถป้องกันปัจจัยหลายๆอย่างได้หากเรามีการเตรียมตัวที่ดีพอ

...กีฬาจักรยานเป็นกีฬาที่อาศัยทั้งความทนทาน และความแข็งแรง แน่นอนว่าต้องอาศัย"ใจ"ที่จะต่อสู้ฝ่าฟันมาก แต่ใจไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด ใจท่สู้อาจส่งผลกับร่างกายที่ไม่พร้อม ต้องเข้าใจรูปแบบการฝึกซ้อมจักรยานและการพัฒนาร่างกายของนักปั่นจักรยานกันก่อนนะครับ การฝึกซ้อมและพัฒนานักจักรยานคือการ"ค่อยไ"เพิ่มพิกัดความแข็งแรงในระดับต่างๆของร่างกาย ในช่วงการทำงานหนักระดับต่างๆ บางครั้งหนักจนร่างกายรู้สึกเจ็บปวด ปวดร้าวไปทั่วตัว แต่เริ่มด้วยการค่อยๆฝึกในระยะเวลาสั้นๆ จากนั้นจึงเพิ่มระยะเวลาขึ้น ซึ่งก็คือการเพิ่มศักยภาพนั่นเอง
นักปั่นที่มักจะ"ฝืน" ตัวเองมากเกินไป คือนักปั่นที่ไม่ได้เตรียมพร้อมการฝึกซ้อมในระดับความเข้มข้นแบบนั้นมาดี อาศัยเพียงพลังใจของตัวเงเป็นแรงผลักดัน และเมื่อถึงขีดจำกัดที่แท้จริงร่างกายก็ทำงานล้มเหลวได้อย่างง่ายๆ เราไม่มีทางรู็ว่านักปั่นคนอื่นๆเขามีปัจจัยร่างกายเช่นไร มีการฝึกซ้อมมาอย่างไร อันตรายที่น่ากลัวคือการไม่รู็จักร่างกายตนเอง และการเตรียมร่งากายที่ดีพอ อยากให้ลองศึกษาการฝึกซ้อมและการมุ่งเป้าหมายพัฒนาศักยภาพทางกายภาพของกีฬาจักรยาน และใช้เป็นแนวทางในการออกกำลังกาย ทำไมคนบางคนสามารถปั่นได้เร็ว เหนื่อย ได้นานกว่าคนอื่น? เขามีร่างกายที่ถูกสร้างมาเช่นนั้นหรือ?? คำตอบคืออาจจะใช่และไม่ใช่ แน่นอนว่ากรรมพันธุ์ย่อมมีผล แต่นักปั่นที่ดีคือคนที่ฝึกและรับมือกับความเจ็บปวดของสภาพความหนักระดับสูงมาแล้วด้วยตารางโปรแกรมการซ้อมอย่างที่ได้อธิบายไว้ ซึ่งร่างกายจะค่อยๆพัฒนาเพื่อรับมือกับความหนักนั้นๆได้ และนักจักรยานอาชีพแทบทั้งหมด รู้จักความทรมานนั้นดีพอที่จะปั่นโดยมีความเจ็บปวดไปพร้อมๆกัน คนธรรมดาที่อาศัยแค่ใจเป็นหลัก อาจจะต่อสู้เอาชนะความทรมานนั้นได้ แต่สุดท้ายร่างกายที่ไม่เคยฝึกซ้อมมาดีพอก็ยอมแพ้ต่อตัวมันเองอยู่ดี
สิ่งสำคัญสุดท้ายก็คือเรื่องของการเตรียมตัว ทั้งการพักผ่อน การวางแผนตารางการปั่นจักรยาน รวมไปถึงน้ำดื่ม อาหาร ก่อน/หลังปั่น การดื่มน้ำและเติมพลังงานระหว่างปั่น การปั่นในอากาศร้อน สิ่งต่างๆเหล่านาี้คือสิ่งจำเป็นที่นักปั่นควรเรียนรู้ นักปั่นที่มีความเสี่ยงสูงคือนักปั่นที่ไม่เรียนรู้ข้อควรระวังเหล่านี้ แต่ก็แรงทั้งกายและใจ พร้อมจะฝืนได้มากกว่าคนอื่น และนั่นคือความเสี่ยงว่า
...วันไหนที่ใจคุณฝืนได้ แต่ร่างกายคุณยอมแพ้??...

ฉลาดเล่นเกียร์ขั้นสูง


เกียร์นั้นสำหรับคนอ่อนแออย่างนั้นหรือ? ไม่เลย สำหรับโปรมืออาชีพที่แต่ละคนมีกำลังระเบิดออกมาไม่น้อยไปกว่ารถสกู๊ทเตอร์ไฟฟ้าย่อมๆสักคันหนึ่งก็ใช้เกียร์เพื่อสร้างความได้เปรียบ เกียร์เป็นสิ่งสำคัญที่เปลี่ยนรูปโฉมของกีฬาจักรยานไปตลอดกาลตั้งแต่มันถูกคิดค้นขึ้น และเกียร์ที่ถูกสร้างมาให้รักษารอบขาและการออกแรงให้คงที่อยู่ในช่วงที่รู้สึกสบายนั้นก็ช่วยให้เราสามารถรีดเอาศักยภาพของกล้ามเนื้อออกมาได้โดยที่ไม่มีอาการบาดเจ็บและเหมาะสมกับเส้นทาง

มาลองดูสถานการณ์การเลือกเล่นเกียร์แบบโปรกัน

เนินยาวๆไม่ชันมาก
นี่คือสถานการณ์ที่"ง่ายที่สุด"แล้ว ที่ทางราบก่อนเข้าสู่ระดับความชัน นักปั่นควรอยู่ในช่วงรอบขาที่สบายซึ่งแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละคน จงจำไว้ว่าการใช้เฟืองหลังไล่ไปจะให้อัตราทดที่ละเอียดกว่าในเส้นทางแบบนี้ หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนจานหน้าอย่างกระทันหัน หากต้องการยืนปั่นให้ลดเฟืองลงเล็ก 1-2 เฟือง และกลับมานั่งปั่นที่เฟืองเดิม ไปเรื่อยๆจนสุดปลายเนินยาวนี้ การอยู่ในกลุ่มความเร็วสูงที่กำลังจะสปรินท์จบ
ข้อผิดพลาดใหญ่ของมือสมัครเล่นคือการส่งสัญญาณโทรเลขไปบอกเพื่อนในกลุ่มว่าคุณกำลังจะสรินท์ด้วยการตบเฟืองเล็กลงทันที 1-2 เกียร์ เสียงเปลี่ยนเกียร์เป็นเหมือนรหัสส่งสัญญาณบอกทุกคนว่ามีคนกำลังพร้อมจะกระชากออกไป นักปั่นที่มากประสบการณ์จะออกตัวด้วยเกียร์ที่เป็นปกติและใช้รอบขาที่มากกว่าปกติเร่งความเร็วจากนั้นค่อยๆไล่เกียร์ลงเฟืองเล็กทีละเฟือง โดยเน้นใช้รอบขาในการสร้างความเร่งออกไปแทนการใช้เกียร์หนักขึ้นแบบก้าวกระโดดแล้วพยายามส่งกำลัง หากซ้อมเทคนิคมาดี การสปรินท์แบบนี้สามารถสร้างแรงกระชากได้เร็วกว่าและไปสู่ความเร็วสูงสุดที่มากกว่า

