หากเราพูดถึงการเข้าโค้งสำหรับ จักรยาน แล้วหลายคนอาจจะบอกว่าไม่เห็น จะยากเลย ก็แค่ขี่ๆ ไปแล้วก็เลี้ยว ไม่เห็นจะต้องไปคิดอะไรมากเลย อันนี้ หากคุณขี่จักรยาน ไปซื้อกระปิที่ตลาดก็ ไม่ต้องคิดอะไรมากครับ เพราะความเร็ว คงไม่เกิน 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง แน่นอน แต่หากคุณลองเข้าโค้งหักศอก ด้วยความเร็ว ที่เกิน 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง ขึ้นไป คุณจะรู้สึกได้เองครับว่า คำว่า "แหกโค้ง" นั้น มันมีความรู้สึกยังไง ผมว่าหลายท่านคงเคย ประสบกับเหตุการณ์ ดังกล่าวมาบ้างแล้วนะครับ ยิ่งถ้าหาก เป็นนักปั่นจักรยาน รุ่นก่อนๆ สมัยที่ เวลโลโดม มีแค่ที่สนามกีฬาหัวหมาก แห่งเดียวในประเทศไทย สมัยนั้น การแข่งขันจักรยานประเถทลู่ จะทำการแข่งขันกันในลู่วิ่ง ที่เป็นดินแดง นั่นแหละครับ ถ้านึกไม่ออก ก็คือสนาม แข่งขันกรีฑา วิ่ง 100 เมตร นั่นแหละครับ กว่าจักรยานประเภทลู่จะเริ่มการแข่งขันได้ ก็ต้องรอ ให้ กรีฑา แข่งขันกันให้ครบทุกรายการก่อนครับ หลังจากนั้น ก็จะมี รถบดถนนคันเล็ก เข้ามาวิ่งบด ลู่แข่งขันให้เรียบ และพรมน้ำไปด้วยให้พื้นสนามแน่นๆ ครับ พอวันรุ่งขึ้น คราวนี้ ก็ถึงคิว ของภาพกีฬามันๆ แล้วครับ เพราะการแข่งขันจักรยานประเภทลู่ แบบที่แข่งขันกันในลู่กรีฑานั้น โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุ มีค่อนข้างสูงครับ คือล้มกันเป็นว่าเล่นเลยครับ ไม่ใช่ว่าไม่เจ็บนะครับ แต่ต้องอดทนเอาครับ หากแข้งขาไม่ หัก ยังไงก็ต้องลุกขึ้นมาแข่งขันให้จบ เรื่องแบบนี้ผมถือว่าเป็นเรื่องธรรมดามากครับ สำหรับผม เพราะผมล้มบ่อยมากๆ ครับ ส่วนมากสาเหตุ หลักๆ คือประสบการณ์ ครับ ยิ่งมือใหม่ๆ โอกาสล้มจะสูงมากครับ แต่ถ้าหากเป็นมือเก๋าๆ แล้วละก็ ความเร็ว ระดับ 50 กว่าๆ ยังเข้าแบบนิ่มๆ เลยครับ สำหรับตัวผมนั้นเข้าโค้งไม่เก่งเท่าไหร่ครับ เลยล้มบ่อยกว่าเพื่อน แต่ก็พอจะรู้หลักการสำหรับการเข้าโค้ง มาบ้างครับ เลยจะขอมาแชร์ ให้ พี่ๆ เพื่อนๆ และน้องๆ เพราะอาจจะเป็นประโยชน์บ้าง ไม่มาก ก็น้อย ครับ
เทคนิคการเข้าโค้ง สำหรับนักปั่นจักรยาน
1. สังเกตุและจดจำ พื้นผิวถนน ในข้อนี้ หากท่านได้ปั่นจักรยาน ในเส้นทางไดเส้นทางหนึ่งเป็นประจำ คุณจะสามารถจำได้เองครับว่า ตรงไหน มีหลุม หรือ รอยแตกตามพื้นผิวถนน ยิ่งหากท่านได ใช้จักรยานเสือหมอบ ราคาแพงๆ วงล้อคู่ละเป็นแสน หากขี่ไปเจอหลุมแล้วหลบไม่ทัน นึกเอาเองเถอะครับว่า จะรู้สึกยังไง แทบลมจับเลยละครับ อีกอย่างเลยนะครับ พวกปุ่มสะท้อนแสงกลางถนน เจอทีไร เป็นต้องกลุ้มทุกที ผมเป็นอีกคนหนึ่งเลยครับ ที่จะกลัวมากเรื่องพวกนี้เจอเป็นต้องหลบให้ทัน บ่นซะยาว เข้าเรื่องเลยนะครับ เวลาเราจะเข้าโค้งไดๆ ก็ตาม สายตาของเราควรมองไปที่จุด หรือเส้นทางที่เราต้องการ แล้วสังเกตุ พื้นผิวถนนว่า มีกลวดทราย หรือลอยแตกหรือไม่ หากมีเราควรหลีกเลี่ยงมันครับ
2. เบรคก่อนเข้าโค้ง ในข้อนี้สำคัญมากครับ หากคุณขี่ จักรยาน มาด้วยความเร็วสูงมากๆ การใช้เบรคเป็นเรื่องที่สำคัญครับ ควรหาจุดเบรคที่ถูกต้อง และจุดนั้นจะต้องเกิดขึ้นก่อนคุณเข้าโค้ง และอย่าใช้เบรค ขณะที่อยู่ในโค้งครับ เพราะโอกาสที่คุณจะล้มนั้นมีสูงมาก หากท่านได เคยชมการแข่งขัน F1 หรือ การแข่งขัน มอเตอร์ไซค์ ชิงแชมป์โลก พวกนักแข่งพวกนี้จะมีความแม่นยำ ในการใช้เบรค และลายในการเข้าโค้งมากครับ สิ่งพวกนี้มันเกิดจากการฝึกฝน จนชำนาญ กว่าจะทำได้แบบนั้นอาจต้องฝึกกันเป็นปีๆ เพราะความแรงของรถนั้น ส่วนใหญ่ความแรงจะเท่าๆ กันครับ แต่ที่แตกต่างกันมันคือ ฝีมือ และประสบการณ์ ครับ อยากเข้าโค้งเก่งๆ อันนี้ต้องฝึกครับ
3. เข้าโค้งให้ถูกลาย หลายท่านคงไม่ได้คำนึงถึงในจุดนี้ มากเท่าไหร่ แต่มันสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า หัวข้ออื่นเลยครับ และจำเป็นมากครับ หากท่านกำลังปั่นจักรยาน บนเส้นทางที่กำลังลงจากที่สูงชัน หรือ ภูเขา และเป็นเส้นทางที่มีโค้งเยอะๆ หากท่านไม่รู้ลายในการเข้าโค้งท่านจะลงเขาได้ช้ากว่าคนอื่นๆ อย่างแน่นอนครับ เพราะความเร็วในการ ปั่นจักรยาน ลงจากภูเขา นั้นสูงมากๆ ครับ คือจากประการส่วนตัวเลยนะครับ คือประมาณ 70 กิโลเมตร/ชั่วโมง ขึ้นไปครับ เรียกได้ว่า ไม่มีรถอะไรตามจักรยานทันเวลาลงเขาครับ พวกเราแซงหมด รู้สึกตอนนั้นผมไปปั่นจักรยานขึ้น ดอยอินทนนท์ กับพวกรุ่นพี่ๆ ที่ฝึกซ้อมด้วยกัน ครับ มันผ่านมาหลายปีแล้วครับ ตอนขึ้นเขามันไม่ค่อยสนุก เท่าไหร่ ครับ เพราะทั้งสูงชัน และไกลอีกต่างหาก แต่ตอนลงจากเขานี่ซิครับ อย่างมัน แทบจะเรียกว่าบินได้เลยครับ แต่ผมก็ตามพวกพี่ๆ เขาไม่ทันเพราะผมยังอ่อนประสบการณ์ ในการเข้าโค้ง สู้พวกรุ่นพี่ๆเขาไม่ได้จริงๆครับ ฝากไว้นิดหนึ่งนะครับ หากใครมีโปรแกรมจะปั่นจักรยาน ขึ้นเขา ควรเช็ค ระบบเบรค และยางให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี ด้วยครับ ปลอดภัยไว้ก่อนครับ
- การเข้าโค้งที่ถูกลายเขาเข้ากันยังไง ผมมีรูปมาฝากด้วยครับ ผมจะอธิบายจากรูปเลยนะครับ เส้นสีแดง คือลายที่เราจะเข้านั่นเองครับ ส่วนเส้นสีเหลืองคือเส้นแบ่งเลน กลางถนนครับ ลายการเข้าโค้งแบบนี้ ใช้ได้ทั้ง จักรยาน, มอเตอร์ไซค์ และรถยนต์ ครับ เพราะมันจะทำให้ มุมที่เราจะเข้าโค้งนั้นกว้างขึ้นนั่นเองครับ ซึ่งจะส่งผลให้เราสามารถเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงได้นั่นเองครับ ซึ่งแต่ละโค้งในสภาพถนนจริงนั้น การทำมุมจะแตกต่างกันครับ ซึ่งความเร็วในการเข้าโค้งก็จะไม่เท่ากันทุกโค้งด้วยครับ ดังนั้นเขาจึงมีการฝึกซ้อม การเข้าโค้งกันจากสนามการแข่งขันจริงเพื่อ ที่จะได้ หาจุดเบรค ที่เหมาะสม และลายในการเข้าโค้งที่แม่นยำที่สุด ครับ
4. อย่าปั่นในขณะที่อยู่ในโค้ง อันนี้ใช้เฉพาะการเข้าโค้งที่ความเร็วสูงๆ และจักรยานของเราต้องทำมุมเอียงมากๆ หากเราปั่นขณะที่อยู่ในโค้งมันจะทำให้บรรไดจักรยาน กระทบกับพื้นถนน แล้วทำให้เกิดอุบัติเหตุ ได้ครับ ลองดูจากรูปแรกของบทความครับ นักปั่นจักรยาน ทั้งสองคนกำลังเข้าโค้ง ซ้าย และดูที่ขาของพวกเขาครับ ขาซ้ายจะยกขึ้น เพื่อไม่ไห้บรรไดจักรยาน กระทบกับพื้นถนนครับ หากพวกเขาปั่นในขณะเข้าโค้งดังในภาพ ผมว่าล้มแน่นอนครับ คอนเฟิร์ม !! งั้นผมขอฝากทริค เล็กๆ น้อยๆ ในการเข้าโค้ง ครับ หากคุณเข้าโค้งซ้าย คุณควรถ่ายเทน้ำหนัก ไปที่มือ ขวา และเท้าขวา แล้วงอแขน เพื่อให้น้ำหนักตัวได้สมดุล ระหว่าง ล้อหน้า และล้อหลังครับ
5. การเข้าโค้งในสภาวะถนนเปียก หรือฝนกำลังตก แน่นอนครับในสภาวะ ดังกล่าวเราไม่สามารถที่เข้าโค้งด้วยความเร็ว ที่เท่ากับ ขณะที่ถนนแห้งได้ ดังนั้นเราควรลดความเร็วลง ก่อนถึงโค้ง และต้องยิ่งระมัดระวังมากขึ้น หากฝนพึ่งตกใหม่ๆ เพราะพื้นถนนจะลื่นมาก ยิ่งถ้าใครใช้ ยางจักรยาน ที่เป็นแบบไม่มีดอก หรือที่เขาเรียกว่า ยางสลิค นั่นแหละครับ เพราะยางชนิดนี้จะเหมาะ สำหรับพื้นถนนที่แห้ง หากตอนฝึกซ้อมเกิดฝนตกขึ้นมา เราควรยิ่งต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะยางชนิดนี้เมื่อเจอถนนเปียกๆ จะลื่นมากๆ ครับ ผมก็เกือบล้มกับยาง ชนิดนี้หลายต่อหลายครั้งแล้วครับ เลยฝากบอกเพื่อนๆ ควรเลือกใช้ยางให้ถูกกับสภาพถนนด้วยนะครับ อย่าตามแฟชั่นมากเกินไปครับ ใส่แล้วมันปั่นได้เร็วลื่นใหลขึ้นก็จริง แต่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ด้วยนะครับ
วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558
วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558
เทคนิคในการแข่งขันจักรยานทางไกล
การแข่งขันจักรยานประเภททางไกลนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีประสบการณ์ในการแข่งขันมากๆ จะได้เปรียบและมีโอกาสในการชนะสูงกว่านักปั่นจักรยานมือใหม่ๆ หรือผู้ที่กำลังก้าวขึ้นมาแข่งขันจักรยานทางไกล เพราะมันมีเทคนิคอะไรต่อมิอะไรเยอะพอสมควร โดยในการแข่งขันนั้นผู้ทำการแข่งขันต้องใช้ไหวพริบ ประกอบกับพละกำลังของนักปั่นจักรยานเอง และประสบการณ์ในการแข่งขัน โดยประสบการณ์ในการแข่งขันจริงจะช่วยได้มาก จะเห็นได้ว่านักปั่นจักรยานมือใหม่ส่วนใหญ่ที่พึ่งเริ่มการแข่งขันได้ไม่นานจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าใหล่ พอนานๆไปประการณ์ในการแข่งขันเพิ่มขึ้นพวกเขาเหล่านั้นก็จะค่อยๆ ประสบความสำเร็จจากการแข่งขันเพิ่มขึ้น จะมากหรือน้อยนั้นตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับการฝึกซ้อมและ พละกำลังของแต่ละคน โดยในวันนี้ผมจะมานำเสนอเทคนิคเล็กๆน้อยในการแข่งขันจักรยานประเภททางไกล บางท่านอาจจะรู้แล้วก็ขออภัยด้วยครับ เผื่อสำหรับท่านที่อาจจะยังไม่ทราบเพื่อเป็นแนวทางในการแข่งขันของ นักปั่นจักรยานมือใหม่ก็แล้วกันครับ
1.ก่อนทำการแข่งเราต้องรู้ว่าเส้นทางในการแข่งขันนั้นจัดขึ้นที่ใหน และมีภูมิประเทศเป็นอย่างไร เป็นถนนแบบทางเรียบ หรือ ว่ามีเนินเขาหรือไม่ เพื่อที่เราจะได้นำมาวิเคราะห์ ว่าเราควรจะขี่แบบใหน ควรปรับแต่งอุปกรณ์อะไรหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่นถ้าสถานที่แข่งขันจักรยานมีลักษณะเป็นภูเขาสูงชันเป็นส่วนใหญ่เราควร ปรับปรุงอุปกรณ์ทางด้านระบบเกียร์โดยใช้อัตราทดที่สูงๆ หน่อย
2.ทำการวิเคราะห์คู่แข่งของเราว่าเขามีจุดแข่งจุดอ่อนตรงใหน ลักษณะ และ สไตร์การขี่เป็นอย่างไร, เขาฝึกซ้อมมาดีหรือไม่ เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่าเราควรขี่แบบไหน หรือควรคอยจับตาหรือระวังใครเป็นพิเศษ และถ้าหากเรารู้ว่าคู่แข่งของเราเป็นอย่างไรแล้วโอกาสในการชนะการแข่งขันจักรยานของเราก็มีสูงขึ้นตามไปด้วย
3.ในระหว่างทำการแข่งขันเราควรใช้กำลังงานของเราอย่างมีประสิทธิภาพ และพยายามเก็บแรงไว้เผื่อมีการสปริ้นกันก่อนเข้าเส้นชัย วีธีที่ดีที่สุดในการเซฟพลังงานของเรา คือการ ปั่นตามหลังนักปั่นจักรยานคนอื่นๆ (ในภาษาจักรยานเขาเรียกว่า "จี้" ครับ) โดยวิธีนี้สามารถเซฟพลังงานของเราได้ถึง 40% เลยนะครับ
4.ในระหว่างการแข่งขันพยายามหลีกเลี่ยงการใช้เบรคให้มากที่สุด เพราะถ้าหากเราทำการเบรคแล้วความเร็วของรถก็จะลดลง แล้วเราก็ต้องเสียแรงไปกับการเพิ่มความเร็วให้กลับมาคงที่เหมือนตอนก่อนที่เราจะทำการเบรค สรุปคือควรใช้เบรคในเวลาที่เราเห็นว่าฉุกเฉิน จริงๆครับ อีกอย่างหนึ่งครับเวลาเราทำการเข้าโค้งเราควรเข้าโค้งให้นิ่มนวลและราบลื่น เพราะการเข้าโค้งที่ดีสามารถลดเวลาในการแข่งขันจักรยานลงได้เยอะครับ ยิ่งถ้าสภาพสนามที่มีโค้งเยอะๆ การเข้าโค้งที่ดี, ราบลื่นและรวดเร็ว จะทำให้เวลาในการแข่งขันของเราดีขึ้นเยอะมากครับ
5.ในระหว่างการแข่งขันควรใช้เกียร์ให้เหมาะสม คือ พยามยามใช้เกียร์ที่เราขี่แล้วสบายที่สุด ไม่ใช้เกียร์ที่หนักเกินไปเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อของเราเกิดการล้าเร็วขึ้น และควรปรับเปลี่ยนเกียร์จักรยานขึ้นหรือลงตามสภาพสนามที่กำลังทำการแข่งขันด้วยนะครับ ไม่ใช่ว่าใช้เกียร์อยู่อันเดียวตลอดการแข่งขัน คือ หากเป็นทางขึ้นเขาเราควรปรับเกียร์รถจักรยานของเราให้มีอัตราทดที่สูงขึ้น เพื่อที่จะขึ้นเขาได้สบายขึ้น และมันจะทำให้กล้ามเนื่อขาของเราไม่เกิดการล้าเร็วจนเกินไปครับ
ผมหวังว่าเทคนิคในการปั่นจักรยานเล็กๆน้อยๆนี้คงจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนนักปั่นจักรยานบ้างนะครับหากใครต้องการเพิ่มเติมหรือแนะนำสามารถ Comment ได้ข้างล่างบทความนี้เลยครับตามสบายครับขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของผมครับ
