วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

GARY FISHER ผู้เปรียบเสมือนบิดาผู้ให้กำเนิด จักรยานเสือภูเขา

GARY FISHER ผู้เปรียบเสมือนบิดาผู้ให้กำเนิด จักรยานเสือภูเขา


Gary Fisher ชื่อนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักสำหรับจักรยานเสือภูเขาแล้วชื่อนี้คือผู้ให้กำเนิดเปรียบเสมือนบิดาแห่งจักรยานเสือภูเขา Gary Christopher Fisher คือชื่อเต็มของ Gary Fisher เขาเกิดในปี 1950 เริ่มเข้าสู่เส้นทางจักรยานเสือภูเขาตั้งแต่อายุ 12 ปี จากเด็กหนุ่มร่างโย่งที่ขี่จักรยานคลังเกอร์ (Clunker) ลงจากยอดเขาเมาท์แทม และได้ทำการดัดแปลงมันจนกลายเป็นจักรยานเสือภูเขาคันแรก นอกจากจะทำให้กับตัวเองแล้วเขายังทำให้กับเพื่อน ๆ ร่วมอุดมการณ์ของเขาด้วย จากจุดเริ่มนั้นในปี 1979 Gary Fisher และเพื่อนสนิท Charlie Kelly ได้ตั้งบริษัทผลิตตัวถังจักรยานเสือภูเขา และให้ชื่อบริษัทของเขาว่า “ Mountain Bikes” โดยมี Jeffrey Richnond และ Tom Rithcey เข้าร่วมในการทำตัวถังจักรยาน นอกจากจะเป็นผู้ให้กำเนิดจักรยานเสือภูเขาแล้วทีมงานเขายังมีส่วนร่วมกับ Shimano ในกรพัฒนาระบบเกียร์ซึ่งเป็นต้นแบบของเกียร์แบบกดที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน Gary Fisher ได้ออกแบบตัวถังที่มีความกว้างของหางหลัง 135 มม. เป็นครั้งแรกเพื่อให้รองรับกับดุมหลังสำหรับจักรยานเสือภูเขาของชิมาโน ที่จะมีจำนวนเฟืองหลังมากขึ้น และกลายมาเป็นมาตรฐานของตัวถังจักรยานเสือภูเขาจนถึงปัจจุบันนี้

จากการที่เป็นคนที่มีความคิดแบบไร้กรอบ แนวความคิดที่ไม่ซ้ำใครทำให้ผลงานที่เขาสร้างออกมาแต่ละชิ้นกลายเป็นต้นแบบให้ผู้อื่นคอยไล่ตาม ไม่ว่าจะเป็น Genesis Geometry ซึ่งออกแบบให้มีมุม มีองศาที่ให้ความสำคัญกับความสมดุลการวางตำแหน่งร่างกายของผู้ขี่จนผู้ผลิตรายอื่น ๆ ปรับมุมเปลี่ยนองศาตาม แค่นั้นยังไม่พอยังออกแบบบุกเบิกจักรยานเสือภูเขาที่ใช้ล้อที่มีขนาด 29 นิ้ว จนมีคำถามตามมาว่าจะดีกว่าล้อ 26 นิ้วอย่างไร ถึงตอนนี้ก็ได้คำตอบกันไปแล้วว่าล้อ 29 นิ้วดีอย่างไร เพราะยี่ห้ออื่น ๆ ก็เริ่มมีออกมาให้เห็นกันแล้ว ทาง UCI ได้รับรองแล้วว่าสามารถใช้แข่งขันได้ ทางทีม Subasu Gary Fisher Mountain Bike Team ซึ่งเป็นทีมของ Gary Fisher ก็แล้วแต่ใช้ Genesis eometry ล้อ 29 นิ้วทั้งหมด

น่าเสียดายที่จากนี้ไปจะไม่มีโลโก้ของ Gary Fisher อีกแล้วจะมีก็แต่ Gary Fisher Collection ภายใต้แบรนด์ของ Trek เพราะถูกควบรวมกิจการไปอย่างสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

มือใหม่หัดใช้คลิปเลส

มือใหม่หัดใช้คลิปเลส

อุปกรณ์ที่ช่วยให้การปั่นจักรยานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนั่นก็คือคลิปเลส (Clipless) คลิปเลสนำมาใช้กับวงการจักรยานอย่างกว้างขวางแทบทุกประเภทของการขี่จักรยาน ซึ่งแต่เดิมนั้นการขี่จักรยานใช้แรงจากการกดฝ่าเท้าเพียงอย่างเดียว ต่อมาจึงได้มีผู้คิดค้นพัฒนาระบบยึดรองเท้ากับบันไดโดยการใช้ตะกร้อเสียบเท้า หรือใช้สายรัดมารัดเท้ากับบันไดทั้งนี้การยึดเท้าเข้ากับบันไดจะทำให้เราสามารถออกแรงดึงบันไดขึ้นในจังหวะการดึงเท้ากลับซึ่งจะช่วยให้การควงรอบขาทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมาจึงได้มีการคิดค้นบันไดจักรยานแบบพิเศษ ที่สามารถล็อคกับโลหะที่ติดตั้งไว้ใต้รองเท้าได้ นั่นจึงเป็นที่มาของ คลิปเลส


[เทคนิคการปั่นจักรยาน] คลิปเลส คือบันไดที่มีกลไกล็อกกับโลหะที่ติดกับใต้รองเท้าได้ดังนั้นในการใช้งานคลิปเลสจะประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วนดังนี้

1. บันไดคลิปเลส
2. ตัวครีทที่ถูกติดตั้งใต้พื้นรองเท้าเพื่อล็อกกับคลิปเลส
3. รองเท้าจักรยาน ที่มีรูให้ยึดครีท การใช้คลิปเลสนอกจากจะเป็นการช่วยให้การใช้รอบขาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยให้การควบคุมรถทำได้ดีมากขึ้นกล่าวคือไม่ต้องกลัวเท้าจะหลุดออกจากบันไดง่าย ๆ ซึ่งถ้าจะให้เท้าหลุดออกจากบันไดต้องตั้งใจปลด ไม่ใช่เท้าหลุดจากบันไดโดยไม่ตั้งใจ เช่นเวลาเราขี่รถตลุยผ่านเส้นทางที่ขรุขระเมื่อเราลุกขึ้นยืนให้บันไดขนานพื้น เพื่อให้รถพุ่งผ่านเส้นทางดังกล่าว โอกาสที่เท้าจะหลุดออกจากบันไดก็มีสูงกว่าปกติ แต่เราใช้คลิปเลสมันจะช่วยให้เท้ากับบันไดมีความมั่นคงขึ้น ลดโอกาสเท้าหลุดจากบันได [เทคนิคการปั่นจักรยาน]

คลิปเลสก็เหมือนกันกับไฟ เมื่อมีคุณก็ต้องมีโทษ เมื่อเกิดอุบัติเหตุหากเท้าไม่หลุดออกจากบันไดก็ย่อมทำให้ร่ายการบาดเจ็บได้มากกว่าปกติ ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้น เราจะต้องทำการฝึกฝนการใช้คลิปเลสให้คล่อง ๆ ก่อนออกไปขี่จริงเพื่อการให้งานให้เกิดประโยชน์และสร้างความปลอดภัย หลักของการใช้คลิปเลสที่มือใหม่ทุกคนต้องปฏิบัติให้ขึ้นใจคือ ปลดก่อนจอดถอดก่อนหยุดก็จะช่วยให้ท่านไม่เจออุบัติเหตุจากการปลดคลิปเลสไม่ทันเวลารถหยุด แต่ถ้าหากใช้งานไปนาน ๆ แล้ว สิ่งนี้ก็จะติดเป็นสัญชาติญาณกับตัวของท่านเองโดยอัตโนมัติ [เทคนิคการปั่นจักรยาน] นอกจากการปลดก่อนจอดถอดก่อนหยุด แล้ว การปรับมุมของครีทที่ติดตั้งเข้ากับพื้นรองเท้าก็มีส่วนสำคัญในการช่วยให้การปลดรองเท้าออกจากคลิปเลสทำได้ง่าย ต้องทำการปรับมุมของครีทให้รองเท้าหลุดออกจากคลิปเลส เมื่อมีการบิดส้นเท้าเพียงเล็กน้อย เพื่อให้การปลดเท้าออกจากคลิปเลสทำได้ง่าย คลิปเลสบางรุ่นจะสามารถปรับตั้งความแข็งของสปริงชุดล็อคได้ขณะใช้งานใหม่ ๆ ควรปรับความแข็งของสปริงไปที่ตำแหน่งอ่อนสุดเพื่อให้ปลดคลิปได้ง่ายแต่ถ้าหากใช้ไปซักพักแล้วรู้สึกว่าคลิปหลุดง่ายเกินไปจึงค่อยตั้งค่าความแข็งของสปริงที่คลิปเลสให้มีสูงขึ้น จนได้ระดับความแข็งที่พอดี [เทคนิคการปั่นจักรยาน]

การฝึกใช้คลิปเลสสำหรับมือใหม่สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการขึ้นไปนั่นบนรถที่จอดขนาดกับผนังจากนั้นใช้หัวไหล่พิงหรือมือดันผนังไว้แล้วให้ทดลองใช้เท้าด้านที่อยู่นอกผนังกดล็อกและปลดล็อกรองเท้ากับบันไดคลิปเลส เข้า ๆ – ออก ๆ จนเกิดความชำนาญ จากนั้นจึงสลับฝึกอีกเท้าอีกข้าง เป็นไงบ้างครับ หวังว่าเพื่อน ๆ คงได้รับความรู้เกี่ยวกับบันไดคลิปเลสไม่มาก็น้อย ปลดก่อนจอดถอดก่อนหยุด อย่าลืมนะครับ

เทคนิคล้มไม่เจ็บ จากมือโปรฯ ภาค2

เทคนิคล้มไม่เจ็บ จากมือโปรฯ ภาค2


เรามาต่อกันกับเทคนิคการล้มไม่เจ็บ จากมือโปรท่านอื่นกันบ้างครับ

เอริค คาร์เตอร์
เขาบอกไว้ชัดเจนว่าจงทำตัวสบาย ๆ เวลารู้ว่าตัวเองจะล้มเพราะตื่นเต้นหรือเครียดไปก็หยุดล้มไม่ได้ ยิ่งเกร็งตัวนั่นและยิ่งจะทำให้ล้มได้ง่ายเข้าไปอีก พวกคนเมาแล้วขับมักไม่ค่อยเจ็บตัวในอุบัติเหตุ (หากชนไม่หนัก) เพราะคนพวกนี้อ่อนปวกเปียกขณะมีแรงประทะนั่นเอง

ถ้าคุณเล่นดาวน์ฮิลล์หรือขี่มาด้วยความเร็วจนเหิน ให้มองที่ลงไว้ดี ๆ รวมกับว่าตัวเองตั้งใจว่าจะกลิ้งไปบนนั้น พยายามหลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ก็จงระมัดระวังตรงนั้นให้มากที่สุดอย่าให้ตัวติดจักรยานตลอดเวลายามคับขันและอย่ากลัวหากต้องกระเด็นข้ามแฮนด์บ้าง ผมเองก็ปลิวข้ามแฮนด์มาแล้วบ่อย ๆ ทั้งที่ยังปลอดภัยอยู่ถ้ารู้จักทำให้เป็น หมายความว่าคุณต้องปรับคลีตและบันไดคลิปเลสให้ดี มีองศาพอเหมาะจนบิดมันออกได้ทุกครั้งที่ต้องการ

จงอย่ากลัวจักรยานพัง เมื่อถึงคราวต้องสละมันจริง ๆ ก็ต้องสละ ลองคิดดูเถอะว่าจะยอมให้จักรยานพังหรือหัวร้างข้างแตกแขนขาหัก เปลี่ยนชิ้นส่วนจักรยานยังไงก็ยังง่ายกว่ามานั่งซ่อมแขนขาตัวเองนะครับ

ผมฝึกกับโค้ชและเน้นเรื่องการล้มนี่ด้วย ผมจึงล้มได้บ่อยโดยไม่เจ็บตัว เราฝึกล้มกันบ่อยในโรงพลศึกษาให้สมองจดจำจังหวะการล้ม เพื่อให้ยื่นมือออกไปทันแล้วใช้มันยันเพื่อกลิ้งตัวเป็นก้อนกลมตามแนวสันหลัง คุณต้องรู้โดยสัญชาตญาณว่าเมื่อใดจะล้มเพื่อจะได้ล้มได้ถูก และถ้าต้องขี่ในที่ล้มได้ง่ายคุณต้องมีเครื่องป้องกันเพื่อความมั่นใจ มันเป็นได้ทั้งหน้ากาก หมวกกันกระแทก สนับแขน สนับเข่าและเกราะป้องกันลำตัวถ้าคุณเล่นดาวน์ฮิลล์

ในการแข่งเมาเท่นไบค์ครั้งแรกที่เมือง เวล รัฐโคโลราโด ผมล้มหนักจนต้องเอาเหล็กดามกะโหลกไว้และเย็บปิดแผลอีกสามสิบเข็ม ถ้าคุณล้มถึงหมดสติจงอย่าปล่อยไว้เพราะคิดว่าไม่ร้ายแรง คุณต้องพบหมอให้ดูและถ้าจำเป็นก็ต้องเอ็กซ์เรย์เพื่อหาสิ่งผิดปกติ สิ่งที่เห็นด้วยตาแต่ภายนอกว่าไม่มีอะไรนั้นบางครั้งอาจร้ายแรงอยู่ภายใน เช่น สมองบวมหรือเลือดคั่งในสมอง เวลาล้มแรงถึงกระดูกหักผมจะเชื่อหมด ไม่เคยทำลายหรือตัดเฝือกออกด้วยตัวเองเลย สำหรับผมแล้วมันไม่ดีเลยกับการจะกลับมาขี่อีกจนกว่าจะให้หมดรับรองเสียก่อนว่าขี่ได้จริง ๆ

แคเมรอน ซิงค์
แคเมรอน ซิงค์ เป็นที่รู้จักมากในอเมริกาในฐานะนักจักรยานดาวน์ฮิลล์ การเป็นนักเมาเท่นไบค์จอมระห่ำที่สุดทำให้เขาจบการแข่งขันติดอันดับท็อปเท็นเป็นประจำในรายการแข่งอย่างแครงค์เวิร์กซ์ และเทวา เมาเท่นไบค์ เกมส์ แคเมรอนรู้วิธีการล้มและต้องทำอย่างไรให้ล้มแล้วเจ็บตัวน้อยที่สุด วิธีการของเขาคือมันดีกว่าหากจะปล่อยจักรยานไถลไปแทนที่จะดึงเท้าออก เขาสรุปเช่นนี้หลังจากยื่นเท้าออกมาข้างหนึ่งเพื่อหยุดการสไลด์แต่ผลที่ได้คือเอ็นหัวเข่าฉีก ต้องให้หมอผ่าตัดจึงจะช่อมแซมความเสียหายตรงนี้ได้ ถ้าคุณกำลังกระโดดไม่รอดและรู้แน่ว่าจะยังไงก็ล้ม ขณะลอยอยู่กลางอากาศนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ ถีบจักรยานออกห่างตัวจะได้โดดลงพื้นได้ปลอดภัย ให้ขาหรือก้นลงแล้วปล่อยให้ร่างไถลลงเนิน แทนที่จะเอาตัวหรือหัวกระแทกพื้น หรือถ้ากำลังจะโดดแล้วรู้ว่ายังไงคงไปไม่พ้นแรมพ์ การล้มลงให้ท่อนแขนยันแล้วรูดพื้นยังดีกว่าเอามือยันเพราะมีโอกาสหักได้ง่าย เนื่องจากข้อมือมีกระดูกชิ้นเล็ก ๆ ยึดไว้ด้วยเส้นเอ็นและหักแตกได้ง่ายหากกระทบกระเทือนรุนแรง

ถ้าคุณล้มแรงและคิดว่ายังโอเค บางทีมันอาจไม่ใช่อย่างที่คิดเนื่องจากความเสียหายภายในนั้นมองกันไม่เห็น ยิ่งถ้ารู้สึกแย่ตอนจะออกตัวครั้งต่อไปด้วยแล้วจงอย่าฝืนขี่ ให้เข้าพบแพทย์ทันที เพราะในกรณีของแคเมรอน ซิงค์นั้นเขาเองก็รู้สึกว่าไม่เป็นอะไร แต่เมื่อปล่อยตัวในรอบต่อไปเขารู้สึกแย่มาก ๆ เจ็บภายในลำตัวมากจึงไปหาหมอซึ่งตรวจพบว่าเลือดตกภายใน ลองคิดดูก็แล้วกันว่าถ้าไม่ให้หมอตรวจเสียก่อนอาการต่อมาจะเลาร้ายรุนแรงแค่ไหน
v นักจักรยานภูเขาที่ฉลาดจะรู้จักดูแลรักษาตัวเอง รู้ขีดจำกัดว่าทำได้แค่ไหนและสิ่งใดควรหรือไม่ควรเสี่ยง พวกเขาจะตรวจสอบจักรยานหลังจากล้มเพื่อให้แน่ใจว่ามันยังดี ปลอดภัยอยู่หรือเปล่า พร้อมขี่ในอีเวนต์หน้าหรือไม่ แต่ในที่สุดแล้วสิ่งสำคัญเหนืออื่นใดก็คือตัวคุณเอง มีแต่จักรยานแต่เจ้าของจักรยานนั่งรถเข็นคงไร้ประโยชน์

เทคนิคล้มไม่เจ็บ จากมือโปรฯ

เทคนิคล้มไม่เจ็บ จากมือโปรฯ

คงไม่ต้องใช้คนถึงขนาดเป็นศัลยแพทย์สมอง ก็บอกได้ว่าการขี่จักรยานพุ่งไประหว่างหมู่ต้นไม้ ขอนไม้ล้ม พุ่งลงจากหน้าผาและไต่ลัดเลาะไปตามทางริมหน้าผานั้นเสี่ยง บรรดามือโปรฯ ผู้ช่ำชองต่างฝากคำแนะนำไว้แล้วในเรื่องนี้ เพื่อให้คุณล้มแล้วไม่เจ็บหรือไม่ก็เจ็บน้อยที่สุด