การลงเขาด้วยความเร็วสูงและคดเคี้ยว
การลงเขาเป็นจุดแตกต่างระหว่างนักปั่นที่มีทักษะและนักปั่นมือใหม่ นักปั่นมือใหม่จะปล่อยขาฟรีลงมา ปล่อยให้แรงดึงดูดพารถลงมา แต่นักปั่นที่มีประสพการณ์จะควงขาตามด้วยเกรียร์หนักๆค่อยๆไต่ความเร็ว และใช้เกียร์ช่วยเร่งความเร็วออกจากโค้ง ซึ่งในระยะยาวๆจะสร้างความต่างได้มาก และพบว่าการออกแรงควงขาลงมาช่วยให้สามารถควบคุมรถได้ง่ายขึ้น เกียร์ที่เหมาะสมคือจานหน้าใบใหญ่และเฟืองหลังชุดเล็กๆ ค่อยๆออกแรงควงขาไปเบาๆ ไม่มีความจำเป็นต้องคอยเร่งกระชากส่งทุกครั้งเนื่องจากเป็นการลงเขาคดเคี้ยว ไม่นานก็ต้องลดความเร็วและเบรคเพื่อเข้าโค้ง ก่อนจะเข้าโค้งให้ลดเกียร์ไปเฟืองใหญ่ขึ้น 2-3 เฟือง เมื่อออกจากโค้งให้นั่งปั่นควงขาไล่เกียร์กลับมาใหม่ ทำแบบนี้ซ้ำไปเรื่อยๆจะรักษาระดับความเร็วโดยรวมได้ดีกว่าและปลอดภัยกว่า

การแข่งไครทีเรียม
ไครทีเรียม หรือการแข่งที่เน้นการเร่งสปรินท์บ่อยๆ แทนที่การทำความเร็วสูงและคงที่ นักปั่นต้องเร่งความเร็วอย่างรวดเร็วและลดความเร็วลงสลับไปเรื่อยๆตลอดเส้นทาง เกียร์ที่เหมาะสมสำหรับเทคนิคการปั่นนี้ถือว่ายากที่สุด เนื่องจากในการเร่งสปรินท์ต้องใช้เีกียร์หนักจานหน้าใบใหญ่ร่วมกับเฟืองขนาดเล็ก แต่เมื่อลดความเร็วลงความเร็วจะลดลงมามาก ดังนั้นเพื่อให้เปลี่ยนเกียร์ได้เร็วกว่าการคอยไล่เฟืองหลังไปใหญ่ขึ้น 3-4 เฟือง พบว่าเทคนิคการเล่นด้วยจานหน้าใบเล็กและเฟืองหลังเล็กลงแทนช่วยได้มากกว่า และเมื่อเข้าสู่ช่วงก่อนสปรินท์ก็เปล่ยนเฟืองใหญ่ขึ้นและสับจานหน้าขึ้นใบใหญ่เพื่อสปรินท์เร่งออกไป ทำเช่นนี้สลับไปเรื่อยๆ
สรุปได้ว่าการเล่นเกียร์อย่างชาญฉลาดคือการเข้าใจและวางแผนสถานการณ์เบื้องหน้าอย่างรอบคอบ ไม่ใช่การเปลี่ยนเกรียร์เพื่อแก้ปัญหา แต่เป็นการใช้เกียร์เพื่อสร้างสรรรค์สถานการณ์ที่เหมาะสมกับเส้นทางและร่างกายของนักปั่นเพื่อความได้เปรียบนั่นเอง

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

เรียนรู้การใช้เกียร์

อัตราทดและการใช้เกียร์
ต่อกันตอนที่สอง หลังจากที่พอจะเข้าใจเรื่องการใช้เกียร์พื้นฐาน เรื่องค่าเกียร์เรโชกันแล้ว ตอนนี้ลองมาเลือกใช้เกียร์ให้เหมาะและเรียกเกียร์ที่เข้ากับเส้นทางกันดูนะครับ ซึ่งสถานการณ์หลักๆที่เรามักจะต้องใช้เกียร์อย่างฉลาดก็ได้แค่ เส้นทางภูเขา เส้นทางลมแรง และการขี่กลุ่มที่มีความเร็วสูงพร้อมกับมีการเร่งความเร็วบ่อยๆ ลองมาดู"เคล็ดลับ"เล็กๆน้อยๆเมื่อเจอสถานการณ์ต่างๆกันดังนี้

1.ก่อนขึ้นเขา
ทุกท่านคงเคยเจอเหตุการณ์ขี่ทางราบมาดีๆแล้วจะต้องไปขึ้นเขาอีกไม่ไกลข้างหน้า คนทั่วไปนิยมที่จะเร่งความเร็วอัดขึ้นเขาไป แล้วไปค่อยๆไล่เกียร์เปลี่ยนเบาจนกว่าจะไหวเอาบนภูเขาซึ่งเปลืองแรง และเสี่ยงที่จะเกิดอาการ"หม้อน้ำระเบิด"มาก วิธีการใช้เกียร์อย่างฉลาดคือ ก่อนถึงภูเขาลองสับจากจานใหญ่ลงมาที่จานเล็ก และไล่เฟืองไปที่เฟืองเล็กๆเอาไว้ รอบขาอาจจัดขึ้นบ้างแต่ไม่นานอัตราทดเบาๆที่ได้จะทดแทนด้วยความชันของภูเขา และสามารถไล่เฟืองหลังได้ง่ายกว่า บนเขาเมื่อรอบขาต่ำ เกียร์จะเปลี่ยนได้ช้าลงกว่าปกติ หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนเกียร์วินาทีสุดท้ายก่อนกดบันไดไม่ไหวคือทางออกที่ดีที่สุด

2.ก่อนลงเขา
บนยอดเขาหรือยอดเนินส่วนมากความชันจะลดลง และเป็นทางลงเขาต่อ ซึ่งนักปั่นส่วนมากก็มักจะหมดแรงและปล่อยรถไหลลงเขามาฟรีขาสบายๆ แต่นักปั่นที่ชาญฉลาด จะสลับจานหน้าขึ้นไปเป็นใบใหญ่ และไล่เฟืองหลังไปเฟืองใหญ่ชดเชยเอาไว้ เมื่อถึงยอดเขาก็จะ"ควงขา"ตามบันไดเบาๆ พร้อมกับค่อยๆไล่เฟืองเล็กลงเรื่อยๆ ทำความเร็วไปได้มากกว่าคนที่ปล่อยลงมาโดยไม่ปั่น ซึ่งส่งผลช่วยให้สามารถไต่เนินต่อไปได้ง่ายขึ้น หรือประหยัดแรงในการรักษาตำแหน่งได้มากขึ้น การควงขาเบาๆตามบันไดยังช่วยคลายความเครียดและกรดแล็คติกในกล้ามเนื้อได้ดีกว่าการปล่อยขานิ่งๆดีกด้วย

