วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การใช้เกียร์ในทางซิงเกิลแทรค

เทคนิคการปั่นการจักรยานในเส้นทางซิงเกิลแทรคนั้น เป็นการขี่ในทางที่แคบ ๆ ประมาณแค่ทางคนเดินได้เท่านั้น ประกอบกับความคดเคี้ยว ตามป่าเขา ทุ่งหญ้า หรือพื้นที่ทุรกันดารทั่ว ๆ ไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นเส้นทางที่ขี่ได้อย่างสนุกสนานมากทีเดียว เพราะผู้ขี่จะต้องใช้เทคนิคเฉพาะตัวในการควบคุมรถความต่อเนื่องและความเร็วค่อนข้างสูงพอสมควร แต่หากการใช้เกียร์ไม่ถูกต้องอาจจะทำให้การขี่ในเส้นทางซิงเกิลแทรคนี้ขาดรสชาดไป หรืออาจเป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่สร้างความเบื่อหน่ายให้กับคุณต่อไป ดังนั้นเทคนิคการใช้เกียร์ในเส้นทางซิงเกิลแทรคนี้จะทำให้คุณได้รับความสนุกสนานและชื่นชอบการขับขี่กับเส้นทางประเภทนี้ ซึ่งมีเทคนิคบางประการต่อไปนี้ [เทคนิคการปั่นจักรยาน]

เทคนิคการปั่นจักรยาน ในทางซิงเกิลแทรค

1.หากเส้นทางซิงเกิลแทรคเป็นทางขึ้นเขาไม่สูงชันมากนัก ให้ปรับเกียร์ปานกลาง หากใบหน้าเป็นจานใหญ่ (จานที่ 3) เกียร์หลังควรจะอยู่ประมาณ ไม่เกินเฟืองที่ 4 หรือเฟืองที่ 5
2. ใช้ใบจานหน้าใหญ่ (เฟืองที่ 3) และหลังเล็ก ไม่ถึงขั้นเล็กสุด ประมาณเฟืองที่ 7 หรือ 6 เมื่อขี่ลงเขา และหากมีเนินเขาข้างหน้าอีกทอดหนึ่งก็ให้พยายามใช้เกียร์เดิมที่ขี่ลงจากเขา อาจจะเปลี่ยนเฟืองหลังขึ้นมา 1 เฟืองให้เบาลงเล็กน้อย แล้วลุกขึ้นโยกขึ้นเขาต่อไปตามแรงโน้มถ่วงตอนที่ลงจากเขา นอกจากคุณจะได้ความเร็วในการขึ้นเขาแล้วยังเพิ่มความมันส์ในการใช้กำลังขาในการขึ้นเขาอีกต่างหาก [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
3. เริ่มเปลี่ยนเกียร์ให้เบาลงหากเริ่มรู้สึกว่ารอบขาเริ่มช้าลง
4. ควรจะเริ่มเปลี่ยนจากเฟืองหลังก่อน เมื่อหลังอยู่ที่ประมาณเฟืองที่ 4 หรือ 5 ก็เริ่มเปลี่ยนจานหน้า จากใหญ่สุด เป็นจานกลาง ตามลำดับ
5. หากกำลังขาอ่อนล้ายังไม่มีแรงเพียงพอ ให้คุณใช้จานกลางในการปั่นเส้นทางซิงเกิลแทรค
6. ใช้ใบจานหน้าใหญ่ เมื่อต้องขี่บนเส้นทางซิงเกิลแทรคที่ทุรกันดาร มีเครื่องกีดขวางมาก เช่น ก้อนหิน ขอนไม้ หรืออื่น ๆ [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
7. ให้หัดยืนโยกขี่ในทางซิงเกิลแทรค โดยเฉพาะทุกครั้งที่รถเข้าโค้ง เพราะในขณะที่เข้าโค้งเราจะสูญเสียความเร็วไป เนื่องจากต้องลดความเร็วรถลงเพื่อความปลอดภัย หรืออาจจะมีเครื่องกีดขวางอันไม่พึงประสงค์อยู่ข้างหน้า ฉะนั้นเมื่อเริ่มการปั่นใหม่เท่ากับเราต้องเพิ่มความเร็วและเพิ่มแรงใหม่อีกครั้ง การยืนโยกหลังจากพ้นทางโค้งแล้วนับว่าเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยเร่งความเร็วให้กลับมาให้ได้ความเร็วเท่าเดิมที่เราขี่มา และจะได้ความเร็วต่อ ๆ ไปโดยไม่ต้องออกแรงมากจนเกินไป [เทคนิคการปั่นจักรยาน]

การปั่นทางซิงเกิลแทรคหากว่าทางเป็นหินลอย หรือเป็นทางทราย ชันมากแถมลื่นอีกด้วย เราจะนั่งปั่นไม่ได้แล้ว ต้องยืนขึ้นปั่นแทนการนั่ง แต่อย่ายืนปั่นแล้วเลื่อนตัวไปด้านหน้ามากเกินไป เพราะจะทำให้ล้อหลังไม่สามารถยึดเกาะถนนได้ ล้อหลังจะลื่นฟรีไปเลย ให้ยกก้นขึ้นจากเบาะนั่งเฉยๆ พยายามถ่ายน้ำหนักให้สมดุลทั้งล้อหน้า และ หลัง พร้อมทั้งกำแฮนด์ให้เต็มกระชับมือแล้วออกแรงดึงแฮนด์เข้าหาตัว สลับกับใช้เท้าด้านตรงข้ามของมือที่ดึงเข้าหาตัว ถีบทิ้งน้ำหนักลงไป เพื่อช่วยจังหวะในการปั่นให้ได้แรงมากขึ้น ทำเช่นนี้สลับกันไป แต่ถ้าคุณมีแรงพอที่จะไม่ต้องยืนปั่นโยกขึ้นเนิน ก็ให้นั่งปั่นจะดีกว่าเพราะการยืนปั่นจะสูญเสียพลังงานมากกว่าการนั่งปั่น และอีกเทคนิคหนึ่งคือ เวลาเราจะขี่ในทางซิงเกิลแทรกต้องปล่อยลมออกให้ล้อนิ่มกว่าปกติเล็กน้อย และในช่วงการปั่นลงเขาในทางขรุขระนั้นต้องใช้จานหน้าเป็นใหญ่เสมอครับ เพื่อว่าหากเวลาเกิดอุบัติเหตุรถล้ม จะทำให้ป้องกันไม่ให้ใบจานหน้ามาโดนถูกน่อง อาจทำให้บาดเจ็บได้ครับ

นี่คือเทคนิคการปั่นจักรยานและเคล็ดลับเล็กๆ น้อย ๆ ในการปั่นจักรยานในทางซิงเกิลแทรค เพื่อให้คุณผู้อ่านลองนำไปฝึกซ้อมดู เพื่อว่าในการออกทริปทางซิงเกิลแทรคครั้งหน้า เพื่อน ๆ ที่ไปด้วยกันอาจจะแปลกใจว่าเราไปทำอะไรมาจึงทำให้ปั่นได้ดีขึ้น คล่องขึ้นจนผิดหูผิดตา ในวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ออกทริปปั่นจักรยานกันให้สนุกนะครับ และอย่าลืมนำเทคนิคนี้ไปปฏิบัติด้วยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น