เน็ต โอเวอร์เอนด์
เน็ต โอเวอร์เอนด์ ขณะที่มีอายุ 54 ปีแล้ว แต่อดีตแชมป์เมาเท่นไบค์แห่งชาติสหรัฐฯ และแชมป์โลกปี 1990 ยังเกาะกลุ่มนักจักรยานกลุ่มไหน ๆ ก็ได้ในโลกโดยไม่มีวันถูกทิ้งห่างขณะกำลังดังด้วยสถานภาพสุดยอดนักจักรยานเมาเท่นไบค์ประเภทคอรส คันทรี่ เน็ตมักจะสนุกกับการขี่แบบดาวน์ฮิลล์เป็นครั้งคราวในรายการแข่งรายการเล็ก ๆ ใกล้บ้านเขาในเมืองดูแรงโก รัฐโคโลราโอ
เขาไม่เพียงแค่รู้ว่าจะขี่เมาเท่นไบค์ยังไงให้ชนะเท่านั้น ยังมีหนังสือเป็นของตัวเองด้วยในชื่อ Mountain Bike Like a Champion เขาก้าวเข้ามาให้แง่คิดเรื่องการล้มเป็นคนแรก ด้วยเทคนิคง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ทำได้แม้แต่มือใหม่หัดขี่ก็ตาม
เน็ตแนะนำว่าวิธีที่ดีที่สุดไม่ให้ล้มแล้วเจ็บก็คือหลีกเลี่ยงการล้ม หนึ่งในหลายวิธีที่ดีเพื่อให้ห่างจากการล้มคือคุณต้องมีสมดุลร่างกายที่ดี เพราะสมดุลนี่แหละที่ครอบคลุมทุกเรื่องเกี่ยวกับการขี่จักรยาน เขาแนะนำว่าควรฝึกขี่จักรยานเป็นวงกลมเล็ก ๆ บนพื้นเรียบให้ได้เพื่อจะปรับปรุงทักษะด้านการทรงตัว การปรับปรุงทักษะด้านนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ล้มในเส้นทางช่วงยาก ๆ และการไต่เส้นทางชัน ๆ การทรงตัวที่ดียังมีประโยชน์ตอนคุณใช้ความเร็วสูงด้วย
อันต่อมาคือหัดทรงตัวนิ่ง ๆ โดยจักรยานเคลื่อนไหวน้อยที่สุด หมายความว่าพยายามทรงตัวบนจักรยานให้สองล้อตั้งอยู่เฉย ๆ ให้นาน ตรงนี้จะช่วยได้ในการไต่เส้นทางชันและไม่ว่าขณะใดก็ตามที่จักรยานหยุดลงหรือชะลอดความเร็วลงเป็นช้าแทบไม่ขยับ ยิ่งทรงตัวได้นานเท่าไรก็ยิ่งมีโอกาสจะปรับตัวพุ่งไปข้างหน้าได้เร็วขึ้นเท่านั้นก่อนจะถึงจุดที่ล้ม
นักจักรยานผู้ปลดเท้าออกจากบันไดไม่เร็วพอจะล้มได้บ่อย คุณกำลังจะขี่ขึ้นเส้นทางชัดสุด ๆ และดึงเท้าออกได้ไม่เร็วพอแบบนี้ล้มแน่ ถ้าคุณใช้บันไดแบบคลิปเลสอยู่ก็ควรจะหล่อน้ำมันไว้ก่อนขี่ ตัวคลีตถูกปรับตัวไว้ดีแล้วจนมั่นใจว่าไม่ขยับเคลื่อนและอยู่ในองศาที่ดี ดึงออกจากบันไดคลิปเลสได้ง่าย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผิวสัมผัสระหว่างตัวคลีตกับบันไดประกบแนบแน่นกันดีแต่ไม่แน่นจนถึงยาก หรือหลวมจนหลุดได้ง่าย
ถ้าพบว่าเท้าวางตัวใกล้บันไดเกินไปทั้งที่ปรับออกจนสุดแล้ว ทางแก้คือต้องใช้แหวนรองช่วงต่อระหว่างบันไดกับขาจานเหตุที่เท้าไม่ควรวางใกล้ขาจานมาก เพราะจะเสียดสีและฝืด ปั่นไม่ค่อยออกแล้วยังปลดขาจากบันไดได้ยากด้วยเพราะไม่มีพื้นที่ว่างพอให้บิดเท้า แต่ในทางกลับกันถ้าตั้งบันไดคลิปเลสไว้หลวมมันจะคลอนแคลนไม่มั่นคง ขาดความมั่นใจเมื่อหมุนลูกบันไดและนั่นจะทำให้คุณช้าลงด้วย
เน็ตแนะนำว่าควรจะฝึกการสวมและถอดเท้าจากบันไดในตำแหน่งต่าง ๆ กันของขาจาน ไม่ว่าจะเป็นจังหวะยก ถอย ไปข้างหน้าตรงไหนก็ได้ คุณต้องถอดเท้าได้รวดเร็วทุกครั้งที่ต้องการโดยไม่ต้องหมุนขาจานมาอยู่ตำแหน่งที่สะดวก ให้ระวังเป็นพิเศษในเส้นทางที่ “หมิ่นเหม่” ทั้งหลาย เช่น ทางริมเขาเลียบหน้าผา บนสุดของกองซุงหรือในที่ใดก็แล้วแต่ที่เสี่ยงต่อการล้มตกลงมาจากที่สูง ๆ ถ้ามีเวลาพอให้ถอดเท้าจากคลิปเลสได้เร็วก็จะใช้ได้เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน หรืออีกอย่างคือถ้าตรงนั้นมันจะเสี่ยงมากจนไม่น่าขี่หรือขี่ได้ไม่สนุก ลงจากอานมาจูงเสียดังดูดีกว่าขี่ขึ้นไปแล้วตีลังกาหัวทิ่มลงมา จะฝึกไว้จนเก่งแค่ไหนก็ตามถ้าที่ตรงนั้นมันขี่ไม่ได้ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะดันทุรังขี่ไปทำไม
นักจักรยานมากมายที่ล้มในโค้งเมื่อล้อหน้าเริ่มไถล วิธีการหลีกเลี่ยงการล้มตรงนี้คือให้ปล่อยเบรกหน้าไปเลยไม่ต้องจับเพราะจับเมื่อไรรถไถลเมื่อนั้น แทนที่จะเบรคคุณต้องเข้าโค้งด้วยการเอนตัวหนี้จากในโค้ง หมายความว่าให้พยายามทำตังให้ตั้งฉากกับพื้นโลกมากที่สุดแทนที่จะปล่อยตัวเอนตามแรงเหวี่ยงยิ่งเอนตัวเข้าหาด้านในโค้งเท่าไรยิ่งไปเพิ่มแรงไถลล้มให้มากเท่านั้น ถ้าคุณเริ่มจะสูญเสียความควบคุมขณะขี่ คุณมักจะมีช่วงเวลาก่อนจะล้มหรือไม่ล้มเพื่อคิดหาที่ลงให้เหมาะ ถ้าหลีกเลี่ยงการล้มได้ก็ดี แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องมีท่าทางการล้มที่ปลอดภัย เน็ตบอกว่าต้องหลีกเลี่ยงการล้มโดยแขนเหยียดตรงและข้อศอกล็อค ทำอย่างนั้นจะเจ็บตัว และวิธีที่ล้มจะขึ้นอยู่กับชนิดของภูมิประเทศที่จะล้มลงไปด้วย ถ้าล้มตรงพื้นนิ่มจงชูมือออกแล้วชักกลับมาม้วนตัวให้กลิ้งเป็นลูกกลม ในการล้มแต่ละครั้งไม่มีกฎเกณฑ์ใดช่วยให้ปลอดภัยได้แบบตายตัว การล้มแต่ละครั้งไม่เหมือนกันแม้ว่าจะเป็นสนามเดียวกันก็ตาม แต่ตัวแปรคือสภาพร่างกายของนักจักรยาน สภาพรถจักรยาน ความเร็ว ทั้งหมดนี้จะทำให้การล้มเปลี่ยนแปลงไป คุณต้องเลือกวิธีที่ปลอดภัยที่สุดทันทีที่จะล้ม จะทำได้เช่นนั้นต้องฝึกขี่และฝึกล้ม

เทคนิคการขี่เสือภูเขาฝ่าดงหิน

คาดว่าชาวเสือภูเขาทั้งครอสคันทรี่และดาวน์ฮิลล์คงต้องเคยเจอบริเวณที่เต็มไปด้วยหินก้อนเขื่อง ๆ บ้างระหว่างทางที่พากันไปขี่เล่นหรือแข่งขัน เจ้าหินพวกนี้ฝรั่งเขาเรียกว่า “หินหัวเด็ก” (baby head) นับว่าเป็นคำเปรียบเปรยที่ใช้ได้เลยสำหรับภาพของก้อนหินก้อนใหญ่ ๆ ที่ต้องเคลื่อนที่ผ่านไป ซึ่งขนาดใหญ่พอ ๆ กับหัวเด็กทารก บางคนที่มีทางเลือกเพราะวางเส้นทางเอาไว้อย่างดีแล้วก็จะหลีกเลี่ยงบริเวณเหล่านี้ แต่ก็มีอีกหลายคนที่ไม่หลีกเลี่ยงทั้งที่จงใจและไม่ได้ตั้งใจ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณจะพบกับมันด้วยความตั้งใจหรือเพราะด้วยความเร็วที่พุ่งมาจนหมดทางเลี่ยง ควรจะรู้วิธีเอาตัวรอดจากมันเอาไว้เพื่อความสนุกสนานยามได้แก้ปัญหา และเพื่อลดอุบัติเหตุจากการล้ม ซึ่งสามารถทำให้บาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ไปจนถึงแข้งขาหัก หัวร้างข้างแตก

ถ้าคุณยังไม่เคยพบกับสถานการณ์แบบนี้ เรามีวิธีแก้ปัญหามาฝาก หรือถ้าคุณพบกับมันบ่อย ๆ ระหว่างการสนุกในซิงเกิลแทรก ก็ลองเปรียบเทียบดูว่าวิธีการแก้ปัญหาจะเหมือนกับที่เราเสนอหรือไม่

1. จงสร้างแรงส่งด้วยแรงเฉื่อย
ถ้าเคยควบจักรยานเสือภูเขาฝ่าดงหินมาแล้ว คุณจะรู้ว่าต้องใช้พลังงานมากกับการฝ่ามันไปให้ได้ และจะยิ่งใช้พลังงานมากขึ้นอีกถ้าแรงส่งจากระยะทางก่อนหน้านี้มีน้อยหรือไม่มีเลย เมื่อเข้าใจที่มาแห่งปัญหาแล้วก็ต้องแก้ด้วยวิธีการตรงกันข้าม นั่นคือถ้าทราบว่ามีดงหินอยู่ข้างหน้าก็ต้องสร้างความเร็วให้ได้ระดับหนึ่งก่อนจะฝ่ามันไป พึงระลึกไว้เสมอว่าความเร็วนั้นต้องไม่มากพอจะทำให้ตัวเองตีลังกาข้ามแฮนด์เอาตัวไปฟาดหิน แต่ต้องมากพอที่จะส่งให้รูดล้อผ่านมันไปได้อย่างปลอดภัย ไม่ว่าจะด้วยการออกแรงปั่นมากกว่าปกติหรือด้วยการลื่นไหลลงมาจากที่สูงก็ตาม
การปั่นจักรยานเสือภูเขาระหว่างดงหินนั้นควรใช้ความเร็วไม่มากไปกว่าการวิ่งจ็อกกิ้ง คุณควรเห็นมันได้ในระยะไกลพอสมควร ไกลพอที่จะเร่งความเร็วจนเมื่อถึงบริเวณแล้วความเร็วนั้นกลายเป็นแรงเฉื่อยส่งรถไปได้ พอถึงตรงนั้นจึงเปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำ ตามที่ผู้มีประสบการณ์ได้แนะนำเอาไว้คือควรจะใช้เฟืองหลังประมาณตัวกลาง ๆ กับจานหน้าใบเล็กสุด
การใช้เฟืองหลังใบกลางจะช่วยให้เปลี่ยนเกียร์ได้อย่างรวดเร็วเมื่อสถานการณ์ตรงนั้นเปลี่ยนไป ท่าทางที่เหมาะสมคือนั่งอยู่บนอาน ไม่จำเป็นต้องลุกขึ้นยืนโยกซึ่งจะทำให้เสียหลักพลาดท่าได้ง่ายกว่า ในการนี้รถแบบฟูลซัสฯ จะได้เปรียบกว่าพวกฮาร์ดเทล เพราะมันลดแรงสั่นสะเทือนและเกาะเส้นทางได้ดีกว่า

2. ใช้ทางตรงดีที่สุด
ทิศทางที่ดีที่สุดจะรอดจากตรงนี้คือเส้นตรง คุณต้องหมายตาบริเวณนี้ไว้ก่อนจะมาถึง ต้องมองไกลก่อนจะเข้าพื้นที่ ถ้าขี่เป็นเส้นตรงไม่ได้ก็ควรให้คดเคี้ยวให้น้อยที่สุด ถึงดงหินเมื่อไหร่ให้มองข้างหน้าในระยะอย่างน้อย 10 ฟุตหรือประมาณ 5 เมตร วางแผนเอาไว้ในใจอย่างรวดเร็วก่อนจะปั่นข้ามมันไปตรง ๆ พยายามหลีกเลี่ยงหินก้อนใหญ่มาก ๆ ให้ได้ หลุดไปตรงนั้นเมื่อไหร่มีสิทธิ์จอดหรือไม่ก็จานหน้าพังเอาง่าย ๆ เพราะมันปีนไม่พ้น พยายามฝ่าหินก้อนเล็กเท่าที่หาได้ในเส้นตรงนั้นแล้วปั่นข้ามมันไปอย่างต่อเนื่อง พยายามให้รอบขาปั่นเป็นวงกลมทั้งผลักและยกเหมือนเป็นมอเตอร์ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา การพยายามเคลื่อนที่อยู่ตลอดนั้นจะทำให้บางครั้งสามารถผ่านบริเวณที่ยากที่สุดไปได้ด้วยแรงเฉื่อย ในดงหินแบบนี้หยุดเมื่อใดหมายถึงจอดเมื่อนั้น


3. หมอบเข้าไว้ ผ่านได้สะดวก
การวางตำแหน่งของตัวเองนับว่าสำคัญมากในการฝ่าดงหิน สาเหตุที่นักจักรยานเสือภูเขาล้มกันมากในบริเวณนี้เพราะส่วนใหญ่ลืมความสำคัญของจุดศูนย์ถ่วงไป เป็นที่ทราบกันอยู่นานแล้วในกฎของวิทยาศาสตร์ที่ว่าจุดศูนย์ถ่วงของวัตถุนั้นยิ่งต่ำวัตถุนั้นก็ยิ่งล้มยาก คุณจะเลื่อนจุดศูนย์ถ่วงของตัวเองให้ต่ำลงได้ก็ต้องด้วยการพยายามทำตัวให้ต่ำที่สุด ด้วยการโน้มตัวไปข้างหน้ามาก ๆ ขณะเดียวกันก้นยังติดอยู่กับอาน ลดแรงสะเทือนด้วยการงอแขนเล็กน้อย ไม่เกร็งร่างกายท่อนบนปล่อยให้เคลื่อนที่เพื่อรักษาสมดุลได้อย่างอิสระ ให้นึกภาพว่ากำลังบดก้อนหินตรงหน้าให้แหลกด้วยล้อหน้า ไม่จำเป็นต้องเร่งเครื่องหรือลุกขึ้นโยกให้ความเร็วสูงขึ้นเลย ทำอย่างนั้นมีแต่จะล้มลูกเดียว และจะเบี่ยงเบนตัวคุณออกจากแนวตรงที่วางไว้ในใจด้วย
เทคนิคที่จะรอดได้ตรงนี้คือปั่นด้วยรอบขาสม่ำเสมอเกียร์ต่ำพอประมาณ สายตาจับจ้องมองอุปสรรคข้างหน้า อย่ามองล้อ ปล่อยให้ตะเกียบราคาแพงของคุณได้ทำงานเต็มที่สมราคาที่จ่ายเพื่อมัน แล้วจะผ่านตรงนี้ไปได้

4. ขี่จักรยานเสือภูเขาให้เหมือนจูงหมา
ถ้านักจักรยานเสือภูเขาท่านใดเคยเลี้ยงหมาอยู่แล้วพามันไปเดินเที่ยงบ้างเป็นครั้งคราว จะทราบดีว่าบ่อยครั้งที่คุณอยากพามันเดินตรง ๆ แต่เจ้าหมากลับพาเฉไฉออกนอกเส้นทางบ่อย ๆ คุณอาจจะยอมให้มันลากไปทางนั้นทางนี้ได้บ้างแต่ในที่สุดก็ต้องตะล่อมมันกลับมาในแนวทางที่คุณต้องการเหมือนเดิม
การขี่จักรยานเสือภูเขาฝ่าดงหินนี่ก็เหมือนกัน แม้คุณจะพยายามวางแนวขี่ให้ตรงแล้วก็ตาม แต่สภาพของหินแต่ละก้อนก็สามารถบังคับให้ไถลออกนอกเส้นทางนั้นได้ ไม่ต้องตกใจถ้าจะถูกแนวหินบังคับให้เฉไปได้เป็นครั้งคราว ที่สำคัญคือคุณต้องทรงตัวบนอานให้ดีที่สุด โยตัวเพื่อรักษาสมดุลเอาไว้เพื่อให้กลับมารักษาแนวไว้ได้เหมือนเดิม ถ้าต้องไถลออกนอกแนวบ้าง เพราะแนวหินบังคับก็ไม่เป็นไร รักษาสมดุลให้ได้เป็นพอ

5. ต้องเชื่อมั่นในจักรยานเสือภูเขาของคุณ
ถ้าทำได้ทั้งสี่ข้อที่กล่าวมาแล้วรอดตัวไปได้ ตอนนี้ก็มาถึงข้อสุดท้ายแล้วคือคุณต้องเชื่อมันในประสิทธิภาพของจักรยานตัวเอง ข้อนี้ไม่ได้เกี่ยวกับราคาค่างวดหรือวัสดุที่ถูกนำมาสร้างเลย มันเป็นเรื่องของการกะยะยะทางเรขาคณิตล้วน ๆ
ขณะที่คุณกำลังเพลิดเพลินกับการไต่ก้อนหินใหญ่น้อยอย่างเมามันอยู่นั้น อยู่ ๆ ก็ปรากฏว่ามีก้อนหินใหญ่โผล่ขึ้นสายตา มันใหญ่กว่าทุกก้อน ใหญ่จนมองผ่าน ๆ ไม่คิดว่าจะพาตัวเองข้ามไปได้ เมื่อเห็นอย่างนี้แล้วทางเลือกของคุณคืออะไรล่ะ จะยอมลงจากจักรยานแล้วจูงผ่านไป หรือว่าจะหลีกเลี้ยวอ้อมมันไปทางด้านข้าง ทำทั้งหมดสองอย่างนี้มีแต่จะทำลายแรงเฉื่อยที่ส่งมาจากต้นทางทั้งนั้น ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือปั่นข้ามมันไป แต่ด้วยข้อแม้ว่าเจ้าหินหัวเด็กก้อนนั้นต้องไม่สูงเกินกว่าระดับหัวกะโหลกหรือดุมล้อ
ด้วยความสูงเท่านี้ถ้าข้ามไปได้ อย่างไรเสียมันก็ไม่กระแทกกับฟันเฟืองจานหน้าแน่นอน แรงเฉื่อยที่ส่งมาประกอบกับแรงปั่นในช่วงต้น ๆ จะช่วยให้ล้อหน้าหมุนข้ามมันไปได้ อย่าพยายามยกล้อหน้าเพราะจะเสียหลักล้ม ให้พากเพียรปั่นไปก่อนในอันดับแรก ถ้าข้ามไม่ได้จริง ๆ แล้วค่อยหาทางทำอย่างอื่น ทางเลือกหลังจากนี้มีมากมายแม้แต่ต้องลงจากอานเพื่อเข็นถ้าหมดหนทางจริง ๆ