3.ก่อนเข้าโค้ัง
การเข้าโค้งส่วนใหญ่เราต้องลดความเร็วลงและออกจากโค้งแล้วเร่งความเร็วต่อ ซึ่งนักปั่นส่วนมากมักปล่อยให้รถความเร็วตกลง และออกจากโค้งด้วยเกียร์ที่หนักเกินไป เมื่อลดความเร็วได้แล้วลองเตรียมเกียร์ที่เบากว่าเดิมสัก 1-2 เกียร์และออกจากโค้งด้วยเกียร์ที่เบาก่อน จากนั้นเร่งความเร็วกลับขึ้นไปอีกครั้ง วิธีนี้จะทำให้รักษารอบขาและถนอมแรงได้ดีกว่าการคอยกระแทกเกียร์หนักเร่งความเร็วทุกครั้งที่ต้องเข้าโค้งหรือชลอความเร็ว

4.ยอดนักสปรินท์
สำหรับนักปั่นที่มีประสพการณ์และแรงดีๆนิยมสปรินท์เร่งความเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเร่งความเร็วจของกลุ่มหรือที่เรียกกันว่า"กระชาก" หรือการต้องการออกจากกลุ่มไปด้านหน้าแล้วเปิดช่องว่างออกไปหรือเรียกกันง่ายๆว่า"ยิง" และการสปรินท์จบสุดท้ายเพื่อเข้าไปสู่เส้นชัยที่หมาย บ่อยครั้งที่นักปั่นทรงพลังเหล่นี้นิยมที่จะใล่เฟืองไปที่เฟืองเล็กมากๆและลดรอบขาลง จากนั้นก็ใช้วิธีกระแทกแรงทั้งหมดที่มีลงไปที่บันได ผลที่ได้คืออัตราเร่งที่รุนแรง ยากต่อการไล่ตามของคนอื่น ทว่าต้องแลกมาด้วยพลังงานมหาศาลเช่นกัน ดังนั้นแต่ละคนมีปัจจัยยต่างกัน การสปรินท์จึงเป็นสิ่งที่เฉพาะตัวมากกว่า ไม่มีสูตรตายตัว

5.ลมแรงทางราบ
ลมแรงทางราบไม่ว่าจะลมสวนด้านหน้า หรือลมด้านข้าง เส้นทางแบบนี้ไม่ต่างอะไรกับเนินเขา และเพิ่มความยากหากลมนั้นมากระแทกเป็นระลอก เช่นลมทะเล หรือเส้นทางคดเคั้ยวที่ลมเปลี่ยนทิศทางบ่อยๆ การใช้เกียร์ในสถานการณ์นี้ถือว่ายากที่สุด เพราะนักปั่นต้องฉลาดเลือกใช้เกียร์ทั้งหมดที่มีสัมพันธ์กันทั้งจานใหญ่และเล็กสลับไปมาเพื่อรักษาอัตราทดเอาไว้ให้ได้คงที่ ถ้าสังเกตุดีๆจะเห็นว่าจะเปลี่ยนเกียร์ไปมาทั้งจานหน้าและเฟืองหลังทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงของลม ซึ่งต้องอาศัยความ"เก๋า"และเข้าใจรถของตนเองด้วยว่าต้องชดเชยเฟืองหลังเท่าไหร่ึงจะได้อัตราทดใกล้เดิมมากที่สุด
การใช้เกียร์เป็นเรื่องที่ไม่ยากที่จะทำความเข้าใจ แต่เป็นสิ่งที่น้อยคนที่มาเริ่มหัดปั่นจักรยานจะใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว ลแะการเลือกใช้อัตราทดเกียร์ก็เป็นอีกเรื่องที่นิยมถามกันบ่อยๆ เรา ถือว่าเป็นเืองยอดนิยมของเกียร์ก็ว่าได้ ทั้งเกียร์แบบธรรมดา 53/39 หรือเกียร์แบบ compact 50/34 และเกียร์แบบผสมอย่าง 52/36 หลายๆคนคงสงสัยว่าแตกต่างกันอย่างไรและจะเลือกใช้อย่างไรดี??ลองสังเกตุตารางประกอบทั้ง 3 ภาพ เป็นตารางแสดงเกียร์เรโช และความเร็วเทียบเคียงของล้อ 700x23 ที่รอบขา 90 รอบต่อนาทีของเกียร์ที่ได้จากชุดขับเคลื่อนทั้ง 3 แบบ

ลองพิจารณาเฉพาะชุดเกียร์เบาๆสำหรับไต่เขาผ่อนแรงขาของเกียร์ที่ได้จากจาน 39, 36 และ 34 พบว่า ที่เฟืองขนาดเท่าๆกันจาน compact มีอัตราทดเกียร์เบากว่าจานธรรมดามาก เรียกว่าที่เฟือง 28 จาน 39 ฟันยังมีอัตราทดหนักกว่าเกียร์ที่ได้จากจาน compact เฟือง 25 เสียอีก
ซึ่งความยุ่งยากของการเลือกใช้จานกับเฟืองจะอยู่ที่กรณีขึ้นเขาที่หลายๆคนมองหาอัตราทดที่ช่วยมากๆ เช่นเฟือง 32 หรือแม้แต่ทำการดัดแปลงเอาเฟือง 34 มาใช้งาน ยกตัวอย่างเช่นจานธรรมดากับเฟือง 32 ฟันจะได้อัตราทด 1.22 ซึ่งใกล้เคียงกับจาน compact เฟือง 28

ดังนั้นหากพบว่าต้องการใช้จานธรรมดาแต่อยากได้อัตราทดสบายๆแบบจาน compact ก็ควรเลือกใช้เฟือง 32 ก็จะได้อัตราทดใกล้ๆกัน แต่ความยุ่งยากจริงๆแล้วอยู๋ที่จานใหญ่ เพราะนักปั่นระดับขาแรงส่วนมากมักใช้จาน compact แล้วพบว่าไม่สามารถทำความเร็วตามกลุ่มได้ทัน ยกตัวอย่างเข่นหากเป็นการลงเขาทางไม่ชันมากแต่เป็นเนินซึมๆ ความเร็วระดับ 55-60 กม./ชม. จะสามารถใช้จานธรรมดาปั่นจาน 53 และเฟือง 11 ได้ในรอบขอประมาณ 100 รอบตอ่นาที แต่ถ้าเป็นจาน compact ต้องควงขามากกว่าอีกประมาณ 10 รอบต่อนาทีจึงจะได้ความเร็วเดียวกัน ซึ่งจะยิ่งทวีความต่างมากขึ้นเมื่อความเร็วสูงขึ้นเรื่อยๆ