ปั่น จักรยาน ด้วยรอบขาเท่าไหล่ถึงจะดี
เมื่อ แลนซ์ อาร์มสตรอง ชนะการแข่งขัน จักรยาน ในรายการ ทัวร์เดอะฟรอง ในปี ค.ศ 1999 เขาได้โชว์ ให้เราเห็นว่า การปั่นด้วยรอบขาที่สูง หรือที่เรารู้จักกันใน คำว่า RPM นั้น สามารถช่วยให้เขาประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ยากเย็นนัก แม้ในสเตทที่มีเส้นทางขึ้นภูเขาสูง มากๆ โดยการปั่นด้วยรอบขาที่สูงนั้นข้อดีคือ มันสามารถ สลายกรดแลคติกที่สะสมอยู่ในขาของเราได้เร็วขึ้น ซึ่งเจ้ากรดตัวนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ กล้ามเนื้อของเราเกิดความอ่อนล้า และเจ็บปวด แต่การที่จะปั่น จักรยาน ด้วยรอบขาที่สูงเป็นเวลานานๆ ได้นั้น นักกีฬาผู้นั้นต้องผ่านการฝึกฝนอย่างหนัก และเข้มข้นอย่างยาวนานซึ่งอาจจะใช้เวลานานนับปี เพื่อที่จะให้ตัวนักกีฬาผู้นั้นสามารถรักษาระดับการปั่นด้วยรอบขาที่สูงเป็นเวลานานๆ ได้
การปั่นจักรยานด้วยรอบขาเท่าไหล่ถึงจะดีที่สุด
ในความคิดของผมแล้ว การเปลี่ยนลักษณะเฉพาะตัวของสไตล์การขี่ จักรยาน หรือการเปลี่ยนระดับรอบขาในการปั่นนั้นทำได้ยาก และต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนสไตล์ของตัวเองนานมาก ยกตัวอย่างง่ายๆ ครับเช่นเราถนัดเขียนหนังสือมือขวา ต่อมา จะให้เราเขียนหนังสือด้วยมือซ้าย ก็คล้ายกันกับประเด็นนี้ครับ การปรับตัวเองเพื่อเปลี่ยนรูปแบบการขี่ จักรยาน ไม่ว่าจะเป็นการปรับรอบขาหรือ ลักษณะท่าทางการขี่นั้นข้อนข้างทำได้ยาก แต่กระนั้น ผมก็ได้พยายามที่จะปรับบางส่วนของผม เพื่อที่จะทำให้ผมปั่นด้วยรอบขาที่สูงขึ้น โดยมีความเชื่อที่ว่าการปั่นด้วยรอบขาที่สูงนั้นสามารถที่จะช่วยให้เราประหยัดพลังงานในการขี่ จักรยาน ในรายการแข่งขันต่างๆได้
สรุปแล้วจนขณะนี้ผมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสไตล์ การปั่นจักรยานด้วยรอบขาที่สูงได้มากนัก โดยสามารถเปลี่ยนได้เล็กน้อยจากเดิม เราเคยปั่นด้วยรอบขา 70 รอบต่อนาที ดังนั้นเราอาจจะเพื่มขึ้นได้เป็น 0-5 รอบต่อนาที ขึ้นอยู่กับการฝึกซ้อมของเราว่ามีประสิทธิภาพมากแค่ใหน และในความคิดส่วนตัวของผม เห็นว่าการปั่น จักรยาน ด้วยรอบขาที่ สูงนั้น มักจะทำให้เรานั้นเหนื่อยเร็วขึ้น ผมว่าการปั่นด้วยรอบขาที่สูงนั้น เหมาะสำหรับ นักปั่นจักรยานประเภท ลู่ มากกว่าสำหรับ นักปั่นจักรยาน ประเภทถนน ผมคิดว่าควรใช้รอบขาแบบปานกลางจะดีกว่าการปั่นด้วยรอบขาที่สูง เพราะถ้าท่านสังเกตุนักปั่นจักรยานที่อยู่ในระดับโลก หลายคนจะปั่นด้วยรอบขาที่ไม่ค่อยสูงมาก สังเกตุจากการแข่งขันจักรยานรายการต่างๆ เช่น ทัวร์เดอะฟรองโดยนักปั่นสวนใหญ่จะใช้รอบขาปานกลาง คือ ประมาณ 75-85 รอบต่อนาที แต่อัตราทดเกียร์จะหนักพอสมควร ซึ่งขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาของนักปั่นแต่ละคน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการปั่นด้วยรอบขาปานกลางจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ซึ่งจะทำให้เรารักษา ระดับอัตราการเต้นของหัวใจ หรือค่า HR ได้ดีกว่าการปั่น จักรยาน ด้วยรอบขาที่สูงยิ่งรอบขาสูงจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงไปด้วย ฉะนั้น การปั่นด้วยรอบขาที่สูงขึ้นควรใช้ ในตอนที่เรารู้สึก ปวด หรือล้ากล้ามเนื้อ เพราะกล้ามเนื้อจะรู้สึกผ่อนคลายและยังช่วยสลายกรดเลคติกที่อยู่ในกล้ามเนื้อให้สลายไปได้เร็วขึ้นอีกด้วย ขอบคุณครับ
วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558
เทคนิคการวางตำแหน่งของร่างกายในการปั่นจักรยานเพื่อลดอาการบาดเจ็บ
เทคนิคการวางตำแหน่งของร่างกายในการปั่นจักรยานเพื่อลดอาการบาดเจ็บ
มีผู้ขี่จักรยานและนักกีฬาจักรยานหลายคนที่ขี่จักรยานแล้วไม่ประทับใจ เช่น เกิดอาการปวดตามที่ต่าง ๆ เช่น ปวดก้น ปวดขา ปวดแขน เมื่อยหลัง เป็นตะคริว ฯลฯ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มันเกิดขึ้นเพราะเราขาดการเรียนรู้ในเทคนิคทักษะของการวางตำแหน่งของร่างกาย กล่าวคือขณะที่เราปั่นจักรยานจะมีตำแหน่งที่สำคัญอยู่ 3 ที่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สัมผัสกับจักรยานคือ
1.การนั่งอาน: ปกติจะนั่งเต็มก้นกันทุกๆ คนก็จริง แต่ระดับของอานที่ถูกต้องจะต้องไม่เงยขึ้นหรือก้มลง อานจะต้องปรับให้ขนานกับพื้นเสมอ ทำให้การจัดตำแหน่งในการขี่จักรยาน(ทั้งนั่งและยืนปั่น)ทำได้ง่าย เช่น เวลาขี่ขึ้นเขาชันให้ขยับก้นขึ้นไปด้านหน้าเพื่อเพิ่มแรงกดลูกบันได หากขึ้นเขายาว ๆ แล้วละก็ให้เลื่อนก้นลงมาอยู่ข้างหลัง เพื่อเพิ่มแรงดันลูกบันได และถ้าเป็นทางราบยาว ๆ ซึ่งต้องขี่เร็วให้เลื่อนก้นมาข้างหน้า ขี่เสมอให้นั่งเต็มอาน
2.การวางตำแหน่งของมือ: ถ้าเป็นรถจักรยานธรรมดาก็เพียงแต่จับแฮนด์สบายๆ แต่ถ้าเป็นรถจักรยานเสือภูเขาควรจับที่ยางแฮนด์โดยใช้นิ้วชี้ และกลาง แตะมือเบรกเอาไว้ตลอดเวลาพร้อมที่จะเบรก หรือชะลอความเร็วเมื่อต้องเปลี่ยนทิศทาง หรือหลบหลีกเครื่องกีดขวางในเส้นทางที่ต้องขี่ผ่าน ส่วนเสือหมอบเราสามารถจะวางมือบนแฮนด์ได้หลายตำแหน่ง เช่น จับแฮนด์ด้านในสุด (Drop In ) จับบนแฮนด์ใกล้ๆ คอแฮนด์ จับตรงยางมือเบรก และจับส่วนโค้งของแฮนด์ด้านบน เป็นต้น การวางตำแหน่งของมือบนแฮนด์ที่ถูกต้องเพื่อทำให้เกิดความสบายในการขี่ ลดอาการเมื่อยล้าของแขน และลำตัว
3. การวางตำแหน่งของเท้า: เป็นเรื่องที่สำคัญมากถ้าวางตำแหน่งได้ไม่สมดุลจะทำให้แรงที่ปั่นจักรยานสูญเปล่าอย่างน่าเสียดาย นักแข่งหลายคนติดกริ๊ปใต้รองเท้าไม่เท่ากัน ทำให้การปั่นลูกบันไดไม่เป็นวงกลม ถ้ามองดูโซ่จะเห็นว่ามันวิ่งไม่เรียบ ในขณะที่บางคนติดกริ๊ปสั้นหรือยาวเกินไป ถ้าติดสั้น จะทำให้ปวดข้อเท้าเวลาปั่นนานๆไกลๆเพราะข้อต่อข้อเท้าต้องทำงานหนักคือหมุนจำนวนรอบที่มากเกิน แต่ถ้าติดกริ๊ปยาวเกินไป จะทำให้เมื่อยข้อเท้าเช่นกันและรอบขาที่ปั่นได้จะไม่เร็วเหมือนคนอื่น สมมุติว่าทุกคนติดกริ๊ปพอดีกับขนาดของรองเท้าตนเอง การวางตำแหน่งของเท้าในการปั่นจึงเป็นเรื่องสำคัญ คือถ้าปั่นทางราบควรวางปลายเท้าและส้นเท้าเสมอกันขณะปั่นลูกบันได แต่ถ้าขึ้นเขาให้เชิดปลายเท้าขึ้นส้นเท้าต่ำลงขณะปั่น แต่สปริ้นท์ให้จิกปลายเท้าลงเสมอ
ดังนั้นการวางตำแหน่งของร่างกายในการปั่นจักรยาน เป็นเทคนิคที่เราชาวจักรยานจะต้องฝึก และทดลองทำดู ถึงจะค้นพบตำแหน่งที่เหมาะสมของตนเองครับ โดยการปรับการนั่งอาน การวางมือและเท้า ให้เหมาะสมตามสถานการณ์ของการขี่นั้นๆ การวางตำแหน่งของร่างกายที่ถูกต้องช่วยประหยัดแรง และทำให้เกิดความสมดุลในการปั่นทำให้ง่ายต่อการบังคับรถจักรยานของคุณและจะทำให้การออกทริปปั่นจักรยานครั้งต่อไป สนุกสนานยิ่งขึ้น และช่วยลดอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้ครับ
ตะคริว ปัญหาที่พบบ่อยกับนักจักรยาน
“ตะคริว” (muscle cramps) เป็นปัญหาที่พบบ่อยในนักกีฬา และบ่อยครั้งอาการเกิดขึ้นอย่างฉับพลันในระหว่างการแข่งขัน ถ้าถามว่าสาเหตุเกิดมาจากอะไร น้อยคนที่จะตอบได้อย่างชัดเจนหรือฟันธงลงไปว่าเกิดจากอะไร แม้แต่นักกีฬาที่มีการฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดีร่างกายสมบูรณ์เต็มที่ก็ยังเกิดเป็นตะคริวได้ เป็นที่เชื่อกันว่าปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตะคริวได้แก่
1. การขาดเกลือแร่อิเลคโตรไลท์ (Electrolyte) ซึ่งเป็นการสูญเสียทางเหงื่อในระหว่างการเล่นกีฬา
2. การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันจากร้อนเป็นเย็น
3. มัดกล้ามเนื้อเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเกิดจากการใส่อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมเช่น กางเกงที่รัดแน่นจนเกินไปซึ่งทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนขาน้อยเกินไปกล้ามเนื้อขาดออกซิเจนและมีอาการคั่งของของเสียและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกล้ามเนื้อ จึงเกิดเป็นตะคริวขึ้น นอกจากนั้นปัจจัยที่ได้กล่าวมาแล้ว การบาดเจ็บระหว่างการเล่นกีฬาเช่น ถูกกระแทกโดยตรงที่มัดกล้ามเนื้อ จะทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งกะทันหันซึ่งทำให้เกิดเป็นตะคริวได้เหมือนกัน
การป้องกันการเป็นตะคริวแบบง่าย ๆ
- ก่อนออกกำลังการ ควรจะยืดคลายกล้ามเนื้อก่อนทุกครั้ง อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ สังเกตง่าย ๆ คือดูสีของน้ำปัสสาวะถ้ามีสีเข้มเหลืองเป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยดีนักมีโอกาสที่จะเป็นตะคริว ถ้ามัดกล้ามเนื้อถูกใช้งานต่อเนื่องนาน ๆ
- อุปกรณ์ที่สวมใส่อย่าให้รัดแน่นเกินไป
- สูดหายใจเข้าลึก ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับอ็อกซิเจนได้เต็มที่
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเป็นตะคริว เมื่อตะคริวเกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดให้ใช้ของเย็นประคบ อย่างใช้ของอุ่นและของร้อนประคบเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อบีบเกร็งมากขึ้น ถ้าเกิดขึ้นที่บริเวณน่องให้ทำการยืดขาออกช้า ๆ แล้วดันปลายเท้าเข้าหาตัวคนเจ็บ ซึ่งจะช่วยให้ตะคริวคลายออกได้เร็วขึ้น สำหรับผู้ที่เป็นตะคริวที่น่องและเป็น ๆ หาย ๆ อยู่เป็นประจำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะเดินนาน ๆ ให้ลองทำง่าย ๆ ดังนี้ คือเริ่มจากยืนหันหน้าเข้าหากำแพงห่างประมาณ 3 – 4 ฟุต จากนั้นให้ก้มตัวไปด้านหน้าโดยเอามือยันกำแพงให้ส้นเท้าอยู่ติดกับพื้น จะทำให้น่องยืดตึงและทำให้กล้ามเนื้อเกิดความผ่อนคลายและช่วยลดอาการดังกล่าวได้
วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558
รู้จักกับคาร์บอนไฟเบอร์กันสักนิด
วัสดุใช้สร้างเฟรมจักรยานเริ่มจากไม้ แล้วต่อมาก็พัฒนาเป็นเหล็ก อลูมินั่ม ไทเทเนียม และล่าสุดจนถึงปัจจุบันคือคาร์บอนไฟเบอร์ซึ่งเมื่อมาประกอบเป็นเฟรมหรือส่วนประกอบของยานพาหนะอื่นใดในรูปของคอมโพสิต (Composite) คือลำพังแต่ตัวคาร์บอนเองไม่พอต้องมีสารอื่นมาช่วยยึดเหนี่ยวโมเลกุลของมัน เพื่อให้ได้ทั้งความแข็งแกร่งและเบา เพราะคุณสมบัติคือความแข็งแกร่งและเบานี้รวมทั้งนุ่มนวลเมื่อควบขี่เหนือวัตถุอื่นนี้เองที่ทำให้คาร์บอนคอมโพสิตยังคงเป็นวัสดุสุดยอดปรารถนาของนักจักรยานผู้ปรารถนาความเป็นที่สุด ทั้งความเบาและแข็งแกร่ง
คาร์บอนไฟเบอร์ มีชื่อเรียกต่างกันแต่ในความหมายเหมือนกันได้ทั้งกราไฟต์,คาร์บอน กราไฟต์ หรือ CF เกิดจากธาตุคาร์บอนหรือถ่าน หากจะว่าไปก็คือรูปหนึ่งของสารซึ่งหากถูกบดอัดด้วยแรงดันสูงและความร้อนนานเข้าก็จะกลายเป็นเพชร คาร์บอนไฟเบอร์จริง ๆ แล้วคือเส้นใยวัสดุเกิดจากการใช้กรรมวิธีรีดอะตอมของคาร์บอน ออกเป็นเส้นสุดเหนียวและเส้นผ่าศูนย์กลางบางเพียง 0.005 ถึง 0.010 มม. จากเส้นผ่าศูนย์กลางที่บางมาก ๆ แต่เหนียวนี้เองที่ทำให้มันคงความเหนียวไว้ได้โดยยังบางเฉียบ ไม่ต้องพอกเนื้อให้หนาเพื่อทนแรงดึงและแรงเฉือนได้เหมือนวัสดุอื่นหรือแม้แต่โลหะ