นักจักรยานเสือภูเขาทั้งหลายที่ยังไม่เคยเจอดงหินแบบนี้เราหวังว่าคุณคงพอจะนึกออกว่าจะจัดการยังไงกับมัน ถ้าคุณอ่านก่อนทำแล้ว ปรากฎว่ายังพาตัวเองข้ามมันไปไม่ได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าเราเขียนมั่วหรือว่าคุณเองนั้นไร้ความสามารถเพราะความสามารถนั้นจะเกิดได้จากการทำซ้ำ ๆ เพื่อให้เกิดประสบการณ์ ยิ่งมีประสบการณ์มากเท่าใดคุณก็จะยิ่งเอาตัวรอดได้มากเท่านั้น แล้วความสนุกสนานกับความภูมิใจก็จะตามมา

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เทคนิคการโดดเนินขั้นพื้นฐาน

เทคนิคการโดดเนินขั้นพื้นฐาน

ทักษะการขี่จักรยานที่หลากหลาย คงไม่แตกต่างจากการเดินทางที่ได้พบปะพูดคุยกับผู้คนมากหน้าหลายตา เรียนรู้กันไปตามครรลองของวัฒนธรรมใจแต่ละท้องถิ่น ภูเขาแต่ละแห่งที่ท่านได้สัมผัสขับผ่านขึ้นลง ตามภูมิประเทศ สร้างโจทย์ท่านนักปั่นเสือภูเขาได้ขบคิดแก้ปัญหา เกือบตลอดเส้นทาง ซึ่งทำให้นักปั่นรู้สึกอ่อนล้าบ้าง หากแต่ว่าเปี่ยมไปด้วยความสุข ในรูปแบบของกีฬา Extreme ซึ่งปัจจุบันนี้มีผู้นิยมค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของจักรยานเสือภูเขาประเภทดาวน์ฮิลล์

ต่อไปนี้เราจะเสนอเทคนิค การโดดเนินขึ้นพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการฝึกฝนบังคับรถคู่กาย ผ่านเส้นทางที่ท้าทายอยู่เบื้องหน้าได้อย่างปลอดภัย แต่เร้าใจตลอดเส้นทาง


การโดดเนิน ก็คือ การใช้ความเร็วของรถพุ่งชน สิ่งกีดขวางที่เป็นรูปทรงลิ่ม ส่งให้รถลอยสู่อากาศชั่วขณะหนึ่ง จากนั้นจึงตกลงมาตามแรงดึงดูดของโลก สำหรับท่านที่เริ่มหัดโดด ขอแนะนำว่าควรจะเริ่มจากเนินที่มีขนาดเล็กเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย อีกทั้งยังสร้างความคุ้นเคย ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดความมั่นใจ และเกิดทักษะในเบื้องต้น และกล้าที่จะเล่นเนินโดดที่มีขนาดใหญ่ขึ้นต่อไป

ดังนั้น จึงขอแบ่งเทคนิคการโดดเนิน ออกเป็น 6 ขั้นตอน คือ

1. เริ่มต้นจุดสตาร์ทให้มีระยะห่างจากเนิน ให้มีระยะที่ไกลพอที่จะมีแรงส่งให้รถวิ่งชนเนิน แล้วลอยได้
2. เมื่อได้ระยะความห่าง จากจุดสตาร์ทจนถึงเนินเรียบร้อยแล้ว เมื่อปั่นออกจากจุดสตาร์ทมาแล้ว ก่อนถึงเนินประมาณ 2-3 เมตร ให้หยุดนิ่งแล้วย่อตัวเล็กน้อย คุมรถให้นิ่ง (เปิดศอกเล็กน้อย) สายตามองไปที่ปลายเนิน หรือหัวเนิน
3. จากนั้นปล่อยให้รถไหล วิ่งชนเนิน พอรถไต่ถึงปลายเนินหรือหัวเนินให้ท่านดึงหน้า หรือหิ้วหน้ารถเล็กน้อย จะช่วยป้องกันไม่ให้หน้าลง อันอาจทำให้หัวทิ่ม ตีลังกาได้ครับ
4. อย่าลืมว่าในขณะที่อยู่บนรถ ก่อนจะโดดเนินขาบันไดทั้ง 2 ข้าง จะต้องขนานกับพื้นเสมอ โดยใช้เท้าข้างที่ถนัดอยู่ด้านหน้าครับ
5. ท่านจะรู้สึกสนุกเมื่อรถลอยสู่อากาศ ซึ่งตอนลงก็ไม่เป็นปัญหาเพียงแต่ขอให้ท่านคุมแฮนด์ และให้ล้อหน้าตรงเข้าไว้ รับรองว่าการลงสู่พื้นสวยงามแน่นอน ภาษารถเรียกว่า “มุมพอดี...เนียน”
6. สำหรับรถที่มีโช้คหลัง เวลาลงสู่พื้นจะรู้สึกนุ่มนวล สบายมากแต่หากเป็นพวกหางแข็ง (Hard tail) เวลาลงสู่พื้นคงจะกระแทกมาก หากไม่ย่อตัวช่วย ดังนั้นจึงควรย่อตัวเวลารถลงสู่พื้นด้วย ภาษารถเขาเรียกว่า “อุ้มรถ” ช่วย จะทำให้การลงสู่พื้นนุ่มนวลขึ้น

สำหรับเทคนิคการโดดเนินเบื้องต้น ก็มีเพียงเท่านี้ หวังว่าคงจะพอเป็นประโยชน์ให้เพื่อน ๆ ได้เพิ่มดีกรีความระห่ำ ปั่นเจ้าสองล้อคู่กาย ท้าทายอุปสรรคที่อยู่เบื้องหน้า อย่าลืมว่า “ใคร ๆ ก็บินได้” ครับ

เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน

เทคนิคการหายใจสำหรับนักปั่นจักรยาน

เทคนิคการหายใจ 1. ขณะขี่แข่งขันถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่ชัยชนะในการแข่งขัน: ทำได้ดังนี้ ถ้าคุณหายใจไม่ทันขณะที่ปล่อยตัวออกไปอย่างรวดเร็ว คุณต้องฝึกการหายใจเข้า - ออกทุกๆ วันก่อนออกฝึกซ้อม
มีวิธีฝึกดังนี้
1. ฝึกหายใจเข้าทางจมูกให้เต็มปอด และ เป่าลมออกทางปากจนหมดปอด จังหวะการหายใจให้หายใจลึกๆ ( ยาว ) ช้าๆก่อนทั้งเข้า - ออก
2. ฝึกหายใจเข้า-ออกทั้งทางปากและจมูกพร้อมๆกัน จังหวะการหายใจเหมือนแบบที่ 1.
3. รวมการหายใจแบบที่ 1+2 เข้าด้วยกันแต่เน้นจังหวะการหายใจที่หนักหน่วงแรงและเร็วเหมือนแข่งขันฯประมาณ 15-20 สะโตก( เข้า - ออก ) แล้วผ่อนการหายใจยาวๆเป็นแบบที่หนึ่งหรือสองจนกว่าจะรู้สึกว่าหายเหนื่อยดีแล้วก็ให้กลับมาเริ่มฝึกหายใจแบบที่สามอีก คือหนักหน่วงแรงและเร็ว ทำสลับกันอย่างนี้ใช้เวลาประมาณ 5 - 10 นาที แล้วก็ออกไปฝึกซ้อม

หมายเหตุ: การฝึกแรกๆระวังหน้ามืดเป็นลม ต้องค่อยเป็นค่อยไป เมื่อร่างกายปรับตัวได้ดีแล้วคุณจะเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการหายใจว่า " นี่คือหัวใจของความอึด " ในการปั่นเสือที่คุณชอบครับ การฝึกหายใจเป็นประจำทำให้ปอดขยายใหญ่ขึ้น พร้อมกับฝึกประสาทควบคุมการหายใจให้รับรู้วิธีการหายใจในขณะแข่งขันฯ ทำให้คุณผ่านพ้น " ภาวะอึดอัด " ( หายใจไม่ทัน )ไปได้ ซึ่งจะเป็นผลดีในการปั่นแข่งขัน มากกว่าคนที่ไม่เคยฝึกเทคนิคการหายใจครับ แต่ทุกๆคนต้องหายใจเพื่อชีวิตเพียงแต่ว่าคุณหายใจได้ดีแค่ไหน ? โดยเฉพาะอากาศออกซิเจนที่คุณต้องการน่ะมากพอหรือยังครับ

เทคนิคการหายใจ 2.( การหายใจที่นุ่ม-ลึก )
เราเรียนรู้การหายใจมาพอสมควรแล้ว ต่อไปนี้เราจะใช้จังหวะการหายใจในการขี่แต่ละแบบดังนี้
1. การหายใจในการขี่ทางเรียบ : จะใช้การปั่นแบบ 8 สะโตก คือเมื่อหายใจออก( เร็วปานกลาง ) กดลูกบันไดให้ได้ 4 ครั้ง และเมื่อหายใจเข้า ( ช้ากว่าหายใจออกเล็กน้อย ) ให้ดึงหัวเข่าขึ้นให้ได้ 4 ครั้ง จังหวะการหายใจออกถีบ 1 2 3 4 ครั้ง หายใจเข้าดึงเข่าขึ้น 5 6 7 8 ครั้ง
2.การหายใจขณะขี่ทางขึ้นเขา : จะใช้การปั่นแบบ 4 สะโตก คือ เมื่อหายใจออก ( เร็วขึ้น ) ให้ถีบลูกบันไดให้ได้ 2 ครั้ง และเมื่อหายใจเข้า ( ช้าปานกลาง )ให้ดึงหัวเข่าขึ้นให้ได้ 2 ครั้งเช่นกัน จังหวะการหายใจ ( 1 2 - 3 4 )
3. การหายใจขณะขึ้นเขาชัน : จะใช้การปั่นแบบ 2 สะโตก คือเมื่อหายใจออก( เร็วกว่า )ให้ถีบลูกบันไดลงหนึ่งครั้ง และดึ่งหัวเข่าขึ้นหนึ่งครั้งเมื่อหายใจเข้า( เร็วกว่า ) จังหวะการหายใจ ( 1-2 )แบบนี้จะสัมพันธ์กับการปั่นลูกบันไดตลอดเวลา
4.การหายใจขณะสปริ้นท์ : จะเป็นการปั่นลูกบันไดแบบ2 สะโตกเช่นกันแต่การหายใจจะเร็วกว่าทุกๆแบบที่กล่าวมาข้างต้น

หมายเหตุ : การหายใจที่นุ่มนวลตลอดเวลาต้องอาศัยสมาธิและการฝึกฝน ( นุ่ม-ลึก ) ทำให้ประสิทธิภาพการปั่นจักรยานดีขึ้น ถ้ารู้จักการใช้จังหวะการปั่นลูกบันไดให้สัมพันธ์กับการหายใจเข้า - ออกข้างต้น

เทคนิคการปั่นจักรยานขึ้นเขา

เทคนิคการปั่นจักรยานขึ้นเขา

หากจะพูดถึงทางขึ้นเขา จะมีนักจักรยานน้อยมากที่จะมีความพึงพอใจในผลงานของตัวเอง เพราะการปั่นทางขึ้นเขานั้นนอกจากต้องใช้พละกำลังอันมหาศาลแล้ว ยังจะต้องมีเทคนิคต่าง ๆ มาเสริมในการปั่น โดยเฉพาะการใช้เกียร์นั้นเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราควรศึกษาและฝึกฝนตัวเองให้ชำนาญ เพราะหากไม่มีเทคนิคในการเปลี่ยนเกียร์ นอกจากจะทำให้การขี่ขึ้นเขาจะเป็นปัญหาใหญ่หลวงเหมือนที่เขาเรียกว่า "หนักกว่าเข็ญครกขึ้นเขาเสียอีก" ก็ยังจะทำให้ชิ้นส่วนของรถจักรยานของท่านเสียหายได้เช่นกัน
การเปลี่ยนเกียร์ในการขี่ขึ้นเขา

ในการขี่จักรยานขึ้นเขา ไม่เป็นที่น่ายินดีสำหรับคนขี่จักรยานเท่าใดนัก ทุกครั้งที่เห็นเส้นทางข้างหน้าที่เป็นเนินเขาทำให้หลาย ๆ คนบ่นอยู่ในใจเสมอ ๆ ว่า ต้องออกแรงอีกแล้ว บางคนถึงกับถอดใจเอาเสียดื้อ ๆ บางคนต้องทำใจดีสู้เสือ เสียงดีดชิปเตอร์ดังป๊อกแป๊ก ๆ สนั่นหวันไหวเพื่อเปลี่ยนเกียร์ให้เบาลง จะมีน้อยคนนักที่ยังใช้เกียร์เดิมแถมไม่ท้อแท้กับเส้นทางที่มีเนินอยู่ข้างหน้า เขาจะพุ่งเสือสุดที่รักของเขาขึ้นไปอย่างรวดเร็วตามลำดับ ฉะนั้นเทคนิคการใช้เกียร์ในช่วงนี้อาจจะเป็นตัวชี้ว่าจะแพ้หรือชนะก็ย่อมเป็นได้ ท่านลองฝึกหัดตามเทคนิคเหล่านี้ดูนะครับ
1. เมื่อท่านขี่อย่างเร็วมาถึงเส้นทางที่มีเนินไม่ควรเปลี่ยนเกียร์ให้เบาลงทันทีทันใด
2. ให้ขี่มาด้วยเกียร์เดิมจนท่านมีความรู้สึกว่ารอบขาของท่านเริ่มลดลงจากเดิมก็เปลี่ยนเกียร์ให้เบาลงทีละหนึ่งชั้นเฟือง โดยเริ่มเปลี่ยนจากเฟืองหลังก่อน
3. เมื่อเฟืองหลังได้เปลี่ยนมาจนอยู่ในระดับเฟืองที่ 5 หรือ 4 แล้ว หากรอบขาในการปั่นช้าลง ก็ให้เริ่มเปลี่ยนจานหน้า ลงไปหนึ่งชั้นเฟือง แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเปลี่ยนจานหน้าลง รอบขาเริ่มเบาลง ให้เปลี่ยนเฟืองหลังเพิ่มขึ้นอีก 1 ชั้นเฟือง
4. ไม่ควรใช้เกียร์เบามาก ๆ ในการขึ้นเขา และเปลี่ยนให้เป็นเกียร์หนักขึ้นเล็กน้อยเพื่อเร่งความเร็วเมื่อใกล้ ๆ จะถึงยอดเขา
5. ควรคำนึงถึงรอบขาในการปั่นให้มากที่สุดในการใช้เกียร์แต่ละครั้ง
6. ไม่ควรเปลี่ยนเกียร์กระทันหันเมื่อรอบขาไม่สามารถปั่นต่อไปได้ หรือรถเริ่มหยุดการเคลื่อนที่ เพราะจะทำให้ชิ้นส่วนจักรยานเสียหายได้ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับโซ่ขาดจะพบเห็นได้บ่อย ๆ ในขณะขึ้นเขา

เทคนิคการถ่ายเทน้ำหนัก

เทคนิคการถ่ายเทน้ำหนัก

การถ่ายน้ำหนักคือการย้ายจุดศูนย์ถ่วงของตัวเราไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ของตัวรถจักรยานหากเราได้ฝึกฝนการถ่ายน้ำหนักจนมีความชำนาญจะช่วยให้เราขี่จักรยานได้ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทรงตัว การควบคุมรถแม้กระทั่งการเพิ่มความเร็ว และปลอดภัยขึ้น เพราะเมื่อเราทรงตัวได้ดีเราก็คงไม่ล้มง่าย ๆ นั่นเอง- การถ่ายน้ำหนักในขณะเลี้ยวพื้นราบสิ่งแรกที่ต้องพึงระวังไว้เสมอคือขณะที่เลี้ยวลูกบันไดด้านที่เลี้ยวจะต้องอยู่ในทิศทางประมาณ 12 นาฬิกา เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกบันใดไปเกี่ยวกับพื้น โน้มตัวไปด้านหน้าให้น้ำหนักไปกดอยู่ที่ล้อหน้าเพื่อให้ล้อหน้าเกาะกับพื้นยิ่งขึ้นช่วยไม่ให้ล้อหน้าไถลออกจากทาง ถ่ายน้ำหนักตัวท่อนล่างให้ไปทางเดียวกันกับที่เลี้ยว ส่วนท่อนบนให้ไปในทิศทางตรงกันข้าม เปิดเข่าด้านที่เลี้ยวออกเพื่อช่วยถ่วงน้ำหนัก การเปิดเข่าออกจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับมุมที่เราจะเลี้ยวหากมุมแคบก็เปิดเข่ากว้างหน่อย แต่หากมุมกว้างเปิดเข่าแคบหรืออาจไม่ต้องเปิดเข่าแต่ให้เอียงตัวช่วยก็พอในการเลี้ยวนั้นน้ำหนักส่วนมากจะค่อนไปอยู่ที่ส่วนหน้าของจักรยาน แต่หากทางที่ต้องเลี้ยวเป็นทางลง ให้ถ่ายน้ำหนักตัวค่อนมากลางรถคุมความเร็วอย่าให้สูงเกินด้วยการควบคุมเบรก ต้องระวังอย่าเบรกแรงจนล้อล็อคเพราะจะทำให้เสียการควบคุม