แล้วอะไรคือปัจจัยที่เราจะนำมาเป็นแนวทางในการเลือกใช้ชนิดของจานหน้าได้??
...คงต้องย้อนถามนักปั่นทุกท่านว่า เกียร์จักรยานของท่านนั้นท่านได้ใช้จานหน้า 53 ฟัน กับเฟือง 11 ฟันบ่อยแค่ไหน? บ่อยคร้งพบว่านักปั่นไม่มีแรงพอจะกดเฟืองคู๋นี้ลงในทางราบปกติ จะได้ใช้ก็ต่อเมื่อปั่นลงเขาเท่านั้น ดังนั้นอัตราทดดังกล่าวแม้ว่าจะสร้าง top speed ได้สูงกว่าจานอีกสองแบบ แต่หากกดไม่ลงก็คงไร้ประโยชน์ นักปั่นแบบนี้อาจจะเหมาะกับจานแบบ compact มากกว่า ซึ่งการสำรวจพบว่ามือใหม่โดยทั่วไปเหมาะสมกับจาน 50/34 และเฟืองอัตราทดปกติมากกว่า
แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เริ่มออกทริปหรือแข่งขันเส้นทางหลากหลายมากขึ้น จาน compact ก็จะพบขีดจำกัดของความเร็วสูงสุด ดังนั้นหากนักปั่นมั่นใจว่าไม่ได้ต้องการความเร็วระดับนั้นก็ไม่มีความจำเป็นที่จะมองหาจาน 53/39 มาใช้ ส่วนนักปั่นที่ต้องการพิกัดความเร็วสูงๆทั้งจากแรงกดสปรินท์หรือการลงเขาก็ไม่เหมาะที่จะเล่นจาน compact และควรเล่นอัตราทดเฟืองใหญ่ๆมาแทนในกรณีขึ้นเขา
ส่วนจาน 52/36 นั้นเป็นอัตราผสมตรงกลางของทั้งสองกรณีและทวีความนิยมมากขึ้นในระยะ 2-3 ปีมานี้ เนื่องจากตอบสนองความต้องการของนักปั่นได้ทั้งเส้นทางราบและภูเขา มี top speed ใกล้เคียงกับจาน 53 ฟัน และผ่อนแรงช่วยบนเขาได้มาก ยิ่งถ้าจับคู๋กับเฟืองใหญ่กว่าจาน compact ก็สามารถทดแรงได้เบากว่าอีกด้วย ข้อเสียเดียวของจานกลุ่มนี้คือระยะห่างระหว่างขอบใบจานและหมุดยึดจานมีระยะทางมาก และอาจเกิดอาการ"ให้ตัว"ได้เวลาสรปนิท์แรงๆ ส่งผลให้เสียแรงส่งกำลังไปบ้างบางส่วน นักปั่นที่เป็นขาแรง ร่างใหญ่ สปรินท์ระเบิดพลังได้ดีจึงไม่นิยมจานกลุ่มนี้

เรา จึงขอให้ความเห็นปิดท้ายเรื่องการเลือกใช้อัตราทดเกียร์ว่าลองเลือกเกียร์ให้เหมาะสมกับตนเองดีที่สุด ไม่มีใครรู้ตัวเราดีไปกว่าตัวของเรา และการใช้จาน compact ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่าท่านไม่ดูโปรแต่อย่างใด เพราะปัจจุบันนี้นักแข่งระดับอาชีพเองก็ใช้จาน compact ในเส้นทางภูเขาเป็นเรื่องปกติมาหลายปีแล้ว จาน compact จึงเป็นทางเลือกที่แท้จริงแล้วเหมาะกับนักปั่นส่วนมากจริงๆ เพราะโอกาสจะสัมผัสกับความเร็วระดับ 60 กม./ชม. นั้นน้อยมาก ปีหนึ่งๆจะมีเพียงไม่กี่ครั้งที่ต้องขี่ความเร็วนี้นานๆ แถมมีอัตราทดตัวช่วยบนเขาได้อีกต่างหาก เพราะบนเขาไม่มีอะไรย่ำแย่ไปกว่าสถานการณ์"เกียร์หมด" อีกแล้ว แรงกดไม่มีเหลือ แรงใจหายยังไม่เท่าไหร่ ถ้ามาพร้อมกับสถานการณ์เกียร์หมดไม่มีเฟืองให้ไล่แล้ว ไม่นานก็จะจบลงด้วย .... เข็น


เสือหมอบสุดหรูในฝัน

มาทำความรู็จักกับ 4 เสือหมอบสุดหรูในฝัวของหลายๆคนกัน ลองศึกษาหากิเลสในใจตนไม่ว่าอยากได้หรือไม่อยากได้ แต่ปฏิเสธไม่ได้ครับว่าในปี 2015 นี้ เสือหมอบ 4 คันนี้ถือว่า"หรูหราดาวล้านดวง" เป็นที่สุดแล้วไม่ว่าจะด้านราคา ราศี ชาติตระกูล ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่จักรยานฝังเพชรเลี่ยมทองแต่อย่างใด แต่มาพร้อมสมรรถนะระดับ"เหนือเทพ"ที่บ่งบอกว่าเจ้าของ"ไม่ใช่แค่มีเงินอย่างเดียว" สำหรับเราๆนักจักรยานไม่ว่าจะมีปัญญาสอยหรือไม่ อาจจะแค่เมียงมอง หรือเมินไม่สนก็ตามที รู้ไว้ใช่ว่ากันครับ เพราะถ้าโลกนี้มีซุปเปอร์คาร์ระดับหรู จักรยานพวกนี้ก็เป็น ซุปเปอร์หมอบสุดหรูเช่นกัน


LOOK 795 AEROLIGHT
จากค่าย Look ดินแดนไวน์ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งฮือฮามาตั้งแต่ก่อนเปิดตัวนานมากด้วยรูปโฉมที่สุดเด่นเอกลักษณ์เสต็มและชุดคอซ่อนแบบ integrated ออกแบบด้วยระบบอากาศพลศาสตร์ที่ได้เปรียบเรื่อง aerodynamic สูงมากในขณะที่ไม่ได้เพิ่มน้ำหนักเข้าไปจากเดิม ทำให้ Look 795 สามารถทำน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์เดียวกับรถแข่งระดับโปร 6.8 กก. ได้ สามารถไต่เขาได้ดีและได้เปรียบเป็นอย่างยิ่งในการลงเขาและขี่ทางราบ คงไม่ต้องพูดถึงหน้าตาที่แสนจะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่ผู้ได้ครอบครองภาคภูมิใจกับเสือหมอบคันแรกที่ทำระบบคอซ่อนแบบนี้


