การเตรียมตัวให้พร้อมในการเดินทางไกล.....
๑. ต้องมีความพร้อมของร่างกายและมีประสบการณ์ปั่นจักรยาน
ได้อย่างน้อยวันละ 30-40กิโลเมตร
๒. มีมนุษย์สัมพันธ์และสามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นหรือผู้ร่วมเดินทางได้ดี
๓. รู้จักการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและดูแลตนเองในสถานการณ์ยากลำบากได้พอสมควร
๔. ร่วมรักษาภาพพจน์และเอกลักษณ์ไทย มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้ร่วมทาง
๕. ยินดีปฏิบัติตามเสียงสมาชิกส่วนใหญ่
........อุปกรณ์ที่ผู้ร่วมเดินทางต้องเตรียมไปเอง ....
๑. จักรยานเสือภูเขา
๒. สูบลม, กระติกน้ำ, ชุดปะยางและปะแจซ่อมแบบพกพา
๓. เป้เพื่อใส่สัมภาระ
๔. ไมล์วัดระยะทางปั่น
๕. ยางในรถจักรยานสำหรับขนาดของล้อรถตัวเอง ๑ เส้น
๖. ที่ตัดต่อโซ่
๗. หมวกกันน็อค, ไฟหน้า, ไฟท้ายรถ
๘. ไฟฉายติดตัว, เทียนไข, ไฟแช๊ค, มีดพก, รองเท้าแตะ, ผงซักฟอก
๙. ถุงพลาสติกใหญ่สำหรับรองใส่เสื้อผ้าก่องลงเป้สัมภาระ
๑๐. เสื้อกันหนาวและถุงเท้า/หมวกไหมพรมสำหรับกันหนาว
๑๑. ยาสามัญและยาประจำตัว
๑๒. เสื้อผ้าที่แห้งง่าย น้ำหนักเบา
๑๓. ต้องคิดเสมอว่าจะพยายามพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด
๑๔. ควรเตรียมแผนการปั่นและศึกษาข้อมูลแผนที่เส้นทางปั่นก่อนออกเดินทางเสมอ
๑๕. ตรวจสอบรถจักรยาน, เครื่องมือจักรยาน และเป้สัมภาระทั้งก่อนออกเดินทางและเสร็จสิ้นการเดินทาง ของแต่ละวัน
๑๖. ต้องปฏิบัติตามกฎจราจรของประเทศนั้นๆ และยึดถือกฎแห่งความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
เช่น ตามช่องทาง, ปั่นชิดขอบทาง, หรือไม่ปั่นเข้ากลางถนน รวมทั้งการให้สัญญาณเลี้ยวหรือการแซงขึ้นหน้า
๑๗.ควรเติมน้ำให้เต็มกระติกน้ำไว้เสมอทุกครั้งที่มีโอกาส
๒๘.ไม่ควรหักโหมหรือเร่งการปั่นจักรยานในช่วงเริ่มออกตัว
๒๙.ควรสลับตำแหน่งนำหน้าและหลังกันเป็นระยะ เพื่อผู้ตามหลังจะช่วยตรวจสอบสภาพรถและอุปกรณ์ของคันด้านหน้า
๒o.เมื่อปั่นเข้าทางแยกต้องแน่ใจว่าเพื่อร่วมทาง ที่ตามหลังมารู้ดีว่าคุณปั่นเข้าทางแยกใด ถ้าไม่แน่ใจให้ทำเครื่องหมายสังเกตหรือรอเพื่อนร่วมทางก่อน
๒๑.ทักทายหรือทำความคุ้นเคยกับเพื่อนร่วมทาง รวมทั้งชาวบ้าน และเตรียมขนมสำหรับแจกเด็กๆ ระหว่างทาง
๒๒.อย่างน้อยต้องมีอาหารหรือเสบียงอาหารสำหรับหนึ่งมื้อ ของตัวเองเสมอ ในระหว่างปั่นทางไกลในเป้สัมภาระ
๒๓.พยายามจดจำเส้นทางที่ผ่านมาและควรรู้เสมอว่าคุณกำลังปั่นอยู่ในตำแหน่งใดของพื้นที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น