การถ่ายน้ำหนักในขณะที่ปั่นขึ้นเนิน

ถ่ายน้ำหนักในขณะขึ้นเนินปรับเกียร์ให้เหมาะกับความชันและกำลังของเรา งอแขนและกางแขนออกโน้มตัวไปข้างหน้าพร้อมถ่ายน้ำหนักลำตัวช่วงบนกดไปแฮนด์เพื่อให้ล้อหน้ายึดเกาะถนนมากขึ้น ส่วนลำตัวช่วงล่างให้ทิ้งน้ำหนักลงไปที่กะโหลกเพื่อให้มีน้ำหนักไปกดที่ล้อหลังไม่ให้เกิดการฟรีซึ่งจุดนี้จะไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับความชันของทางต้องขยับการนั่งค่อนมาทางด้านหน้าเบาะ หากทางไม่ดีนั่งปั่นไม่ได้ให้ยกก้นขึ้นลอยจากเบาะแต่ให้อยู่ในแนวเดิม แต่ถ้าสภาพทางเปียกควรนั่งปั่นเพราะการนั่งจะรักษาการถ่ายน้ำหนักและควบคุมรถได้ดีกว่าการยืน หากถ่ายน้ำหนักไปที่ล้อหลังมากเกินไปหน้ารถจะเบาทำให้ควบคุมทิศทางลำบาก ดีไม่ดีอาจหงายท้องอีกด้วย แต่ถ้าหากเราถ่ายน้ำหนักไปที่ล้อหน้ามากเกินไปล้อหลังจะไม่มีแรงกดเมื่อเราออกแรกปั่นล้อจะฟรีทำให้เสียจังหวะและอาจเสียการควบคุมรถอีกด้วย- การถ่ายน้ำหนักในขณะปั่นลงเนินสำหรับทางวิบาก หรือทางขรุขระหากสภาพทางมีความลาดชันมากให้ปล่อยไหลลงมาจะปลอดภัยกว่าโดยพยายามให้ขาจานอยู่ในตำแหน่งขนานกับพื้นงอเข่าทั้งสองข้าเพื่อช่วยในการควบคุมรถและช่วยซับแรงกระแทกยกก้นลอยขึ้นจากเบาะ ให้ถอยตัวค่อนไปตอนท้ายหรือเลยออกจากเบาะ เพื่อให้น้ำหนักไปตกอยู่ที่ล้อหลัง (สำหรับระยะของการถอยตัวจะไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับความชันของทาง) พยายามกดล้อหลังให้ติดพื้นตลอด เพราะหากล้อหลังลอยจากพื้นจะทำให้เสียการควบคุมได้หากทางเรียบปั่นเติมเพื่อเพิ่มความเร็วก้มตัวให้ต่ำเพื่อลดแรงต้านให้นั่งอยู่ส่วนท้ายเบาะเพื่อให้มีน้ำหนักกดที่ล้อหลังนิ้วต้องอยู่ที่เบรกตลอดเพื่อชะลอความเร็วไม่ให้เร็วเกิน หลีกเลี่ยงการใช้เบรกหน้าถ้าไม่จำเป็น เพราะจะทำให้เสียหลักได้ง่าย มองให้ไกลเข้าไว้เผื่อมีหลุมหรือสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้าจะได้หลบทันไม่ต้องกลิ้งลงมาแทน- การถ่ายน้ำหนักในขณะปั่นทางเรียบ ที่ความเร็วและรอบขาสูงลักษณะของการถ่ายน้ำหนักจะคล้ายกับการปั่นขึ้นทางชัน คือเลื่อนตัวมาอยู่ที่ปลายเบาะด้านหน้างอแขนเข้าหาตัวโน้มตัวไปข้างหน้า (เรียกง่าย ๆ ว่าหมอบ) น้ำหนักจะตกอยู่ที่ส่วนหน้าเพื่อลดแรงเสียดทางของล้อหลังกับพื้นถนนทั้งยังช่วยให้เราสามารถรักษารอบขาได้นานขึ้นด้วย- การถ่ายน้ำหนักเมื่อเจอทราย [เทคนิคการปั่นจักรยาน] ให้ถ่ายน้ำหนักไปที่กะโหลกค่อนไปที่ล้อหลังเพื่อให้ล้อมีแรกตะกุยพยายามรักษารอบขาให้สม่ำเสมออย่าถ่ายน้ำหนักไปที่ล้อหน้าต้องให้หน้ารถเบาไว้เพื่อที่ล้อหน้าจะได้ไม่จมทราบ การควบคุมและบังคับทิศทางจะได้ง่ายขึ้น- การถ่ายน้ำหนักเพื่อเบรกหากต้องการเบรกให้รถหยุดจัดตำแหน่งขาจานอยู่ในแนวขนานกับพื้นถ่ายน้ำหนักไปที่ล้อหลังโดยการถอยตัวไปท้ายหรือเลยเบาะใช้เบรกทั้งหน้าและหลังแต่ให้เริ่มเบรกหลังก่อนจากนั้นตามด้วยเบรกหน้า ใช้แขนดันแฮนด์ไว้เพื่อไม่ให้ตัวพุ่งไปข้างหน้า แต่หากต้องการเบรกเพื่อให้ไถลไปในทิศทางที่ต้องการให้ถ่ายน้ำหนักมาที่ล้อหน้าโดยการโน้มตัวมาด้านหน้าบังคับแฮนด์ไปในทิศทางที่ต้องการ การทรงตัวจะใช้ล้อหน้าเป็นหลักน้ำหนักที่กดล้อหน้าจะช่วยให้เราอยู่ในเส้นทาง เบรกเต็มกำลังเพื่อให้ล้อหลังล็อคล้อหลังจะไถลไปในทิศทางตรงกันข้ามกับล้อหน้า ปล่อยเบรกหลังเมื่อล้อหลังอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการเพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการปั่นควรหมั่นฝึกซ้อม เพราะนอกจากคุณจะเร็วขึ้นสนุกขึ้นที่สำคัญปลอดภัยขึ้นขึ้นด้วย สำหรับการถ่ายน้ำหนักในทุก ๆ กรณีหากไม่มั่นใจแนะนำว่าเข็นหรือแบกก่อนดีกว่า เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านและรถอันเป็นที่รักของคุณ

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พื้นฐานการยืนปั่น

ในการขับรถยนต์ตัวแปรในการทำความเร็วก็คือรอบเครื่องยนต์และเกียร์ที่ใช้ ในการขี่จักรยานก็เช่นเดียวกัน ตัวแปรความเร็วของการขี่จักรยานคือรอบขาและเกียร์ที่ใช้ ซึ่งก็เหมือนกันกับตัวแปรความเร็วของรถยนต์ ปกติเวลาเรานั่งปั่นจักรยานบนเบาะ ร่างกายเราจะสัมผัสกับจักรยาน 5 จุด ได้แก่ ขาทั้งสองข้างที่เหยียบบันได มือทั้งสองข้างที่จับแฮนด์ และก้นที่นั่งบนเบาะนั่นคือสภาวะปกติ เมื่อเรานั่งปั่น แต่ก็ยังมีสภาวะพิเศษที่เราต้องการเร่งความเร็วแบบทันทีทันใด หรือต้องการเพิ่มพลังในการขับเคลื่อนให้มีเพิ่มขึ้นแบบทันทีทันใด เราสามารถทำได้โดยการใช้น้ำหนักทั้งหมดของตัวกดบันไดด้วยการยืนปั่น


เวลาที่เรานั่งปั่นบนเบาะ น้ำหนักตัวส่วนหนึ่งจะกดที่เบาะแล้วส่วนหนึ่งกดไปที่บันได แต่ถ้าเรายืนปั่นโดยยกก้นขึ้นจากการนั่งบนเบาะ น้ำหนักตัวเกือบทั้งหมดจะกดบันได ซึ่งการยืนปั่นแบบนี้จะให้แรงในการขี่สูง แต่ก็เป็นท่าขี่ที่เหนื่อยมากที่สุดเหมือนกัน เพราะกล้ามเนื้อขาต้องทำงานอย่างเต็มที่ ประโยชน์ของการยืนปั่นจะมีอยู่สองอย่างคือ อย่างแรกใข้ในการเร่งความเร็วเช่นกรณีแซงหรือแข่งกันขี่เข้าเส้นชัย อย่างที่สองเป็นการเพิ่มพลังในการขับเคลื่อนให้มีสูงสุดเมื่อต้องการใช้งาน ส่วนในการฝึกซ้อมการยืนปั่นยังเป็นการวัดความอดทนของร่างกายว่าจะสามารถทนสภาวะทำงานหนัก ๆ ได้นานแค่ไหนอีกด้วย เรียกได้ว่าถ้าฝึกยืนปั่นอยู่บ่อย ๆ ก็จะเป็นหนทางในการฝึกฝนความแข็งแรงในกล้ามเนื้ออย่างหนึ่ง พื้นฐานของการยืนปั่นมีอยู่สองอย่างคือ การทรงตัวบนจักรยานโดยไม่นั่งบนเบาะและการรู้จักใช้เกียร์ จากที่เคยกล่าวไว้ว่าการยืนปั่นเป็นการใช้พลังงานสูงสุด ช่วยให้การขี่มีอัตราเร่งดี ดังนั้นก่อนที่จะทำการขึ้นยืนปั่นผู้ขี่จะต้องเปลี่ยนเกียร์ไปอยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ที่หนักกว่า (มีอัตราการทดมากกว่า) เกียร์ปัจจุบันนิดหน่อย เพราะว่าการยืนปั่นเป็นการใช้พลังงานสูงสุด หากไม่มีการเปลี่ยนไปใช้เกียร์ที่มีอัตราการทดที่มากกว่า ก็จะทำให้การเร่งของรถไม่สูงเท่าที่ควร กล่าวคือรถพุ่งตัวเร็วขึ้นนิดเดียวแล้วความเร็วก็หยุด ทำให้ความเร็วที่เพิ่มขึ้นไม่พอที่จะแซงให้พ้น หรือผู้ขี่อาจจะฟรีขาทิ้งเปล่า ซึ่งกรณีที่เปลี่ยนเกียร์หนักก่อนยืนปั่นนี้จะให้ในการเร่งความเร็ว ส่วนในกรณีที่ต้องการใช้พลังงานสุงสุดในการขับเคลื่อนแบบทันทีทันใด เช่นกรณีขี่ขึ้นจากท้องร่องนั้น สามารถยืนขี่ได้เลยโดยไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์ก่อนยืนปั่น [เทคนิคการปั่นจักรยาน] ส่วนพื้นฐานการทรงตัวบนจักรยานโดยไม่นั่งบนเบาะ ท่านสามารถฝึกด้วยตัวเองได้โดยการขี่รถด้วยความเร็วระดับหนึ่งแล้วปล่อยให้รถไหลจากนั้นให้จัดตำแหน่งบันไดจักรยานให้ขนานพื้นให้เท้าด้านที่ถนัดอยู่ข้างหลัง จากนั้นจึงค่อย ๆ เหยียบบันไดทั้งสองข้าง ยกก้นขึ้นมาเหนือเบาจนขาทั้งสองข้างตึง แล้วทรงตัวบนรถปล่อยให้รถไหลไปเรื่อย ๆ จนแรงส่งใกล้จะหมดจึงนั่งลงปั่นต่อ ฝึกยืนยกก้นบนบันไดในตำแหน่งบันไดขนานพื้นจนคล่องก่อน จากนั้นก็มาฝึกขั้นต่อไปก็คือการยืนปั่นพร้อมกับโยกรถไปพร้อมกัน ซึ่งการฝึกขั้นนี้ก็มีพื้นฐานมาจากการฝึกในขั้นที่แล้ว กล่าวคือต้องทำการขี่แล้วยืนบนบันไดให้รถไหลไปก่อน จากนั้นจึงทำการยืนปั่นโดยเวลาที่กดขาซ้ายลงก็ให้ใช้แขนดึงตัวรถไปด้านขวา ส่วนเวลาที่กดขาขวาลงก็ให้ใช้แขนดึงตัวรถไปด้านซ้าย ซึ่งขาที่ปั่นกับทิศทางการดึงตัวรถจะตรงกันข้ามอยู่เสมอ กล่าวคือใช้ขาซ้ายปั่นก็จะต้องดึงตัวรถไปด้านขวา และเวลาใช้ขาขวาปั่นก็จะต้องดึงตัวรถไปด้านซ้าย เหตุที่ต้องทำแบบนี้ก็เพื่อรักษาสมดุลการทรงตัวของรถไม่ให้รถล้ม [เทคนิคการปั่นจักรยาน] เวลาทำการฝึกให้ทำการฝึกทั้งการยืนบนรถโดยให้บันไดขนานพื้นก่อนแล้วจึงฝึกยืนปั่นตามทีหลัง ฝึกบ่อย ๆ จนคล่อง แค่นี้คุณก็จะได้รู้วิธีขี่แบบเร่งแซงให้พ้น หรือการขี่ขึ้นจากท้องร่องได้ครับเทคนิคการยืนปั่นยังเป็นเทคนิคพื้นฐานที่ถูกนำไปใช้ในการแข่งขันเสือหมอบอยู่บ่อย ๆ เวลาที่นักแข่งขี่เร่งเข้าเส้นชัย ซึ่งก็มีพื้นฐานมาจากการฝึกแบบนี้ก่อนที่จะไปฝึกเทคนิคขั้นสูงต่อไป

การใช้เกียร์ในทางซิงเกิลแทรค

เทคนิคการปั่นการจักรยานในเส้นทางซิงเกิลแทรคนั้น เป็นการขี่ในทางที่แคบ ๆ ประมาณแค่ทางคนเดินได้เท่านั้น ประกอบกับความคดเคี้ยว ตามป่าเขา ทุ่งหญ้า หรือพื้นที่ทุรกันดารทั่ว ๆ ไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นเส้นทางที่ขี่ได้อย่างสนุกสนานมากทีเดียว เพราะผู้ขี่จะต้องใช้เทคนิคเฉพาะตัวในการควบคุมรถความต่อเนื่องและความเร็วค่อนข้างสูงพอสมควร แต่หากการใช้เกียร์ไม่ถูกต้องอาจจะทำให้การขี่ในเส้นทางซิงเกิลแทรคนี้ขาดรสชาดไป หรืออาจเป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่สร้างความเบื่อหน่ายให้กับคุณต่อไป ดังนั้นเทคนิคการใช้เกียร์ในเส้นทางซิงเกิลแทรคนี้จะทำให้คุณได้รับความสนุกสนานและชื่นชอบการขับขี่กับเส้นทางประเภทนี้ ซึ่งมีเทคนิคบางประการต่อไปนี้ [เทคนิคการปั่นจักรยาน]

เทคนิคการปั่นจักรยาน ในทางซิงเกิลแทรค

1.หากเส้นทางซิงเกิลแทรคเป็นทางขึ้นเขาไม่สูงชันมากนัก ให้ปรับเกียร์ปานกลาง หากใบหน้าเป็นจานใหญ่ (จานที่ 3) เกียร์หลังควรจะอยู่ประมาณ ไม่เกินเฟืองที่ 4 หรือเฟืองที่ 5
2. ใช้ใบจานหน้าใหญ่ (เฟืองที่ 3) และหลังเล็ก ไม่ถึงขั้นเล็กสุด ประมาณเฟืองที่ 7 หรือ 6 เมื่อขี่ลงเขา และหากมีเนินเขาข้างหน้าอีกทอดหนึ่งก็ให้พยายามใช้เกียร์เดิมที่ขี่ลงจากเขา อาจจะเปลี่ยนเฟืองหลังขึ้นมา 1 เฟืองให้เบาลงเล็กน้อย แล้วลุกขึ้นโยกขึ้นเขาต่อไปตามแรงโน้มถ่วงตอนที่ลงจากเขา นอกจากคุณจะได้ความเร็วในการขึ้นเขาแล้วยังเพิ่มความมันส์ในการใช้กำลังขาในการขึ้นเขาอีกต่างหาก [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
3. เริ่มเปลี่ยนเกียร์ให้เบาลงหากเริ่มรู้สึกว่ารอบขาเริ่มช้าลง
4. ควรจะเริ่มเปลี่ยนจากเฟืองหลังก่อน เมื่อหลังอยู่ที่ประมาณเฟืองที่ 4 หรือ 5 ก็เริ่มเปลี่ยนจานหน้า จากใหญ่สุด เป็นจานกลาง ตามลำดับ
5. หากกำลังขาอ่อนล้ายังไม่มีแรงเพียงพอ ให้คุณใช้จานกลางในการปั่นเส้นทางซิงเกิลแทรค
6. ใช้ใบจานหน้าใหญ่ เมื่อต้องขี่บนเส้นทางซิงเกิลแทรคที่ทุรกันดาร มีเครื่องกีดขวางมาก เช่น ก้อนหิน ขอนไม้ หรืออื่น ๆ [เทคนิคการปั่นจักรยาน]
7. ให้หัดยืนโยกขี่ในทางซิงเกิลแทรค โดยเฉพาะทุกครั้งที่รถเข้าโค้ง เพราะในขณะที่เข้าโค้งเราจะสูญเสียความเร็วไป เนื่องจากต้องลดความเร็วรถลงเพื่อความปลอดภัย หรืออาจจะมีเครื่องกีดขวางอันไม่พึงประสงค์อยู่ข้างหน้า ฉะนั้นเมื่อเริ่มการปั่นใหม่เท่ากับเราต้องเพิ่มความเร็วและเพิ่มแรงใหม่อีกครั้ง การยืนโยกหลังจากพ้นทางโค้งแล้วนับว่าเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยเร่งความเร็วให้กลับมาให้ได้ความเร็วเท่าเดิมที่เราขี่มา และจะได้ความเร็วต่อ ๆ ไปโดยไม่ต้องออกแรงมากจนเกินไป [เทคนิคการปั่นจักรยาน]