GURU PHOTON HL
เสือหมอบที่เบาที่สุดในตลาด ณ เวลานี้ แถมพ่วงด้วยค่าความสติฟต่อน้ำหนักหรือ stiffness-to-weight ที่สูงที่สุดติดอันดับแนวหน้าชนกับเฟรมระดับแข่งขันของแบรนด์ดังๆมากมาย เด่นที่สุดด้วยการสร้างเฟรมให้เหมาะกับคนขี่แต่ละคนแบบ custom made ทั้งขนาดและการเลือกชนิดและการวางคาร์บอนให้เหมาะสมกับไสตล์การขี่ของแต่ละคน แน่นอนว่า Photon HL เป็นรถสำหรับนักไต่เขาแท้ๆ แต่ก็มาด้วยบุคลิกแบบไวจัดได้ การควบคุมโค้งที่เฉียบคม แถมมีตัวเลือกให้เลือกเล่นได้ทั้งแบบที่สติฟสุดๆไปเลย หรือจะให้มีความสบายแบบ vertical compliant ที่ดี น้ำหนักชุดเฟรมขนาด 54cm พร้อมชุดร้อยสายชั่งได้ต่ำกว่า 650 กรัมเท่านั้น


PEGORETTI MARCELO
มาดูเฟรมสตีลที่ได้ชื่อว่ามีสมรรถนะและการตอบสนองดีผิดกับสตีลโดยทั่วไป โดยการผลิตแบบพิเศษและการใช้อุณหภูมิสูงกับท่อโอเวอร์ไซส์ของ Dario Pegoretti ซึ่งออกแบบตะเกียบแบบพิเศษ Falz mี่มีความสติฟสูงที่สุดในกลุ่มสตีลด้วยกัน รวมถึงสามเหลี่ยมด้านหลังที่ออกแบบพิเศษส่งแรงกระทำตอบสนองกับกำลังที่ส่งลงไปที่ชุดจับเคลื่อนได้โดยสูญเสียน้อยที่สุด มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับอลูมินั่มหรือคาร์บอนในปัจจุบัน ตะเกียบหน้ามีความสติฟสูงแต่ก็ออกแบบให้มีระยะห่างระหว่างตะเกียบกับล้อที่กว้างแบบเฟรมสตีลโดยทั่วไป มากับชุดถ้วยคอ Chris King และชุดปรับแรงตึงสายทำจากทองเหลือง งานสีและงานเคลือบเรียกได้ว่าเข้าขั้นงานศิลปะฝีมือล้วนๆ เฟรมมีน้ำหนัก 1.9 กก. ซึ่งจัดว่าเบามากสำหรับเฟรมสตีล แต่ยังคงให้ความสบายนุ่มไหลแบบเฟรมสตีลในตำนาน


PARLEEALTUM R
น้ำหนักเฟรม 810 กรัม น้ำหนักตะเกียบ 330 กรัม และการเลือกเรียงคาร์บอนแบบ high-modulus ในส่วนสำคัญต่างๆทำให้ Altum R ตัวนี้มีน้ำหนักเบาและมาพร้อมกับสมรรถนะในการขี่ที่ดีเยี่ยมและอายุการใช้งานคงทนรับประกันตลอดอายุของ Parlee ซึ่งออกแบบมาให้เป็นรถไต่เขาที่พุ่งขึ้นเขาไปได้แบบแพะภูเขา คล่องตัวปราดเปรียวยามเข้าโค้ง สปรินท์ได้ดีส่งพลังได้แข็งแกร่ง และมีความสบายพอจะขี่บนเส้นทางการแข่งคลาสสิคทั้งวันได้ด้วยการออกแบบเลือกใช้คาร์บอนที่แตกต่างกันในแต่ละส่วนและการเรียงวัสดุเพื่อให้ได้การกระจายแรงที่ดีที่สุด ทั้งหมดนี้มาพร้อมกับการรองรับขนาดหน้ายางได้ถึง 28mm ทั้งหน้าและหลัง แถมเลือกได้ทั้งแบบสำหรับเบรคทั่วไปและ disc break ต้องยอมรับว่า Parlee สร้างมาตรฐานเสือหมอบสุดหรูสำหรับอนาคตอย่างแท้จริง

สุดยอดสูบพกพา


Zefal HPX Classic
218g 47cm 150psi
หน้าตาการออกแบบแสนคลาสสิคของค่ายฝรั่งเศส สามารถอัดลมได้ถึง 100psi ในเวลาไม่นานและใช้แรงไม่มากเพราะท่อลมมีขนาดใหญ่ ตัวสูบอาจจะหนักไปบ้างเมื่อเทียบกับคู่แข่งแต่สามารถติดตั้งชุดรัดติดกับท่อนอนได้ ถอดเก็บได้เมื่อไม่ต้องการใช้ เป็นสูบติดรถที่เหมาะกับการใช้งานทั่วไป ชิ้นส่วนเ)็นโลหะและมีอะไหล่ขายครบทุกชิ้นไม่ต้องห่วงเมื่อเกิดการเสียหาย

Topeak Road Morph G
210g 35cm 150psi
ขนาดมีผลเสมอ ซึ่งก็ไม่พ้นเรื่องของสูบพกพาที่ต่างก็ใหญ่ขึ้นเพื่อให้สูบลมได้ดีขึ้น Topeak เองก็ออกสูบตัวนี้มาขนาดไม่ได้เล็กเลย แต่มีจุดเด่นที่สั้นสามารถเสียบใส่กระเป๋าหลังได้โดยไม่หล่นง่ายๆ ทว่าขนาดที่ใหญ่มาจากการที่มันสามารถแปลงร่างเป็นสูบตั้งพื้นได้ มือจับด้านบนหมุนล็อคเป็นแบบแนวนอน(ตัว T) มีแป้นเหยียบวางพื้นและสามารถอัดลมผ่านสายสูบที่มีเกจบอกแรงดันได้ นับเป็นสูบ transformer ก็ว่าได้ ข้อสเียคือกระบอกสูบที่เล็กและสั้นทำให้ขึ้นถึง 100psi ได้ยากกว่าคู่แข่ง

Park Tool PMP-5 Dial Adjust Frame Pump
260g 44cm 150psi
เป็นสูบแบบติดท่อนอนแบบคลาสสิคที่สามารถปรับหัวความยาวได้นิดหน่อยเพื่อให้เข้ากับขนาดของท่อนอนต่างความยาวกัน ปลายจับด้านัหัวสูบมีขนาดใหญ่จับได้กระชับถนัดมือ มือจับด้านสูบสามารถปรับเป็นแบบตัว T ได้เพื่อความกระชับ ทำจากพลาสติค และท่อลมมีขนาดเล็กผอม ทำให้การอัดลมต้องใช้แรงมากกว่าตัวอื่นๆ

