วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

หัวใจและการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายนั้นดีต่อหัวใจ แต่มันต้องมีขอบเขตุบ้าง?


...ผมเริ่มขี่จักรยานด้วยเหตุผลง่ายๆเพียงเหตุผลเดียวว่ามันต้องดีต่อสุขภาพหัวใจของผม หลายครั้งที่ผมจะผลักดันตัวเองให้ออกแรงหนักต่อสู้กับขีดจำกัดตัวเองและเชื่อว่ามันให้ผลที่ดีต่อร่างกาย แต่ในหนึ่งปีที่ผ่านมาผมได้พบกับกรณีที่มีการเสียชีวิตจากระบบหมุนเวียนโลหิตและหัวใจล้มเหลวจากการออกกำลังถึง 3 เคส บวกกับข่าวนักกีฬาหนุ่มๆระดับอาชีพที่เราเชื่อว่าร่างกายต้องอยู่ในระดับสุดยอดเสียชีวิตจากกีฬาที่ตนเองเล่น จึงเริ่มกังวลว่ากีฬาอาจไม่ได้ทำให้อายุผมยืนยาวแต่กำลังมีโอกาสเสี่ยงที่จะอายุสั้นอย่างฉับพลัน
จากนั้นผมได้พบกับ ดร.อังเดร ลา เกิร์ช นายแพทย์ชาวออสเตรเลียผู้เชี่ยวชาญระบบหมุนเวียนโลหิตที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับสภาพร่างกายและการตอบสนองของหัวใจในการเล่นกีฬาความเข้มช้นสูง ทำการศึกษานักกีฬาต่างๆรวมถึงนักจักรยานจากกลุ่มตัวอย่างในออสเตรเลียและยุโรปครอบคลุมทั้งนักกีฬาสมัคเล่นและนักกีฬาอาชีพ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการออกกำลังกายนั้นดีต่อสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง ลดอัตราการเกิดสภาวะล้มเหลวของระบบหมุนเวียนโลหิต พัฒนาระบบทางเดินหายใจ ลดอัตราการเกิดหัวใจล้มเหลว ไปจนสภาวะโรคเรื้อรังตั่งๆและลดการเกิดโรคมะเร็วหลายๆชนิด
ในมุมมองของผู้ที่รักการออกกำลังกายไม่ค่อยสนใจสถิติและการศึกษาเหล่านี้กันนักเพราะสัดส่วนการเสียชีวิตจากการออกกำลังกายคิดเป็นร้อยละ 0.1 ของการเกิดเหตุเสียชีวิต หรืออาจน้อยกว่าานั้นเมื่อเทียบกับประชากรผู้รักการออกกำลังกาย และในความคิดของผู้รักกีฬาเพื่อความแข็งแรง ใช้การแข่งกีฬาเป็นแรงูงใจกระตุ้นให้ออกกำลังกายได้มากขึ้น แข็งแรงขึ้น ข้อมูลเหล่นี้อาจไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจปั่นจักรยานในวันรุ่งขึ้นแต่อย่างใด
แต่ข้อควรรู้เหล่นี้อาจช่วยให้แต่ละคนที่ออกกำลังกายสังเกตุและพึงระวังตนเองในขณะที่ออกกำลังกายมากกว่าเดิม
การออกกำลังกายด้วยกีฬาที่อาศัยความทนทานเช่นวิ่ง จักรยาน ไตรกีฬา ร่างกายจะพัฒนาความแข็งแรงของระบบหมุนเวียนโลหัตได้มากกว่ากีฬาชนิดอื่นๆเนื่องจากร่างกายใช้พลังงานโดยรวมมาจากระบบแอโรบิคซึ่งเชื่อมโยงกับหัวใจโดยตรง การศึกษาพบว่าส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งความแข็งแรงและปริมาตรของหัวใจที่ใหญ่กว่าคนธรรมดา พบว่าในนักจักรยาน Tour de