วันนี้จึงเลือกเอาบทความจากสำนักมาตรฐานระดับโลกมาแปลและเรียบเรียงให้อีกหนึ่งครั้ง เพื่อความกระจ่างชัดและเข้าใจง่าย
อาจจะดูแล้วพื้นฐานไปสำหรับเพื่อนนักปั่นที่ใช้เป็นแล้ว แต่บทความก่อนดูจะละเอียดยุ่งยากไปสำหรับมือใหม่ จนมีคำถามส่งมาถามมาก บทความนี้จึงเลือกเอาที่มาที่เขียนได้เข้าใจง่ายที่สุดมาแปลให้อ่านและง่ายต่อการปฏิบัติตามกัน
นิตยสาร Bicycling หัวหนังสือจักรยานขายดีอันดับต้นๆได้ให้ข้อคิดควรคำนึงถึง 6 ข้อเกี่ยวกับการเปลี่ยนเกียร์จักรยานเอาไว้ดังนี้
1.เกียร์
จักรยานโดยส่วนมากประกอบด้วยจานหน้าเป็นเฟืองใหญ่ 2-3 ใบ และมีเฟืองหลังเป็นชุดเฟืองเรียงกันตั้งแต่ 7 ถึง 11 เฟือง ซึ่งการเปลี่ยนโซ่บนเฟืองและจานต่างๆจะส่งผลต่อการทดแรงปั่นจักรยาน ที่เฟืองแต่ละเฟืองจะเปลี่ยนแล้วให้ความรู้สึกต่างกันน้อยกว่าจานหน้า เฟืองใบใหญ่กว่าจะเบาแรงกว่าและจะหนักขากว่าในเฟืองขนาดเล็ก ส่วนจานหน้าจะส่งผลต่างมากกว่า จานใบเล็กจะเบาขากว่าและจานใบใหญ่จะหนักแรงกว่า
2.ชิฟท์เตอร์
จักรยานโดยส่วนมากจะมีชิฟท์เตอร์ 2 ตัว โดยที่ตัวซ้ายจควบคุมการเปลี่ยนจานหน้า และมือขวาจะควบคุมการเปลี่ยนเฟืองด้านหลัง อาจจำง่ายๆว่า "ซ้ายหน้า-ขวาหลัง" ก็ได้
3.ไม่มีปัญหาอะไรทีที่จะ....
ใช้เพียงจานใบเล็กหรือใบกลางเวลาออกตัวแรกๆ....
ก้มลงมองดูว่าตอนนี้โซ่ของเราอยู๋ที่จานใบใหนและเฟืองที่เท่าไหร่....
เปลี่ยนเกียร์ตามนักปั่นที่มีประสพการณ์มากกว่าที่อยู่ใกล้ๆเรา....
4.เมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยนเกียร์
เกียร์จักรยานถูกออกแบบมาให้รักษาความรู้สึกและทดแรงให้ออกแรงได้ต่อเนื่อง ดังนั้นการเปลี่ยนเกียร์เพื่อรักษาการออกแรงเมื่อเส้นทางผ่านไปในรูปแบบต่างๆจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ เมื่อขึ้นเขาหรือทวนลมก็ควรปรับเกียร์ให้เบาลง เเมื่อลงเขาหรือลมส่งก็ควรปรับเกียร์ให้หนักขึ้น ขณะเปลี่ยนเกียร์ต้องปั่นบันไดตลอดเวลา แต่ผ่อนแรงลงบ้าง ไม่ควรออกแรงกระชากบันไดพร้อมกับการเปลี่ยนเกียร์ เพราะโซ่อาจไม่เข้าฟันเฟืองหรือเกิดอาการโซ่ตกได้
5.หลีกเลี่ยงโซ่เยื้องมาก
โดยการหลีเกเลี่ยงเกียร์ที่ใช้จานใบเล็ฏสุดร่วมกับเฟืองเล็ฏสุด และจานใหญ่สุดร่วมกับเฟืองใหญ่สุด นอกจากจะสร้างความตึงเครียดให้กับชุดขับเคลื่อนแล้วยังอยู๋ในสภาพมีตัวเลือกน้อยลงในการเปลี่ยนเกียร์ต่อไปอีกด้วย
6.สรุปการใช้
ชึ้นเขา : จานเล็กเฟืองใหญ่
ลงเขา : จานใหญ๋เฟืองเล็ก
บทความนี้อาจจะเป็นเรื่องเบสิคง่ายๆของการใช้เกียร์จักรยาน แต่เชื่อว่าน่าจะอ่านแล้วเข้าใจปฏิบัติตามได้ง่ายกว่าบทความที่แล้วที่ เราสร้างขึ้นพร้อมค่าทดเกียร์ต่างๆค่อนข้างซับซ้อน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถชอนไชไปหานักปั่นมือใหม่ๆที่เพิ่งหัดปั่นจักรยานได้ไขข้อกระจ่างเรื่องนี้กันนะครับ ก็ขอฝากเพื่อนนักปั่น แชร์ต่อๆกันไปจนไปถึงแหล่งเพื่ินนักปั่นมือใหม่จริงๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น