ลำพังเส้นใยคาร์บอนเดี่ยว ๆ คงทำอะไรไม่ได้ มันจึงถูกนำมาพันกันเป็นวัสดุเสมือนเส้นด้าย ก่อนจะนำด้ายคาร์บอนนั้นมาถักทอเป็นแผ่น ถ้าจะว่าเฟรมจักรยานของเราทำจากแผ่นผ้าก็ได้ แต่มันมีอะไรมากกว่านั้นคือการถักทอเส้นสายคาร์บอนให้เป็นแผ่นนั้นแต่ละผู้ผลิตจะมีกรรมวิธีถักทอแตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละเจ้าก็บอกว่ากรรมวิธีของตนจะทำให้ได้เนื้อคาร์บอนที่เหนียวกว่าพร้อมทั้งจดสิทธิบัตรไว้เพื่อป้องกันคนลอกเลียนแบบ พอได้เส้นใบคาร์บอนเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วยังใช่ว่าจะนำมาประกอบเป็นเฟรมได้ เพราะมันยังอ่อนตัวอยู่มาก เปรียบเสมือนผ้าชิ้นหนึ่งซึ่งต้องมีกรรมวิธีทำให้ผ้าแข็งตัวตั้งเป็นรูปทรงอยู่ได้ หากจะพูดแบบชาวบ้านก็คือต้องเอาผ้าไปชุบแป้งเปียก ซึ่งเปรียบกรรมวิธีชุบกาวหรือแป้งเปียกของผ้าคาร์บอนไฟเบอร์ไว้ได้ในทำนองเดียวกัน คือต้องน้ำเอาแผ่นบาง ๆ ของคาร์บอนมาเรียงทับกันตามรูปแบบที่วิศวกรรคำนวณมาว่าจะรับแรงกระทำได้มากที่สุด แล้วเทวัสดุเรซิ่นซึ่งก็คือพลาสติกเนื้อเหนียวที่ยังอยู่ในรูปของของเหลวลงในพิมพ์ทับแต่ละชั้นของแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ ก่อนจะรีดฟองอากาศออกแล้วอัดด้วยความร้อนเพื่อช่วยให้เนื้อเรซิ่นซึมเข้าไปแทรกอยู่ระหว่างโมเลกุลของคาร์บอนไฟเบอร์ เพราะความเบาแต่แข็งของมันนี่เองที่ทำให้ถูกนำไปสร้างอากาศยานในปัจจุบัน แต่การจะทำให้เบาและแข็งได้ขนาดนี้ต้องมีกรรมวิธีละเอียดอ่อนมากซึ่งมีไม่กี่ประเทศในโลกเท่านั้นทำได้ สหรัฐอเมริกาคืออันดับ 1 ในการสร้าคาร์บอนไฟเบอร์ ใช้ในยวดยานหลายชนิดตั้งแต่ยานอวกาศ รถยนต์ รถแข่งจนถึงจักรยาน นอกจากข้อดีคือแข็งแกร่งและเบาแล้ว จุดอ่อนของมันก็มีคือมันอ่อนไหวต่อแรงกระเทือน พูดง่าย ๆ คือคุณไม่สามารถหักเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ได้ด้วยการเอามือถึง แต่ถ้าเอาค้อนทุบเปรี้ยงเดียวกันจะกะเทาะแตกออกเป็นชิ้น ๆ ไม่ว่าจะมาจากค่ายไหนก็จะลงเอยด้วยจุดจบแบบเดียวกันหมด ที่ว่าสหรัฐฯ เก่งเรื่องคาร์บอนไฟเบอร์ก็เพราะมันเกิดขึ้นที่นี่เมื่อปี 1958 จากการคิดค้นของด็อกเตอร์โรเจอร์ เบคอนให้กับบริษัทยูเนียน คาร์ไบด์ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ เริ่มจากแผ่นเรย็อง ก่อนเมื่อยังไม่มีอะไรดีกว่า กระทั่งค้นพบว่าสามารถรีดเส้นใยจากคาร์บอนมาถักเป็นเชือกแล้วสานเป็นแผ่นได้ ในช่วงทศวรรษที่ 1960 ด็อกเตอร์อาคิโอะ ชินโดะ ชาวญี่ปุ่นแห่งสำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น ได้คิดค้นวิธีสร้างวัสดุคาร์บอนคอมโพสิตให้ดีขึ้น ก่อนจะมีผู้นำกรรมวิธีอื่นมาใช้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งและรีดเนื้อให้เบาลงที่สุดจนถึงปัจจุบัน ข้างต้นนั่นคือความเป็นมาพอสังเขปของคาร์บอนไฟเบอร์ วัสดุยอดนิยมใช้เพื่อสร้างอากาศยานราคาแพงที่ตัววัสดุต้องการความเบาเพื่อประหยัดเชื้อเพลิง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแข็งแกร่งด้วยเพื่อทดรับภาระหนัก ๆ จากแรงบิด แรงกด แรงดึงและกระแทกกระทั้นทั้งระหว่างอยู่ในอากาศและเมื่อร่อนลงจอด เทคโนโลยีคาร์บอนไฟเบอร์แพร่เข้ามาสู่วงการจักรยานเมื่อไม่ถึง 20 ปีนี้เอง หลังจากเฟรมจักรยานถูกสร้างด้วยเหล็กกล้า ตามด้วยอลูมินั่ม ไทเทเนียมและคาร์บอนไฟเบอร์ซึ่งเบาพอ ๆ กับไทเทเนียมแต่ความกระด้างน้อยกว่าเมื่อมาเป็นเฟรมจักรยาน มันคือเทคโนโลยีล่าสุดที่ต้องใช้ทั้งความละเอียดอ่อนในการผลิตและการออกแบบ และบริษัทที่ผลิตเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ต้องถูกผลิตในประเทศเท่านั้น หรือหากจะยินยอมให้ประเทศอื่น ๆ ผลิตเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ก็ต้องอยู่ในรุ่นดีน้อยกว่าผลิตในอเมริกา เราจึงเห็นตัวอักษรว่า Made in USA หรือ Made in Italy หรือประเทศอื่น ๆ ประทับไว้ที่เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ของจักรยานระดับ ไฮ-เอนด์ราคาแพงลิบ เมื่อการผลิตเฟรมคาร์บอนด้วยละเอียดอ่อนการจะสร้างให้ดีจริง ๆ จึงทำได้ยาก บางบริษัทสร้างเฟรมคาร์บอนไว้จำหน่ายได้ในเกรดเดียวกับใช้แข่ง ในขณะที่บางบริษัททำดีได้แค่เฟรมใช้แข่งเท่านั้นแต่เฟรมที่จำหน่ายในตลาดแม้จะดูเหมือนกันแต่ก็ด้อยกว่าในด้านคุณสมบัติลึก ๆ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจอยากเป็นเจ้าของเฟรมจักรยานจากคาร์บอนไฟเบอร์ เรามีข้อเสนอให้คุณพิจารณาดังนี้
ต้องมีเงิน : เพราะมันเป็นของแพง คุณจึงต้องมีเงินตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไปถ้าอยากจะได้เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ แต่ก็ใช่ว่าราคาประมาณเท่านี้แล้วจะได้ของดีพร้อม ของดีจริงต้องแพงกว่านั้น ในราคาดังกล่าวคุณอาจจะได้เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์เพียงระดับต้นหรือระดับกลางเท่านั้น หมายความว่าน้ำหนักของมันยังมากอยู่เมื่อเทียบกับระดับสูงหรือแพงกว่า ตัวเฟรมยังบิดตัวได้มากเมื่อถูกแรงกระทำเช่นขณะนักจักรยานลุกขึ้นโยกตอนขึ้นภูเขา
หาข้อมูล : แหล่งข้อมูลที่ดี คือรีวิวในอินเตอร์เน็ตและนิตยสารจักรยานต่าง ๆ เช่น Velonews, Procycling, Cyclingnews, Mountainbike Action ซึ่งนิตยสารที่ยกตัวอย่างมานี้จะมีเว็บไซต์ของตัวเองลงท้ายด้วย .COM ทั้งหมด ให้คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลของจักรยานคาร์บอนไฟเบอร์ที่หมายตาไว้ แล้วนำมาเปรียบเทียบกันได้จากการทดสอบของนักปั่นมือโปร ซึ่งจะเขียนความเห็นเกี่ยวกับเฟรมแต่ละตัวหลังการทดสอบไว้ชัดเจน อีกแหล่งหนึ่งคือในกลุ่มนักจักรยานที่ปั่นด้วยกันซึ่งจะบอกคุณได้ถึงคุณสมบัติที่เขาชอบในแบรนด์ต่าง ๆ ข้อดีคืออาจจะได้ขี่ทดสอบเฟรมคาร์บอนด้วยครั้งละหลาย ๆ แบรน์เพื่อเปรียบเทียบ
อีกแหล่งที่อาจจะหายากหน่อยคือร้านรับทำสีจักรยาน ตามปกติแล้วร้านเหล่านี้คือร้านทำสีรถ แต่ในกลุ่มจักรยานระดับฮาร์ดคอร์แล้วพวกเขาจะรู้ดีว่าจะเอาเฟรมจักรยานไปทำสีหรือเปลี่ยนสีได้ที่ไหน ร้านทำสีจักรยานนี่แหละคือแหล่งข้อมูลสำคัญที่สุดและบิดเบือนได้ยากในด้านคุณภาพของเนื้อวัสดุ เพราะก่อนจะลงสีใหม่เขาต้องขัดหรือลอกสีเก่าออกให้หมดก่อน ตามด้วยการขัดกระดาษทรายก่อนจะลงสีใหม่ ตอนลอกสีเก่าออกนี่แหละที่จะเห็นว่าเฟรมไหนมีฟองอากาศซึ่งเป็นตัวบั่นทอนความแข็งแกร่งของเฟรมได้ชัดเจน เฟรมตัวไหนมีฟองอากาศมากที่สุดหรือไม่มีเลยร้านเขาจะบอกได้ ที่แน่ ๆ คือฟองอากาศน้อยหรือไม่มีเลยย่อมดีกว่ามีฟองอากาศมาก ร้านจักรยานมีบริการหลังการขาย : เพราะเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ทนแรงกระทำบางรูปแบบได้ แต่อาจจะเหราะบางต่อแรงกระทำอีกรูปแบบหนึ่ง บางครั้งมันจึงเปราะและแตกได้ ถ้าคุณขี่อย่างถูกวิธีแต่เฟรมแตกหรือหักก็ยังเคลมได้ หรือหากไปขี่ผิดวิธีมาแล้วเฟรมแตกหักทางร้านก็ยังเสนอเงื่อนไขดี ๆ ให้ได้อีก เช่น ซื้อเฟรมใหม่ได้ส่วนลด 30-40 % หากซื้อจากร้านโนเนมหรือหิ้วมาจากต่างประเทศแล้วเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น เงินเกือบแสนสำหรับค่าเฟรมของคุณจะกลายเป็นศูนย์ไปทันทีที่มันชำรุด
ดูจากประวัติการแข่งขัน : เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์แบรนด์หนึ่งเป็นสปอนเซอร์ให้นักแข่งผู้ครองแชมป์ตูร์เดอฟร็องซ์มาหลายสมัย มันก็ถูกล่ะที่เขาเก่งเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่การที่เขาเลือกใช้เฟรมแบรนด์นั้นก็เพราะมันต้องมีคุณสมบัติบางอย่างที่เขาชอบ ถูกใจ หากมองตามที่เห็นก็คือเฟรมแบรนด์นี้เข้าไปสนับสนุนนักจักรยานคนนั้นพร้อมทั้งทีม แต่มองในอีกแง่หนึ่งคือเมื่อนักจักรยานนั้นมีชื่อเสียงก้องโลกขึ้นมาแล้วย่อมมีสิทธิ์จะเปลี่ยนแบรนด์ที่สนับสนุนทีมอยู่ได้แต่ทำไม่ไม่เปลี่ยน ถ้ามันดีสำหรับนักจักรยานคนนั้นได้มันก็ต้องดีสำหรับคุณเช่นกัน เคยคิดเช่นนี้หรือเปล่า นี่น่าจะเป็นวิธีคิดที่ง่ายที่สุดแล้วในการเลือกแบรนด์เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์
สำหรับนักจักรยานผู้ต้องการเป็นเจ้าของเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ทั้งสี่ข้อข้างต้นนี้ก็น่าจะพอเพียงแล้วสำหรับใช้เป็นแนวทางตัดสินใจ
คาร์บอนไฟเบอร์ มีชื่อเรียกต่างกันแต่ในความหมายเหมือนกันได้ทั้งกราไฟต์,คาร์บอน กราไฟต์ หรือ CF เกิดจากธาตุคาร์บอนหรือถ่าน หากจะว่าไปก็คือรูปหนึ่งของสารซึ่งหากถูกบดอัดด้วยแรงดันสูงและความร้อนนานเข้าก็จะกลายเป็นเพชร คาร์บอนไฟเบอร์จริง ๆ แล้วคือเส้นใยวัสดุเกิดจากการใช้กรรมวิธีรีดอะตอมของคาร์บอน ออกเป็นเส้นสุดเหนียวและเส้นผ่าศูนย์กลางบางเพียง 0.005 ถึง 0.010 มม. จากเส้นผ่าศูนย์กลางที่บางมาก ๆ แต่เหนียวนี้เองที่ทำให้มันคงความเหนียวไว้ได้โดยยังบางเฉียบ ไม่ต้องพอกเนื้อให้หนาเพื่อทนแรงดึงและแรงเฉือนได้เหมือนวัสดุอื่นหรือแม้แต่โลหะ
ลำพังเส้นใยคาร์บอนเดี่ยว ๆ คงทำอะไรไม่ได้ มันจึงถูกนำมาพันกันเป็นวัสดุเสมือนเส้นด้าย ก่อนจะนำด้ายคาร์บอนนั้นมาถักทอเป็นแผ่น ถ้าจะว่าเฟรมจักรยานของเราทำจากแผ่นผ้าก็ได้ แต่มันมีอะไรมากกว่านั้นคือการถักทอเส้นสายคาร์บอนให้เป็นแผ่นนั้นแต่ละผู้ผลิตจะมีกรรมวิธีถักทอแตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละเจ้าก็บอกว่ากรรมวิธีของตนจะทำให้ได้เนื้อคาร์บอนที่เหนียวกว่าพร้อมทั้งจดสิทธิบัตรไว้เพื่อป้องกันคนลอกเลียนแบบ พอได้เส้นใบคาร์บอนเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วยังใช่ว่าจะนำมาประกอบเป็นเฟรมได้ เพราะมันยังอ่อนตัวอยู่มาก เปรียบเสมือนผ้าชิ้นหนึ่งซึ่งต้องมีกรรมวิธีทำให้ผ้าแข็งตัวตั้งเป็นรูปทรงอยู่ได้ หากจะพูดแบบชาวบ้านก็คือต้องเอาผ้าไปชุบแป้งเปียก ซึ่งเปรียบกรรมวิธีชุบกาวหรือแป้งเปียกของผ้าคาร์บอนไฟเบอร์ไว้ได้ในทำนองเดียวกัน คือต้องน้ำเอาแผ่นบาง ๆ ของคาร์บอนมาเรียงทับกันตามรูปแบบที่วิศวกรรคำนวณมาว่าจะรับแรงกระทำได้มากที่สุด แล้วเทวัสดุเรซิ่นซึ่งก็คือพลาสติกเนื้อเหนียวที่ยังอยู่ในรูปของของเหลวลงในพิมพ์ทับแต่ละชั้นของแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ ก่อนจะรีดฟองอากาศออกแล้วอัดด้วยความร้อนเพื่อช่วยให้เนื้อเรซิ่นซึมเข้าไปแทรกอยู่ระหว่างโมเลกุลของคาร์บอนไฟเบอร์ เพราะความเบาแต่แข็งของมันนี่เองที่ทำให้ถูกนำไปสร้างอากาศยานในปัจจุบัน แต่การจะทำให้เบาและแข็งได้ขนาดนี้ต้องมีกรรมวิธีละเอียดอ่อนมากซึ่งมีไม่กี่ประเทศในโลกเท่านั้นทำได้ สหรัฐอเมริกาคืออันดับ 1 ในการสร้าคาร์บอนไฟเบอร์ ใช้ในยวดยานหลายชนิดตั้งแต่ยานอวกาศ รถยนต์ รถแข่งจนถึงจักรยาน นอกจากข้อดีคือแข็งแกร่งและเบาแล้ว จุดอ่อนของมันก็มีคือมันอ่อนไหวต่อแรงกระเทือน พูดง่าย ๆ คือคุณไม่สามารถหักเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ได้ด้วยการเอามือถึง แต่ถ้าเอาค้อนทุบเปรี้ยงเดียวกันจะกะเทาะแตกออกเป็นชิ้น ๆ ไม่ว่าจะมาจากค่ายไหนก็จะลงเอยด้วยจุดจบแบบเดียวกันหมด ที่ว่าสหรัฐฯ เก่งเรื่องคาร์บอนไฟเบอร์ก็เพราะมันเกิดขึ้นที่นี่เมื่อปี 1958 จากการคิดค้นของด็อกเตอร์โรเจอร์ เบคอนให้กับบริษัทยูเนียน คาร์ไบด์ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ เริ่มจากแผ่นเรย็อง ก่อนเมื่อยังไม่มีอะไรดีกว่า กระทั่งค้นพบว่าสามารถรีดเส้นใยจากคาร์บอนมาถักเป็นเชือกแล้วสานเป็นแผ่นได้ ในช่วงทศวรรษที่ 1960 ด็อกเตอร์อาคิโอะ ชินโดะ ชาวญี่ปุ่นแห่งสำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น ได้คิดค้นวิธีสร้างวัสดุคาร์บอนคอมโพสิตให้ดีขึ้น ก่อนจะมีผู้นำกรรมวิธีอื่นมาใช้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งและรีดเนื้อให้เบาลงที่สุดจนถึงปัจจุบัน ข้างต้นนั่นคือความเป็นมาพอสังเขปของคาร์บอนไฟเบอร์ วัสดุยอดนิยมใช้เพื่อสร้างอากาศยานราคาแพงที่ตัววัสดุต้องการความเบาเพื่อประหยัดเชื้อเพลิง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแข็งแกร่งด้วยเพื่อทดรับภาระหนัก ๆ จากแรงบิด แรงกด แรงดึงและกระแทกกระทั้นทั้งระหว่างอยู่ในอากาศและเมื่อร่อนลงจอด เทคโนโลยีคาร์บอนไฟเบอร์แพร่เข้ามาสู่วงการจักรยานเมื่อไม่ถึง 20 ปีนี้เอง หลังจากเฟรมจักรยานถูกสร้างด้วยเหล็กกล้า ตามด้วยอลูมินั่ม ไทเทเนียมและคาร์บอนไฟเบอร์ซึ่งเบาพอ ๆ กับไทเทเนียมแต่ความกระด้างน้อยกว่าเมื่อมาเป็นเฟรมจักรยาน มันคือเทคโนโลยีล่าสุดที่ต้องใช้ทั้งความละเอียดอ่อนในการผลิตและการออกแบบ และบริษัทที่ผลิตเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ต้องถูกผลิตในประเทศเท่านั้น หรือหากจะยินยอมให้ประเทศอื่น ๆ ผลิตเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ก็ต้องอยู่ในรุ่นดีน้อยกว่าผลิตในอเมริกา เราจึงเห็นตัวอักษรว่า Made in USA หรือ Made in Italy หรือประเทศอื่น ๆ ประทับไว้ที่เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ของจักรยานระดับ ไฮ-เอนด์ราคาแพงลิบ เมื่อการผลิตเฟรมคาร์บอนด้วยละเอียดอ่อนการจะสร้างให้ดีจริง ๆ จึงทำได้ยาก บางบริษัทสร้างเฟรมคาร์บอนไว้จำหน่ายได้ในเกรดเดียวกับใช้แข่ง ในขณะที่บางบริษัททำดีได้แค่เฟรมใช้แข่งเท่านั้นแต่เฟรมที่จำหน่ายในตลาดแม้จะดูเหมือนกันแต่ก็ด้อยกว่าในด้านคุณสมบัติลึก ๆ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจอยากเป็นเจ้าของเฟรมจักรยานจากคาร์บอนไฟเบอร์ เรามีข้อเสนอให้คุณพิจารณาดังนี้