การปั่นทางซิงเกิลแทรคหากว่าทางเป็นหินลอย หรือเป็นทางทราย ชันมากแถมลื่นอีกด้วย เราจะนั่งปั่นไม่ได้แล้ว ต้องยืนขึ้นปั่นแทนการนั่ง แต่อย่ายืนปั่นแล้วเลื่อนตัวไปด้านหน้ามากเกินไป เพราะจะทำให้ล้อหลังไม่สามารถยึดเกาะถนนได้ ล้อหลังจะลื่นฟรีไปเลย ให้ยกก้นขึ้นจากเบาะนั่งเฉยๆ พยายามถ่ายน้ำหนักให้สมดุลทั้งล้อหน้า และ หลัง พร้อมทั้งกำแฮนด์ให้เต็มกระชับมือแล้วออกแรงดึงแฮนด์เข้าหาตัว สลับกับใช้เท้าด้านตรงข้ามของมือที่ดึงเข้าหาตัว ถีบทิ้งน้ำหนักลงไป เพื่อช่วยจังหวะในการปั่นให้ได้แรงมากขึ้น ทำเช่นนี้สลับกันไป แต่ถ้าคุณมีแรงพอที่จะไม่ต้องยืนปั่นโยกขึ้นเนิน ก็ให้นั่งปั่นจะดีกว่าเพราะการยืนปั่นจะสูญเสียพลังงานมากกว่าการนั่งปั่น และอีกเทคนิคหนึ่งคือ เวลาเราจะขี่ในทางซิงเกิลแทรกต้องปล่อยลมออกให้ล้อนิ่มกว่าปกติเล็กน้อย และในช่วงการปั่นลงเขาในทางขรุขระนั้นต้องใช้จานหน้าเป็นใหญ่เสมอครับ เพื่อว่าหากเวลาเกิดอุบัติเหตุรถล้ม จะทำให้ป้องกันไม่ให้ใบจานหน้ามาโดนถูกน่อง อาจทำให้บาดเจ็บได้ครับ

นี่คือเทคนิคการปั่นจักรยานและเคล็ดลับเล็กๆ น้อย ๆ ในการปั่นจักรยานในทางซิงเกิลแทรค เพื่อให้คุณผู้อ่านลองนำไปฝึกซ้อมดู เพื่อว่าในการออกทริปทางซิงเกิลแทรคครั้งหน้า เพื่อน ๆ ที่ไปด้วยกันอาจจะแปลกใจว่าเราไปทำอะไรมาจึงทำให้ปั่นได้ดีขึ้น คล่องขึ้นจนผิดหูผิดตา ในวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ออกทริปปั่นจักรยานกันให้สนุกนะครับ และอย่าลืมนำเทคนิคนี้ไปปฏิบัติด้วยครับ

กลเม็ด เทคนิค จุดสำคัญในการปั่นขึ้นเขาชัน และเลี้ยวโค้ง

กลเม็ด เทคนิค จุดสำคัญในการปั่นขึ้นเขาชัน และเลี้ยวโค้ง


วันนี้เราจะพูดถึงการขึ้นทางลาดชันและเลี้ยวโค้ง เพื่อให้การปั่นได้ประสิทธิภาพสูงสุด ไม่เสียความเร็ว ไม่เสียเวลาในจังหวะขึ้นเขามีโอกาสเสียจังหวะรถเสียความเร็ว ทำให้ต้องลงจูง หรือเกิดอุบัติเหตุตกไหล่ทางหรือเหวลึกได้ การปั่นขึ้นเข้าถือเป็นสุดยอดของการปั่นจักรยานเสือภูเขา แสดงให้เห็นถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และวัดใจ ฝึกความอดทนทดสอบความแข็งแรงของตัวท่านเอง และฝึกการทรงตัวระหว่างความเร็ว/ช้า และควบคุมคอแฮนด์ให้ไปในเส้นทางที่เราต้องการ หรือหลาย ๆ ที่ที่เรามองว่าดีที่สุด และฝึกสมาธิ การหายใจเป็นระบบ แน่นอนคุณต้องถึงยอดเขาให้ได้ และจะต้องเอาชนะใจตัวเองโดยไม่เอาขาลงจากรถ นั่นแหละคุณเริ่มศึกษาและเข้าใจเทคนิคการขึ้นเขาโดยถูกต้อง

1. มองดูเส้นทาง และวิเคราะห์เส้นทางว่าภูมิประเทศสูงมากแค่ไหน ใช้เกียร์ต่ำแค่ไหน ดูให้เหมาะสมกับภูมิประเทศ และความเร็วที่เราปั่นได้ และควรมีการมองใกล้มองไกล

2. วิเคราะห์ผิวถนนว่าเป็นดินประเภทไหน หรือลาดยาง หิน ทราย รากไม้ ควรวิ่งในเส้นทางที่มีอุปสรรคน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้เสียการทรงตัวจนต้องลงจากรถ

3.จัดท่าทางการปั่นช่วงบนของร่างกาย สำหรับขึ้นเขาลาดชันมาก ๆ เราจะต้องจัดลำตัวช่วงบนทำมุม 30 องศา โน้มตัวไปข้างหน้าให้มากหน่อย เพื่อไม่ให้ล้อหน้ายก พร้อมกับงอแขน และทำการกางแขนออกให้พอดีละไม่เกร็งกล้ามเนื้อ พร้อมกันนั้นส่งน้ำหนักช่วงบนจากหัวไหล่ลงไปที่แขนส่งถึงนิ้วมือ และอุ้งมือ กดไปที่แฮนด์ให้ล้อหน้ายึดเกาะถนนมากขึ้น และไม่ให้เสียการทรางตัวของแฮนด์ และคอเอียงซ้าย เอียงขวาไปมา ทำให้การควบคุมง่ายขึ้นกว่าเดิม และวิ่งไปในไลน์เส้นทางที่เราต้องการ และที่พลาดไม่ได้ควรหายใจเป็นจังหวะ หายใจเข้าให้ลึกแล้วค่อยๆ ปล่อย ทั้งควรหายใจทางปากช่วยด้วย เพราะการปั่นขึ้นเขาต้องการออกซิเจนสูง และควรมีการดื่มน้ำอย่างต่อเนื่องทุก 10 นาที ต่อเมื่ออยู่ในสภาพถนนดี หรือมีอุปสรรคน้อยหน่อยไม่เช่นนั้นร่างกายจะขาดน้ำและระบบร่างกายจะไม่สดชื่นและเมื่อยล้าเร็วกว่าปกติ

4. จัดท่าทางช่วงล่างของร่างกายตั้งแต่สะโพกจะอยู่ในตำแหน่งที่ส่วนหน้าของเบาะ และทำการกดน้ำหนักไปที่เบาะให้มากหน่อย ยิ่งถนนทีมีผิวดินร่วนซุย ก็ต้องกดน้ำหนักให้มากขึ้น เพราะน้ำหนักจะส่งลงไปที่ล้อหลังไม่ฟรีจะเคลื่อนตัวไปข้างหน้าได้ตลอด และจะไม่เสียการทรงตัวเป๋ซ้ายเป๋ขวา รถจะวิ่งขึ้นตรง ๆ โดยไม่เสียความเร็ว ความเร็วจะต่อเนื่องไปพร้อมจังหวะการปั่นรอบขาอย่างสม่ำเสมอ ในส่วนขาท่อนบนลงไปท่อนล่าง จะไม่เอียงซ้ายเอียงขวา จะปั่นขนานกับตัวถังไปตลอดไม่เร็วมาก และไม่ช้าไป แต่จะสม่ำเสมอขึ้นไปเรื่อย ๆ ค่อย ๆ ใจเย็น ๆ ในจังหวะที่ปั่นเร็วหรือใช้รอบขาเร็วไปอาจเสียแรง หรือหมดแรงไปทำให้เสียการทรงตัวต้องลงจากรถ ยิ่งทำให้ต้องมาตั้งความเร็วใหม่ยิ่งเสียแรกมากกว่าเดิม และปั่นใช้รอบขาช้าไปก็อาจจะต้องทรงตัวมากเกิน อาจทำให้รถยกล้อหน้าถอยหลังได้ ทำให้เป็นอันตรายได้

5. ตั้งหลักอาน หรือเบาให้สูงขึ้นกว่าเดิมประมาณ 1-2 เซนติเมตร เพื่อเบาแรงกล้ามเนื้อท่อนบน และทำการปั่นใช้รอบขาได้สะดวกมากกว่าเดิม เพราะการขึ้นเขาชัน ๆ จะต้องนั่งปั่นเป็นส่วนมากการยืนปั่นจะมีในบางช่วงที่ไม่ชันมากเกินไป เพราะไม่เช่นนั้นล้อหลังอาจจะฟรี หรือเสียการทรงตัวได้เพราะไม่มีน้ำหนักกดไปที่ล้อหลัง

- ลักษณะการเลี้ยวโค้งนอกขึ้นทางชันโค้งซ้าย
การปั่นจะเคลื่อนตัวจากตีนเขาวิ่งขึ้นไปจากซ้ายไปขวาค่อย ๆ เคลื่อนตัวอีกเลนส์หนึ่ง จากมุมที่มีภูมิประเทศสภาพถนนชันน้อยที่สุด ไปมุมโค้งนอกจะใช้แรง และออกกำลังในการปั่นค่อยข้างน้อย และทำความเร็วดีการทรงตัวค่อนข้างง่าย เพราะการตีมุมอาศาเลี้ยวค่อย ๆ เลี้ยว เพราะโค้งมุมองศากว้างขึ้น ในการใช้กล้ามเนื้อขาจะใช้การปั่นลักษณะควงรอบขาเป็นส่วนมาก แทนที่จะกดน้ำหนักไปที่ลูกบันไดก็จะสลับกับการดึงข้อเท้าทั้งกด และดึงลงไปที่ลูกบันได เช่น เท้าซ้ายกด เท้าขวาดึง เป็นจังหวะสม่ำเสมอ และต่อเนื่องไม่เร็วมากความเร็วรอบขาไม่เกิน 60 รอบต่อนาที ช่วงเขาชัน ๆ

- สำหรับขึ้นเขาชัน เลี้ยวโค้งใน
อาจจะต้องใช้แรงและกำลังกล้ามเนื้อขาที่ท่อนบน และท่อนล่างมากหน่อย เพราะความชันค่อนข้างมาก อนึ่งมุมองศาการเลี้ยวโค้งค่อนข้างแคบ ช่วงจังหวะที่เราปั่นจักรยานจะทำความเร็วได้ไม่มาก อาจเสียการทรงตัวหรือเสียสมดุล ในจังหวะหักเลี้ยวเข้าโค้งชัน ๆ กะทันหัน อาจจะต้องลงจากรถเสียความเร็ว และจะต้องตั้งความเร็วใหม่ หรือตั้งรอบใหม่ทำให้เสียเวลา และในจังหวะสภาพการแข่งขันอยู่นั้น อาจทำให้คู่ต่อสู้ไล่ตามทันได้และเสียกำลังโดยเปล่าประโยชน์ โอกาสพลาดสูงจะไม่เหมาะสม แต่ถ้าเกิดเหตุสุดวิสัยหรือสถานการณ์บังคับให้เราวิ่งไปในเส้นทางไลน์นั้น เราจะต้องใช้เกียร์ต่ำมากหน่อยและทรงตัวให้ดี กดน้ำหนักไปที่ล้อหน้าให้มากเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้เสียการทรงตัว

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เปลี่ยนเกียร์แบบมหัศจรรย์เพื่อการขี่ขึ้นเขา

เปลี่ยนเกียร์


1.เมื่อเริ่มต้นช่วงขึ้นเขา :- เปลี่ยนเป็นเกียร์เบา ให้เร็วกว่าที่ท่านคิดไว้สักเล็กน้อย

2.ปั่น-ปั่น-ปั่น ด้วยรอบสูง ที่ระยะทางประมาณ 2/3 ของช่วงขึ้นเขา อย่ากังวลกับรอบที่สูงนั้น จากนั้นเปลี่ยนเกียร์ให้หนักขึ้น ยืนปั่น รอบจะค่อยๆลดลงเอง

3.รอจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการเปลี่ยนเกียร์ครั้งต่อไป หยุดชั่วขณะที่รอบการปั่นของท่านเริ่มลดลง และท่านกำลังอยู่ข้างหน้าในหมู่เพื่อนซึ่งกำลังปั่นด้วยเกียร์ที่หนักเกินไปและความเร็วเริ่มลดลง และเขาเหล่านั้นเริ่มที่จะเปลี่ยนเป็นเกียร์ที่เบาลง จากนั้น......

4.เปลี่ยนเป็นเกียร์ที่หนักขึ้น (เฟืองเล็กลง 1-2/3 ซี่) ยืนปั่น ให้น้ำหนักตัวส่งแรงลงไปเพื่อคงความเร็วไว้ อย่าเร่งด้วยการส่งแรงเหยียบลงบนลูกบันไดโดยตรง. ขณะนี้รอบการปั่นจะลดลงแต่จะให้กำลังในการปั่นมากกว่าโดยที่ท่านออกแรงเท่าเดิม ถ้ารอบสูงเกินไป ให้เปลี่ยนเกียร์หนักขึ้นมากกว่าที่จะใช้รอบการปั่นที่เร็วเกิน

5.อย่าเร่ง ! ท่านมีแนวโน้มที่จะยืนปั่นด้วยเกียร์ที่หนักเกิน ซึ่งทำให้ท่านรู้สึกดีเพียง 2-3 รอบเท่านั้น จากนั้น…ท่านต้องชดใช้คืนแน่นอนด้วยการหมดแรงก่อนเวลาอันควร

เทคนิคนี้อาจใช้ขณะที่ต้องการโจมตีคู่ต่อสู้ แต่เมื่อพิจารณาโดยพื้นฐานเท่ากับเป็นการช่วยชีวิตตัวเอง ด้วยการประหยัดพลังงานของท่านในขณะที่คนอื่นกำลังเผาผลาญอย่างดุเดือด

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เกียร์รุ่นต่างๆ ของ Shimano สำหรับ MTB มันต่างกันอย่างไร

วันนี้เรามาคุยกันเรื่องของเกียร์กันดีกว่าครับ จักรยานแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ ราคาก็ไม่เท่ากัน บางคนอาจจะได้ยินโฆษณา 24 ,27 ,30 speed หรือ 8 เกียร์ 9 เกียร์ มันคืออะไรกันแน่

มาว่ากันเรื่องของการนับเกียร์ก่อนครับ
จักรยานทั่วไป จะมีเกียร์เรียงลำดับกันดังนี้ คือ 18,21,24,27 ซึ่งที่มาก็คือ ปกติจานหน้าจะมี 3 ใบ และจำนวนจานหลังก็จะแตกต่างกันออกไป เช่นหากเกียร์หลังหากมี 6 ใบก็เท่ากับ 3x6 =18 เกียร์ หรือปัจจุบันเกียร์สูงสุดมี 9 ใบ ก็เท่ากับ 3x9 = 27 เกียร์นั่นเอง กล่าวคือ จานหน้า 1 ใบ เปลี่ยน speed จากเกียร์หลังได้ 9 speed นั่นเอง เพราะฉนั้นหากเราไปซื้อจักรยาน แล้วร้านบอกว่า 24 speed ก็หมายถึง เกียร์หลังมี 8 ใบนั่นเอง

ในปัจจุบัน จักรยานเสือภูเขา มีเกียร์สูงสุดแค่ 27 เกียร์ (เกียร์หลังสูงสุดแค่ 9 ใบ) ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ในการออกแบบเกียร์หลังให้มีใบมากๆนั้น มีจำกัด และขนาดของโซ่ก็ต้องเล็กตามไปด้วย ซึ่งโซ่ที่ใช้ในปัจจุบัน หากใช้ 24 เกียร์ โซ่จะหน้ากว่า เกียร์ 27 เกียร์ โดย 27 เกียร์ต้องใช้โซ่ รหัส HG ซึ่งจะบางกว่าโซ่ทั่วไป

จำไว้ให้ดีว่าชิ้นส่วนของเกียร์แต่ละรุ่นนั้น ไม่ได้มีแค่เฉพาะเกียร์เท่านั้น แต่มีด้วยกันถึง 10 ชิ้นคือ จานหน้า , จานหลัง , โซ่ , มือเบรค , มือเกียร์ , ดุมหน้า , ดุมหลัง , สับจานหน้า , ตีนผี และ ก้ามเบรค

การกำหนดประเภทของเกียร์
ปัจจุบันจะมีเกียร์ที่ทำมาจำหน่ายและนิยมใช้กันสองยี่ห้อครับ คือ

Shimano การเปลี่ยนเกียร์จะใช้ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้เป็นตัวเปลี่ยนเกียร์ทีละขึ้น ทั้งจานหน้าและจานหลัง


SRAM การเปลี่ยนเกียร์จะใช้วิธีบิดหนุน ที่แฮนด์จักรยาน ซึ่งเปลี่ยนได้เร็วกว่าแบบ Shimano เราเรียกว่า Grip Shift


ในที่นี้ผมจะกล่าวถึง Shimano อย่างเดียวครับ เนื่องจากมีผู้นิยมใช้มากกว่า SRAM ซึ่งผลิตสำหรับระดับแข่งขันมากกว่า Shimano ซึ่งทำเกือบทุกๆรุ่นของจักรยาน

ประเภทของเกียร์ Shimano
เกียร์ของ Shimano เป็นที่รู้จักกันดีในตลาดจักรยานบ้านเรา และเป็นที่นิยมไปทั่วโลก ทั้งเรื่องของประสิทธิภาพ ราคา ความแข็งแรง โดยผมจะพูดถึงเกียร์ที่เป็นมาตรฐานสำหรับจักรยานเสือภูเขาในระดับราคา ปานกลาง คือตั้งแต่ 1 หมื่นบาทขึ้นไปครับ เพราะจักรยานที่ ราคาถูกกว่านี้ เกียร์ของ Shimano จะเป็นรุ่นที่ไม่มีข้อมูลของเกียร์เลย เนื่องจากทำเพื่อรถราคาถูก และวัสดุที่ใช้ทำไม่เหมาะกับการเอามาลุย ตามป่าเขาครับ เหมาะที่จะเอาไปขี่ตามถนน หรือหมู่บ้านมากกว่า โดยผมจะพูดถึงเกียร์ที่ราคาถูกที่สุด และใช้กับจักรยานราคาต่างๆกันไปด้วยเลย

1. Shimano Tourney
เป็นเกียร์ที่ถูกที่สุดของ Shimano ที่มีติดอยู่ในจักรยานราคา 6-8 พันบาทในบ้านเรา มีผลิดอยู่ไม่กี่ชิ้น คือมือเกียร์ เฟืองหลัง โซ่ สับจานหน้า สับจานหลัง ใช้กับจักรยานราคาถูก มีผลิตตั้งแต่ 5 , 6 และ 7 เกียร์ (15,18,21 speed) หากพบเกียร์ชื่อนี้อยู่ในราคาจักรยานที่แพงกว่าหมื่น ก็ควรเลือกจักรยานคันอื่นเถอะครับ เพราะจะได้เกียร์ดีกว่านี้แน่นอน และรถที่ใช้เกียร์นี้ไม่เหมาะใช้ในการแข่งขัน หรือขี่ตามภูเขา เนื่องจากเปลี่ยนเกียร์บนเขาทำได้ยาก

