กลเม็ด เทคนิค จุดสำคัญในการปั่นขึ้นเขาชัน และเลี้ยวโค้ง
วันนี้เราจะพูดถึงการขึ้นทางลาดชันและเลี้ยวโค้ง เพื่อให้การปั่นได้ประสิทธิภาพสูงสุด ไม่เสียความเร็ว ไม่เสียเวลาในจังหวะขึ้นเขามีโอกาสเสียจังหวะรถเสียความเร็ว ทำให้ต้องลงจูง หรือเกิดอุบัติเหตุตกไหล่ทางหรือเหวลึกได้ การปั่นขึ้นเข้าถือเป็นสุดยอดของการปั่นจักรยานเสือภูเขา แสดงให้เห็นถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และวัดใจ ฝึกความอดทนทดสอบความแข็งแรงของตัวท่านเอง และฝึกการทรงตัวระหว่างความเร็ว/ช้า และควบคุมคอแฮนด์ให้ไปในเส้นทางที่เราต้องการ หรือหลาย ๆ ที่ที่เรามองว่าดีที่สุด และฝึกสมาธิ การหายใจเป็นระบบ แน่นอนคุณต้องถึงยอดเขาให้ได้ และจะต้องเอาชนะใจตัวเองโดยไม่เอาขาลงจากรถ นั่นแหละคุณเริ่มศึกษาและเข้าใจเทคนิคการขึ้นเขาโดยถูกต้อง
1. มองดูเส้นทาง และวิเคราะห์เส้นทางว่าภูมิประเทศสูงมากแค่ไหน ใช้เกียร์ต่ำแค่ไหน ดูให้เหมาะสมกับภูมิประเทศ และความเร็วที่เราปั่นได้ และควรมีการมองใกล้มองไกล
2. วิเคราะห์ผิวถนนว่าเป็นดินประเภทไหน หรือลาดยาง หิน ทราย รากไม้ ควรวิ่งในเส้นทางที่มีอุปสรรคน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้เสียการทรงตัวจนต้องลงจากรถ
3.จัดท่าทางการปั่นช่วงบนของร่างกาย สำหรับขึ้นเขาลาดชันมาก ๆ เราจะต้องจัดลำตัวช่วงบนทำมุม 30 องศา โน้มตัวไปข้างหน้าให้มากหน่อย เพื่อไม่ให้ล้อหน้ายก พร้อมกับงอแขน และทำการกางแขนออกให้พอดีละไม่เกร็งกล้ามเนื้อ พร้อมกันนั้นส่งน้ำหนักช่วงบนจากหัวไหล่ลงไปที่แขนส่งถึงนิ้วมือ และอุ้งมือ กดไปที่แฮนด์ให้ล้อหน้ายึดเกาะถนนมากขึ้น และไม่ให้เสียการทรางตัวของแฮนด์ และคอเอียงซ้าย เอียงขวาไปมา ทำให้การควบคุมง่ายขึ้นกว่าเดิม และวิ่งไปในไลน์เส้นทางที่เราต้องการ และที่พลาดไม่ได้ควรหายใจเป็นจังหวะ หายใจเข้าให้ลึกแล้วค่อยๆ ปล่อย ทั้งควรหายใจทางปากช่วยด้วย เพราะการปั่นขึ้นเขาต้องการออกซิเจนสูง และควรมีการดื่มน้ำอย่างต่อเนื่องทุก 10 นาที ต่อเมื่ออยู่ในสภาพถนนดี หรือมีอุปสรรคน้อยหน่อยไม่เช่นนั้นร่างกายจะขาดน้ำและระบบร่างกายจะไม่สดชื่นและเมื่อยล้าเร็วกว่าปกติ