France มีขนาดหัวใจระหว่างแข่งขันใหญ่กว่าคนทั่วไปเกือบ 30% ซึ่งถือว่าส่งผลกับสมรรถนะของระบบแอโรบิคมาก เป็นผลจากการฝึกซ้อมและแข่งขันอย่างหนักต่อเนื่องกันเป็นเดือนๆตลอดเวลา หัวใจก็แข็งแรงและพัฒนาตัวเองให้ใหญ่ขึ้นเหมือนกับกล้ามเนื้ออื่นๆ ทว่าในการศึกษาพบต่อว่าแม้ว่านักกีฬาจะหยุดการออกกำลังกายไปแล้ว แต่ขนาดหัวใจไม่ได้ลดลงเหมือนกับกล้ามเนื้ออื่นๆ จากการศึกษานักจักรยานอาชีพที่หยุดแข่งจักรยานมาแล้ว 30 ปีก็ยังพบว่ามีขนาดหัวใจใหญ่กว่าคนปกติอยู่ดี
และจากการศ฿กษาที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้พบว่าขนาดของหัวใจที่ใหญ่ขึ้นไม่ได้ใหญ่ขึ้นด้วยการขยายตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อเทา่นั้น แต่พบว่ามีบางจุดของกล้ามเนื้อที่เกิดอาการเพิ่มขนาดจากการบาดเจ็บหรือเรียกง่ายๆว่าคล้ายรอยแผลเป็นบนร่างกาย ซึ่งส่งผลจากการฝึกซ้อมและเล่นกีฬาที่หนักมากๆ การศึกษานี้ยังหาข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนไม่ได้ แต่ในระดับกล้ามเนื้อปกติ เราสามารถพบร่องรอยของกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บเสียหายจากการฝึกซ้อมหนักเกินไปได้เป็นปกติซึ่งจะส่งผลให้เส้นใยกล้ามเนื้อขนาดเล็กจิ๋วเกิดการเสียหายและไม่ทำงาน แต่ในกล้ามเนื้อส่วนอื่นจะไม่ส่งผลต่อการออกกำลังกายแต่อย่างใดเนื่องจากเส้นใยกล้ามเนื้ออื่นๆรอบๆจะเพิ่มขนาดและประสิทธิภาพทำงานทดแทนได้เต็มที่ การศึกษายงไม่ระบุแน่ชัดว่าร่องรอยนี้ที่กล้ามเนื้อหัวใจส่งผลกับอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยหรือไม่
การศึกษาพบว่าในกรณีนักวิ่งมาราธอนที่เสียชีวิตรายหนึ่งในสหรัฐอเมริกา มีสภาวะหัวใจขนาดใหญ่กว่าคนปกติ (ซึ่งเป็นสิ่งปกติของนักกีฬากลุ่มนี้) และพบร่องรอยแผลเป็นในเส้นใยกล้ามเนื้อหัวใจ (ซึ่งไม่ค่อยพบในนักกีฬาอาชีพที่ถูกฝึกฝนมาอย่างถูกต้อง) ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดสภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและทำงานล้มเหลวณะออกกำลังกายอย่างหนัก
อย่างไรก็ดีสภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นสภาวะที่พบได้หลากหลายรูปแบบและพบได้ในนักกีฬาอาชีพ ซึ่งไม่ได้จำเพาะว่าต้องส่งผลถึงชีวิตเสมอไป
ดังนั้นข้อควรระวังที่ยังหาข้อสรุปลงตัวไม่ได้ถึงเหตุผลที่แท้จริงของการเสียชีวิตจากการออกกำลังกายขนาดหนัก จนก่อให้เกิดอาการหัวใจล้มเหลว เนื่องจากสาเหตุที่พบในหลายกรณีจำเพราะแต่ละเคสมีเหตุปัจจัยซ้อนที่ส่งเสริมเข้ามาประกอบด้วย แต่จากการศึกษาเป็นเวลาหลายปี พอจะสรุปเป็นข้อมูลเบื้องต้นได้ดังนี้