Lezyne Pressure Drive
100g 24cm 150psi
ถ้าพูดถึงสูบพกจิ๋วเบาหวิวคงต้องตัวนี้ ขนาดเล็ฏพอที่จะพกพาได้ทุกแบบ เล็กพอที่จะเอาใส่ในกระเป๋าใต้เบาขนาดใหญ่ได้เลยด้วยซ้ำ วัสดุทำจากโลหะและพลาสติคเกรดดีทนทาน กำลังสูบทำได้ดีและอัดลมได้มากเพราะขนาดท่อลมที่อ้วนหนา ข้อสเียคือเมื่อสูบไปแล้วเกิดความร้อนเร็วกว่ายี่ห้ออื่นๆ เพราะอากาศจำนวนมากโดนบีบอัดอย่างรวดเร็ว หากไม่ถูกใจรุ่นนี้ลองดูอีกรุ่นที่ใหญ่ขึ้นอีกหน่อย สูบได้ง่ายกว่า และมีน้ำหนักมากกว่ากัน 11 กรัมเท่านั้น

Cannondale Airspeed Max
229g 27cm 150psi
เป็นสูบแปลงร่างได้อีกตัวหนึ่งที่แตกต่างกันตรงที่ท่อลมมีขนาดใหญ่กว่า และไม่มีเกจบอกแรงดัน ซึ่งจุดเด่นก็คือการออกแรงสูบที่ได้ประสิทธิภาพกว่า ซ้ำยังปรับสูบได้เป็น 2 โหมด ได้แก่ โหมดปริมาณลม สูบจะสูบลมได้มากในเวลาหนึ่ง เหมาะสำหรับเสือภูเขาหรือเสือหมอบใน 30 สโตรคแรก และโหมดแรงดันสูง สูบจะสูบลมน้อยลงแต่อัดลมได้แน่นขึ้น แต่ข้อสเียคือแรงดันสูงๆต้องอาศัยแรงกดชนิดเหงื่อท่วมกว่าจะได้ถึงแรงดันที่ต้องการ

Syncros HP Micro
84g 17cm 150psi
ถ้าจะเอาขนาดมาเ)็นตัววัด ตัวนี้เด่นที่สุดด้านความเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา วัสดุเป็นโลหะทั้งชิ้น รับแรงดันได้สูง จับกระชับถนัดมือ ทว่าเนื่องจากมีลูกสูบสั้น ท่อสูบมีขนาดเล็ก ต้องอัดลมจำนวนมากถึงจะถึงแรงดันที่ต้องการ และยิ่งแรงดันสูงเท่าไหร่ ยิ่งมีแรงต้านมาก เมื่อผ่าน 55psi แรงต้านจะเยอะพอๆกับการเล่นเวทในฟิตเนสเลยทีเดียว แต่สูบตัวนี้เหมาะสำหรับการพกไปไหนทุกที่ในกระเป๋าและพาคุณกลับบ้านได้แน่นอนยามฉุกเฉิน

สูบในรายการนี้มีราคาไม่ถูกเลยนะครับ แต่เราก็ไม่ได้บอกว่าสูบราคาประหยัดอันละ 299 จะใช้งานไม่ได้ เลือกใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละท่าน ของถูกและดีอาจจะมีหาได้แต่ ลองสืบค้นดูเพราะสูบจีนยี่ห้อแปลกๆราคาถูกมากๆบางตัวดูหน้าตาน่าสนใจ หากแต่ถ้าต้องการความมั่นใจกับแบรนด์ระดับแนวหน้า และสะดวกลงทุนจอบจองสูบดีๆเหล่านี้ก็ขอรับรองว่าไม่มีเสียใจและใช้งานได้ยาวนานคงทนแน่นอน ตัวที่ Velopedia เคยใช้ซื้อมาราคาค่อนข้างแพง แต่ใช้งานได้ทนทานชนิดแทนสูบใหญ่ตั้งพื้นเลยก็ได้เป็นเวลาหลายปีก่อนจะขายไปในสภาพปกติใช้งานได้ดี

สำหรับหลายท่านอาจมองว่าสูบราคาเท่านี้ สู้ซื้อตัวอัดลม CO2 ปเลยจะดีกว่าหรือเปล่านะ เพราะสูบฉุกเฉินเหล่านี้ก็ไม่ได้ใช้กันบ่อยๆ (ผมขี่มา 10 เดือนยังไม่รั่วเลยซักครั้ง) นับจำนวนครั้งไปๆมาๆ ซื้อความสะดวกด้วยหลอดอัดแก็สไปเลยก็น่าสนใจ

วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

สิ่งที่ควรพกติดตัวขณะปั่นจักรยาน


ขณะปั่นจักรยานเราควรจะเอาอะไรไปบ้าง? เป็นคำถามที่แสนจะง่ายแต่เพื่อนนักปั่นหลายต่อหลายคนก็ยังหาคำตอบที่เหมาะสมไม่ได้ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วคำตอบที่เหมาะสมอาจไม่เหมือนกันก็ได้ในแต่ละคน ทว่ามันมีสิ่งจำเป็นที่"ควร"พกติดตัวเสมอยามปั่นจักรยาน เพื่อประโยชน์และความปลอดภัยของตัวเราเอง Velopedia ขอนำเสนอแบ่งแยกตามหมวดหมู่ดังนี้นะครับ หมวดที่หนึ่ง ของจำเป็นทั่วไป

1.โทรศัพท์มือถือ

ปัจจัยที่ 5 ของใครหลายๆคน แนะนำให้พกติดตัวไปทุกครั้ง นอกจากจะเอาไว้เปิดแอพฯต่างๆเช่น Strava, Map my Ride, My Fitness หรือเอาไว้เซลฟี่ โซเชี่ยลอวดเพื่อน ที่สำคัญคือเอาไว้โทรติดต่อและระบุตำแหน่งในกรณีขอความช่วยเหลือ ยากฉุกเฉินโทรศัพท์เครื่องเดียวสมัยนี้สามารถบอกให้คนอื่นรู้ที่ๆเราอยู่ พร้อมส่งข้อความช่วยเหลือไปยัง รพ. หรือกู้ภัยใกล้เคยยงได้ทันที และสำหรับนักปั่นจักรยาน ควรเซฟเบอร์โทรฉุกเฉินสำคัญเอาไว้ รวมถึงเบอร์ญาติมิตรสำคัญ สำหรับการติดต่อฉุกเฉินไดอย่างรวดเร็ว เพราะอุบัติเหตุเกิดได้เสมอ ใครจะรู้ว่าวันไหนคุณจะหมดสติต้องให้ผู้อื่นช่วยติดต่อญาติ วิธีพกโทรศัพท์ที่ดีที่สุดคือการเอาใส่ถุงพลาสติกใส หรือถุง ziplock ที่กันน้ำได้ เผื่อโอกาสฝนตกหรือไอเหงื่อที่ปล่อยความชื้นเข้าเครื่องโทรศัพท์ที่กระเป๋าหลังได้

2.บัตรประชาชน ใบขับขี่

ลองนึกภาพว่าคุณไปออกทริปแล้วเกิดอุบัติเหตุหมดสติ คนรอบตัวไม่มีใครรู้จักคุณ? จะพาคุณไปไหน ติดต่อใคร อย่างน้อยหากมีบัตรประชาชน ใบขับขี่ หรือแม้แต่บัตรประกันอะไรก็ได้ ก็ช่วยให้การช่วยเหลือทำได้ราบลื่นขึ้นมาก หรือพูดในทางร้ายๆที่สุด หากเสียชีวิตไป อย่างน้อยก็ยังรู้ว่าศพนี้เป็นใคร ไม่ต้องมานั่งตามหากันอีกที ใัตรหนึ่งใบสามารถเอาใส่คู่กับโทรศัพท์ได้ไม่ยาก หรือจะใส่ไว้กับเคสโทรศัพท์ก็ได้