2. Shimano Altus
เป็นเกียร์ระดับที่เริ่มใช้สำหรับ การขี่เสือภูเขา ตามป่า หรือทางออฟโรดได้ แต่ยังไม่ดีนัก ส่วนใหญ่ติดมากับจักรยานราคา 1 หมื่นต้นๆ และมีแค่ 7 เกียร์เท่านั้น (21 speed) โดยส่วนมากจะนิยมผสมเกียร์ Altus กับเกียร์ในระดับสูงกว่า เพื่อให้จักรยานมีประสิทธิภาพมากขั้น เช่น จานหน้าใช้ Altus จานหลังใช้ที่สูงกว่า เช่น Acera สำหรับเกียร์ Altus นั้น ถือว่าเป็นเกียร์ในระดับต้นของจักรยานเสือภูเขาเลยทีเดียว และผลิตครบทั้ง 10 ชิ้น

3. Shimano Aceraรูปภาพ
เป็นเกียร์ระดับต้น ที่สูงกว่า Altus เหมาะกับการขี่เสือภูเขาแบบท่องเที่ยว ตามป่าเขา ไม่เน้นใช้งานหนัก มีเกียร์สูงสุด 8 เกียร์ (24 speed) จะพบเห็นติดกับจักรยานในราคาประมาณ 15,000 บาท สามารถขี่ตามป่าเขาได้ดี แต่ช่วงขึ้นเนินหรือภูเขา การเปลี่ยนเกียร์อาจไม่นิ่มนวล หรือใส่เกียร์ไม่เข้า เวลาโซ่ตึงมากๆ

4. Shimano Alivio
เป็นเกียร์ระดับต้นที่สูงกว่า Acera เหมาะกับการขี่เสือภูเขาแบบท่องเที่ยวตามป่าเขา ใช้งานหนักได้ดีพอควร (ใหม่ๆ) มีเกียร์สูงสุด 8 เกียร์ จะติดกับจักรยานราคา 15,000-18,000 เหมาะกับมือใหม่ที่ขี่บนถนน ทางลูกรัง ตามป่าเขา ซิงเกิลแทรก การเปลี่ยนเกียร์นุ่มนวลพอควร แต่หากขึ้นเขา อาจจะใส่เกียร์ไม่เข้าในบางจังหวะ เมื่อใช้งานไปนานๆ จานหน้าจะสึก และเกียร์จะเข้าได้ยากขึ้น

5. Shimano Deore
เป็นเกียร์ระดับกลาง หรือ 9 เกีบร์ระดับต้น เป็นเกียร์ที่ขยับจาก 8 เกียร์มาเป็น 9 เกียร์ ใช้งานได้ดีในทุกพื้นที่ และใช้เข้าแข่งขันได้ ส่วนใหญ่ราคาจักรยานที่ใส่เกียร์ Deore นี้จะราคาประมาณ 18,000-25,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนชิ้นส่วนของเกียร์ที่ใส่กับจักรยาน ในปีใหม่ๆ Deore ได้เพิ่ม Disk Brek เข้ามาด้วย ทำให้มีทางเลือกสำหรับคนงบน้อยได้มากขึ้น จานหน้าของ Deore จะเป็นหมุดดันโซ่ ซึ่งดีกว่าเกียร์ระดับต่ำกว่าที่ใช้ปั้มขึ้นรูปโลหะที่สึกหรอได้ง่าย การเปลี่ยนระดับเกียร์จากเกียร์รุ่น 8 เกียร์มาเป็น Deore นั้น จะต้องเปลี่ยนโซ่ด้วย มาเป็น รหัส HG เนื่องจากจานหลังจะแคบกว่า 8 เกียร์

6. Shimano Deore LX
เป็นเกียร์ระดับสูงที่ใช้กับการแข่งขัน หรือขี่ในสภาพลุยๆ ใช้งานหนักปานกลาง มี 9 เกียร์ ราคาจักรยานที่ใส่ XL จะราคาตั้งแต่ 25,000 บาทขึ้นไป ชิ้นส่วนของเกียร์เน้นที่ความแข็งแรง ความนุ่มนวลในการเข้าเกียร์ น้ำหนักที่เบาลง วัสดุที่ใช้ทำเกียร์ LX จะแข็งแรงขึ้น แต่น้ำหนักลดลงกว่าเกียร์แบบที่กล่าวมาข้างต้นพอควร ผู้มีงบปานกลางหากต้องเปลี่ยนเกียร์จักรยานที่ใช้อยู่ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ก็แนะนำ LX ครับ ทั้งชุด 10 ชิ้นราคาประมาณ 25,000 บาท (ประมาณนะครับ) Deore LX ถือว่าเป็นเกียร์มาตรฐานที่สุด ที่ใช้ในการแข่งขันครับ

7. Shimano Deore XT
เป็นเกียร์ระดับแข่งขัน ที่พัฒนามาเพื่อการแข่งขันที่ใช้งานหนัก ความแข็งแรงเพิ่มขึ้น คงทนมากขึ้น และนำหนักจะเบาขึ้น การขึ้นรูปวัสดุจะมีความละเอียดมากขึ้น สามารถเข้าเกียร์ได้นุ่มนวลและเร็วมาก เหมาะกับผู้ที่ต้องการจักรยานที่ใช้ลุยแบบหนักๆ ราคาจักรยานที่ใช้ Deore XT นี้จะอยู่ที่ 40,000 บาทขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยี่ห้อจักรยานและการผสมกันระหว่างอะไหล่ตัวอื่นๆด้วย ใครต้องการให้รถตัวเองมีประสิทธิภาพสูงสุด ก็ใช้ XT นี่แหละครับ

8. Shimano Deore XTR
ชุดเกียร์ระดับ Top สุดของ Shimano ซึ่งทำเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเกียร์ และน้ำหนักที่เบาลง โดย XTR นี้จะ Design ขึ้นมาเป็นพิเศษ สำหรับการแข่งขัน เพราะมีการขึ้นรูปที่ละเอียดมาก วัสดุที่ใช้ก็เป็นเกรดที่แข็งแรงมาก ราคาเกียร์ทั้งชุด 10 ชิ้นประมาณ 50,000 บาท ส่วนใหญ่นักแข่งทั่วไป นิยมใช้ผสมกันระหว่าง XT และ XTR ใครเปลี่ยนครบ 10 ชิ้น น้ำหนักรถคงเบาลงไปเยอะเลยครับ อ้อ XTR ยังมีตีนผีที่เราเรียกว่าระบบ Reverse ครับ คือแทนที่จะใช้นิ้วโป้งเปลี่ยนเกียร์หลังให้เบาลง ก็สลับกันครับ ใช้นิ้วชี้เปลี่ยนเกียร์เบาแทนโดยใช้สปริงเป็นตัวช่วยเปลี่ยนเกียร์ ซึ่งผมก็ใช้รุ่นนี้ดีเหมือนกันครับ ก็แล้วแต่คนชอบครับ และ XTR ยังมีแบบตีนผี ขาสั้นขายาวด้วยนะครับ เลือกใช้กันตามชอบครับ

ทั้งหมดนี้ก็คือระดับเกียร์ทั้งหมดของเกียร์ Shimano ที่นิยมใช้ในวงการจักรยานบ้านเรา หวังว่ามือใหม่หลายๆท่าน คงจะเข้าใจเกียร์จักรยานมากขึ้นนะครับ เวลาเราไปซื้อรถใหม่ ก็ให้ดูเกียร์ก่อนเลย ว่าแต่ละชิ้นนั้น ใช้ของอะไร ส่วนใหญ่จะนิยมเปลี่ยนบางชิ้น ตอนที่ซื้อ เพราะจะเคลมราคาของที่ติดรถได้ด้วย สำหรับมือใหม่ที่มีเงินสัก 20,000 ขึ้นไป ผมแนะนำให้เปลี่ยน ตีนผีเป็น XT หรือ XTR (1,800-3,500 บาท) เพราะการเปลี่ยนเกียร์ทำได้นุ่มนวลมาก ส่วนจานหน้า เราไม่ได้เปลี่ยนเกียร์บ่อยเท่าไหร่ ระดับ Deore จานสีดำก็เหลือเฟือครับ โซ่ก็ใช้ไปก่อน หากขาดค่อยใช้ของ XTR (900 บาท) จะแข็งแรงมาก หรือมีเงินอีกนิด ผมแนะนำให้เปลี่ยนเฟืองหลัง เป็นของ XT (2,300 บาท) ไปด้วยตอนซื้อจักรยานเลย เท่านี้ระบบเกียร์ของคุณก็ถือว่าสุดยอดแล้วครับ

ปล. ยังมีเกียร์ Shimano อีกตัวคือ Airlines ที่ใช้ลมในการเปลี่ยนเกียร์ ซึ่งผมเองก็ยังไม่เคยเห็นใครใช้เหมือนกัน เพราะการขี่แต่ละครั้ง ต้องเอาถังลมเล็กๆ ติดรถไปด้วย เพื่อใช้ในการเปลี่ยนเกียร์ครับ

คำถามที่มักจะถามกันบ่อยๆเกี่ยวกับการซ้อม

1. ควรจะซ้อมตารางขึ้นเขาถี่มากน้อยเพียงใด?
การซ้อมตารางขึ้นเขานั้นถือว่าเป็นการซ้อมที่ค่อนข้างจะหนัก ดังนั้นจึงไม่ควรซ้อมเกินสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และจะต้องไม่ซ้อม 2 วันติดต่อกัน ควรจะมีการพักระหว่างวันด้วยการซ้อมแบบแอโรบิค เพื่อเสริมความแข็งแรงของระบบแอโรบิคในร่างกาย ซึ่งหมายความว่าการควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 70-75% เท่านั้น

2. จะทราบได้อย่างไรว่าโหลดหรือเกียร์ที่เซ็ทไว้หนัก หรือเบาไปอย่างไร?
สิ่งที่ต้องย้ำเตือนตนเองอยู่เสมอคือ การซ้อมนั้นเป็นการฝึก ไม่ใช่การทำร้ายร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ฝึกซ้อมเท่านั้นที่จะรู้ว่าเกียร์ที่ใช้แต่ละเกียร์หรือโหลดที่ใช้ หนักหรือเบาเกินไปอย่างไร โชคดีที่มีอุปกรณ์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งเราจะสังเกตุว่าจะต้องคุมให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ คือที่ 85%ของอัตราการเต้นสูงสุด หากอัตราการเต้นของหัวใจเริ่มเพิ่มสูงมีอยู่สองวิธีที่จะลดได้คือการลดรอบขา ซึ่งไม่แนะนำเพราะการควบคุมรอบขาเป็นสิ่งจำเป็น อีกวิธีหนึ่งคือการลดเกียร์หรือโหลด การลดโหลดจะทำให้ความหนืดเปลี่ยนแปลงมากเกินไป ดังนั้นจึงแนะนำให้ลดเกียร์แต่รักษารอบขาเอาไว้

3. ระหว่างวันที่เว้นว่างไม่ได้ซ้อมตารางขึ้นเขาควรจะทำอะไร?
การฝึกเบสิคบวกกับการซ้อมระบบแอโรบิคดังที่กล่าวไว้ในหัวข้อที่ 1. เป็นทางเลือกที่ดี (ตารางการฝึกเบสิคและแอโรบิคสามารถดูได้ในตารางถัดไป) แต่จะต้องไม่ลืมตัวหักโหมเกินไป ในช่วงต้นอาจจะซ้อมแค่เบสิค หลังจากผ่านไปสักสองหรือสามสัปดาห์ หลังจากที่ร่างกายเริ่มพัฒนาขึ้น การเพิ่มการซ้อมแอโรบิคเข้าไปในตารางซ้อม จะช่วยให้ร่างกายพัฒนาได้เร็วขึ้นอีกโดยเฉพาะเรื่องความแข็งแรงของหัวใจ แต่ทั้งนี้หมายความว่านักจักรยานต้องหาโอกาสออกขี่ระยะทางไกลในวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความเคยชินที่ร่างกายต้องทำงานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ

4. ใช้จักรยานเฟรมคาร์บอนคันเก่งซ้อมเทรนเนอร์ได้หรือไม่?
ไม่แนะนำอย่างยิ่งเพราะเฟรมคาร์บอนนั้น แม้จะมีความเหนียวและแข็งแรง แต่หมายถึงการที่เฟรมมีอิสระในการเคลื่อนไหว การยึดเฟรมเข้ากับเทรนเนอร์จะทำให้การเคลื่อนไหวของเฟรมมีขีดจำกัด ซึ่งอาจทำให้เฟรมเสียหายได้ จึงแนะนำให้ใช้จักรยานเฟรมเหล็กหรือเฟรมอัลลอยที่ราคาไม่แพงมากนัก แต่ต้องเซ็ทช่วงต่างๆให้เหมือนกับคันที่ใช้ประจำทุกประการ เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อชุดเดียวกันให้พร้อมที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อออกขี่จริง

Aeolus 9.0 ล้อจักรยานความเร็วสูงสุดใน Ironman World Championships

คริส ลีโต สร้างสถิติขี่จักรยานได้เร็วที่สุดใน Ironman World Championships ด้วยล้อAeolus 9.0ของBontrager

นักจักรยานชาวอเมริกันผู้ใช้จักรยาน Trek Speed Concept ประกอบล้อ Aeolus9.0 ของ Bontrager สามารถทำเวลาของช่วงที่ขี่จักรยานได้ 4 ชั่วโมง 25 นาที 11 วินาที ในการแข่งขันรายการ Kona Ironman World Championships หลังจากขึ้นจากน้ำตามหลังผู้ทำเวลานำอยู่3นาทีครึ่งโดยคริสทำได้ตามแผนไม่ผิดพลาด ในหลักไมล์ที่ 50 เขาทำเวลาขึ้นมาเป็นผู้นำด้วยการทิ้งห่างนักแข่งทั้งกลุ่มอยู่ 6 นาที นำกลุ่มผู้มีคะแนนสูงสุด12นาที มีตำแหน่งนำอยู่จนถึงไมล์ที่ 22 ในการแข่งมาราธอนครั้งนี้ มีเวลารวมทั้งว่ายน้ำ,วิ่งและขี่จักรยานเป็นที่ 2 ด้วยเวลารวม 8 ชั่วโมง 22 นาที 56 วินาที จักรยานของคริสประกอบด้วยอุปกรณ์ของบอนเทรเกอร์ดังต่อไปนี้

- ล้อ Aeolus 9.0ขอบคาร์บอน
- ยางRace X Lite
- ขวดน้ำลู่ลมSpeed Bottleกับขาจับกระติกคาร์บอน
- แอโรบาร์คัสตอม คาร์บอน
- มือเบรกคาร์บอนRace X Liteคาร์บอน คัสตอม

รองเท้าจักรยานBontrager : ศาสตร์แห่งความสบายเท้า

ในการสร้างรองเท้ากีฬาจักรยานสวมสบาย Bontrager เน้นที่4องค์ประกอบหลักของการออกแบบรองเท้า คือ : รูปแบบการตัดเฉพาะ,ห่อหุ้ม,กระชับสรีระและเป็นหนึ่งเดียวกับเท้า(Construction-Cut-CupและCustomization)หรือ 4C ในการพัฒนาเทคโนโลยีแห่งการผลิตรองเท้า มีรูปแบบการตัดเฉพาะ(Construction) เช่นเดียวกับรองเท้าทั่วไป คือรองเท้าจักรยานของBontragerถูกสร้างขึ้นจากรูปทรงพิเศษมีชื่อเรียกเฉพาะเรียกว่า”Last”สำหรับรองเท้า เราออกแบบรูปทรงให้เข้ากับรูปแบบนี้เพื่อให้ปลายเท้าของคุณมีสปริง และมีมุมให้เคลื่อนไหวได้เป็นธรรมชาติ ในส่วนพื้นรองเท้าที่จะต้องล็อกกับบันไดและรักษาสมดุลของเท้าเมื่อปั่นจักรยาน เราค้นพบว่าสปริงที่ปลายเท้าจะช่วยให้เท้าเคลื่อนไหวได้สบาย แต่ขณะเดียวกันก็จะอยู่ในตำแหน่งที่ช่วยให้บันลูกบันไดได้ดีที่สุด รูปทรงของรองเท้าBontragerหรือ”Form”ยังมีช่องว่างปลายเท้าให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกไม่อึดอัดด้วย เพื่อการไหลเวียนที่ดีกว่าและมากกว่าของเลือด รองเท้าถูกออกแบบให้แคบแนบกระชับช่วงกลางเท้าเพื่อคุณปั่นลูกบันไดได้ถนัดขึ้น และที่แตกต่างจากรองเท้าจักรยานทั่วไปคือรองเท้าของเราถูกออกแบบให้ใช้แผ่นรองช่วยนวดฝ่าเท้าและกระดูก เพื่อการขี่จักรยานที่สนุกและสุขภาพเท้าที่ดีในระยะยาว ห่อหุ้ม(Cut) รองเท้าของBontragerถูกออกแบบให้ปรับเข้ารูปทรงได้ดีที่สุด เพื่อเข้ากันได้กับทุกความกว้างของฝ่าเท้า หนึ่งในคุณสมบัติที่คุณจะพบในรองเท้าหลายแบบของเรา คือสิ่งที่เรียกว่าการตัดรองเท้าแบบ”Derby” เป็นรูปแบบที่ลิ้นรองเท้าสอดยาวไปตลอดถึงปลายเท้า เป็นรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์สำหรับรองเท้าจักรยานแต่ช่วยได้มาก ช่วยให้พื้นที่ปลายเท้าปรับแต่งให้เท้ากระชับกับทุกความกว้างของฝ่าเท้า ไม่ว่าคุณจะมีฝ่าเท้าแคบหรือบาน ด้วยเดอร์บี้คัทของBontragerคุณจะปรับให้รองเท้ากระชับฝ่าเท้าได้เสมอ กระชับสรีระ(Cup) รองเท้าจักรยานของBontrager ออกแบบให้ส้นรองเท้าห่อหุ้มส้นเท้าของคุณได้สนิท เพื่อลดอาการส้นเท้าลื่นหลุดขณะปั่นลูกบันได ด้วยการใช้คัพห่อหุ้มด้านนอก เราสามารถใช้พลาสติกที่หนากว่าและแข็งแรงกว่า ประกอบกับแผ่นรองหลายชั้นระหว่างส้นเท้าคุณกับคัพ ช่วยให้สวมใส่ได้สบายกว่าและพอดีเหมือนเป็นเนื้อเดียวกับเท้าคุณ รองเท้าหลายแบบที่ใช้คัพด้านในจะใช้วัสดุบางกว่าและวัสดุอ่อนตัวมาประกอบ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการปั่นลดถอยลง ความได้เปรียบอีกอย่างของการมีคัพภายนอกคือระบายอากาศได้ดีกว่า แข็งกว่า และมีพื้นที่ปกป้องสรีระของคุณมากกว่า เป็นหนึ่งเดียวกับเท้า(Customization) Bontrager คือรองเท้าจักรยานแบรนด์เดียวที่ออกแบบแผ่นรองพื้นรองเท้าให้เข้ากับสรีระผู้สวมใส่มากที่สุด ทุกรุ่นของรองเท้าจะมีแผ่นรองเฉพาะของBontragerคือeSoleสำหรับคุณ แผ่นรองพื้นนี้คืออุปกรณ์ที่เข้ากับรูปทรงของเท้าได้หลากหลายที่สุดเท่าที่เคยมีมา มันถูกพัฒนาด้วยข้อมูลจากการสแกนเท้า25,000คู่ เพื่อนำค่าตัวเลขมาเฉลี่ยสร้างแผ่นรองที่เข้ากับฝ่าเท้ามาตรฐานของมนุษย์ได้มากที่สุด พื้นรองเท้าคาร์บอนของBontrager วิศวกรรมแบบinFormของฺBontragerไม่เคยหยุดนิ่งแค่ส่วนห่อหุ้มเท่านั้น เราพัฒนาพื้นรองเท้าคาร์บอนไว้สามรูปแบบเพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบการขี่จักรยานอันหลากหลาย Gold Series : คือพื้นรองเท้าคาร์บอนไฟเบอร์ที่เบาและแข็งที่สุด หล่อทั้งแผ่นด้วยมือด้วยการพาดทับหลายทิศทางของแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ตอบสนองต่อแรงคุณได้อย่างเร้าใจและเบาถึงใจคุณ Silver Series : คือพื้นรองเท้าคาร์บอนไฟเบอร์ที่แข็งแกร่งเท่าเทียมกับ Gold Seriesแต่ใช้คาร์บอนไฟเบอร์มาตรฐาน Bronze Series : คือพื้นรองเท้าคาร์บอนไฟเบอร์ประกอบไนลอนน้ำหนักเบา เพื่อคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพแต่ในราคาที่ย่อมเยาลงมา Gold Series พื้นรองเท้าที่เบาและแข็งแกร่งที่สุดของBontrager คือGold Series ถูกผลิตขึ้นด้วยการหล่อและบีบอัดด้วยมือด้วยวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ถัก3K เพื่อให้ได้ทั้งความแข็งและตอบสนองอย่างรวดเร็วทันใจ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การปั่นของนักจักรยานอาชีพและนักจักรยานแข่งผู้มุ่งชัยชนะ การเรียงและบีบอัดแผ่นคาร์ต้องกระทำด้วยความประณีตและยาก แต่เป็นหนทางเดียวที่เราจะใช้การเรียงแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ซ้อนกัน เพื่อให้ได้น้ำหนักน้อยแต่แข็งแกร่งมากเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด(โดยไม่จำเป็นต้องแข็งเกินไป) ตามมาตรฐานแห่งคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นจากBontrager Silvert Series พื้นรองเท้าในSilvert Series ถูกออกแบบมาเพื่อนักจักรยานแข่งขัน ผู้ต้องการรองเท้าสมรรถนะสูง คาร์บอนไฟเบอร์ในSilver Seriesให้คุณได้ทั้งสมรรถนะและความทนทานพร้อมทั้งความแข้งแกร่ง สำหรับการปั่นลูกบันไดด้วยความมั่นใจ Bronze Series พื้นรองเท้าในBronze Series ประกอบด้วยไนลอนน้ำหนักเบาและคาร์บอนไฟเบอร์ในปริมาณพอเหมาะ เพื่อสมรรถนะสูงสุดแต่ยังให้ตัวได้บ้าง ออกแบบมาเพื่อนักจักรยานที่ขี่จักรยานอย่างจริงจังเป็นประจำ จะพบพื้นรองเท้าBronze Seriesได้ในรองเท้า RL Mountain และRace Road