ต้องมีเงิน : เพราะมันเป็นของแพง คุณจึงต้องมีเงินตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไปถ้าอยากจะได้เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ แต่ก็ใช่ว่าราคาประมาณเท่านี้แล้วจะได้ของดีพร้อม ของดีจริงต้องแพงกว่านั้น ในราคาดังกล่าวคุณอาจจะได้เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์เพียงระดับต้นหรือระดับกลางเท่านั้น หมายความว่าน้ำหนักของมันยังมากอยู่เมื่อเทียบกับระดับสูงหรือแพงกว่า ตัวเฟรมยังบิดตัวได้มากเมื่อถูกแรงกระทำเช่นขณะนักจักรยานลุกขึ้นโยกตอนขึ้นภูเขา
หาข้อมูล : แหล่งข้อมูลที่ดี คือรีวิวในอินเตอร์เน็ตและนิตยสารจักรยานต่าง ๆ เช่น Velonews, Procycling, Cyclingnews, Mountainbike Action ซึ่งนิตยสารที่ยกตัวอย่างมานี้จะมีเว็บไซต์ของตัวเองลงท้ายด้วย .COM ทั้งหมด ให้คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลของจักรยานคาร์บอนไฟเบอร์ที่หมายตาไว้ แล้วนำมาเปรียบเทียบกันได้จากการทดสอบของนักปั่นมือโปร ซึ่งจะเขียนความเห็นเกี่ยวกับเฟรมแต่ละตัวหลังการทดสอบไว้ชัดเจน อีกแหล่งหนึ่งคือในกลุ่มนักจักรยานที่ปั่นด้วยกันซึ่งจะบอกคุณได้ถึงคุณสมบัติที่เขาชอบในแบรนด์ต่าง ๆ ข้อดีคืออาจจะได้ขี่ทดสอบเฟรมคาร์บอนด้วยครั้งละหลาย ๆ แบรน์เพื่อเปรียบเทียบ
อีกแหล่งที่อาจจะหายากหน่อยคือร้านรับทำสีจักรยาน ตามปกติแล้วร้านเหล่านี้คือร้านทำสีรถ แต่ในกลุ่มจักรยานระดับฮาร์ดคอร์แล้วพวกเขาจะรู้ดีว่าจะเอาเฟรมจักรยานไปทำสีหรือเปลี่ยนสีได้ที่ไหน ร้านทำสีจักรยานนี่แหละคือแหล่งข้อมูลสำคัญที่สุดและบิดเบือนได้ยากในด้านคุณภาพของเนื้อวัสดุ เพราะก่อนจะลงสีใหม่เขาต้องขัดหรือลอกสีเก่าออกให้หมดก่อน ตามด้วยการขัดกระดาษทรายก่อนจะลงสีใหม่ ตอนลอกสีเก่าออกนี่แหละที่จะเห็นว่าเฟรมไหนมีฟองอากาศซึ่งเป็นตัวบั่นทอนความแข็งแกร่งของเฟรมได้ชัดเจน เฟรมตัวไหนมีฟองอากาศมากที่สุดหรือไม่มีเลยร้านเขาจะบอกได้ ที่แน่ ๆ คือฟองอากาศน้อยหรือไม่มีเลยย่อมดีกว่ามีฟองอากาศมาก ร้านจักรยานมีบริการหลังการขาย : เพราะเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ทนแรงกระทำบางรูปแบบได้ แต่อาจจะเหราะบางต่อแรงกระทำอีกรูปแบบหนึ่ง บางครั้งมันจึงเปราะและแตกได้ ถ้าคุณขี่อย่างถูกวิธีแต่เฟรมแตกหรือหักก็ยังเคลมได้ หรือหากไปขี่ผิดวิธีมาแล้วเฟรมแตกหักทางร้านก็ยังเสนอเงื่อนไขดี ๆ ให้ได้อีก เช่น ซื้อเฟรมใหม่ได้ส่วนลด 30-40 % หากซื้อจากร้านโนเนมหรือหิ้วมาจากต่างประเทศแล้วเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น เงินเกือบแสนสำหรับค่าเฟรมของคุณจะกลายเป็นศูนย์ไปทันทีที่มันชำรุด
ดูจากประวัติการแข่งขัน : เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์แบรนด์หนึ่งเป็นสปอนเซอร์ให้นักแข่งผู้ครองแชมป์ตูร์เดอฟร็องซ์มาหลายสมัย มันก็ถูกล่ะที่เขาเก่งเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่การที่เขาเลือกใช้เฟรมแบรนด์นั้นก็เพราะมันต้องมีคุณสมบัติบางอย่างที่เขาชอบ ถูกใจ หากมองตามที่เห็นก็คือเฟรมแบรนด์นี้เข้าไปสนับสนุนนักจักรยานคนนั้นพร้อมทั้งทีม แต่มองในอีกแง่หนึ่งคือเมื่อนักจักรยานนั้นมีชื่อเสียงก้องโลกขึ้นมาแล้วย่อมมีสิทธิ์จะเปลี่ยนแบรนด์ที่สนับสนุนทีมอยู่ได้แต่ทำไม่ไม่เปลี่ยน ถ้ามันดีสำหรับนักจักรยานคนนั้นได้มันก็ต้องดีสำหรับคุณเช่นกัน เคยคิดเช่นนี้หรือเปล่า นี่น่าจะเป็นวิธีคิดที่ง่ายที่สุดแล้วในการเลือกแบรนด์เฟรมคาร์บอนไฟเบอร์
สำหรับนักจักรยานผู้ต้องการเป็นเจ้าของเฟรมคาร์บอนไฟเบอร์ทั้งสี่ข้อข้างต้นนี้ก็น่าจะพอเพียงแล้วสำหรับใช้เป็นแนวทางตัดสินใจ
ระหว่างยางธรรมดากับยางฮาร์ฟ
ยางฮาร์ฟ หรือ ทูบูล่าร์ (Tubular) ในภาษาอังกฤษนั่นแท้จริงก็คือยางที่เอายางในเชื่อมติดกับยางนอกแล้วทากาวติดกับขอบล้อ ส่วนยางแบบมียางในที่เราใช้กันนั้นมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า คลินเซอร์ จากคุณสมบัติที่พิจารณาอย่างผิวเผินจะทำให้มีแนวโน้มหนักไปในทางที่เชื่อว่า ทูบูล่าร์ดีกว่า เพราะมันเป็นทางเลือกของพวกนักจักรยานมือโปรและพวกที่ชนะอยู่บ่อย ๆ ในการแข่งขันระดับโลก แต่ถ้าหากเอามาเปรียบเทียบกันจริง ๆ อย่างตัวต่อตัวเราจะพบว่าไม่ยุติธรรม หากจะเอายางคลินเซอร์ธรรมดาไปเปรียบเทียบกับยาง ทูบูล่าระดับไฮ-เอนด์
ลองเอายางคลินเซอร์กับทูบูล่าร์ในระดับเดียวกันมาเปรียบเทียบกันเถอะแล้วคุณจะเข้าใจว่ามันแทบไม่ต่างกันเลย ทั้งความรู้สึกที่ได้จากการขี่และประสิทธิภาพของตัวยางเอง ในขณะที่มันไม่ต่างกันในด้านการต้านทานต่อรอยขีดข่วนและของมีคม หลักฐานอันไม่ปรากฏชัดคือการอ้างว่ายางทูบูล่าร์กลับจะทนต่อการรั่วเพราะยางบิดตัวได้ดีกว่ายางคลินเซอร์ เหตุผลที่อ้างเช่นนั้นก็เพราะยางทูบูล่าร์มีอัตราการบิดตัวต่ำมากเมื่อเทียบกับคลินเซอร์ การบิดตัวต่ำจึงทำให้เสียดสีกับขอบล้อได้น้อย โอกาสจะรั่วก็มีน้อยตามไปด้วย
แต่ที่แน่นอนที่สุดคือวงล้อประกอบยางทูบูล่าร์จะเบากว่าแบบคลินเซอร์ แต่ในขณะที่วงล้อเบากว่าอาจจะทำให้รู้สึกเหมือนกับจะตอบสนองต่อแรงปั่นได้ดีกว่า มันกลับทำความเร็วได้ไม่มากกว่า เรื่องนี้วิศวกรของทีมแชร์เวโล คือ ดามอน รินาร์ด ผู้ค้นคว้าวิจัยให้ได้ข้อได้เปรียบเพื่อนำมาใช้กับทีมมากที่สุด แสดงความคิดเห็นว่า “ล้อที่หนักกว่านั้นไม่ใช่ปัญหาใหญ่อย่างที่พวกนักจักรยานทั่วไปชอบคิดกัน ผมคำนวณแล้ว แม้ว่าจะมีแรงฉุดจริงแต่ก็มีน้อยมาก”
ดังนั้นพวกนักจักรยานมือโปรจึงเลือกใช้ยางทูบูล่าร์ตามความเชื่อของตัวเอง ไม่ใช่เพื่อลดน้ำหนักอะไรเลยเพราะเอาจริง ๆ แล้วมันให้ความรู้สึกในการขี่แทบไม่ต่างกัน ที่พวกมือโปรเขาเลือกยางทูบูล่าร์ก็เพราะเขามีรถบริการคอยขับตามไปตลอดทาง ส่วนพวกเราถ้ายางเกิดแตกขึ้นมาคงทำอะไรไม่ได้จริง ๆ นอกจากเดิน ถ้าในกลุ่มไม่มีใครพกยางสำรองติดตัวเลย
ถ้าคุณยังไม่มั่นใจว่าด้วยประสิทธิภาพแล้วมันแทบไม่ต่างกันแต่เราก็มีข้อคิดให้คุณได้อย่างหนึ่งคือ ถ้าหากจะใช้ยางทูบูล่าร์ คนในกลุ่มควรจะมีมันติดตัวไปด้วย หากเกิดปัญหาตรงนี้จะง่ายมากในการเปลี่ยน แต่ถ้าไม่มีมืออาชีพจริง ๆ อยู่ใกล้ตัว ยางคลินเซอร์แบบประกอบยางนอกและยางในเดิม ๆ นั่นก็ใช้ดีทีเดียว ราคาไม่แพง หาซื้อง่าย ประกอบล้อก็ง่าย จะพกยางในติดตัวไปพร้อมกับหลอดคาร์บอนได้ออกไซด์เพื่อเติมลมยางก็ได้ ง่ายกว่าตั้งเยอะ
การเลือกใช้ยางคลินเซอร์หรือทูบูล่าร์จึงน่าจะเป็นเรื่องรสนิยม หรือความชอบส่วนบุคคลมากกว่า เป็นเรื่องของสไตล์มากกว่าประโยชน์ใช้สอยจริง ๆ
วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558
Wagon Wheels ล้อใหญ่ได้เปรียบหรือไม่
Wagon Wheels ล้อใหญ่ได้เปรียบหรือไม่ [จักรยานเสือภูเขา Mountainbike]
หนึ่งในหัวข้อที่ได้รับการโต้แย้งมากที่สุดในตอนนี้ของจักรยานเสือภูเขาคือ วงล้อขนาด 29 นิ้ว จะให้ผลประโยชน์ที่สำคัญของการขี่ได้หรือไม่ อย่างไร หรือมันจะเป็นเพียงภาระของนักปั่นเท่านั้น เราจะช่วยนำเอาการเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ที่เกินจริงออกไปและจะนำความจริงมาเสนอให้คุณเห็น
ทุก ๆ ปีจะเห็นพวกมันเพิ่มจำนวนมากขึ้นในท้องตลาด และออกมามีบทบาทบนเส้นทาง ตัวแทนจำหน่ายของดีลเลอร์ในแถมอเมริการวมทั้งฝั่งอังกฤษ ซึ่งจะมีการจำหน่ายวงล้อขนาดใหญ่นี้จนถือว่าเป็นสินค้าหลักของแบรนด์จักรยานทั้งหมดในช่วงปี 2010 และตอนนี้ผู้แข่งขันระดับโลก ได้เริ่มที่จะเอาชนะกันด้วยวงล้อจักรยานเสือภูเขาที่มีขนาดใหญ่ บางที่นี่อาจจะเป็นเวลาที่แจ้งให้ทราบถึงการมาของมันแล้วก็ได้ขนาดเป็นเรื่องสำคัญ ย้อยกลับไปในปี 1986 Dr.Alex Moulton มีชื่อเสียงเรื่องสินค้าที่มีล้อขนาดเล็ก สะดวกสบายในการใช้งานของเขา มันเป็นล้อขนาด 20 นิ้ว แต่โชคร้ายที่ Moulton ATB มีข้อบกพร่องขั้นที่พื้นฐานพอสมควร ล้อขนาด 20 นิ้วของมันไม่เหมาะที่จะใช้งานในสภาพสนามที่ต้องมีการกระแทกมาก ๆ ถ้าคุณเคยขี่ BMX บนเส้นทางจักรยานเสือภูเขา คุณจะรู้ว่ามันไม่ใช่เป็นประสบการณ์ที่ดี มันยากที่จะใช้ขี่บนพื้นที่เป็นหลุมเป็นบ่อ ลองคิดภาพถึงมันดู มุมตื้นของล้อที่ใหญ่กว่าสามารถขี่ข้ามผืนดินที่ไม่เรียบขึ้น ๆ ลง ๆ ได้ง่ายมากขึ้น แต่พวกเราสามารถสันนิษฐานได้หรือไม่ว่าล้อที่ใหญ่กว่าจะขี่ข้ามพื้นดินที่ขรุขระได้เร็วขึ้น มันไม่เสมอไป [จักรยานเสือภูเขา Mountainbike] ในทางทฤษฎีทุก ๆ รูปแบบ รวมถึงยางขนาดใหญ่ ทำให้ผืนดินดูเหมือนราบเรียบ แต่การปรับติดตั้งให้ล้อมีขนาดประมาณ 29 นิ้ว นั้นมีความซับซ้อนมากกว่าขนาด 26 นิ้ว มันไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะทำให้สิ่งต่าง ๆ เข้ารูปพอดีโดยปราศจากการออกแบบเฟรมใหม่ และล้อที่ใหญ่มักจะต้องการการติดตั้งรูปแบบเรขาคณิตที่ต่างกันออกไปเพื่อที่จะทำให้จักรยานเสือภูเขา มีลักษณะที่ดีที่สุด ล้อที่ใหญ่และยางที่ใหญ่มีแนวโน้มที่จะทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น ดังนั้นพวกมันจะเร่งความเร็วได้ไม่ดีพอ และในขณะเดียวกัน มันมีโอกาสที่จะเกิดการกระแทกกับขอบหินได้ง่ายกว่า และเมื่อความเร็วลดลงมันก็ยากที่จะเร่งความเร็วด้วยอัตราทดการปั่นที่กว้างกว่าล้อเล็ก ตลาดของจักรยานเสือภูเขาตอนนี้ถูกครอบครองโดยล้อขนาด 26 นิ้ว พวกมันดีสำหรับผู้ขี่ที่มีรูปร่างขนาดปานกลางยางที่ใหญ่ที่มีอากาศอัดแน่นสามารถมีความใหญ่ได้ถึง 27.5 นิ้ว แต่บางทีมันไม่พอดีกับโช๊คหน้าขนาดปกติ หรือระหว่าง Chain stay จริง ๆ แล้วการทำให้ยางโปรไฟล์สูงพอดีกับล้อขนาด 26 นิ้ว จะทำให้คุณได้ไอเดียว่าล้อขนาด 27.5 นิ้ว กับยางโปรไฟล์ปกติจะให้ความรู้สึกเป็นครึ่งทางระหว่าง 26 นิ้ว และ 29 นิ้ว บางคนพูดว่ามันเป็นคำตอบที่สมบูรณ์แบบมันให้ความคล่องแคล่วว่องไวที่พวกเราเคยมี แต่กับการขี่ที่ราบรื่นค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป
ล้อขนาด 27.5 นิ้วสามารถสร้างให้มีน้ำหนักเบา และแข็งแรงกว่า 29 นิ้ว และรูปร่างของพวกมันก็ดูประณีตเรียบร้อยกว่า ไม่มีข้อสงสัยตัวสูง ๆ เมื่อกระแสของ 29 นิ้วออกมาในครั้งแรก พวกมันโชว์ศักยภาพออกมาแต่ถูกขัดขวางโดยตัวเลือกที่จำกัดของโช๊คหน้า และรูปทรงเรขาคณิตที่พยายามเลียนแบบ 26 นิ้ว Gary Fisher ผู้ที่ทำการวัดแบบ Genesis ในยุคต้น ๆ ได้ทำการวัดได้ แต่มันก็เป็นเพียงสองสามปีสุดท้ายที่นักออกแบบได้เริ่มต้นที่จะทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างไอเดียรูปทรงเรขาคณิต 26 นิ้วกับ 29 นิ้วจริง ๆ มันไม่ใช่แค่ลงไปดึง หรือบิด ดัดที่มุมองศาต่าง ๆ ของโช๊ค ท่อด้านบนและ Chain Stay ด้านล่าง ทั้งหมดมีหน้าที่ช่วยค้ำ และทำให้เกิดเสถียรภาพโดยรวม และทำให้รู้สึกว่าเรากำลังขี่อยู่บนจักรยานเสือภูเขา ที่สมบูรณ์แบบจริง ๆ
คนอเมริกันทั้งผู้หญิงและผู้ชายในการแข่งมาราธอน XC ปี 2009 และ 2010 พวกเค้าชนะการแข่งขันด้วยจักรยานเสือภูเขา ที่ใช้วงล้อ 29 นิ้ว และผู้แข่งหลายคนในทีม Trek ขี่ได้ดีขึ้นตั้งแต่เปลี่ยนมาขี่บนล้อ 29 นิ้ว รวมทั้ง Todd Wells ชนะสองรายการในการแข่งขันที่อเมริกาด้วยรถ Specialized Epic 29er โมเดล 2011 เมื่อเดือน กรกฎาคม ที่ผ่านมา มีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องพิจารณาล้อ 29 นิ้วโดยทั่วไปจะให้ความรู้สึกมั่นคง มีเสถียรภาพมากกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะระยะฐานล้อที่ยาวกว่า และมีด้านหลังที่ยาวกว่า แต่มันมีปัจจัยความมั่นคงอื่น ๆ นั่นก็คือ เพลาของล้อ 29 นิ้วถึงแม้ว่าจะสูงกว่า 26 นิ้วอยู่ 1.5 นิ้ว แต่เมื่อคุณนั่งให้อยู่ต่ำกว่าระหว่างเพลาของล้อ 29 นิ้ว มันทำให้คุณรู้สึกถึงจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงของตัวเองดีกว่าล้อขนาด 26 นิ้วคนขี่จะมีความมั่นคงมากกว่า เพราะน้ำหนักของร่ายกายคนเราอยู่บนแกนที่อยู่ต่ำกว่าแกนของล้อจักรยานนั่นเอง
บทสรุปข้อได้เปรียบและเสียเปรียบของล้อขนาด 29 นิ้ว [จักรยานเสือภูเขา Mountainbike]ข้อได้เปรียบ
– การขับเคลื่อนอย่างราบรื่น และเร็วเหนือหลุมบ่อ และองศาของการขึ้นไปกระแทกที่ขอบ เกิดแรงกระทำอย่างสบาย ๆ จะช่วยให้เกิดความมั่นใจมากขึ้นในการขี่ คุณจะได้รับแรงฉุดมากขึ้น เป็นผลมาจากกการที่ยางของล้อจักรยานเสือภูเขา อยู่ติดกับพื้นดินมากขึ้น แต่เฉพาะในกรณีที่คุณใช้ประโยชน์จากปริมาณของลมที่มากขึ้น และทำให้ล้อนุ่มกว่าวงล้อ 26 นิ้ว การขับเคลื่อนที่แรงมากขึ้นด้วยความเร็วสูงทำให้มีเสถียรภาพมากขึ้น เพราะระยะฐานล้อที่ยาวกว่า และศูนย์เพลาข้อเหวี่ยง ประกอบกับท่านั่งที่ต่ำกว่าแกนกลางเพลาล้อเมื่อเปรียบกับล้อ 26 นิ้วที่คล้ายกัน เหตุผลหลักที่ห่วง หรือขอบล้อขนาดใหญ่กว่าสามารถหมุนไปได้อย่างราบเรียบกว่าคือมุมของเส้นโค้ง ลองหมุน Hula Hoop ดู หลังจากนั้นลองทำแบบเดียวกันกับวงแหวนผ้าเช็ดปาก มันมีความแตกต่างกัน แต่คุณก็ได้ไอเดียจาก ทั้งสองอย่างไปมุมตื้นของส่วนโค้งมันไม่ได้รับผลกระทบจากการกระเทือน เพราะมันจะข้ามให้พ้น ช่องว่างของรูปแบบขอบที่ยาก ๆ และนี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมขี่ BMX ลงตามขั้นบันไดถึงยากกว่าบน จักรยานเสือภูเขา
ข้อเสียเปรียบ
– มันยากที่จะเร่งความเร็วจากความเร็วช้า ดังนั้นการกระแทกจากสาเหตุต่าง ๆ มันมีผลให้ความเร็วลดลงคุณควรขี่ให้ช้าลง เนื่องจากความต้องการ หรือความพยายามที่จะให้ความเร็วกลับขึ้นมาหลังจากการเบรกมันยากที่จะทำ Manual Wheelies เนื่องจากเพลาล้อที่สูงกว่า มันยากที่จะสร้างล้อที่ใหญ่ที่มีความแข็งแรงมากสำหรับการขี่ Freeride และการขี่ Downhill
และนี่คือทั้งหมดก่อนที่คุณจะเริ่มพิจารณาหันมาใช้ล้อที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อย่าลืมข้อดีข้อด้อยของ Chainstay ที่ยาวขึ้น ระยะฐานล้อที่ยาวขึ้น และวิธีที่ยางสัมผัสกับพื้นสนาม มันมีอิทธิพลต่อจักรยานเวลาอยู่บนพื้นดินอย่างไร ไอเดียองค์ประกอบต่าง ๆ ของ 29 นิ้ว ในอุตสาหกรรมการผลิตของโลกจักรยานเสือภูเขา ยังคงมีการคิดค้นอยู่อย่างต่อเนื่องในลักษณะที่คล้ายกันกับความนิยมของล้อ 26 นิ้ว
หนึ่งในหัวข้อที่ได้รับการโต้แย้งมากที่สุดในตอนนี้ของจักรยานเสือภูเขาคือ วงล้อขนาด 29 นิ้ว จะให้ผลประโยชน์ที่สำคัญของการขี่ได้หรือไม่ อย่างไร หรือมันจะเป็นเพียงภาระของนักปั่นเท่านั้น เราจะช่วยนำเอาการเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ที่เกินจริงออกไปและจะนำความจริงมาเสนอให้คุณเห็น
ทุก ๆ ปีจะเห็นพวกมันเพิ่มจำนวนมากขึ้นในท้องตลาด และออกมามีบทบาทบนเส้นทาง ตัวแทนจำหน่ายของดีลเลอร์ในแถมอเมริการวมทั้งฝั่งอังกฤษ ซึ่งจะมีการจำหน่ายวงล้อขนาดใหญ่นี้จนถือว่าเป็นสินค้าหลักของแบรนด์จักรยานทั้งหมดในช่วงปี 2010 และตอนนี้ผู้แข่งขันระดับโลก ได้เริ่มที่จะเอาชนะกันด้วยวงล้อจักรยานเสือภูเขาที่มีขนาดใหญ่ บางที่นี่อาจจะเป็นเวลาที่แจ้งให้ทราบถึงการมาของมันแล้วก็ได้ขนาดเป็นเรื่องสำคัญ ย้อยกลับไปในปี 1986 Dr.Alex Moulton มีชื่อเสียงเรื่องสินค้าที่มีล้อขนาดเล็ก สะดวกสบายในการใช้งานของเขา มันเป็นล้อขนาด 20 นิ้ว แต่โชคร้ายที่ Moulton ATB มีข้อบกพร่องขั้นที่พื้นฐานพอสมควร ล้อขนาด 20 นิ้วของมันไม่เหมาะที่จะใช้งานในสภาพสนามที่ต้องมีการกระแทกมาก ๆ ถ้าคุณเคยขี่ BMX บนเส้นทางจักรยานเสือภูเขา คุณจะรู้ว่ามันไม่ใช่เป็นประสบการณ์ที่ดี มันยากที่จะใช้ขี่บนพื้นที่เป็นหลุมเป็นบ่อ ลองคิดภาพถึงมันดู มุมตื้นของล้อที่ใหญ่กว่าสามารถขี่ข้ามผืนดินที่ไม่เรียบขึ้น ๆ ลง ๆ ได้ง่ายมากขึ้น แต่พวกเราสามารถสันนิษฐานได้หรือไม่ว่าล้อที่ใหญ่กว่าจะขี่ข้ามพื้นดินที่ขรุขระได้เร็วขึ้น มันไม่เสมอไป [จักรยานเสือภูเขา Mountainbike] ในทางทฤษฎีทุก ๆ รูปแบบ รวมถึงยางขนาดใหญ่ ทำให้ผืนดินดูเหมือนราบเรียบ แต่การปรับติดตั้งให้ล้อมีขนาดประมาณ 29 นิ้ว นั้นมีความซับซ้อนมากกว่าขนาด 26 นิ้ว มันไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะทำให้สิ่งต่าง ๆ เข้ารูปพอดีโดยปราศจากการออกแบบเฟรมใหม่ และล้อที่ใหญ่มักจะต้องการการติดตั้งรูปแบบเรขาคณิตที่ต่างกันออกไปเพื่อที่จะทำให้จักรยานเสือภูเขา มีลักษณะที่ดีที่สุด ล้อที่ใหญ่และยางที่ใหญ่มีแนวโน้มที่จะทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น ดังนั้นพวกมันจะเร่งความเร็วได้ไม่ดีพอ และในขณะเดียวกัน มันมีโอกาสที่จะเกิดการกระแทกกับขอบหินได้ง่ายกว่า และเมื่อความเร็วลดลงมันก็ยากที่จะเร่งความเร็วด้วยอัตราทดการปั่นที่กว้างกว่าล้อเล็ก ตลาดของจักรยานเสือภูเขาตอนนี้ถูกครอบครองโดยล้อขนาด 26 นิ้ว พวกมันดีสำหรับผู้ขี่ที่มีรูปร่างขนาดปานกลางยางที่ใหญ่ที่มีอากาศอัดแน่นสามารถมีความใหญ่ได้ถึง 27.5 นิ้ว แต่บางทีมันไม่พอดีกับโช๊คหน้าขนาดปกติ หรือระหว่าง Chain stay จริง ๆ แล้วการทำให้ยางโปรไฟล์สูงพอดีกับล้อขนาด 26 นิ้ว จะทำให้คุณได้ไอเดียว่าล้อขนาด 27.5 นิ้ว กับยางโปรไฟล์ปกติจะให้ความรู้สึกเป็นครึ่งทางระหว่าง 26 นิ้ว และ 29 นิ้ว บางคนพูดว่ามันเป็นคำตอบที่สมบูรณ์แบบมันให้ความคล่องแคล่วว่องไวที่พวกเราเคยมี แต่กับการขี่ที่ราบรื่นค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป
ล้อขนาด 27.5 นิ้วสามารถสร้างให้มีน้ำหนักเบา และแข็งแรงกว่า 29 นิ้ว และรูปร่างของพวกมันก็ดูประณีตเรียบร้อยกว่า ไม่มีข้อสงสัยตัวสูง ๆ เมื่อกระแสของ 29 นิ้วออกมาในครั้งแรก พวกมันโชว์ศักยภาพออกมาแต่ถูกขัดขวางโดยตัวเลือกที่จำกัดของโช๊คหน้า และรูปทรงเรขาคณิตที่พยายามเลียนแบบ 26 นิ้ว Gary Fisher ผู้ที่ทำการวัดแบบ Genesis ในยุคต้น ๆ ได้ทำการวัดได้ แต่มันก็เป็นเพียงสองสามปีสุดท้ายที่นักออกแบบได้เริ่มต้นที่จะทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างไอเดียรูปทรงเรขาคณิต 26 นิ้วกับ 29 นิ้วจริง ๆ มันไม่ใช่แค่ลงไปดึง หรือบิด ดัดที่มุมองศาต่าง ๆ ของโช๊ค ท่อด้านบนและ Chain Stay ด้านล่าง ทั้งหมดมีหน้าที่ช่วยค้ำ และทำให้เกิดเสถียรภาพโดยรวม และทำให้รู้สึกว่าเรากำลังขี่อยู่บนจักรยานเสือภูเขา ที่สมบูรณ์แบบจริง ๆ
คนอเมริกันทั้งผู้หญิงและผู้ชายในการแข่งมาราธอน XC ปี 2009 และ 2010 พวกเค้าชนะการแข่งขันด้วยจักรยานเสือภูเขา ที่ใช้วงล้อ 29 นิ้ว และผู้แข่งหลายคนในทีม Trek ขี่ได้ดีขึ้นตั้งแต่เปลี่ยนมาขี่บนล้อ 29 นิ้ว รวมทั้ง Todd Wells ชนะสองรายการในการแข่งขันที่อเมริกาด้วยรถ Specialized Epic 29er โมเดล 2011 เมื่อเดือน กรกฎาคม ที่ผ่านมา มีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องพิจารณาล้อ 29 นิ้วโดยทั่วไปจะให้ความรู้สึกมั่นคง มีเสถียรภาพมากกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะระยะฐานล้อที่ยาวกว่า และมีด้านหลังที่ยาวกว่า แต่มันมีปัจจัยความมั่นคงอื่น ๆ นั่นก็คือ เพลาของล้อ 29 นิ้วถึงแม้ว่าจะสูงกว่า 26 นิ้วอยู่ 1.5 นิ้ว แต่เมื่อคุณนั่งให้อยู่ต่ำกว่าระหว่างเพลาของล้อ 29 นิ้ว มันทำให้คุณรู้สึกถึงจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงของตัวเองดีกว่าล้อขนาด 26 นิ้วคนขี่จะมีความมั่นคงมากกว่า เพราะน้ำหนักของร่ายกายคนเราอยู่บนแกนที่อยู่ต่ำกว่าแกนของล้อจักรยานนั่นเอง
บทสรุปข้อได้เปรียบและเสียเปรียบของล้อขนาด 29 นิ้ว [จักรยานเสือภูเขา Mountainbike]ข้อได้เปรียบ
– การขับเคลื่อนอย่างราบรื่น และเร็วเหนือหลุมบ่อ และองศาของการขึ้นไปกระแทกที่ขอบ เกิดแรงกระทำอย่างสบาย ๆ จะช่วยให้เกิดความมั่นใจมากขึ้นในการขี่ คุณจะได้รับแรงฉุดมากขึ้น เป็นผลมาจากกการที่ยางของล้อจักรยานเสือภูเขา อยู่ติดกับพื้นดินมากขึ้น แต่เฉพาะในกรณีที่คุณใช้ประโยชน์จากปริมาณของลมที่มากขึ้น และทำให้ล้อนุ่มกว่าวงล้อ 26 นิ้ว การขับเคลื่อนที่แรงมากขึ้นด้วยความเร็วสูงทำให้มีเสถียรภาพมากขึ้น เพราะระยะฐานล้อที่ยาวกว่า และศูนย์เพลาข้อเหวี่ยง ประกอบกับท่านั่งที่ต่ำกว่าแกนกลางเพลาล้อเมื่อเปรียบกับล้อ 26 นิ้วที่คล้ายกัน เหตุผลหลักที่ห่วง หรือขอบล้อขนาดใหญ่กว่าสามารถหมุนไปได้อย่างราบเรียบกว่าคือมุมของเส้นโค้ง ลองหมุน Hula Hoop ดู หลังจากนั้นลองทำแบบเดียวกันกับวงแหวนผ้าเช็ดปาก มันมีความแตกต่างกัน แต่คุณก็ได้ไอเดียจาก ทั้งสองอย่างไปมุมตื้นของส่วนโค้งมันไม่ได้รับผลกระทบจากการกระเทือน เพราะมันจะข้ามให้พ้น ช่องว่างของรูปแบบขอบที่ยาก ๆ และนี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมขี่ BMX ลงตามขั้นบันไดถึงยากกว่าบน จักรยานเสือภูเขา
ข้อเสียเปรียบ
– มันยากที่จะเร่งความเร็วจากความเร็วช้า ดังนั้นการกระแทกจากสาเหตุต่าง ๆ มันมีผลให้ความเร็วลดลงคุณควรขี่ให้ช้าลง เนื่องจากความต้องการ หรือความพยายามที่จะให้ความเร็วกลับขึ้นมาหลังจากการเบรกมันยากที่จะทำ Manual Wheelies เนื่องจากเพลาล้อที่สูงกว่า มันยากที่จะสร้างล้อที่ใหญ่ที่มีความแข็งแรงมากสำหรับการขี่ Freeride และการขี่ Downhill
และนี่คือทั้งหมดก่อนที่คุณจะเริ่มพิจารณาหันมาใช้ล้อที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อย่าลืมข้อดีข้อด้อยของ Chainstay ที่ยาวขึ้น ระยะฐานล้อที่ยาวขึ้น และวิธีที่ยางสัมผัสกับพื้นสนาม มันมีอิทธิพลต่อจักรยานเวลาอยู่บนพื้นดินอย่างไร ไอเดียองค์ประกอบต่าง ๆ ของ 29 นิ้ว ในอุตสาหกรรมการผลิตของโลกจักรยานเสือภูเขา ยังคงมีการคิดค้นอยู่อย่างต่อเนื่องในลักษณะที่คล้ายกันกับความนิยมของล้อ 26 นิ้ว
Bar End (บาร์เอนด์) อุปกรณ์สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
