นักจักรยานทุกคนไม่ว่าจะเป็นมือเก่าหรือมือใหม่จะมีปัญหาซ้ำ ๆ กันเหมือน ๆ กันเกี่ยวกับจักรยานที่ตนเองขี่ทุกวัน เกี่ยวกับการปรับรถจะให้เหมาะสมกับการขี่ของตนเองไม่น้อยกว่าการเลือกซื้อจักรยานเท่าไหร่นัก แต่การปรับรถจะเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่กว่าการเลือกซื้อเสียอีก และอะไรคือปัญหาเหล่านั้น เราลองมาดูกันว่าการที่เราจะปรับรถให้ถูกต้องนั้นควรจะทำอย่างไร เพื่อจะได้ประสิทธิภาพในการขี่ที่สูงสุด
ประการแรก ขนาดตัวถัง (Frame Size) ดังที่หลาย ๆ คนได้กล่าวไว้ว่าขนาดตัวถังต้องสมส่วนกับความสูงของผู้ใช้ โดยการทดสอบง่าย ๆ ให้เราใส่รองเท้าจักรยานแล้วขึ้นไปคร่อมตรงกลางของท่อบน ขณะยืนบนพื้นราบถ้าช่วงห่างระหว่างสุดเป้าการเกงกับท่อนบนอยู่ประมาณ 2 นิ้วก็ถือว่าใช้ได้ เพราะสามารถปรับอานให้สูงพอดีได้โดยไม่เกินความยาวของหลักอาน และช่วงความยาวของของตัวถังก็ค่อนข้างจะเอื้ออำนวยให้ช่วงจับแฮนด์เป็นไปอย่างเหมาะสม ที่สำคัญขอเตือนว่าความผิดพลาดขั้นพื้นฐานก็คือการซื้อรถที่ตัวถังใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไปจนไม่สามารถแก้ไขให้ขี่ได้อย่างสบาย เพราะฉะนั้นจงอย่าเชื่อผู้ขายที่ไม่มีความรู้ แต่พยายามจะยัดเยียดสินค้าให้กับลูกค้า เพราะนั้นจะเป็นการเริ่มต้นที่ไม่สามารถจะแก้ไขได้ในเวลาต่อมา
ประการที่ 2 ระดับความสูงของอาน เป็นสิ่งแรกที่พึงกระทำและสำคัญที่สุดในการช่วยให้การปั่นจักรยานมีประสิทธิภาพ
ความสูงของอาน = ความยาวของขาด้านใน x 0.888 *** นับจากจุดกึ่งกลางของกะโหลกถึงหลังอาน***
เมื่อได้ตัวเลขมาแล้วก็เอาไปตั้งความสูงของอานแล้วลองขี่ดู ท่านอาจจะต้องปรับความสูงของอานหรือลดลงให้ต่ำ ให้เหมาะสมกับพื้นผิวรองเท้าที่ใช้ในเวลานั้น ถ้าปั่นแล้วรู้สึกว่าสะโพกส่ายไปมา นั้นแสดงว่าอานสูงเกินไป ข้อสังเกตุอีกประการหนึ่งคือในขณะที่ปั่นถึงจังหวะต่ำสุด หัวเข่าควรงอได้เล็กน้อยเป็นมุมประมาณ 150 -160 องศา ทั้งนี้เพื่อช่วยทรงตัวให้รับแรงกระแทกได้เวลาตกหลุม
ประการที่ 3 ปรับระยะหน้า - หลังของอานและมุมเอียง การปรับนี้ไม่ใช่เพื่อให้ได้ระยะจับมือแฮนด์ที่พอดี แต่เป็นการปรับเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการปั่นสูงสุด วิธีการนี้ก็คือ ขึ้นไปนั่งบนอานที่รถอยู่กับที่ (หาผู้ช่วยมาจับรถไม่ให้ล้ม) สวมรองเท้าจักรยานที่ใส่ในการขี่เป็นประจำ วางปลายเท้าไว้บนลูกบันได้ ให้โคนหัวแม่เท้าอยู่ถึ่งกลางลูกบันได้ในตำแหน่งที่ลูกบันได้ขนานกับพื้น จะสังเกตุง่าย ๆ เห็นว่าปลายหัวเข่าของเราจะทำเป็นมุม 90 องศากับลูกบันได้ โดยสังเกตุจาก