-การออกกำลังกายระดับเบาๆและปานกลางส่งผลที่ดีอย่างยิ่งสำหรับกีฬาทุกชนิดและคนทุกคนอย่างไม่ต้องสงสัย

-การออกกำลังกายขนาดหนักระดับนักกีฬาแข่งขัน ไม่มีข้อมูลยืนยันถึงอันตรายที่แน่ชัด และดูจะปลอดภัย แต่ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจน

-ยังมีข้อสงสัยอีกมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ยังหาคำตอบไม่ได้

-ยังสรุปไม่ได้ว่าการออกกำลังกายสามารถสร้างรอยแผลเป็นที่กล้ามเนื้อหัวใจได้หรือไม่ และอย่างไร

-อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดได้อย่างไรในนักกีฬาและชนิดไหนที่ส่งผลถึงชีวิต ? เรื่องนี้ก็ยังหาคำตอบไม่ได้

-อะไรคือปัจจัยเสี่ยงที่บ่งชี้ความเสี่ยงของแต่ละบุคคล? เนื่องจากคำถามต่างๆยังหาคำตอบไม่ได้ จึงไม่สามารถตอบคำถามข้อนี้ได้

ดังนั้นจากข้อมูลการศ฿กษาเชิงลึก ก็ยังไม่สามารถหาคำตอบและข้อสรุปของเหตุปัจจัยต่างๆได้ชัดเจน แต่สรุปได้หนึ่งอย่างที่แน่นอนว่า การเกิดเหตุโศกเศร้าในแต่ละครั้ง ตัวนักกีฬาและผู็ออกกำลังกายมักมีปัจจัยแทรกซ้อนอื่นๆส่งเสริมเช่นอาการหัวใจผิดปกติแบบซ่อนเร้น การดูแลร่างกายที่ไม่ถูกต้อง การฝึกซ้อมที่ผิดวิธี รวมถึงอถณหภูมิและการเตรียมตัวในสภาพอุณหภูมิสูงเกินปกติ ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงเราสามารถป้องกันปัจจัยหลายๆอย่างได้หากเรามีการเตรียมตัวที่ดีพอ

...กีฬาจักรยานเป็นกีฬาที่อาศัยทั้งความทนทาน และความแข็งแรง แน่นอนว่าต้องอาศัย"ใจ"ที่จะต่อสู้ฝ่าฟันมาก แต่ใจไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด ใจท่สู้อาจส่งผลกับร่างกายที่ไม่พร้อม ต้องเข้าใจรูปแบบการฝึกซ้อมจักรยานและการพัฒนาร่างกายของนักปั่นจักรยานกันก่อนนะครับ การฝึกซ้อมและพัฒนานักจักรยานคือการ"ค่อยไ"เพิ่มพิกัดความแข็งแรงในระดับต่างๆของร่างกาย ในช่วงการทำงานหนักระดับต่างๆ บางครั้งหนักจนร่างกายรู้สึกเจ็บปวด ปวดร้าวไปทั่วตัว แต่เริ่มด้วยการค่อยๆฝึกในระยะเวลาสั้นๆ จากนั้นจึงเพิ่มระยะเวลาขึ้น ซึ่งก็คือการเพิ่มศักยภาพนั่นเอง
นักปั่นที่มักจะ"ฝืน" ตัวเองมากเกินไป คือนักปั่นที่ไม่ได้เตรียมพร้อมการฝึกซ้อมในระดับความเข้มข้นแบบนั้นมาดี อาศัยเพียงพลังใจของตัวเงเป็นแรงผลักดัน และเมื่อถึงขีดจำกัดที่แท้จริงร่างกายก็ทำงานล้มเหลวได้อย่างง่ายๆ เราไม่มีทางรู็ว่านักปั่นคนอื่นๆเขามีปัจจัยร่างกายเช่นไร มีการฝึกซ้อมมาอย่างไร อันตรายที่น่ากลัวคือการไม่รู็จักร่างกายตนเอง และการเตรียมร่งากายที่ดีพอ อยากให้ลองศึกษาการฝึกซ้อมและการมุ่งเป้าหมายพัฒนาศักยภาพทางกายภาพของกีฬาจักรยาน และใช้เป็นแนวทางในการออกกำลังกาย ทำไมคนบางคนสามารถปั่นได้เร็ว เหนื่อย ได้นานกว่าคนอื่น? เขามีร่างกายที่ถูกสร้างมาเช่นนั้นหรือ?? คำตอบคืออาจจะใช่และไม่ใช่ แน่นอนว่ากรรมพันธุ์ย่อมมีผล แต่นักปั่นที่ดีคือคนที่ฝึกและรับมือกับความเจ็บปวดของสภาพความหนักระดับสูงมาแล้วด้วยตารางโปรแกรมการซ้อมอย่างที่ได้อธิบายไว้ ซึ่งร่างกายจะค่อยๆพัฒนาเพื่อรับมือกับความหนักนั้นๆได้ และนักจักรยานอาชีพแทบทั้งหมด รู้จักความทรมานนั้นดีพอที่จะปั่นโดยมีความเจ็บปวดไปพร้อมๆกัน คนธรรมดาที่อาศัยแค่ใจเป็นหลัก อาจจะต่อสู้เอาชนะความทรมานนั้นได้ แต่สุดท้ายร่างกายที่ไม่เคยฝึกซ้อมมาดีพอก็ยอมแพ้ต่อตัวมันเองอยู่ดี
สิ่งสำคัญสุดท้ายก็คือเรื่องของการเตรียมตัว ทั้งการพักผ่อน การวางแผนตารางการปั่นจักรยาน รวมไปถึงน้ำดื่ม อาหาร ก่อน/หลังปั่น การดื่มน้ำและเติมพลังงานระหว่างปั่น การปั่นในอากาศร้อน สิ่งต่างๆเหล่านาี้คือสิ่งจำเป็นที่นักปั่นควรเรียนรู้ นักปั่นที่มีความเสี่ยงสูงคือนักปั่นที่ไม่เรียนรู้ข้อควรระวังเหล่านี้ แต่ก็แรงทั้งกายและใจ พร้อมจะฝืนได้มากกว่าคนอื่น และนั่นคือความเสี่ยงว่า
...วันไหนที่ใจคุณฝืนได้ แต่ร่างกายคุณยอมแพ้??...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น