Bar End (บาร์เอนด์) อุปกรณ์สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
Bar End อุปกรณ์ที่หลายคนอาจมองข้ามแต่อีกหลายคนอาจเห็นเป็นเรื่องสำคัญ เป็นอุปกรณ์เสริมที่ติดตั้งอยู่ส่วนปลายของแฮนด์ ที่บางครั้งอาจมองเป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับรถคันเก่งของคุณ บางคันใส่บางคันไม่ใส่ทำไมถึงไม่ใส่แล้วถ้าใส่จะมีประโยชน์อะไร คงขอบอกว่ามีประโยชน์แน่นอน หากรู้จักที่จะใช้เพราะจักรยานเสือภูเขาที่ใช้แฮนด์แบบตรงน้ำหนักตัวจะกดมาที่มือมากกว่าแฮนด์แบบยก และมีตำแหน่งในการวางมืออยู่เพียงตำแหน่งเดียว เมื่อเราปั่นจักรยานเป็นระยะทางยาว ๆ (บางคนปั่นไปไม่นานก็มีอาการแล้ว) จะเกิดความเมื่อยล้าที่หลังหรือชาที่มือขึ้นได้หากเราไม่มีการเปลี่ยนตำแหน่งการวางมือบ้าง การใส่บาร์เอนด์จึงถือเป็นการเพิ่มตำแหน่งในการวางมือจับแฮนด์ ให้เราได้เปลี่ยนอิริยาบถของลำตัวและการจับแฮนด์ บาร์เอนจะสร้างประโยชน์ให้อย่างมากทั้งในทางเรียบและทางชัน ด้วยท่าการจับที่ต่างกัน ในทางเรียบการจับที่แฮนด์แนวของฝ่ามือจะอยู่เป็นแนวเดียวกันกับแฮนด์เมื่อทอดตัวลงหมอบแขนจะอยู่ใต้ลำตัวทำให้ลงได้ไม่ต่ำมาก ส่วนการจับที่บาร์เอนแนวของฝ่ามือจะตั้งกับแฮนด์ช่วยให้แขนอยู่ด้านข้างการทอดลำตัวไปข้างหน้าหมอบลงได้มากขึ้นหัวไหล่เคลื่อนไหวได้คล่องตัวกว่า แขนไม่บีบหน้าอกช่วยให้การหายใจคล่องขึ้นอีกด้วย เมื่อเรายืนโยกไม่ว่าจะในช่วงทางราบหรือทางชันการจับที่บาร์เอนจะช่วยให้เรามีแรงกดมากขึ้นเพราะเราจะยกตัวได้สูงขึ้นกว่าการจับที่แฮนด์ทั้งยังให้ความมั่นคงมากกว่า เพราะท่าทางในการจับที่ต่างกัน น้ำหนักจะถูกถ่ายไปที่ด้านหน้าช่วยลดแรงเสียดทานที่ล้อหลังเมื่อนั่งปั่นขึ้นทางชันการจับที่บาร์เอนด์จะช่วยให้ถ่ายน้ำหนักมาด้านหน้าด้วยการดึงที่บาร์เอนด์
การเลือกใช้ในเรื่องของขนาด รูปทรง ความยาวและผิวจึงขึ้นอยู่กับความชอบและความพอดีของแต่ละคน สำหรับคนมือใหญ่การใช้บาร์เอนด์ที่มีขนาดเล็กคงไม่เหมาะนักเพราะจะจับได้ไม่ถนัดมือ คนที่มือเล็กการใช้บาร์เอนด์ที่มีขนาดใหญ่เกินไปก็จะทำให้จับได้ไม่มั่นคง ควรเลือกแบบที่กำแล้วพอดีกับฝ่ามือ บาร์เอนด์แต่ละยี่ห้อจะมีรูปทรงและขนาดต่างกันออกไป แต่ที่เหมือนกันนั่นคือเป็นแท่งติดที่ปลายแฮนด์ มีทั้งแบบตรงตั้งฉากกับแฮนด์ ตรงเฉียงเข้าด้านในตรงขึ้นไปแล้วช่วงปลายงอเข้ามีความยาวที่แตกต่างกัน รูปทรงที่มีทั้งกลมตลอด กลมเป็นร่องรูปคลื่น วงรี เหลี่ยมขอบมน ผิวเรียบมัน มีลายบ้างขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละยี่ห้อ วัสดุที่นำมาผลิตมีตั้งแต่เหล็ก อะลูมิเนียม ไปจนถึงคาร์บอนไฟเบอร์และล่าสุดเป็นยางที่ให้ความนุ่มมือมากขึ้น สำหรับอะลูมิเนียมมีหลายสีให้เลือก ทั้งยังมีน้ำหนักเบาไม่หนีคาร์บอนไฟเบอร์
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดตั้งบาร์เอนด์ตั้งแต่แรก ต้องดูก่อนว่าแฮนด์ของคุณมีความกว้างอยู่เท่าไหร่ หากเป็นแฮนด์เดิม ๆ ที่ยังไม่เคยตัดเลยก็ไม่มีปัญหา โดยปกติแฮนด์จะมีความกว้างมากกว่าหัวไหล่อยู่แล้ว ถ้าหากเป็นแฮนด์ที่ตัดแล้วต้องดูว่ามีความยาวพอหรือไม่ เพราะบาร์เอนด์จะกินเนื้อที่ของแฮนด์จากส่วนปลายเข้าไปประมาณ 2-3 เซนติเมตร ทำให้ต้องเลื่อนมือเกียร์ มือเบรกและปลอกแฮนด์เข้าไปด้านใน เนื่องจากแฮนด์ทุกแบบช่วงกึ่งกลางของแฮนด์จะป่องออกมาแล้วจึงค่อย ๆ เล็กลงโดยเฉพาะแฮนด์ที่เป็นแบบ Over Size จะป่องออกมามาก การเลื่อนมือเกียร์ มือเบรกและปลอกแฮนด์เข้าไปด้านจึงมีขีดจำกัด ดังนั้นก่อนที่จะหาบาร์เอนด์มาใส่ต้องลองดูก่อนว่าจะสามารถเลื่อนมือเกียร์ มือเบรกและปลอกแฮนด์เข้าไปได้เท่าไหร่หากคุณตัดแฮนด์โดยใช้ขนาดความกว้างเท่ากับหัวไหล่แล้วคงต้องแนะนำให้เปลี่ยนแฮนด์หรือตัดปลอกแฮนด์เท่านั้น การเลือกที่จะตัดเฉพาะในกรณีที่ปลอกแฮนด์ยาวเกินมือออกมาแต่ต้องไม่กระทบกับการจับแฮนด์ในท่าปกติ ตำแหน่งการวางมือต้องไม่แคบกว่าหัวไหล่เป็นอันขาด เนื่องจากจะทำให้จับแฮนด์ไม่ถนัดและการหายใจจะไม่ค่อยสะดวก นอกจากนี้ยังส่งผลให้หน้ารถไวควบคุมยาก
การติดตั้งบาร์เอนด์ไม่ใช่เรื่องยาก สามารถทำได้ด้วยตนเอง เพียงรุ่นมือเกียร์ มือเบรกและปลอกแฮนด์เข้าไปด้านใน สวมบาร์เอนด์เข้ากับแฮนด์ให้ขอบด้านนอกของบาร์เอนด์อยู่พอดีกับปลายแฮนด์ ให้บาร์เอนด์ทำมุมกับพื้นประมาณ 10-45 องศา ขึ้นอยู่กับความชอบ ความพอดีและวัตถุประสงค์ของแต่ละคนว่าจะเน้นไปทางไหน หากต้องการเน้นไปในทางเรียบก็ตั้งให้เอนไปด้านหน้า(ทำมุมน้อย) หากเน้นไปในทางขึ้นเขาชันก็เอนมาหาตัว (ทำมุมมาก) แต่ต้องไม่ตั้งจนเกินไปเพราะจะทำให้น้ำหนักไม่ถ่ายไปด้านหน้า ที่สำคัญอีกอย่างคือต้องขันให้แน่นไม่เช่นนั้น เวลาเรากระชากหรือยืนโยกอาจจะรูดได้นั่นหมายถึงการเจ็บตัวแน่ แต่ต้องระวังอย่างขันแน่นจนเกินที่กำหนด เพราะอาจจะทำให้ขาของบาร์เอนด์หักหรือแฮนด์แตกได้ ส่วนใหญ่บาร์เอนด์จะหักก่อน นอกจะจะมีประโยชน์แล้วยังทำให้ดูสวยงามอีกด้วย
Bar End อุปกรณ์ที่หลายคนอาจมองข้ามแต่อีกหลายคนอาจเห็นเป็นเรื่องสำคัญ เป็นอุปกรณ์เสริมที่ติดตั้งอยู่ส่วนปลายของแฮนด์ ที่บางครั้งอาจมองเป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับรถคันเก่งของคุณ บางคันใส่บางคันไม่ใส่ทำไมถึงไม่ใส่แล้วถ้าใส่จะมีประโยชน์อะไร คงขอบอกว่ามีประโยชน์แน่นอน หากรู้จักที่จะใช้เพราะจักรยานเสือภูเขาที่ใช้แฮนด์แบบตรงน้ำหนักตัวจะกดมาที่มือมากกว่าแฮนด์แบบยก และมีตำแหน่งในการวางมืออยู่เพียงตำแหน่งเดียว เมื่อเราปั่นจักรยานเป็นระยะทางยาว ๆ (บางคนปั่นไปไม่นานก็มีอาการแล้ว) จะเกิดความเมื่อยล้าที่หลังหรือชาที่มือขึ้นได้หากเราไม่มีการเปลี่ยนตำแหน่งการวางมือบ้าง การใส่บาร์เอนด์จึงถือเป็นการเพิ่มตำแหน่งในการวางมือจับแฮนด์ ให้เราได้เปลี่ยนอิริยาบถของลำตัวและการจับแฮนด์ บาร์เอนจะสร้างประโยชน์ให้อย่างมากทั้งในทางเรียบและทางชัน ด้วยท่าการจับที่ต่างกัน ในทางเรียบการจับที่แฮนด์แนวของฝ่ามือจะอยู่เป็นแนวเดียวกันกับแฮนด์เมื่อทอดตัวลงหมอบแขนจะอยู่ใต้ลำตัวทำให้ลงได้ไม่ต่ำมาก ส่วนการจับที่บาร์เอนแนวของฝ่ามือจะตั้งกับแฮนด์ช่วยให้แขนอยู่ด้านข้างการทอดลำตัวไปข้างหน้าหมอบลงได้มากขึ้นหัวไหล่เคลื่อนไหวได้คล่องตัวกว่า แขนไม่บีบหน้าอกช่วยให้การหายใจคล่องขึ้นอีกด้วย เมื่อเรายืนโยกไม่ว่าจะในช่วงทางราบหรือทางชันการจับที่บาร์เอนจะช่วยให้เรามีแรงกดมากขึ้นเพราะเราจะยกตัวได้สูงขึ้นกว่าการจับที่แฮนด์ทั้งยังให้ความมั่นคงมากกว่า เพราะท่าทางในการจับที่ต่างกัน น้ำหนักจะถูกถ่ายไปที่ด้านหน้าช่วยลดแรงเสียดทานที่ล้อหลังเมื่อนั่งปั่นขึ้นทางชันการจับที่บาร์เอนด์จะช่วยให้ถ่ายน้ำหนักมาด้านหน้าด้วยการดึงที่บาร์เอนด์
การเลือกใช้ในเรื่องของขนาด รูปทรง ความยาวและผิวจึงขึ้นอยู่กับความชอบและความพอดีของแต่ละคน สำหรับคนมือใหญ่การใช้บาร์เอนด์ที่มีขนาดเล็กคงไม่เหมาะนักเพราะจะจับได้ไม่ถนัดมือ คนที่มือเล็กการใช้บาร์เอนด์ที่มีขนาดใหญ่เกินไปก็จะทำให้จับได้ไม่มั่นคง ควรเลือกแบบที่กำแล้วพอดีกับฝ่ามือ บาร์เอนด์แต่ละยี่ห้อจะมีรูปทรงและขนาดต่างกันออกไป แต่ที่เหมือนกันนั่นคือเป็นแท่งติดที่ปลายแฮนด์ มีทั้งแบบตรงตั้งฉากกับแฮนด์ ตรงเฉียงเข้าด้านในตรงขึ้นไปแล้วช่วงปลายงอเข้ามีความยาวที่แตกต่างกัน รูปทรงที่มีทั้งกลมตลอด กลมเป็นร่องรูปคลื่น วงรี เหลี่ยมขอบมน ผิวเรียบมัน มีลายบ้างขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละยี่ห้อ วัสดุที่นำมาผลิตมีตั้งแต่เหล็ก อะลูมิเนียม ไปจนถึงคาร์บอนไฟเบอร์และล่าสุดเป็นยางที่ให้ความนุ่มมือมากขึ้น สำหรับอะลูมิเนียมมีหลายสีให้เลือก ทั้งยังมีน้ำหนักเบาไม่หนีคาร์บอนไฟเบอร์
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดตั้งบาร์เอนด์ตั้งแต่แรก ต้องดูก่อนว่าแฮนด์ของคุณมีความกว้างอยู่เท่าไหร่ หากเป็นแฮนด์เดิม ๆ ที่ยังไม่เคยตัดเลยก็ไม่มีปัญหา โดยปกติแฮนด์จะมีความกว้างมากกว่าหัวไหล่อยู่แล้ว ถ้าหากเป็นแฮนด์ที่ตัดแล้วต้องดูว่ามีความยาวพอหรือไม่ เพราะบาร์เอนด์จะกินเนื้อที่ของแฮนด์จากส่วนปลายเข้าไปประมาณ 2-3 เซนติเมตร ทำให้ต้องเลื่อนมือเกียร์ มือเบรกและปลอกแฮนด์เข้าไปด้านใน เนื่องจากแฮนด์ทุกแบบช่วงกึ่งกลางของแฮนด์จะป่องออกมาแล้วจึงค่อย ๆ เล็กลงโดยเฉพาะแฮนด์ที่เป็นแบบ Over Size จะป่องออกมามาก การเลื่อนมือเกียร์ มือเบรกและปลอกแฮนด์เข้าไปด้านจึงมีขีดจำกัด ดังนั้นก่อนที่จะหาบาร์เอนด์มาใส่ต้องลองดูก่อนว่าจะสามารถเลื่อนมือเกียร์ มือเบรกและปลอกแฮนด์เข้าไปได้เท่าไหร่หากคุณตัดแฮนด์โดยใช้ขนาดความกว้างเท่ากับหัวไหล่แล้วคงต้องแนะนำให้เปลี่ยนแฮนด์หรือตัดปลอกแฮนด์เท่านั้น การเลือกที่จะตัดเฉพาะในกรณีที่ปลอกแฮนด์ยาวเกินมือออกมาแต่ต้องไม่กระทบกับการจับแฮนด์ในท่าปกติ ตำแหน่งการวางมือต้องไม่แคบกว่าหัวไหล่เป็นอันขาด เนื่องจากจะทำให้จับแฮนด์ไม่ถนัดและการหายใจจะไม่ค่อยสะดวก นอกจากนี้ยังส่งผลให้หน้ารถไวควบคุมยาก
การติดตั้งบาร์เอนด์ไม่ใช่เรื่องยาก สามารถทำได้ด้วยตนเอง เพียงรุ่นมือเกียร์ มือเบรกและปลอกแฮนด์เข้าไปด้านใน สวมบาร์เอนด์เข้ากับแฮนด์ให้ขอบด้านนอกของบาร์เอนด์อยู่พอดีกับปลายแฮนด์ ให้บาร์เอนด์ทำมุมกับพื้นประมาณ 10-45 องศา ขึ้นอยู่กับความชอบ ความพอดีและวัตถุประสงค์ของแต่ละคนว่าจะเน้นไปทางไหน หากต้องการเน้นไปในทางเรียบก็ตั้งให้เอนไปด้านหน้า(ทำมุมน้อย) หากเน้นไปในทางขึ้นเขาชันก็เอนมาหาตัว (ทำมุมมาก) แต่ต้องไม่ตั้งจนเกินไปเพราะจะทำให้น้ำหนักไม่ถ่ายไปด้านหน้า ที่สำคัญอีกอย่างคือต้องขันให้แน่นไม่เช่นนั้น เวลาเรากระชากหรือยืนโยกอาจจะรูดได้นั่นหมายถึงการเจ็บตัวแน่ แต่ต้องระวังอย่างขันแน่นจนเกินที่กำหนด เพราะอาจจะทำให้ขาของบาร์เอนด์หักหรือแฮนด์แตกได้ ส่วนใหญ่บาร์เอนด์จะหักก่อน นอกจะจะมีประโยชน์แล้วยังทำให้ดูสวยงามอีกด้วย
ประเภทและการเลือกใช้ยางเสือภูเขา
สำหรับยางที่ใช้ในจักรยานเสือภูเขานั้นจะแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1. แบ่งตามประเภทของการใช้งาน
2. แบ่งตามลักษณะทางกายภาพของยาง
1. แบ่งตามประเภทของการใช้งาน ได้แก่ ทางขรุขระ ทางโคลน ทางเรียน นักปั่นจักรยานที่ชอบขี่ไปในแทรกทางขรุขระ ทางลูกรังที่เป็นทางที่แห้ง ก็ควรใช้ยางที่มีดอกยางบั้งถี่ ๆ ซึ่งจะช่วยในการยึดเกาะได้ดี ถ้าหากวันไหนจะต้องไปลุยกับโคลนพื้นเฉอะแฉะเป็นดินเหนียว ยางที่ใช้ก็ควรจะมีดอกยางที่ห่างซึ่งจะช่วยในการสะบัดโคลนไม่ให้ติดยางมากเกินไป และส่วนใหญ่ขี่บนถนนทางเรียบเป็นส่วนใหญ่ ก็ให้เลือกใช้ยางที่ไม่มีดอกยาง (ยาง Slick) และถ้าผิวถนนมีน้ำหรือฝนตกก็ให้เลือกใช้ยางที่มีดอกยางละเอียด (Semi Slick) ซึ่งดอกยางที่ละเอียดจะช่วยรีดน้ำและช่วยในการยึดเกาะกนนที่เปียกน้ำได้ดีครับ และยางอีกประเภทคือยางที่ใช้กับยางเสือภูเขาประเภทดาวน์ฮิลล์ ซึ่งจะมีดอกยางที่ใหญ่มากเป็นพิเศษ เพื่อรองรับการกระแทกและช่วยในการยึดเกาะในการลงมาจากที่สูง
2. แบ่งตามลักษณะทางกายภาพของยาง ซึ่งแบ่งได้อีก 4 ประเภทดังนี้
2.1 ยางขอบแข็งหรือที่เราชอบเรียกกันว่ายางงัด เป็นยางยุคบุกเบิกเริ่มแรกที่ใช้ในจักรยานจนถึงปัจจุบัน โดยขอบของยางจะมีความแข็งซึ่งขอบของยางชนิดนี้จะทำด้วยเส้นลวด ข้อเสียของยางงัดคือมันมีน้ำหนักมากถอดเปลี่ยนลำบาก ต้องมีอุปกรณ์ในการช่วยงัดยางออกมา เปลืองเนื้อที่ในการเก็บ พกพาไม่สะดวก มีโอกาสที่จะทำให้ยางในขาดได้ง่าย ตอนที่งัดยางกลับเข้าวงล้อ ข้อดีของยางงัด มีราคาถูก มีอายุการใช้งานทนทานกว่า