หัวเข่ามองเป็นเส้นตรงลงมาที่ลูกบันได้จะเป็นเส้นตรงแนวดิ่ง ทำมุม 90 องศาไปตามแนวนอนกับพื้นราบจากกึ่งกลางของรองเท้าไปยังปลายเท้า ผลกระทบต่อการตั้งอานเป็นอย่างนี้ ถ้าตั้งในตำแหน่งค่อนข้างไปข้างหน้าจะช่วยให้รอบการปั่นสูงในเกียร์ต่ำได้ดี ตรงกันข้ามถ้าตั้งอานค่อนมาข้างหลังก็ช่วยให้กำลังกดในจานใหญ่ได้ดี แต่ละคนมีสไตล์ในการปั่นไม่เหมือนกัน ตำแหน่งอาจจะไม่มีกฎตายตัว แล้วแต่ใครคิดว่าจุดใดจุดหนึ่งที่ตนเองปั่นแล้วเกิดอาการเมื่อยล้าช้าที่สุดและน้อยที่สุด จุดนั้นเป็นจุดที่ถูกต้องแล้วสำหรับเขา โดยเแาะการปรับความสูงต่ำของอานนี้ กระผมไม่อยากจะแนะนำว่าต้องฟิกให้ตายอยู่ที่ความสูง ต่ำ เท่าที่กำหนดไว้ เพราะในทางความเป็นจริง คนเราเมื่อเริ่มการออกกำลังกายกล้ามเนื้อทุกส่วนยังไม่พร้อมที่จะรองรับแรงกดมาก ๆ และยังไม่ยืดยุ่นพอในการใช้งาน การปรับความสูง ของอานที่คิดว่าถูกต้องตามที่คำนวนไว้ ก็อาจจะมีความรู้สึกว่าสูงไปในช่วงเวลานั้น แต่เมื่อได้ทำการฝึกซ้อมมาได้สักระยะหนึ่ง ร่างกายมีความฟิตเพียงพอแล้วที่จะรองรับ การปรับหลักอานในครั้งที่ผ่านไปก็จะมีความรู้สึกว่าต่ำไปบ้าง ก็ขอให้เราทำการปรับให้สูงขึ้นตามความเหมาะสมในเวลานั้น จะสังเกตุได้ง่าย ๆ กับจักรยานที่เราขี่เป็นประจำ และมีความพอดีในทุก ๆ อย่าง หลังจากนั้นเราลองหยุดพักสักประมาณ 7 วัน แล้วกลับมาขี่ใหม่ จะมีความรู้สึกว่า ทำไมหลักอานรู้สึกว่ามันจะสูงไปกว่าเดิม นี้ก็แสดงว่า ตอนที่ร่างกายไม่พร้อมกล้ามเนื้อยืดไม่เต็มที่เราจะรู้สึกว่าสูง แต่เมื่อซ้อมได้สักระยะหนึ่งแล้ว ร่ายกลับมาฟิตเหมือนเดิมก็มีความรู้สึกว่าหลักอานจะต่ำไป
ประการที่ 4 ตำแหน่งเท้าบนลูกบันได เมื่อเราปั่นจักรยานแล้วต้องปั่นด้วยปลายเท้า ไม่ใช่ส่วนกลางของเท้า แต่ถ้าปั่นด้วยปลายเท้ามากไปจะทำให้ปวดกล้ามเนื้อเท้าและน่อง ตำแหน่งที่พอดีคือให้หัวแม่เท้าตกลงประมาณแกนลูกบันได้ เพราะฉะนั้นเวลาปรับเหล็กจับลูกบันได้รองเท้าที่เป็นแบบ Clipless ให้คำนึงถึงตำแหน่งฝ่าเท้าของเราด้วย
ประการที่ 5 ความยาวขาบันได นักปั่นมือโปรส่วนมากชอบใช้ความยาวขนาด 175 มม. เพราะให้พละกำลังในการปั่นมากกว่า แต่หากคนที่มีความสูงไม่เกิน 160 ซม.ก็ไม่ควรใช้ ให้ใช้ขนาดความยาว 170 มม. จะดีกว่า เพราะจะมีผลต่อการปั่นในทางขึ้นเขาและซิงเกิ้นแทรค แต่ถ้าคิดว่ามีความแข่งแกรงเพียงพอที่จะงัดความยาว 175 มม. ก็ไม่ผิดกติการใด ๆ ที่จะนำมาใช้เป็นอาวุธประจำกาย
ประการที่ 6 สัดส่วนห้องบังคับการ พื้นที่ส่วนนี้ควรกว้างขวางพอที่จะให้เราเคลื่อนไหวได้สะดวกไม่ว่าจะนั่งขี่ทางไกลก็ไม่เมื่อย หรือจะลุกขึ้นยืนโยกก็ไม่ติดขัด ท่านั่งที่ถูกนั้น ขาหลังจะต้องงอเล็กน้อย ส่วนเสาแฮนด์ (Strem) นั้นไม่ควรยาวเกินไป ระยะที่พอดีนั้นเมื่อยืดแขนสุดแล้วควรถอยหลังได้สุดอาน เพื่อถ่ายน้ำหนักตัวตอนขี่ลงเขา