3.เงินสดติดตัว

อย่าลืมพกเงินไปไหนมาไหนด้วย เงินไม่ใช่พระเจ้า แต่เงินบันดาลหลายสิ่งให้เราได้ ที่สำคัญที่สุดเกิดแวะซื้อน้ำ ซื้อของจะได้ไม่ต้องคอยยืมเพื่อนทุกรอบ เพราะส่วนมากนักปั่นยืมกันแล้วมักจะลืม คนให้ยืมก็ลืม คนยืมก็ลืม อย่างน้อยควรพกเงินสดมากพอที่จะเอาตัวเองกลับบ้านได้ในยามฉุกเฉิน ไม่จำเป็นต้องพกมากมายให้เป็นภาระหรอก จะมากแค่ไหนก็แล้วแต่ว่าเส้นทางการปั่นของแต่ละคน บางคนอาจพกแค่ 20-50 บาทก็พอ แต่บางคนอาจต้องพกสัก 100-200 ส่วนวิธีพกที่ง่ายแสนง่ายก็คือการพับเงินยัดใส่ซองเดียวกับโทรศัพท์นั่นแหละ หากใครสะดวกยัดกระเป๋าสตาางค์ไปก็ไม่มีปัญหาอะไร
สามอย่างนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ว่าปั่นที่ไหน อย่างไร ควรจะต้องมีติดตัวเอาไว้ เคยมีภาพนักแข่งโปรอาชีพเมืองนอกแข่งไปด้วย ถือโทรศัพท์มือถือทำอะไรสักอย่างไปด้วย ..(ภายหลังโดนปรับครับ ฝรั่งเศสห้ามใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ) นั่นแปลว่าแม้แต่นักแข่งอาชีพยังมีคนพกมือถือติดตัวเอาไว้
ต่อมาลองมาดูของใช้จำเป็นที่ควรมาติดตัว โดยเฉพาะการปั่นในเส้นทางที่ไม่มีรถคอยบริการ การเดินทางไปที่ต่างๆ ซึ่งนักปั่นควรดูแลปัญหาพื้นฐานได้ด้วยตนเอง เป็นหมวดที่สอง หมวดที่สอง เครื่องมือฉุกเฉิน

1.ยางในและชุดงัดยาง
กรณีฉุกเฉินพื้นฐานที่สุดสำหรับนักปั่นจักรยานก็คือ ยางรั่ว ดังนั้นสิ่งที่เราควรจะพกติดตัวเมื่อออกเดินทางไปบนจักรยานก็คือชุดงัดยางและยางในสำรองหรือชุดปะยางพกพา ยางในที่พกไปควรพกไป 1-2 เส้น กรณีมี 1 เส้นก็สามารถเปลี่ยนได้แต่เส้นที่สองคือการสำรองยางกรณีฉุกเฉินซ้ำสอง

2.สูบลมพกพา
สูบลมพกพาหรือที่สูบลมแบบ CO2 สามารถพกติดตัวได้ง่าย และใช้งานได้สะดวก สูบลมบางชนิดสามารถทำเป็นสูบลมตั้งพื้นอัดลมได้ถึง 140psi สบายๆ แต่พกติดกับเฟรมไว้ได้ง่ายๆ ส่วน CO2 สะดวกสบายต่อการใช้งานและมีขนาดเล็ฏพกง่าย ทว่ามีราคาแพงกว่าหากใช้งานไปแล้วตัวกระบอกก็ต้องทิ้งไปเลย และควรพกกระบอกอัดแก็สติดตัวไปมากกว่า 1 หลอดเสมอ

3.ชุดเครื่องมือเอนกประสงค์
ควรประกอบด้วยเครื่องมือง่ายๆเช่นไขควรปากแบน ปากแฉก หกเหลี่ยนขนาดต่างๆ ที่ถอดโซ่ หรือจะเลือกใช้ชุดอุปกรณ์พกพาสำหรับจักรยานเอนกประสงค์ที่มีขายโดยทั่วไปราคาตั้งแต่ 400-1600 บาทตามแต่ยี่ห้อก็ได้ ซึ่งในกณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน จักรยานเกิดความเสียหาย หรือปัญหาทางด้านกลไก นักปั่นก็สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันทีที่ริมถนน อย่างน้อยก็ช่วยให้วันนั้นทริปไม่จบลงด้วยการโบกรถนั่งแตกแอร์ดูเพื่อนๆปั่น

หมวดที่สาม ของใช้ไม่จำเป็นแต่มีประโยชน์

1.กระดาษเปียดเช็ดมือ
ลองหากรดาษเปียกเช็ดมือขนาดเล็กติดกระเป๋าใต้เบาะเอาไว้สักแพ็ค มันมีประโยชน์มาก ตั้งแต่เช็ดมือ เช็ดหน้า เช็ดเลืดได้สะอาดและปลอดภัยกว่าทิชชู่ทั่วไป โดยเฉพาะนักปั่นสาวๆนั้นห้ามพลาด เพราะฝากอนาคตกับห้องน้ำคงจะลำบากเป็นแน่ พกติดไว้เช็ดทำความสะอาดเองดีกว่า 2.ถุงพลาสติก
ลองพกถุงพลาสติกขนาดกลางๆเอาไว้สักใบ ยามฉุกเฉินเช่นฝนตก น้ำท่วม ต้องลุยน้ำ สามารถใช้ถุงพลาสติกถุงในี้ใส่ของ ใส่สัมภาระที่ไม่ต้องการให้โดนน้ำได้ทันที อาจใช้ถุงนี้ใส่เครื่องมือทั้งหมดห่อเอาไว้แล้วยัดใส่กระเป๋าเอาใว้หนึ่งชั้นก็ได้ 3.ไฟฉายขนาดเล็ก
ทุกวันนี้ไฟฉาย LED ขนาดเล็กใส่ถ่าน AAA อันละ 199 บาทก็สว่างเกินพอสำหรับกรณีต้องแก้ปัญหาฉุกเฉินยามค่ำคืนแล้ว หลายท่านอาจจะบอกว่าโทรศัพท์มือถือก็สามารถเปิดไฟส่องสว่างได้ แต่ขอแนะนำให้ถนอมแบทเตอรี่ของโทรศัพท์เอาไว้ใช้กับเหตุอื่นเช่นต้องโทรษัพท์หรือส่งพิกัดฉุกเฉินมากกว่าจะเอามาเปิดไฟฉายส่องสว่างให้เปลืองไฟ สุดท้ายก็ฝากว่าแต่ละท่านอาจมีความจำเป็นต่างกัน เช่นท่านที่ปั่นในเวโลโดรมหรือสนามเขียว และสวนสาธารณะต่างๆ อาจไม่จำเป็นต้องพกยางในหรือชุดเครื่องมือเพราะไม่ได้จำเป็นต้องนั่งปะยางริมทางก็สามารถกลับมายังจุดเริ่มต้นได้ หรือบางท่านอาจมีโรคประจำตัวที่ต้องพยาฉุกเฉินติดตัวก็ควรพกไปด้วย ของเหล่านี้ เหลือ เกิน ดีกว่าขาดแคลนแล้วเกิดปัญหาในภายหลัง