2.2 ยางขอบอ่อนหรือยางพับ ซึ่งเป็นยางที่พัฒนาขึ้นมาใหม่จากยางยุคแรก ขอบของยางจะทำมาจากวัสดุที่มีความยึดหยุ่นสูง สามารถพับเก็บได้สะดวก มีน้ำหนักเบา ประหยัดเนื้อที่ในการเก็บ พกพาสะดวก ข้อเสียคือราคาแพงอายุการใช้งาน ความทนทานน้อยกว่าแบบแรก
2.3 ยางนอกประเภทที่ใช้ยางใน ซึ่งก็เป็นแบบที่ใช้กันมานาน โดยจะมียางชั้นในทำหน้าที่กักเก็บลมเอาไว้ และมีจุกเติมลมโผล่ทะลุออกมาจากขอบล้อยาง ยางในจะทำหน้าที่คอยพยุงยางนอกให้ทรงตัวอยู่ได้ ข้อดีคือมีน้ำหนักพอประมาณ ราคาไม่แพง อัตราการซึมของลมมีน้อย
2.4 ยางนอกประเภทที่ไม่ใช้ยางใน ทู๊ปเลส (Tube less) เป็นยางที่ไม่ใช้ยางในในการกักเก็บลม แต่ใช้ตัวมันเองและวงล้อในการกักเก็บลม ซึ่งจะใช้หลักการเดียวกันกับยางรถยนต์แต่เมื่อนำมาใช้ในรถจักรยานประสิทธิภาพในการกักเก็บลมจะด้อยกว่า เวลาใช้จะต้องเติมน้ำยากันรั่วซึมเข้าไปด้วย ข้อดีคือไม่ต้องเสียเวลามานั่งปะยาง เมื่อมีของแข็งแทงทะละยาง ก็ยังสามารถขี่ต่อไปได้ ข้อเสียคือมีน้ำหนักค่อนข้างมาก มีการรั่วซึมของลมยางค่อนข้างสูง และมีราคาแพง หวังว่าเพื่อน ๆ คงจะเลือกใช้ยางได้ถูกตามสถานการณ์ และกำลังทรัพย์ของแต่ละคนนะครับ
1. แบ่งตามประเภทของการใช้งาน
2. แบ่งตามลักษณะทางกายภาพของยาง
1. แบ่งตามประเภทของการใช้งาน ได้แก่ ทางขรุขระ ทางโคลน ทางเรียน นักปั่นจักรยานที่ชอบขี่ไปในแทรกทางขรุขระ ทางลูกรังที่เป็นทางที่แห้ง ก็ควรใช้ยางที่มีดอกยางบั้งถี่ ๆ ซึ่งจะช่วยในการยึดเกาะได้ดี ถ้าหากวันไหนจะต้องไปลุยกับโคลนพื้นเฉอะแฉะเป็นดินเหนียว ยางที่ใช้ก็ควรจะมีดอกยางที่ห่างซึ่งจะช่วยในการสะบัดโคลนไม่ให้ติดยางมากเกินไป และส่วนใหญ่ขี่บนถนนทางเรียบเป็นส่วนใหญ่ ก็ให้เลือกใช้ยางที่ไม่มีดอกยาง (ยาง Slick) และถ้าผิวถนนมีน้ำหรือฝนตกก็ให้เลือกใช้ยางที่มีดอกยางละเอียด (Semi Slick) ซึ่งดอกยางที่ละเอียดจะช่วยรีดน้ำและช่วยในการยึดเกาะกนนที่เปียกน้ำได้ดีครับ และยางอีกประเภทคือยางที่ใช้กับยางเสือภูเขาประเภทดาวน์ฮิลล์ ซึ่งจะมีดอกยางที่ใหญ่มากเป็นพิเศษ เพื่อรองรับการกระแทกและช่วยในการยึดเกาะในการลงมาจากที่สูง
2. แบ่งตามลักษณะทางกายภาพของยาง ซึ่งแบ่งได้อีก 4 ประเภทดังนี้
2.1 ยางขอบแข็งหรือที่เราชอบเรียกกันว่ายางงัด เป็นยางยุคบุกเบิกเริ่มแรกที่ใช้ในจักรยานจนถึงปัจจุบัน โดยขอบของยางจะมีความแข็งซึ่งขอบของยางชนิดนี้จะทำด้วยเส้นลวด ข้อเสียของยางงัดคือมันมีน้ำหนักมากถอดเปลี่ยนลำบาก ต้องมีอุปกรณ์ในการช่วยงัดยางออกมา เปลืองเนื้อที่ในการเก็บ พกพาไม่สะดวก มีโอกาสที่จะทำให้ยางในขาดได้ง่าย ตอนที่งัดยางกลับเข้าวงล้อ ข้อดีของยางงัด มีราคาถูก มีอายุการใช้งานทนทานกว่า
2.2 ยางขอบอ่อนหรือยางพับ ซึ่งเป็นยางที่พัฒนาขึ้นมาใหม่จากยางยุคแรก ขอบของยางจะทำมาจากวัสดุที่มีความยึดหยุ่นสูง สามารถพับเก็บได้สะดวก มีน้ำหนักเบา ประหยัดเนื้อที่ในการเก็บ พกพาสะดวก ข้อเสียคือราคาแพงอายุการใช้งาน ความทนทานน้อยกว่าแบบแรก
2.3 ยางนอกประเภทที่ใช้ยางใน ซึ่งก็เป็นแบบที่ใช้กันมานาน โดยจะมียางชั้นในทำหน้าที่กักเก็บลมเอาไว้ และมีจุกเติมลมโผล่ทะลุออกมาจากขอบล้อยาง ยางในจะทำหน้าที่คอยพยุงยางนอกให้ทรงตัวอยู่ได้ ข้อดีคือมีน้ำหนักพอประมาณ ราคาไม่แพง อัตราการซึมของลมมีน้อย
2.4 ยางนอกประเภทที่ไม่ใช้ยางใน ทู๊ปเลส (Tube less) เป็นยางที่ไม่ใช้ยางในในการกักเก็บลม แต่ใช้ตัวมันเองและวงล้อในการกักเก็บลม ซึ่งจะใช้หลักการเดียวกันกับยางรถยนต์แต่เมื่อนำมาใช้ในรถจักรยานประสิทธิภาพในการกักเก็บลมจะด้อยกว่า เวลาใช้จะต้องเติมน้ำยากันรั่วซึมเข้าไปด้วย ข้อดีคือไม่ต้องเสียเวลามานั่งปะยาง เมื่อมีของแข็งแทงทะละยาง ก็ยังสามารถขี่ต่อไปได้ ข้อเสียคือมีน้ำหนักค่อนข้างมาก มีการรั่วซึมของลมยางค่อนข้างสูง และมีราคาแพง หวังว่าเพื่อน ๆ คงจะเลือกใช้ยางได้ถูกตามสถานการณ์ และกำลังทรัพย์ของแต่ละคนนะครับ
วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558
แฮนด์เสือหมอบเพื่อความสบายยามปั่นไกล
Handlebar หรือที่เราเรียกกันอย่างคุ้นเคยว่า แฮนด์ นั้น คือส่วนประกอบของจักรยานที่มีความสำคัญมาก มันช่วยให้บังคับทิศทางได้สะดวก ช่วยการทรงตัวก็ได้ หากตั้งหรือวัดแฮนด์ไม่ได้ขนาดแล้วมันก็อาจจะทำคุณปวดเมื่อยได้ทั้งตัวเหมือนกัน เคยคิดกันบ้างหรือไม่ก็ตามว่าแฮนด์ซึ่งทำจากอลูมินั่มหรือคาร์บอนไฟเบอร์เป็นแท่ง ๆ นี้คืออุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยให้คุณสบายตัว หรือเจ็บตัวก็ได้ในการขี่จักรยานทางไกลโดยเฉพาะที่ระยะมากกว่า 100 ไปจนถึง 200 ก.ม.
หากจะถามถึงความเหมาะสมแล้ว แฮนด์ที่เหมาะกับการขี่ไกลที่สุดคือแฮนด์ดร็อป หรือแฮนด์เสือหมอบที่เราเคยเห็นกันบ่อย ๆ เหมือนมันจะเป็นแค่ท่อซึ่งเอามาดัดเป็นรูปคดโค้งแล้วพันด้วยเทปให้จับได้ไม่ลื่น แต่จริง ๆ แล้วกระบวนการเพื่อความสบายเริ่มขึ้นตั้งแต่ตอนเลือกแฮนด์ คุณสมบัติข้อแรกที่ต้องการคือต้องเบาก่อนแล้วตามด้วยความกว้างของแฮนด์ซึ่งวัดได้ง่าย ๆ คือต้องกว้าวเท่าช่วงไหล่ของคนขี่ ส่วนจะสร้างจากวัสดุแปลกพิสดารอะไรก็คงขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์ของแต่ละคน
เมื่อพิจารณากันให้ดีจะพบว่าตำแหน่งต่าง ๆ ที่วางมือได้บนแฮนด์เสือหมอบนั้นมันมีความหมาย อย่างแรกคือเพื่อให้คุณได้เปลี่ยนอิริยาบเมื่อต้องวางตัวอยู่ในท่าเดิม ๆ ตลอดนานเป็นชั่วโมง ๆ ตลอดระยะทาง เมื่อเมื่อยระหว่างเดินทางคุณสามารถเลื่อนมือมาวางในตำแหน่งต่าง ๆ ของแฮนด์ได้ตั้งแต่บนสุดถึงล่างสุด
นอกจากตำแหน่งการจับแฮนด์แล้ว วิธีจับที่ถูกต้องก็มี
ตำแหน่งบนสุด: จับด้วยการวางฝ่ามือลงบนแฮนด์ทั้งฝ่ามือแล้วกำแฮนด์ให้รอบ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่หลังท่อนแฮนด์เพื่อล็อคเอาไว้กันลื่น ถ้าคุณวางทั้งห้านิ้วบนแฮนด์มันจะลื่นไหลเสียหลักหัวคะมำได้หากปั่นไปเจอกับลูกระนาดหรือสันเหล็กสะท้องแสงบนถนน ตำแหน่งนี้คือท่าที่สบายที่สุด เหมาะกับการขี่ในย่านความเร็วไม่มากนัก และจะมั่นคงเมื่อปั่นขึ้นเนินโดยก้นยังติดเบาะ ถ้าเมื่อยแต่ยังไม่อยากจับเบรกก็เลื่อนมือมาตรงโค้งแฮนด์ใกล้เบรกได้เป็นการเปลี่ยนท่าทางเพื่อความสบาย
หัวมือเบรค: เมื่อเอื้อมมือมากำหัวมือเบรก ความรู้สึกหนึ่งที่คุณสัมผัสได้คือลำตัวจะโน้มมาข้างหน้าเล็กน้อย นิ้วเอื้อมมือถึงมือเบรคและก้านเปลี่ยนเกียร์ เมื่อใดที่ไม่มั่นใจว่าจะปลอดภัยเช่นการปั่นรวมกลุ่มซึ่งชิดกันมาก ๆ ระหว่างเข้าโค้ง การเอื้อมนิ้วถึงมือเบรคและมือเปลี่ยนเกียร์จะช่วยให้คุณปลอดภัยขึ้นหากมีเหตุหรืออุบัติเหตุที่ทำให้ต้องหยุดจักรยานกะทันหัน ในตำแหน่งนี้ลำตัวยังตั้งต้านลมอยู่ จึงเหมาะสำหรับการปั่นช่วงเดินทางโดยไม่หวังจะเร่งเครื่องแซงหรือใช้ความเร็วสูง ๆ
ตำแหน่งดร็อป: หรือตำแหน่งที่ต่ำสุดเกือบถึงปลายแฮนด์ตามปกติแล้วนักจักรยานทางไกลจะไม่ค่อยได้จับแฮนด์ตรงจุดนี้กัน เพราะมั่นต่ำและชวนให้ปวดเมื่อยหลังกับก้านคอได้ง่าย ๆ เอื้อมมือจับมือเบรกก็ไม่ได้อีก แต่ก็ต้องมีไว้เพราะเป็นตำแหน่งเดียวที่ทำให้ลำตัวนักจักรยานขนานกับพื้นที่สุด ผลที่ตามมาคือลู่ลมที่สุด เหมาะแก่การหลบลมพุ่งแหวกอากาศเพื่อการแซงจักรยานคันหน้าหรือเพื่อเร่งความเร็ว เมื่อเอื้อมมือจับแฮนด์ในตำแหน่งนี้แล้วตัวนักจักรยานจะกดลงต่ำสุด น้ำหนักจะถ่ายมาข้างหน้าแทนที่จะเป็นกดลงตรง ๆ ที่อานกลางจักรยาน
ตำแหน่งดร็อปจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อท่าทางและความรู้สึก รวมทั้งไม่ค่อยปลอดภัย นักจักรยานจึงแทบไม่ค่อยได้ก้มตัวลงมาจับแฮนด์ในตำแหน่งนี้บ่อยนัก เว้นแต่ช่วงที่จะเร่งแซงหรือเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบช่วงสั้น ๆ เพราะแฮนด์เสือหมอบเป็นเนื้อวัสดุล้วน ๆ และโค้ง การจะทำปลอกหุ้มเหมือนแฮนด์เมาเท่าไบค์นั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลยจึงต้องใช้วิธีพัน เทปพันแฮนด์เสือหมอบดี ๆ จะเป็นฟองน้ำแผ่นบาง ๆ เพื่อคอยซับแรงกระแทกจากพื้นดินที่วิ่งตามล้อและตะเกียบหน้าขึ้นมาถึงมือ
แต่ทั้งนี้การจะขี่ให้สบายตลอดเส้นทางนั้นเป็นไปไม่ได้ เมื่อร่างกายต้องวางตำแหน่งอยู่ในท่าเดิม ๆ ทีละนาน ๆ และมีน้ำหนักกดทับกล้ามเนื้อกับเส้นประสาท คุณย่อมต้องเจ็บปวด เมื่อย ซึ่งทำอย่างดีก็คงได้แค่บรรเทาให้ทรมานน้อยที่สุด ซึ่งจะเกิดจากการปรับระยะห่างระหว่างอานกับแฮนด์ให้พอเหมาะ การเปลี่ยนตำแหน่งวางมือการเลือกขนาดของแฮนด์ให้พอดกับช่วงกว้างหน้าอกหรือไหล่ เมื่อรู้สึกว่าปวดเมื่อยก็ลุกจากเบาะขึ้นโขยกเสียบ้าง
เรื่องราวข้างต้นนั่นคือรายละเอียดของการใช้แฮนด์เสือหมอบเพื่อปั่นทางไกล 100 – 200 กิโลเมตร และวิธีวางมือซึ่งจะช่วยให้คุณสบายขึ้นในระยะทางไกล ๆ นอกจากตัวแฮนด์เองจะสำคัญแล้ว ความสำคัญรองลงไปก็น่าจะไม่พ้นความสูงของคอแฮนด์ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการวางแหวนรอง (สเปเซอร์) ความยาวของคอตะเกียบแม้แต่การสร้างเฟรมให้เป็นแบบเพอร์ฟอร์แมนซ์ ฟิต (เน้นความสบายในการขี่ทางไกล) หรือ โปร ฟิต (เน้นท่าทางการแข่งเพื่อให้เกิดความเร็วมากกว่าความสบาย)
ถ้าคุณอยากให้จักรยานขี่สบาย (หรือที่ถูกต้องคือเพื่อทรมานน้อยที่สุด) ในระยะไกล ๆ ก็ต้องใส่ใจให้รายละเอียดเพราะมันคืออุปกรณ์หนึ่งในสามชิ้นที่รับน้ำหนัก นอกเหนือจากอานและลูกบันได ถ้าเลือกไม่ดีหรือได้ขนาดไม่พอเหมาะสิ่งที่จะตามมาคงไม่พ้นเรื่องการปวดไหล่และเอว ทั้งที่ทุกสิ่งพร้อมแล้วแต่ถ้าได้แฮนด์ไม่ดีปรับระยะไม่เหมาะสม คุณก็อาจไปไม่ถึงจุดหมายเอาง่าย ๆ เหมือนกัน
เลือกใช้ล้อจักรยานแบบไหนดี
จะเลือกใช้ล้อจักรยานแบบไหนดี
ด้วยล้อในท้องตลาดที่มีให้เลือกมากมายหลายแบบหลายยี่ห้อ ถึงคราวที่คุณมีเงินพอจะอัพเกรดหรือเปลี่ยนล้อใหม่ให้ตรงกับสภาพการขี่หรือเพื่อวามสะใจส่วนตัว จะเลือกใช้ล้อแบบไหนดีถึงจะคุ้มกับเงินที่จ่าย ในเมื่อทุกวันนี้ล้อแต่ละคู่มิใช่ว่าจะถูก ๆ ล้อเสือหมอบดี ๆ มีตั้งแต่คู่ละหมื่นต้น ๆ ไปถึงเกือบแสน ลองมาดูข้อดีและข้อจำกัดของล้อแต่ละแบบแล้วบางทีคูณอาจจะมีข้อคิดเพื่อตัดสินใจได้ดีกว่าไม่รู้อะไรเลย โดยเฉพาะมือใหม่ที่อยากได้ของดี
ล้อเบาพิเศษ (Superlight wheels)
ตามปกติจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 1,000 กรัม ( 1 กิโลกรัม) หรือบวกลบได้นิดหน่อย วัสดุที่ใช้คงหนีไม่พ้นคาร์บอนไฟเบอร์หรืออลูมินั่มที่เบามาก ๆ แน่ล่ะว่าราคาคงไม่เบาตามน้ำหนัก ข้อสังเกตที่จะรู้สึกได้ชัด ๆ คือจักรยานคุณจะวิ่งฉิวรู้สึกเหมือนจักรยานตัวเองติดเทอร์โบชาร์เจอร์ แต่ข้อเสียคือจักรยานคุณจะมีความเสถียรน้อยลง หน้ามันจะไวมากขึ้นและพร้อมเสมอที่จะเสียการทรงตัวเมื่อโดนลมแรง
ความเบานั้นต้องแลกกับอีกอย่างหนึ่งด้วยคือความแข็งแรง การใช้งานสมบุกสมบันอาจทำให้ล้อถึงกับคด ลวดขาด หรือดุ้ง เบี้ยว ผิดรูปทรงได้ สำหรับล้อที่เบามาก ๆ นั้นคงต้องดูแลกันดี ๆ หน่อย อาจถึงขั้นต้องเอายางทูบูลาร์ ติดกาวเข้ากับล้อเลยก็ได้ (ตัวอย่าง :Reynolds RZR)
ล้อลู่ลม (Aerodynamic wheels)
ล้อลู่ลมคือล้อที่มีขอบสูงกว่าปกติซึ่งเป็นไปได้ทั้งด้วยการเสริมพลาสติก หรือใช้คาร์บอนไฟเบอร์เชื่อมกับล้อซึ่งอาจเป็นคาร์บอนไฟเบอร์เหมือนกันหรืออลูมินั่มน้ำหนักเบาก็ได้ เมื่อขอบสูงขึ้นก็คือมันมีพื้นที่หน้าตัดเพิ่มขึ้นและกันกระแสลมหมุนซึ่งจะทำให้พุ่งตัดอากาศได้ดีกว่าล้อธรรมดาขอบต่ำเล็กน้อย ข้อเสียคืออาจจะแกว่งได้เมื่อถูกลมพัดปะทะด้านข้าง ปัญหานี้จะมีผลกระทบเฉพาะนักจักรยานตัวเล็กและน้ำหนักน้อย ถ้านักจักรยานตัวหนักขึ้นอีกนิดปัญหาด้านความเสถียรของล้อหน้าก็จะลดลง มันพุ่งแหวกอากาศได้ดี เท่ สวยงาม นั่นก็จริง แต่ทำใจไว้เลยว่าคุณต้องจ่ายเงินมากกว่าล้อธรรมดาอาจจะถึงสองเท่าเพื่อแลกับความเร็วที่เพิ่มขึ้น อีกนิดหน่อย และความเท่ห์ที่มากกว่าเดิมอีกมาก ๆ (ตัวอย่าง: Bontrager Aeolus 9.0,Easton EC90,Zipp 404)