40 เคล็ดลับกับการฝึกซ้อมปั่นจักรยานเสือภูเขาที่ได้ผล


40 เคล็ดลับกับการฝึกซ้อมที่ได้ผล

1.ไม่ต้องกลัวหากท่านต้องพักการฝึกซ้อมสักหน่อย.ความอ่อนล้าจะถูกขจัดไปเร็วกว่าที่ความสมบูรณ์ของท่านจะลดลง
2.ซ้อมปั่นขาเดียวสลับข้าง (ILT= Isolate Leg Training)เพื่อการส่งแรงอย่างมีประสิทธิภาพตลอดรอบการปั่น บรรจุเข้าในแผนการซ้อมประจำวัน
3.ปวดล้าบริเวณหลังแขน แสดงถึง คอแฮนด์ยาวเกินไป,ล้าบริเวณหัวไหล่ คอแฮนด์สั้นเกินไป
4.ขณะฝึกซ้อมกินอย่างไร วันแข่งก็กินอย่างนั้น กระเพาะของท่านคุ้นเคยกับของเดิมๆอยู่แล้ว
5.วันที่อากาศหนาวเย็นทำฝ่าเท้าให้อุ่นได้ง่ายๆโดยการพ่นยาดับกลิ่นเต่าให้ทั่วฝ่าเท้าก่อนสวมถุงเท้า
6.ไม่มีนักจักรยานที่ยิ่งใหญ่คนไหนซ้อมด้วยความเร็วคงที่ตลอด. ท่านจะขี่ได้เร็วขึ้นถ้าเรียนรู้ว่าขี่ช้าลงทำอย่างไร!!!
7.อย่ากินอาหารย่อยยากก่อนการขี่ขึ้นเขาในอีก 30 นาทีข้างหน้า เพราะมันไม่ทันเปลี่ยนเป็นพลังงานให้ท่าน... มิหนำซ้ำอาจตีกลับจุกอกได้
8.เมื่อท่านซ้อมแบบอินเตอร์วาล ซ้อมให้น้อยกว่าที่ท่านคิดว่าทำได้สักรอบหนึ่ง เก็บพลังงานนั้นไว้เพื่อการฟื้นคืนสภาพที่ดีดีกว่า!
9.ปุจฉา ทำอย่างไรฉันถึงจะพัฒนาขึ้น วิสัชชนา ก็หมั่นซ้อมกับคนที่มีผีเท้าจัดกว่าบ่อยๆไงล่ะ ง่ายนิดเดียว
10.แทนที่จะใช้เพียงน้ำแข็งธรรมดา ลองเปลี่ยนมาเป็นที่ทำด้วยเครื่องดื่มเกลือแร่ที่ซึ่งท่านคุ้นเคย ยิงนัดเดียวได้นกสองตัว !
11.เหยียดคลายกล้ามเนื้อเพียงรู้สึกว่าตึง จากนั้นค่อยๆคลายออก หากเกิดความเจ็บปวดขึ้น แสดงว่ากล้ามเนื้อหดตัวต้านแรงมากไปเสียแล้ว ผ่อนออกหน่อย
12.นักกีฬาหน้าใหม่หวังเพียงผลการแข่งขัน นักกีฬาเก๋ากึ้กสนใจการเตรียมตัวก่อนแข่ง
13.กระแสลม..คือเครื่องช่วยซ้อมให้เกิดพลังตามธรรมชาติ คราวหน้าขี่ต้านมันเข้าไปเลย
14.ขี่ออกตัวอย่างหนักหน่วงทุกครั้งจากจุดเริ่มต้นไม่ใช่การฝึกซ้อมที่ดี เป็นการกระทำที่ทารุณต่อกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่อต่างๆ
15.ขี่ขึ้นเขา เป็นการฝึกซ้อมเพื่อเพิ่มพละกำลังที่ได้ผลรวดเร็วที่สุด อย่าลืมซ้อมอาทิตย์ละครั้ง
16.ถ้าท่านมีอาการ เจ็บหัวเข่าทางด้านหน้า ให้ยืดหลักอานขึ้นนิดหน่อย แต่ถ้า เจ็บข้อพับหลังลดหลักอานลง
17.ขี่จักรยาน 1 ชั่วโมงที่อัตราการเต้นของหัวใจค่าหนึ่งเทียบเท่ากับวิ่ง 1 ชั่วโมงที่อัตราการ เต้นหัวใจที่เท่ากันนั้น
18.ซ้อมน้อยกว่าที่ตั้งใจไว้ 10% แต่... เน้นที่คุณภาพมากกว่าปริมาณ
19.อย่าไปสนใจกับการเพิ่มขนาดกล้ามเนื้อน่อง มันทำหน้าที่เพียงส่งผ่านแรงจากกล้ามเนื้อหน้าขา(quadriceps)ไปยังฝ่าเท้าเท่านั้น…สนใจบ่มเพาะ กล้ามเนื้อหน้าขา
20.เริ่มต้นการฝึกซ้อมโดยใช้จานหน้าใบเล็ก ปั่นเบาๆที่ 90 รอบหรือน้อยกว่า มันไม่ทำให้ท่านแข็งแรงได้ภายใน 10 นาทีแรกหรอก !
21.ไม่มีเวลาออกไปซ้อมกับเพื่อนฝูงเลย! ก็ซ้อม15 นาทีก่อนนอนบนเครื่องซ้อมปั่นเป็นไง?
22.ขี่ได้ระยะทางมากที่สุดเท่าไร คำตอบคือ สามเท่าของระยะที่ท่านใช้ซ้อมอยู่เป็นกิจวัตร
23.อย่าขับรถเดินทางไปแข่งขันไกลๆโดยไม่เผื่อเวลาเพื่อการอุ่นเครื่อง..ขาของท่านจะแข็งตายขี่ไม่ออก
24.อาหารเช้าของวันแข่งขันที่ยาวนาน อย่าลืมเพิ่มโปรตีนและไขมันเล็กน้อยร่วมไปกับคาร์โบไฮเดรท
25.หากต้องการเผาไขมันที่สะสมในร่างกายออกไป 1/2 กก.ภายใน 1 อาทิตย์ท่านต้องออกกำลังมากกว่าที่ท่านกินเข้าไป 3,500 แคลอรี่ !!!
26.กีฬาจักรยานไม่ได้ช่วยให้ท่านมีความอ่อนตัว หรือแคล่วคล่องว่องไวมากเท่าที่คิด ดังนั้นอย่าลืมการเหยียดกล้ามเนื้อขา หลังช่วงล่าง ไหล่ และแขน
27.ประสานการฝึกเพื่อสร้างพละกำลังกับการสร้างบรรยากาศในครอบครัวโดยการขี่ลากรถล้อเลื่อนที่มีลูกคนเล็กอยู่ข้างใน
28.ต้องการลดเวลาการฝึกยกน้ำหนัก? ผลวิจัยล่าสุดสรุปไว้ว่า 1 ชุดการฝึก(8-12 ครั้ง) ให้ผลใกล้เคียงกับการฝึกหลายชุด
29.แผนการฝึกซ้อมด้วยความเข้มข้นคือแกนกลางเพื่อการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ
30.ขี่ลงเขาด้วยเกียร์เบาเพื่อเรียนรู้การปั่นอย่างราบเรียบสม่ำเสมอที่ 80-100 รอบตามแบบฉบับของเสือหมอบ
31.ฝึกซ้อมมากกว่าวันละ 2 ชม.ต้องแน่ใจว่าท่านได้คาร์โบไฮเดรทเชิงซ้อน 60-70% (complex carbohydrate) ของปริมาณพลังงานที่ได้รับทั้งหมดต่อวัน
32.ใช้ถุงประคบเย็น(cold/ hot pack) 10 นาทีเพื่อลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและหัวเข่า
33.ท่านสามารถขี่จักรยานได้ถึง 2 ชั่วโมงครึ่งโดยไม่กินอะไรเลย แต่ถ้าท่านเติมอะไรใส่ท้องสักหน่อยท่านจะขี่ได้ทั้งวัน
34.ถ้าแผนการซ้อมตามปกติของท่านไม่สามารถปฏิบัติได้ ให้เปลี่ยนเป็น ซ้อมด้วยความ เข้มข้นสูงครั้งละ 1 ชม. 2 วัน/สัปดาห์
35.หลังจากอุบัติเหตุ มีแนวโน้มที่ท่านจะขี่ฝึกซ้อมแบบไปเรื่อยๆแทนที่จะเหยียดตัวพุ่ง ออกไปข้างหน้าเหมือนเมื่อก่อน
36.เมื่อ “ หลังยันกำแพง ” อย่าฝืนซ้อมต่อไป. ทำใจ! พักผ่อน เติมคาร์โบฯ ปริมาณมากๆ จะช่วยให้ท่านฟื้นเร็วขึ้น
37.พฤติกรรมที่มีคุณค่าน่าปรับเปลี่ยน… เหยียดกล้ามเนื้อทุกวัน หลังอาบน้ำตอนเช้า
38.หลีกเลี่ยงความรู้สึกซ้ำซากขณะฝึกซ้อม : ปั่นสุดๆ(sprint) 10 วินาที ทุกๆ 5 นาที
39.หายใจหอบเหนื่อย...ปั่นรอบต่ำลงมานิด , ขาล้ากดลูกบันไดไม่ลง...เพิ่มรอบอีกหน่อย
40.การฝึกซ้อมด้วยการยกน้ำหนักมีคุณค่าพอๆกับการเสริมแคลเซี่ยมให้กระดูก ดังนั้น อย่าละเลย

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข้อแนะนำสำหรับนักปั่นจักรยานหน้าใหม่

ข้อแนะนำสำหรับนักปั่นจักรยานหน้าใหม่

รถจักรยานเป็นประดิษฐ์กรรมชิ้นหนึ่งที่มนุษย์ประดิษฐขึ้นมาเพื่อใช้เป็นยานพาหนะเมื่อนานมาแล้ว และยังใช้ได้ดีอยู่ตามวัตถุประสงค์เดิม ปัจจุบันในหลายประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาต่างก็ใช้จักรยานเพื่อกิจการที่มีอยู่ปกติประจำวันซึ่งสามารถแก้ปัญหาในการเดินทางได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังได้ผลประโยชน์อย่างอื่นๆที่ติดตามมา คือ การประหยัดพลังงาน การไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหายและได้สุขภาพร่างกายกายที่แข็งแรง เป็นต้น การใช้จักรยานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องรู้จักส่วนต่างๆ ของจักรยาน รู้วิธีการบังคับอย่างถูกต้อง รู้วิธีการปรับส่วนต่างๆ ของจักรยานนั้นให้มีความเหมาะสมกับผู้ถีบ ต้องมีการดูแลรักษา และทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ

1. การดูแลรักษาและทำความสะอาด การดูแลรักษาส่วนประกอบต่างๆ ของรถจักรยานให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์และหมั่นทำความสะอาดเพื่อขจัดสิ่งสกปรกต่างๆ นอกจากจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการขี่แล้วยังทำให้อายุการใช้ยาวนานขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะส่วนของโซ่ ควรหมั่นดูแลทำความสะอาดให้มากและบ่อยเป็นพิเศษ เพราะว่าโซ่เป็นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่ถ่ายแรงถีบ ถ้าโซ่ไม่สะอาดจะมีผลทำให้ประสิทธิภาพการถีบลดลง น้ำ และ แชมพู หรือผลซักฟอก เป็นสิ่งที่ใช้ทำความสะอาดดีที่สุด แต่ในส่วนที่เป็นโซ่อาจจำเป็นต้องใช้น้ำมันก๊าดหรือน้ำมันโซล่าหรือน้ำมันเบนซินช่วยกำจัดคราบเหนียวที่ติดอยู่ หลังจากนั้นล้างด้วยน้ำแล้วเช็ดให้แห้ง หรือนำรถตั้งไว้กลางแดดสักระยะหนึ่ง เมื่อโซ่แห้งดีแล้วควรฉีดพ่นโซ่นั้นด้วยน้ำมันหล่อลื่นที่สำหรับใช้กับโซ่โดยเฉพาะ เช่น WD-40 สายเบรค และสายเกียร์ก็ควรหมั่นตรวจสอบและทำความสะอาด เพราะส่วนนี้จะเกิดสนิมได้ง่าย

2. การปฏิบัติก่อนและหลังการถีบจักรยาน (ทางไกล)ควรยืดเส้นยืดสายบริหารร่างกายก่อนและหลังการขับขี่ จะทำให้กล้ามเนื้อไม่ปวดเมื่อย ลดการบาดเจ็บ ขับขี่ได้ทนนาน ข้อแนะนำท่ายืนตรงก้มลง ปล่อยมือ 2 ข้างสบายๆ ค้างไว้ 30 วินาที อาจไขว้เท้าสลับข้างกัน ข้างละ 30 วินาที พร้อมกับก้มลงก็ได้ เป็นการยืดกล้ามเนื้อด้านหลัง ท่าที่สองยืนตรงเท้าชิดกัน งอขาขวามาทางด้านหลัง ใช้มือขวาจับข้อเท้าค้างไว้ หน้าขาขวาตรง ตั้งฉากกับพื้นค้างไว้ 30 วินาที แล้วเปลี่ยนทำข้างซ้ายเช่นกัน ท่าที่ 3 นั่งยอง ๆ บนซ้นเท้า แล้วเหยียดขาไปทางด้านข้างให้สุดเท้า ตัวตรง ค้างไว้ 30 วินาที แล้วสลับเหยียดขาอีกข้าง เป็นการยืดกล้ามเนื้อด้านในหน้าขา ควรบริหารส่วนอื่นด้วยเช่นกัน หรือหากมีโอกาสมีเวลาก็ยกน้ำหนักเบาๆ บริหารร่างการเพิ่มกล้ามเนื้อยิ่งดี