4. จัดท่าทางช่วงล่างของร่างกายตั้งแต่สะโพกจะอยู่ในตำแหน่งที่ส่วนหน้าของเบาะ และทำการกดน้ำหนักไปที่เบาะให้มากหน่อย ยิ่งถนนทีมีผิวดินร่วนซุย ก็ต้องกดน้ำหนักให้มากขึ้น เพราะน้ำหนักจะส่งลงไปที่ล้อหลังไม่ฟรีจะเคลื่อนตัวไปข้างหน้าได้ตลอด และจะไม่เสียการทรงตัวเป๋ซ้ายเป๋ขวา รถจะวิ่งขึ้นตรง ๆ โดยไม่เสียความเร็ว ความเร็วจะต่อเนื่องไปพร้อมจังหวะการปั่นรอบขาอย่างสม่ำเสมอ ในส่วนขาท่อนบนลงไปท่อนล่าง จะไม่เอียงซ้ายเอียงขวา จะปั่นขนานกับตัวถังไปตลอดไม่เร็วมาก และไม่ช้าไป แต่จะสม่ำเสมอขึ้นไปเรื่อย ๆ ค่อย ๆ ใจเย็น ๆ ในจังหวะที่ปั่นเร็วหรือใช้รอบขาเร็วไปอาจเสียแรง หรือหมดแรงไปทำให้เสียการทรงตัวต้องลงจากรถ ยิ่งทำให้ต้องมาตั้งความเร็วใหม่ยิ่งเสียแรกมากกว่าเดิม และปั่นใช้รอบขาช้าไปก็อาจจะต้องทรงตัวมากเกิน อาจทำให้รถยกล้อหน้าถอยหลังได้ ทำให้เป็นอันตรายได้
5. ตั้งหลักอาน หรือเบาให้สูงขึ้นกว่าเดิมประมาณ 1-2 เซนติเมตร เพื่อเบาแรงกล้ามเนื้อท่อนบน และทำการปั่นใช้รอบขาได้สะดวกมากกว่าเดิม เพราะการขึ้นเขาชัน ๆ จะต้องนั่งปั่นเป็นส่วนมากการยืนปั่นจะมีในบางช่วงที่ไม่ชันมากเกินไป เพราะไม่เช่นนั้นล้อหลังอาจจะฟรี หรือเสียการทรงตัวได้เพราะไม่มีน้ำหนักกดไปที่ล้อหลัง
- ลักษณะการเลี้ยวโค้งนอกขึ้นทางชันโค้งซ้าย
การปั่นจะเคลื่อนตัวจากตีนเขาวิ่งขึ้นไปจากซ้ายไปขวาค่อย ๆ เคลื่อนตัวอีกเลนส์หนึ่ง จากมุมที่มีภูมิประเทศสภาพถนนชันน้อยที่สุด ไปมุมโค้งนอกจะใช้แรง และออกกำลังในการปั่นค่อยข้างน้อย และทำความเร็วดีการทรงตัวค่อนข้างง่าย เพราะการตีมุมอาศาเลี้ยวค่อย ๆ เลี้ยว เพราะโค้งมุมองศากว้างขึ้น ในการใช้กล้ามเนื้อขาจะใช้การปั่นลักษณะควงรอบขาเป็นส่วนมาก แทนที่จะกดน้ำหนักไปที่ลูกบันไดก็จะสลับกับการดึงข้อเท้าทั้งกด และดึงลงไปที่ลูกบันได เช่น เท้าซ้ายกด เท้าขวาดึง เป็นจังหวะสม่ำเสมอ และต่อเนื่องไม่เร็วมากความเร็วรอบขาไม่เกิน 60 รอบต่อนาที ช่วงเขาชัน ๆ
- สำหรับขึ้นเขาชัน เลี้ยวโค้งใน
อาจจะต้องใช้แรงและกำลังกล้ามเนื้อขาที่ท่อนบน และท่อนล่างมากหน่อย เพราะความชันค่อนข้างมาก อนึ่งมุมองศาการเลี้ยวโค้งค่อนข้างแคบ ช่วงจังหวะที่เราปั่นจักรยานจะทำความเร็วได้ไม่มาก อาจเสียการทรงตัวหรือเสียสมดุล ในจังหวะหักเลี้ยวเข้าโค้งชัน ๆ กะทันหัน อาจจะต้องลงจากรถเสียความเร็ว และจะต้องตั้งความเร็วใหม่ หรือตั้งรอบใหม่ทำให้เสียเวลา และในจังหวะสภาพการแข่งขันอยู่นั้น อาจทำให้คู่ต่อสู้ไล่ตามทันได้และเสียกำลังโดยเปล่าประโยชน์ โอกาสพลาดสูงจะไม่เหมาะสม แต่ถ้าเกิดเหตุสุดวิสัยหรือสถานการณ์บังคับให้เราวิ่งไปในเส้นทางไลน์นั้น เราจะต้องใช้เกียร์ต่ำมากหน่อยและทรงตัวให้ดี กดน้ำหนักไปที่ล้อหน้าให้มากเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้เสียการทรงตัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น