ประการที่ 7 ความสูงของแฮนด์ จุดนี้ควรปรับหลังจากปรับอานแล้ว โดยทั่วไปจะอยู่ต่ำกว่าระดับอานประมาณ 2 นิ้ว โดยเล็งผลสำคัญไปที่ทวงท่าของการขี่เป็นสำคัญ ซึ่งได้กล่าวไปแล้วในข้อ 6 นอกจากนี้ความสูงที่พอดีนั้นควรเอื่ออำนวยให้
ประการที่ 8 องศาและความกว้างของแฮนด์ โดยทั่วไปแฮนด์เสือภูเขาจะเข้าโค้งประมาณ 3 องศา ถ้าเราบิดมุมโค้งขึ้นเล็กน้อยให้รับกับแนวแขนก็จะทำให้ข้อมือที่จับแฮนด์เป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ส่วนความกว้างนั้นมักจะถือเอาความกว้างของไหล่เป็นเกณฑ์กำหนด
ประการที่ 9 บาร์เอน ประโยชน์ของบาร์เอนคือ ช่วยให้ขี่ขึ้นเขาได้ดีขึ้น หรือจะใช้เป็นที่พักมือในการปั่นระยะไกล เพราะบ่อยครั้งเมื่อเราขี่เป็นระยะทางไกล มือที่กุมแฮนด์อยู่นาน ๆ จะเกิดอาการชา เราก็สามารถใช้บาร์เอนเป็นที่พักมือและควบคุมแฮนด์ได้ดีเสมือนที่เราจับแฮนด์ ฉะนั้นการปรับตั้งบาร์เอนควรจะอยู่ในลักษณะที่ไม่เชิดจนเกินไป ให้สามารถโยกรถใส่กำลังได้อย่างเต็มที่
ประการที่ 10 ตำแหน่งเบรค เราใช้เบรคหนัก ๆ ก็ในจังหวะลงเขาโดยเฉพาะทางธุรกันดาร บางครั้งต้องอยู่ในท่ากึ่งยืน ซึ่งเวลา ตั้งเบรคควรตั้งเผื่อเวลาใช้กับท่านี้ด้วย โดยให้เข้ากับข้อมือในแนวตรง เพื่อประสิทธิภาพในการเบรค และลดความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ ถ้าเราตั้งมือเบรคให้เหมาะสมกับท่านั่ง เมื่อลุกยืนและใช้เบรคข้อมือจะงอมากเกินไป
เอาละครับคิดว่าเมื่อท่านได้อ่านบทบัญญัติ 10 ประการ จบลงแล้วคราวนี้คงต้องไปก้ม ๆ เงยกับเจ้าเสือตัวโปรดของท่านเสียบ้างแล้วละครับ แต่มีข้อแนะนำเพิ่มเติมครับ การปรับรถทั้ง 10 ประการนี้เป็นเพียงพื้นฐานเท่านั้น ฉะนั้นท่านไม่ต้องไปซีเรียซกับข้อมูลเหล่านี้ให้มากนัก ให้ท่านยึดเอาหลักของสรีระของท่านมาเป็นหลัก เพราะคนเราทุกคนจะมีสรีระของร่างกายที่ไม่เหมือนกัน บางคนความสูง 160 ซม.เท่านัน แต่ไม่สามารถใช้จักรยานขนาดเดียวกันได้ เพราะอีกคนหนึ่งส่วนขาจะสั้นกว่าอีกคนหนึ่ง นี่ก็เป็นปัญหาในการที่จะซื้อจักรยานคันแรก ซึ่งจะยึดว่าความสูงเท่าไหร่ต้องใช้รถขนาดเบอร์เท่าไหร่ เป็นต้น ที่ถูกต้องควรไปลองนั่งคร่อมที่ร้านให้แน่ใจเสียก่อน หรือถ้ามีรถของเพื่อนฝูงก็ลองไปนั่งคร่อม ลองขี่ดูก่อนว่าเหมาะสมหรือไม่ และหวังว่าบทบัญญัติ 10 ประการนี้คงจะให้ประโยชน์กับเพื่อน ๆไม่มากก็น้อยนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น