ทริคเล็กๆต่างๆในการแพ็คมากมาย อันที่จริงหาดูได้ไม่ยากจากหลายๆสื่อ แต่ Velopedia จะจับมาเป็นเกร็ดเสนอในภายหลังนะครับ เช่นถุงล็อคใส่โทรศัพท์ที่ดีที่สุดคืดถุงน้ำนม ที่เอาไว้เก็บนมแม่เวลาให้นมเด็กเล็กเพราะเหนียว หนา และทนที่สุดแต่มีเนื้อใสและกันน้ำเข้าได้ 100% หรือการแพ็คยางในและที่รัดยาางอย่างไรให้เล็กที่สุด เอาไว้มาว่ากันในโอกาสต่อไป

เสือหมอบดุคุ้มค่า 2015

วันนี้ลองมาดูเสือหมอบ"ดุ"ที่"คุ้มค่า"การลงทุนกันบ้างนะครับ ราคาอาจไม่ได้แพงระดับเทพสูงเกินเอื้อมแต่อย่างได แต่เสือหมอบในรายการนี้ทั้ง 4 ตัวเป็น"รถรบ"อย่างแท้จริง สามารถแข่งขันล่าถ้วย ขี่ได้แรง เร็ว สะใจ สนุก สมใจทุกครั้งที่ได้ขี่เป็นแน่ ต่างก็ได้รับการถ่ายทอดสายพันธุ์ดีเอ็นเอแข่งขันจากรุ่นปู่รุ่นย่าที่เคยเป็นรถแข่งระดับโปรในอดีตมาทั้งสิ้น เทียบกับเทพในปัจจุบันอาจดูแล้วเป็นเด็กๆ แต่ลองคิดให้ดี หากเมื่อ 7-8 ปีก่อนนักแข่งที่ขี่กันได้แชมป์ตูรเดอฟร็องซ์ แชมป์โลกบนเฟราที่เทคโนโลยีเดียวกันนี้ได้ ทำไมเราจะเอามาแข่งมาขี่ให้สนุกกันไม่ได้ล่ะ?


FOCUS IZALCO MAX 1.0
วิศวกรรมเยอรมันเจ้านี้เป็นหนึ่งในสุดยอดฐานการออกแบบจักรยานแข่งขันที่ลงตัวที่สุดเจ้าหนึ่งของโลก การออกแบบมุ่งเน้นที่ทรงท่อและการเชื่อมต่อของทุกจุด ทุกๆองศาผ่านการออกแบบทดลองมาแล้วตั้งแต่รถต้นแบบศึกษามาจนออกมาเป็นสูตรสำเร็จแบบแผนการออกแบบของ Focus ซึ่งส่งผลให้ได้รถที่มีน้ำหนักเบา และการตอบสนองดีเยี่ยม ค่า stiffness-to-weight อยู่ในระดับแนวหน้าในราคามิตรภาพ น้ำหนักเฟรมรวมตะเกียบเพียง 1045 กรัมเท่านั้น! รับรองว่าราคาที่จ่ายไปได้มาซึ่งรถแข่งระดับดุดิบพร้อมจะซิ่งทุกสตางค์แน่นอน


CANNONDALE CADD10
ชื่อนี้ รุ่นนี้ อยู๋ในใจนักแข่งทั้งระดับสมัครเล่นไปจนระดับคลับทีมกึ่งอาชีพในเมืองนอกมานาน ด้วยจุดเด่นที่เป็นเฟรมอลูมินั่มพิเศษ ขึ้นรูปด้วยระบบแรงดันของเหลวทำให้ได้รูปทรงที่รองรับแรงได้ดี ส่งผลให้เฟรมมีน้ำหนักเบามากและตอบสนองส่งกำลังได้สูง เป็นที่ยอมรับกันในสายโหดขาแรงที่ต้องการทั้งน้ำหนักเบา ความแข็งแกร่ง ความคงทน ในต้นทุนที่ไม่สูงจนเกินไป รถอลูมินั่มคันนี้สามารถทำน้ำหนักสูสีกับเฟรมคาร์บอนได้สบายๆ


GIANT TCR ADVANCED
ค่ายยักษ์ใหญ่จากไต้หวันนำเสนอเฟรมในระดับที่เคยเป็นรุ่นท็อปในยุคสมัย Mark Cavendish เพิ่งเปิดตัวแข่งเอาชัยชนะสปรินท์ในราคาสบายกระเป๋า กับเฟรมคาร์บอนบนฐานการออกแบบในตำนาน compact geometry ที่ได้รับการพิสูจน์พลิกการออกแบบจักรยานมาแล้ว มากับท่อล่างล่ำบึกบึน ท่อคอขนาดใหญ่ และกระโหลกที่หนาเตอะส่งกำลังเต็มที่และการควบคุมรถในทางโค้งที่ดี เป็นรถทั่วไปที่เหมาะสมทั้งการขึ้นเขา และการสปรินท์เพราะแอบทำการออกแบบแอโร่ไดนามิคส์ที่ท่อนั่งเพื่อรองรับความเร็วสูงในขณะที่มีการเลือกใช้คาร์บอนและทรงท่อนั่งให้ซับแรงสะเทือนเพื่อความสบายได้ด้วย หากจับคู๋กับชุดขับเคลื่อนและล้อเบาๆ รับรองว่าสามารถอยู่ในพิกัดรถระดับแข่งขันได้สบายๆ


WILIER TRIESTINA CENTO1 AIR
"เซ็นโต้ อูโน่" เป็นชื่อของยอดรถจากอิตาลีค่ายนี้ที่อาจจะดูเงียบๆไปในระยะหลังแต่ถ้าพูดถึงรถแอโร่ไดนามิคส์ระดับคุ้มๆทั้งคุณภาพและราคาคงไม่พ้นโมเดลนี้ ออกแบบมาบนฐานของ Cento1 SR และบวกกับการออกแบบแอโร่ไดนามิคส์ของรถแบบ Time Trial เข้าไปทำให้ Cento1 AIR กลายเป็นรถเสือหมอบที่มีคุณสมบัติผสมผสานกันทั้งสองฝ่ายที่ลงตัว น้ำหนักเฟรมขนาด M ชั่งพร้อมฮาร์ดแวร์ 1120 กรัม นับว่าไม่เลวเลยสำหรับเฟรมแอโร่ไดนามิคส์เช่นนี้