วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

ปั่น จักรยาน ด้วยรอบขาเท่าไหล่ถึงจะดี


เมื่อ แลนซ์ อาร์มสตรอง ชนะการแข่งขัน จักรยาน ในรายการ ทัวร์เดอะฟรอง ในปี ค.ศ 1999 เขาได้โชว์ ให้เราเห็นว่า การปั่นด้วยรอบขาที่สูง หรือที่เรารู้จักกันใน คำว่า RPM นั้น สามารถช่วยให้เขาประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ยากเย็นนัก แม้ในสเตทที่มีเส้นทางขึ้นภูเขาสูง มากๆ โดยการปั่นด้วยรอบขาที่สูงนั้นข้อดีคือ มันสามารถ สลายกรดแลคติกที่สะสมอยู่ในขาของเราได้เร็วขึ้น ซึ่งเจ้ากรดตัวนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ กล้ามเนื้อของเราเกิดความอ่อนล้า และเจ็บปวด แต่การที่จะปั่น จักรยาน ด้วยรอบขาที่สูงเป็นเวลานานๆ ได้นั้น นักกีฬาผู้นั้นต้องผ่านการฝึกฝนอย่างหนัก และเข้มข้นอย่างยาวนานซึ่งอาจจะใช้เวลานานนับปี เพื่อที่จะให้ตัวนักกีฬาผู้นั้นสามารถรักษาระดับการปั่นด้วยรอบขาที่สูงเป็นเวลานานๆ ได้

การปั่นจักรยานด้วยรอบขาเท่าไหล่ถึงจะดีที่สุด
ในความคิดของผมแล้ว การเปลี่ยนลักษณะเฉพาะตัวของสไตล์การขี่ จักรยาน หรือการเปลี่ยนระดับรอบขาในการปั่นนั้นทำได้ยาก และต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนสไตล์ของตัวเองนานมาก ยกตัวอย่างง่ายๆ ครับเช่นเราถนัดเขียนหนังสือมือขวา ต่อมา จะให้เราเขียนหนังสือด้วยมือซ้าย ก็คล้ายกันกับประเด็นนี้ครับ การปรับตัวเองเพื่อเปลี่ยนรูปแบบการขี่ จักรยาน ไม่ว่าจะเป็นการปรับรอบขาหรือ ลักษณะท่าทางการขี่นั้นข้อนข้างทำได้ยาก แต่กระนั้น ผมก็ได้พยายามที่จะปรับบางส่วนของผม เพื่อที่จะทำให้ผมปั่นด้วยรอบขาที่สูงขึ้น โดยมีความเชื่อที่ว่าการปั่นด้วยรอบขาที่สูงนั้นสามารถที่จะช่วยให้เราประหยัดพลังงานในการขี่ จักรยาน ในรายการแข่งขันต่างๆได้

สรุปแล้วจนขณะนี้ผมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสไตล์ การปั่นจักรยานด้วยรอบขาที่สูงได้มากนัก โดยสามารถเปลี่ยนได้เล็กน้อยจากเดิม เราเคยปั่นด้วยรอบขา 70 รอบต่อนาที ดังนั้นเราอาจจะเพื่มขึ้นได้เป็น 0-5 รอบต่อนาที ขึ้นอยู่กับการฝึกซ้อมของเราว่ามีประสิทธิภาพมากแค่ใหน และในความคิดส่วนตัวของผม เห็นว่าการปั่น จักรยาน ด้วยรอบขาที่ สูงนั้น มักจะทำให้เรานั้นเหนื่อยเร็วขึ้น ผมว่าการปั่นด้วยรอบขาที่สูงนั้น เหมาะสำหรับ นักปั่นจักรยานประเภท ลู่ มากกว่าสำหรับ นักปั่นจักรยาน ประเภทถนน ผมคิดว่าควรใช้รอบขาแบบปานกลางจะดีกว่าการปั่นด้วยรอบขาที่สูง เพราะถ้าท่านสังเกตุนักปั่นจักรยานที่อยู่ในระดับโลก หลายคนจะปั่นด้วยรอบขาที่ไม่ค่อยสูงมาก สังเกตุจากการแข่งขันจักรยานรายการต่างๆ เช่น ทัวร์เดอะฟรองโดยนักปั่นสวนใหญ่จะใช้รอบขาปานกลาง คือ ประมาณ 75-85 รอบต่อนาที แต่อัตราทดเกียร์จะหนักพอสมควร ซึ่งขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาของนักปั่นแต่ละคน

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการปั่นด้วยรอบขาปานกลางจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ซึ่งจะทำให้เรารักษา ระดับอัตราการเต้นของหัวใจ หรือค่า HR ได้ดีกว่าการปั่น จักรยาน ด้วยรอบขาที่สูงยิ่งรอบขาสูงจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงไปด้วย ฉะนั้น การปั่นด้วยรอบขาที่สูงขึ้นควรใช้ ในตอนที่เรารู้สึก ปวด หรือล้ากล้ามเนื้อ เพราะกล้ามเนื้อจะรู้สึกผ่อนคลายและยังช่วยสลายกรดเลคติกที่อยู่ในกล้ามเนื้อให้สลายไปได้เร็วขึ้นอีกด้วย ขอบคุณครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น