3. เทคนิคเบื้องต้นของการถีบจักรยาน
3.1 การปรับอานนั่ง
1) การปรับความสูงของอาน ความสูงของอานมีส่วนสำคัญสำหรับความสบาย ปลอดภัยและประสิทธิภาพในการถีบ อานนั่งของรถจักรยานทุกรุ่นสามารถปรับให้สูงขึ้นหรือต่ำลงได้ระดับหนึ่ง การปรับอานนั่งให้ต่ำจนทำให้หัวเข้างอดูเหมือนว่าจะทำให้ถีบสบายแต่ถ้าถีบเป็นระยะทางไกลแล้วจะทำให้ปวดเมื่อยหัวเข่าและสะโพกได้ง่ายในทางตรงกันข้ามถ้าปรับอานให้สูงเกินไปจนทำให้ขาต้องเหยียดตรงในขณะถีบก็ไม่เป็นผลดีต่อหัวเข้าเช่นกัน เพราะจะมีผลทำให้หัวเข่าเกิดอาการเจ็บได้ ความสูงของอานที่เหมาะสมคือขณะถีบขาที่อยู่ด้านบันใดต่ำสุดควรเกือบเหยียดตรงเท่านั้น (หัวเข่างอเล็กน้อย) วิธีการตรวจวัดความสูงของอานอย่างง่าย ๆ ก็คือ นั่งคล่อมบนอานแล้วใช้ซ้นเท้าวางลงตรงกลางของบันใดข้างที่อยู่ตำแหน่งต่ำสุดและทำให้ขาเหยียดตรงพอดี แต่ในขณะที่ถีบจะทำให้หัวเข่างอเล็กน้อยเพราะการถีบบันใดจะใช้ส่วนปลายเท้า
2) การปรับระดับ อานนั่งของรถจักรยานรุ่นใหม่ๆ สามารถปรับให้ลาดเทลง หรือเงยขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามการปรับให้อยู่ในแนวระนาบ (ขนานกับฟื้น) จะทำให้การขี่รู้สึกสบายที่สุด แต่ถ้ารู้สึกว่าไม่สบายหรือทำให้คล้ายเป็นเหน็บหรือเจ็บส่วนที่สัมผัสหรือนั่งบนอานอยู่โดยเฉพาะเมื่อขี่เป็นเวลานานๆ ก็ควรปรับมุมของอานให้ลาดเทหรือคว่ำหน้าลงอีกเล็กน้อยก็จะช่วยได้ หรือไม่ก็เปลี่ยนใช้อานที่นุ่มขึ้น การปรับอานนั่งให้คว่ำมากอาจส่งผลให้ข้อมือเกิดเจ็บขึ้นได้เพราะน้ำหนักของตัวขณะขี่จะถ่ายลงแขนและข้อมือมากขึ้น

4. การใช้เกียร์
1) การเปลี่ยนเกียร์ เปลี่ยนเมื่อบันไดและโซ่เคลื่อนไปด้านหน้าเท่านั้น ห้ามเปลี่ยนตอนหยุดหรือปั่นถอยหลัง หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนเกียร์ขณะขับขี่บนทางขรุขระ หรือชันมาก โซ่อาจเข้าไปตรงเกียร์เข้ายากหรือโซ่ตกง่าย
2) การเปลี่ยนเกียร์แบบกด (แรปปิดดไฟร์) ก่อนเปลี่ยนให้ปั่นช้าลง แล้วกดปุ่มเปลี่ยนเกียร์ให้ดังคลิ๊ก แช่ไว้สักครู่ (1-2 วินาที) จนโซ่เข้าเฟืองหรือจานแล้วจึงค่อยปล่อยนิ้วที่กด
3) เกียร์ต้องห้าม คือจานหน้าใหญ่สุดกับเฟืองหลังใหญ่สุด จานหน้าเล็กสุดกับเฟืองหลังเล็กสุด

5. การใช้เบรคและการจับแฮนด์
1) เมื่อใชเบรคหยุดรถ ควรใช้เบรคทั้ง 2 ข้างพร้อมๆ กัน ไม่ใช้ข้างใดข้างหนึ่ง โดยเฉพาะเบรคหน้า ถ้าบีบแน่นจนเบรคล๊อดล้อ อาจเกิดอุบัติเหตุได้
2) การจับแฮนด์เพื่อไม่ให้หลุดมือง่าย เมื่อล้อสะเทือน กระแทก โดยไม่รู้ตัว รถล้มเพราะเสียหลัก ให้ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้กำรอบแฮนด์ ส่วนนิ้วที่เหลือควบคุมก้านเบรคหรือมือเบรค หัดให้เป็นนิสัย ใช้ 2 มือควบคุมรถ ไม่ปล่อยมือข้างใดข้างหนึ่งหรือ 2 ข้าง ไม่ว่ากรณีใดๆ อาจเกิดอุบัติเหตุได้

6. การถีบจักรยานขึ้นเขาลงเขา เมื่อหัดขับขี่ทางราบจนคุ้นเคย ชำนาญ ในการใช้เกียร์และควบคุมรถได้ดี สภาพร่างกายแข็งแรงดีขึ้น อาจทดลองมาขี่ขึ้นเนินชันหรือขึ้นเขาบ้างก็จะได้รับสัมผัสกับธรรมชาติที่ดีขึ้น เพราะบนเขามลภาวะทางอากาศทางเสียงน้อย อากาศบริสุทธิ์มาก ขับขี่จะให้ความทนทานของปอด หัวใจ กล้ามเนื้อได้มากกว่า ได้รับความเบาสบายสนุกสนานขณะลงเขาอีกด้วย
1) ก่อนขี่ขึ้นเขาควรตรวจเช็ดสภาพเบรค เกียร์ และอื่นๆ ให้ดีจนแน่ใจ เพราะอันตรายจากการลงเขามีมาก
2) วิธีขี่ขึ้นภูเขาใช้เกียร์ให้เบา คือจานหน้าเล็กสุด ฟรีหลังใหญ่สุดหรือรองลงมาพยายามปั่นเกียร์เบาออกแรงน้อย ไม่ต้องให้รถเคลื่อนเร็ว ค่อย ๆ ปั่นขึ้นช้าๆ แต่มั่นคงไม่หยุด ทำใจเย็น ๆ สบายๆ หายใจลึกๆ หายใจเข้าทางจมูกออกทางปาก ถ้าเหนื่อยมองทางข้างหน้าใกล้ๆไว้อย่างมองทางชันไกลๆ ข้างหน้า จิตใจจะท้อหมดกำลังใจได้ง่าย ก่อนหมดแรง จริงๆ จิบน้ำบ่อยๆ ก่อนกระหายมาก ถ้าท้อ อาจสวนมนต์คาถาสั้นๆ ก็ได้มีหลายท่านทำ
3) การปั่นลงเขา ให้วางเท้าทั้งสองข้างบนบันไดขนานกับพื้น เปลี่ยนเกียร์มาที่เฟืองหน้าใหญ่สุด เฟืองฟรีหลังเล็กสุด ตั้งสติให้ดีอย่างตกใจง่าย เบรคควบคุมความเร็ว ลดความเร็วก่อนเลี้ยวโค้ง โดยบีบมือเบรคทั้ง 2 ข้าง ขณะอยู่ทางตรง โดยบีบปล่อยๆ ไม่บีบแซ่ไว้ ความเร็วขณะเข้าโค้งไม่ควรเกิน 40 กม./ชม. ไม่เบรคขณะรถอยู่โค้ง อาจลื่นไถลได้ง่าย ถ้าจำเป็นควรเบรคเบาๆ โปรดจำไว้ว่าอันตรายจากการลงเขามีมาก ให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า ถึงช้าแต่ปลอดภัยดีที่สุด ไม่ควรเร่งลงเขาให้ทันเพื่อนข้างหน้า หรือกังวลห่วงคนข้างหลัง จงควบคุมรถของเราให้ดีๆ ก่อน เตือนกันก่อนขี่ขณะขี่ต่างคนค่างควบคุมตนเอง ไม่มีใครช่วยกันได้ตอนขับขี่

7. การถ่ายน้ำหนักตัว ในการขี่ขึ้นเขาหรือที่ชันโดยเฉพาะถนนแบบออฟโรดควรถ่ายเทน้ำหนักตัวมาทางล้อหน้าให้มากขึ้นโดยการเลื่อนการนั่งมาทางด้านหน้าของอานให้มากขึ้น เพราะจะช่วยให้ล้อหน้าเกาะถนนดีขึ้น แต่ถ้ามากเกินไปจะทำให้ล้อหลังหมุนฟรีได้ แต่ถ้าถ่ายเทน้ำหนักมาทางล้อหลังมากก็จะทำให้ล้อหน้ายกลอยขึ้นได้ ในขณะที่กำลังขี่ถ้าแขนเหยียดตรงจะมีแรงดึงที่มือทำให้ล้อหน้ายกลอยขึ้นได้ ดังนั้นควรงอศอกลงเล็กน้อยในขณะที่ขี่ขึ้นที่ชันมาก

8. การขี่เข้าโค้ง การขี่เข้าโค้งในขณะที่มีความเร็วสูงโดยเฉพาะตอนลงเขา จงใช้การเลี้ยวด้วยวิธีเอียงตัว หรือถ่ายเทน้ำหนักตัวแทนที่จะใช้การหมุนแฮนด์ หรือบังคับด้วยแฮนด์โดยค่อยๆ เอียงตัวพร้อมรถอย่างนุ่มนวล บันไดที่อยู่ด้านในของโค้ง (ด้านเอียง) ควรอยู่ที่ตำแหน่งสูงสุด เพื่อป้องกันมิให้บันไดถูหรือกระแทกกับพื้นถนน หัวเข่าข้างที่อยู่ในโค้งควรชี้ไปที่โค้งในขณะเดียวกันก็กดน้ำหนักลงที่บันไดอีกข้างหนึ่ง (ด้านนอกโค้ง) ให้มากเข้าไว้

9. การดื่มและกินสำหรับการถีบจักรยาน (ทางไกล)
9.1 การดื่มน้ำ ก่อนการถีบจักรยานทางไกลควรดื่มน้ำประมาณ 2 แก้ว หรือ 1 ขวดเล็ก 1 ชั่วโมงก่อนออกเดินทาง จากนั้นในระหว่างการขี่ควรจิบน้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปกับเหงื่อ อย่าปล่อยให้จนกระทั่งกระหายน้ำจึงดื่มน้ำ หรือถ้าไม่ถนัดการจิบน้ำในระหว่างการขี่ก็อาจจะหยุดเพื่อดื่มน้ำในปริมาณที่สูญเสียไปกับเหงื่อหลังจากที่ได้ขี่ไปแล้วประมาณ1 ชั่วโมง
9.2 การกินของว่าง การถีบจักรยานทางไกล การกินของว่างที่มีธาตุอาหารก่อนเริ่มการขี่และในระหว่างการขี่เป็นสิ่งจำเป็นไม่ควรรอให้รู้สึกหิวถึงจะกินโดยทั่วไปแล้วเมื่อขี่ได้ประมาณ 1 ชั่วโมงก็ควรมีการพักและกินของว่างเสริมพลังงาน กล้วยตากนับว่าเป็นของว่างที่ดี พวกฝรั่งมี Power bars แต่ไทยเราก็มี Power bars ที่มีคุณค่าคือ กล้ายตาก

10. หลักปฏิบัติในการขี่จักรยานระยะไกล
1) ดื่มก่อนกระหาย
2) กินก่อนหิว
3)พักผ่อนก่อนที่จะเหนื่อย
4) เปลี่ยนเกียร์ก่อนที่จะต้องการใช้เสมอ

11. กฎกติกาการขี่จักรยาน
1) ต้องขับขี่ตามระบบการจราจร
2) ต้องปฏิบัติตามป้ายห้ามต่างๆ สัญญาณไฟและกฎจราจร
3) ให้สัญญาณทุกครั้งที่มีการเลี้ยวหรือเปลี่ยนเส้นทาง การเลี้ยวต้องอยู่ในช่องทางที่ถูกต้องเสมอ
4) ขับขี่อย่างปลอดภัยคือขับขี่โดยตรงแนวเส้นทางที่ตรงไปของถนนและขับขี่โดยให้ผู้ใช้เส้นทางร่วมกันด้วยยานพาหนะชนิดอื่นรู้ได้ว่าจะขับขี่ไปในทิศทางใด
5) ต้องขับขี่ในลักษณะที่เตรียมพร้อมที่จะหนีจากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
6) อย่าขับขี่เคียงคู่กันไปในเส้นทางของการจราจร

12. สำหรับการขี่ไปในเส้นทางที่ไม่ใช่ถนนปกติ
1) ขับขี่ไปตามเส้นทางที่ปรากฎให้เห็นได้เท่านั้น
2) หยุดให้คนเดินเท้าและสัตว์เลี้ยงชนิดต่างๆที่ใช้เส้นทางร่วมกันไปก่อนเสมอหรือให้ใช้เส้นทางสะดวก
3) ต้องขับขี่โดยไม่ทำความเสียหายใดๆ แก่เส้นทางหรือสิ่งที่มีอยู่ในเส้นทาง แต่ถ้าหลีกเลี่ยงการทำความเสียหายไม่ได้ก็ต้องให้มีความเสียหายเกิดขึ้นน้อยที่สุด การขับขี่ในเวลากลางคืนอย่าลืมที่จะต้องจัดให้มีวัสดุสะท้อนแสงและไฟส่องสว่างที่ถูกต้อง

มาถอดโม่, ดุม SHIMANO ทำความสะอาดกันเถอะ


จุดประสงค์ : ต้องการรื้อข้างในตัวโม่มาล้าง

1.ถอดแกนปลด/ถอดเฟืองออก
2.ถอดนัทล็อคจี๋/ถอดจี๋/ถอดเพลาออกจากดุม
- ขันจี๋ ถอดแกนล้อออกมาให้หมด เอาลูกปืนออกมาให้เกลี้ยงด้วย
- หันโม่เข้าหาตัวเอง ใช้ประแจหกเหลี่ยม ตัวใหญ่ๆหน่อย (เบอร์ 10) สอดเข้าไปในรูเดียวกับที่สอดแกนล้อเข้าไปนั่นแหละ
- ค่อยๆหมุนทวนเข็มนาฬิกา หมุนซักพัก โม่จะหลุดออกมาเองครับ
3.เอาลูกปืนออกถ้วยลูกปืน(bearing cone)
4.ถ้วยลูกปืนจะมีร่องบ่า 2 ด้านตรงกันข้าม(ดูรูปครับ) ใช้ค้อน/เหล็กสกัดตอกตรงบ่านี้ตามเข็มนาฬิกา(เกลียวย้อน-เกลียวซ้าย)
5.เมื่อถอดถ้วยลูกปืนนี้ออกแล้วจะเห็นลูกปืนเม็ดเล็กๆ ขนาดราว 1 มม. ประมาณ 24 ลูก เก็บไว้ให้ดีครับ หายากมากๆ ถึงตรงนี้ก็สามารถยกตัวโม่ออกมาได้แล้ว
6.ยกตัวโม่ออกมาก็จะเห็นตัวหนวดกุ้ง/สปริง ที่เวลาหมุนดังกิ๊กๆนั่นแหละครับ ล่างสุดจะมีลูกปืนเม็ดเล็กๆ อีก 1 ชุด

แล้วมาต่อด้วย DIY การบำรุงรักษาดุมลูกปืนเม็ดของshimano XTR เปรียบเทียบกับ Deore By : sheva7 ... ขอขอบคุณอีกที

เตรียมเครื่องมือ/อุปกรณ์ ให้พร้อม

- หกเหลี่ยมเบอร์#10 ใช้สำหรับถอดโม่
- ปากตายเบอร์#13,#15,#17 (ล้อหน้าใช้เเบอร์13กับ17ล้อหลังใช้15กับ17ในชุดเครื่องมือ15จะคู่กับ17ส่วนเบอร์13ถ้าไม่มีหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์จักรยานแล้วเอามาตะใบให้บางอีกหน่อยก็ใช้ได้ครับ)


ลงมือกันเลย...เริ่มจากล้อหน้าก่อน "แงะ"ยางกันฝุ่นออกก่อน (ดุม Deore ที่ปิดฝุ่นจะเป็นยางแต่ของ XTR จะเป็นพลาสติก) ให้ใช้ใขควงแคะออก


ถอดน๊อตล๊อกดุมออกมา แล้วจึงค่อยๆหมุนคลายน๊อตออกมาของดุม XTR จะมีร่อง ต้องให้ร่องนี้ตรงกับลูกปืนจึงจะหมุนออกมาได้(ค่อยๆหน่อยครับ)แล้วดึงแกนออกมาอีกด้าน


ลูกปืนที่อยู่ภายในล้อหน้าจะมีด้านล่ะ 10 เม็ด (ลูกปืนล้อหลังจะมี 9 เม็ดใหญ่กว่าล้อหน้า) เอาออกมาล้างน้ำมัน (ถ้าจะเปลี่ยนใหม่ก็เอาไปเทียบเบอร์ที่ร้าน) ล้างดุมให้สะอาด รูป cup ของ XTR เมื่อล้างเช็ดสะอาดแล้วยังไม่เห็นร่องรอยอะไร,ใส่จารบีลงไปพอประมาณแล้วยัดลูกปืนลงไปด้านล่ะ 10 เม็ด ทาที่ cone ด้วย


ใส่กลับไปทางเดิม หมุนน๊อตล๊อกเข้าไป cone ของ XTR จะต้องใส่ให้ตรงร่องแกน(รูปขวามือ) ลูกปืนจึงจะยัดเข้า


แล้วก็มาถึงขั้นตอนที่ถกเถียงกันมานานว่าอะไร"ลืน"กว่ากัน ตั้ง"จี่"เอาตามใจชอบเลยครับ(รูปซ้าย) ตั้งแน่นมากไม่ค่อยลื่นแต่ว่าดุมจะไม่คลอนใช้งานได้นาน แต่ถ้าตั้งให้หลวมก็จะลื่นดีแต่ว่าจะสึกหรอง่ายครับ
เอาเป็นว่าเอาแต่พอประมาณก็แล้วกันเนาะใช้ได้ยาวๆ จารบีก็มีผลด้วยนะ เสร็จแล้วปิดฝาให้เรียบร้อยเป็นอันเสร็จ (ชุดล้อหน้า)


มาต่อกันที่ล้อหลัง ก็คล้ายๆ กับล้อหน้าครับดูตามรูปนะครับ ... ประแจที่ใช้ตัวด้านนอกเป็นเบอร์17 ด้านในเป็นเบอร์15 ขันด้านตรงข้ามกับโม่นะครับ ดึงแกนออกมาทางด้านโม่ ฉนั้นจึงต้องถอดเฟืองออกก่อนครับ ลูกปืนล้อหลังจะมี 9 เม็ดใหญ่กว่าล้อหน้า


มาถึงโม่ครับใช้หกเหลี่ยมเบอร์10เสียบเข้าไปอาจหาอะไรต่อให้ก้านยาวอีกหน่อยจะได้ขันออกง่ายขึ้น ให้ดูภายในโม่ XTR จะมีซีลยางอยู่แงะออกมาลูกปืนยังเนียนไร้รอยอยู่เลย แกะต่อไปไม่ได้พอดีกว่ายังดีอยู่ใส่จารบีอีกหน่อยก็พอ ใส่จารบีเข้าไปประกอบกลับเข้าตามเดิมเป็นอันเรียบร้อย ตั้งจี้ให้ดีความลื่นตามใจอยากได้ยังใงเอาเลย ใส่ฝาครอบกันฝุ่นเป็นอันเสร็จพิธี