ล้อซ้อม (Bombpro of wheels)
ล้อชนิดนี้จะทนเป็นพิเศษ แต่น้ำหนักนับว่ามากทีเดียว หากจะเทียบกับล้อสองประเภทที่กล่าวมา แต่เรื่องความทนทานนั้นหายห่วงเพราะอาจร้อยด้วยซี่ลวดถึง 36 เส้น วงล้ออลูมินั่มเหนียว และแข็งแรงเป็นพิเศษ เหมาะที่จะใช้เป็นล้อซ้อมปั่นถ้าคุณปั่นทุกวันและไม่สนใจว่าจะขี่ไปเจอกับอะไรบ้าง หรือเส้นทางแบบไหน ราคาก็ถูกว่าล้อชุดที่กล่าวมาแบบครึ่งต่อครึ่ง ความหนักทำให้เป็นเหมือนตัวช่วยให้กล้ามเนื้อมีพลังเมื่อปั่นต้านแรง อันที่จริงถ้าไม่ซีเรียสอะไรมาก เราแนะนำว่าใช้ล้อเก่าที่ติดมากับจักรยานนั่นแหละดีพอ ๆ กันคุณสมบัติใกล้เคียงกันด้วย ที่สำคัญคือมันไม่เปลืองตังค์ในกระเป๋าคุณเลย (ตัวอย่าง : ขอบล้อ Mavic Open Pro ประกอบกับชุดดุมของ Dura-Ace จาก Shimano)
ล้อครบเครื่อง (All-round wheels)
ล้อชนิดนี้อาจจะไม่เบามาก ไม่มีขอบสูงเหมือนล้อลู่ลมไม่ได้ใช้วัสดุที่ชื่อแปลก ๆ พิสดารพันลึกนัก แต่คุณก็ใช้มันได้กับทุกสภาพอากาศและทุกพื้นผิวถนนไม่ว่าราบเรียบเป็นกะทะ หรือสูงชันแทบต้องเข็นขึ้น ดูเหมือนกับว่าล้อชนิดนี้จะเป็นแบบที่ใช้คุ้มที่สุดซึ่งก็จริง คุณใช้มันได้ทั้งตอนซ้อมและตอนแข่ง มันอาจจะขึ้นเขาได้ไม่เร็วเหมือนล้อเบา ๆ แต่ก็ไม่ได้ทำให้คุณเสียแรงและเวลาไปมาก คิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วยังน้อยมาก (ตัวอย่าง : Mavic Ksyrium Elite)
ล้อสำหรับการอัพเกรดครั้งแรก (First Upgrade)
ล้อจักรยานหลายชนิดทีเดียวที่ดูผ่าน ๆ แล้วพบว่ามันคล้ายคลึงกันมาก คือประกอบขึ้นจากขอบล้อทั้งขอบต่ำและสูง ใช้ยางคลินเซอร์ ซี่ลวดโลหะซึ่งมีคุณสมบัติทั่ว ๆ ไปคล้ายกับล้อแบบครบเครื่อง ถึงจะดูเหมือนผลิตออกมาหยาบ ๆ เอาแค่พอให้จักรยานวิ่งได้คุณก็ยังใช้ล้อพวกนี้ซ้อมหรือแม้แต่เอาไปแข่งก็ยังได้ถ้าอยากทำ แต่เมื่อใดที่มีเงินพอให้ซื้อของใหม่ซึ่งดีกว่า ทนกว่า และเบากว่าได้ก็จงทำ เพราะมันจะทำให้การปั่นไม่ว่าจะแข่งหรือปั่นเพื่อออกกำลังของคุณสนุกกว่าเดิม (ตัวอย่าง: American Classic Victory)
ด้วยล้อในท้องตลาดที่มีให้เลือกมากมายหลายแบบหลายยี่ห้อ ถึงคราวที่คุณมีเงินพอจะอัพเกรดหรือเปลี่ยนล้อใหม่ให้ตรงกับสภาพการขี่หรือเพื่อวามสะใจส่วนตัว จะเลือกใช้ล้อแบบไหนดีถึงจะคุ้มกับเงินที่จ่าย ในเมื่อทุกวันนี้ล้อแต่ละคู่มิใช่ว่าจะถูก ๆ ล้อเสือหมอบดี ๆ มีตั้งแต่คู่ละหมื่นต้น ๆ ไปถึงเกือบแสน ลองมาดูข้อดีและข้อจำกัดของล้อแต่ละแบบแล้วบางทีคูณอาจจะมีข้อคิดเพื่อตัดสินใจได้ดีกว่าไม่รู้อะไรเลย โดยเฉพาะมือใหม่ที่อยากได้ของดี
ล้อเบาพิเศษ (Superlight wheels)
ตามปกติจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 1,000 กรัม ( 1 กิโลกรัม) หรือบวกลบได้นิดหน่อย วัสดุที่ใช้คงหนีไม่พ้นคาร์บอนไฟเบอร์หรืออลูมินั่มที่เบามาก ๆ แน่ล่ะว่าราคาคงไม่เบาตามน้ำหนัก ข้อสังเกตที่จะรู้สึกได้ชัด ๆ คือจักรยานคุณจะวิ่งฉิวรู้สึกเหมือนจักรยานตัวเองติดเทอร์โบชาร์เจอร์ แต่ข้อเสียคือจักรยานคุณจะมีความเสถียรน้อยลง หน้ามันจะไวมากขึ้นและพร้อมเสมอที่จะเสียการทรงตัวเมื่อโดนลมแรง
ความเบานั้นต้องแลกกับอีกอย่างหนึ่งด้วยคือความแข็งแรง การใช้งานสมบุกสมบันอาจทำให้ล้อถึงกับคด ลวดขาด หรือดุ้ง เบี้ยว ผิดรูปทรงได้ สำหรับล้อที่เบามาก ๆ นั้นคงต้องดูแลกันดี ๆ หน่อย อาจถึงขั้นต้องเอายางทูบูลาร์ ติดกาวเข้ากับล้อเลยก็ได้ (ตัวอย่าง :Reynolds RZR)
ล้อลู่ลม (Aerodynamic wheels)
ล้อลู่ลมคือล้อที่มีขอบสูงกว่าปกติซึ่งเป็นไปได้ทั้งด้วยการเสริมพลาสติก หรือใช้คาร์บอนไฟเบอร์เชื่อมกับล้อซึ่งอาจเป็นคาร์บอนไฟเบอร์เหมือนกันหรืออลูมินั่มน้ำหนักเบาก็ได้ เมื่อขอบสูงขึ้นก็คือมันมีพื้นที่หน้าตัดเพิ่มขึ้นและกันกระแสลมหมุนซึ่งจะทำให้พุ่งตัดอากาศได้ดีกว่าล้อธรรมดาขอบต่ำเล็กน้อย ข้อเสียคืออาจจะแกว่งได้เมื่อถูกลมพัดปะทะด้านข้าง ปัญหานี้จะมีผลกระทบเฉพาะนักจักรยานตัวเล็กและน้ำหนักน้อย ถ้านักจักรยานตัวหนักขึ้นอีกนิดปัญหาด้านความเสถียรของล้อหน้าก็จะลดลง มันพุ่งแหวกอากาศได้ดี เท่ สวยงาม นั่นก็จริง แต่ทำใจไว้เลยว่าคุณต้องจ่ายเงินมากกว่าล้อธรรมดาอาจจะถึงสองเท่าเพื่อแลกับความเร็วที่เพิ่มขึ้น อีกนิดหน่อย และความเท่ห์ที่มากกว่าเดิมอีกมาก ๆ (ตัวอย่าง: Bontrager Aeolus 9.0,Easton EC90,Zipp 404)
ล้อซ้อม (Bombpro of wheels)
ล้อชนิดนี้จะทนเป็นพิเศษ แต่น้ำหนักนับว่ามากทีเดียว หากจะเทียบกับล้อสองประเภทที่กล่าวมา แต่เรื่องความทนทานนั้นหายห่วงเพราะอาจร้อยด้วยซี่ลวดถึง 36 เส้น วงล้ออลูมินั่มเหนียว และแข็งแรงเป็นพิเศษ เหมาะที่จะใช้เป็นล้อซ้อมปั่นถ้าคุณปั่นทุกวันและไม่สนใจว่าจะขี่ไปเจอกับอะไรบ้าง หรือเส้นทางแบบไหน ราคาก็ถูกว่าล้อชุดที่กล่าวมาแบบครึ่งต่อครึ่ง ความหนักทำให้เป็นเหมือนตัวช่วยให้กล้ามเนื้อมีพลังเมื่อปั่นต้านแรง อันที่จริงถ้าไม่ซีเรียสอะไรมาก เราแนะนำว่าใช้ล้อเก่าที่ติดมากับจักรยานนั่นแหละดีพอ ๆ กันคุณสมบัติใกล้เคียงกันด้วย ที่สำคัญคือมันไม่เปลืองตังค์ในกระเป๋าคุณเลย (ตัวอย่าง : ขอบล้อ Mavic Open Pro ประกอบกับชุดดุมของ Dura-Ace จาก Shimano)
ล้อครบเครื่อง (All-round wheels)
ล้อชนิดนี้อาจจะไม่เบามาก ไม่มีขอบสูงเหมือนล้อลู่ลมไม่ได้ใช้วัสดุที่ชื่อแปลก ๆ พิสดารพันลึกนัก แต่คุณก็ใช้มันได้กับทุกสภาพอากาศและทุกพื้นผิวถนนไม่ว่าราบเรียบเป็นกะทะ หรือสูงชันแทบต้องเข็นขึ้น ดูเหมือนกับว่าล้อชนิดนี้จะเป็นแบบที่ใช้คุ้มที่สุดซึ่งก็จริง คุณใช้มันได้ทั้งตอนซ้อมและตอนแข่ง มันอาจจะขึ้นเขาได้ไม่เร็วเหมือนล้อเบา ๆ แต่ก็ไม่ได้ทำให้คุณเสียแรงและเวลาไปมาก คิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วยังน้อยมาก (ตัวอย่าง : Mavic Ksyrium Elite)
ล้อสำหรับการอัพเกรดครั้งแรก (First Upgrade)
ล้อจักรยานหลายชนิดทีเดียวที่ดูผ่าน ๆ แล้วพบว่ามันคล้ายคลึงกันมาก คือประกอบขึ้นจากขอบล้อทั้งขอบต่ำและสูง ใช้ยางคลินเซอร์ ซี่ลวดโลหะซึ่งมีคุณสมบัติทั่ว ๆ ไปคล้ายกับล้อแบบครบเครื่อง ถึงจะดูเหมือนผลิตออกมาหยาบ ๆ เอาแค่พอให้จักรยานวิ่งได้คุณก็ยังใช้ล้อพวกนี้ซ้อมหรือแม้แต่เอาไปแข่งก็ยังได้ถ้าอยากทำ แต่เมื่อใดที่มีเงินพอให้ซื้อของใหม่ซึ่งดีกว่า ทนกว่า และเบากว่าได้ก็จงทำ เพราะมันจะทำให้การปั่นไม่ว่าจะแข่งหรือปั่นเพื่อออกกำลังของคุณสนุกกว่าเดิม (ตัวอย่าง: American Classic Victory)
ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear: การเลือกซื้อตัวถังให้พอดีกับขนาดร่างกาย
การเลือกซื้อตัวถังให้พอดีกับขนาดร่างกาย [ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]
การเลือกขนาดของตัวถังที่เราจะนำมาใช้งาน ซึ่งการที่เราเลือกขนาดรถได้เหมาะสมกับร่างกายจะทำให้เราใช้งานรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งสาย Tick และสายปั่น สิ่งแรกที่เราจะต้องรู้ก่อนทำการเลือกขนาดของตัวถังที่จะนำมาขี่ ก็คือความยาวช่วงขา ซึ่งช่วงขาแป็นตัวแปรหลักในการเลือกขนาดรถมาใช้งาน เพราะว่ารถแต่ละขนาดก็จะออกแบบมาสำหรับคนที่มีช่วงขาไม่เท่ากันการวัดความยาวช่วงขาเป็นการวัดความยาวจากพื้นถึงหว่างขาเมื่อเรายืนตรงซึ่งคำนี่จะถูกนำไปใช้ในการพิจารณาเลือกขนาดของรถ อีกส่วนหนึ่งใช้ในการพิจารณาเลือกขนาดของรถอีกส่วนหนึ่งจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับค่า Stand Over ของรถ [ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]
Stand Over คือค่าที่ใช้วัดระยะความสูงของท่อบนรถเทียบกับพื้น ซึ่งค่ำนี้จะใช้ประกอบเปรียบเทียบกับค่าความยาวช่วงขา กล่าวคือหาค่าความยาวช่วงขามากกว่า Stand Over จะทำให้สามารถยืนให้หว่างขาคร่อมท่อบนได้แต่ถ้าหากความยาวหว่างขาน้อยกว่า Stand Over จะทำให้ไม่สามารถยืนคร่อมท่อบนได้ ทำให้หว่างขาพาดอยู่กับท่อบน ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็ต้องตะแคงรถทิ้งน้ำหนักตัวบนขาข้างใดข้างหนึ่งที่เหยียบพื้นก่อน แล้วใช้ขาข้างที่เหลือเหยียบบันไดไว้
เมื่อเราได้ทราบค่าความยาวช่วงขาแล้ว เราก็นำค่าที่เราวัดได้ไปเทียบกับตารางเทียบขนาดของผู้ผลิต หากไม่มีตารางเปรียบเทียบขนาดของผู้ผลิต ว่าช่วงขาเท่าไหน ควรจะขี่รถขนาดเท่าไร หรือหากไม่มีตารางเปรียบเทียบก็ใช้การกะขนาดเอาขนาดของตัวถังจะมีการบอกตามค่าความยาวของท่อนั่ง ซึ่งใช้หน่วยวัดความยาวสองมาตรฐานคือการวัดด้วยหน่วยเซนติเมตร (นิยมใช้ในจักรยานเสือหมอบ) และการวัดเป็นนิ้ว (นิยมใช้ในจักรยานเสือภูเขา) และมาตรฐานการวัดความยาวของตัวถังยังมีมาตรฐานการวัดอยู่สองแบบ คือการวัดแบบ Center to Center (C-C) เป็นการวัดความยาวจากจุดศูนย์กลางกะโหลกถึงจุดศูนย์กลางของจุดเชื่อมของท่อนั่งกับท่อบนและการวัดแบบ Center To top (C-T) เป็นการวัดความยาวของท่อนั่งจากจุดศูนย์กลางกะโหลกไปยังปากของท่อนั่งที่จะใส่หลักอาน
การเลือกเฟรมมาใช้งานสำหรับชาวฟิกซ์เกียร์ (Fixed Gear) ต้องคำนึงถึงขนาดตัวถังแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ประเภทของการใช้งานหากเป็นสายปั่นควรเลือกตัวถังให้พอดีตัวหรือเล็กกว่าเล็กน้อย โดยให้ท่อบนของรถอยู่ต่ำกว่าหว่างขาประมาณ 1-2 นิ้ว หากเป็นสาย Tick ก็ให้ใช้ตัวถังที่ท่อบนอยู่ต่ำกว่าหว่างขามากกว่า เพื่อความสะดวกในการลงรถฉุกเฉิน เพราะการขี่สาย Tick นั้นอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ง่ายหากเลือกรถที่มีท่อบนต่ำกว่าหว่างขามากกว่า 2 นิ้วจะช่วยให้ลดการโดยท่อบนกระแทกหว่างขา[ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear] เสร็จจากการเลือกขนาดรถแล้วก็ให้ปรับความสูงของเบาะให้เหมาะสมตามความถนัดโดยการปรับความสูงของหลักอาน เรื่องต่อไปที่ผู้ขี่ต้องพิจารณาอีกเรื่องก็คือการปรับมุมการก้มขี่ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วร่างกายคนเราจะมีความแตกต่างกัน บางคนช่วงขาสั้นแต่กระดูกสันหลังยาว บางคนก็อาจจะช่วงขายาวแต่กระดูกสันหลังสั้น ซึ่งการปรับมุมก้มของหลังจะมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องกันอยู่ 3 ตัวคือ หนึ่งความยาวท่อบนของตัวถัง สองความยาวและความสูงของคอแฮนด์ สามคือชนิดและความกว้างของแฮนด์ที่ใช้ ซึ่งผู้ที่จะต้องเลือกใช้และปรับแต่งตามความเหมาะสมของตัวเอง [ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]
สำหรับสายปั่นอาจหาคอแฮนด์ที่มีความยาวและใช้แฮนด์เสือหมอบที่ต้องก้มหลังมากมาใช้งานเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะการขี่ ส่วนในสาย Tick ก็อาจจะให้คอแฮนด์ขนาดสั้นติดตั้งอยู่สูงจากตัวรถโดยดการใช้แหวนรองคอหลาย ๆ ตัวแล้วใช้แฮนด์ตรง ก็จะช่วยให้ตำแหน่งจับแฮนด์จะอยู่สูงทำให้ง่ายในการเล่นท่า หรืออาจจะติดตั้งคอแฮนด์ต่ำ ๆ แต่นำแฮนด์ยกสูงมาใช้ก็จะช่วยให้ตำแหน่งจับแฮนด์ ทำให้การเล่นท่าทำได้ง่าย หวังว่าบทความนี้คงจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านบ้าง ในการเลือกซื้อตัวถังให้พอดีกับขนาดร่างกายและการปรับแต่งรถให้ขี่ได้อย่างเหมาะสมครับ..[ฟิกซ์เกียร์ Fixed Gear]
วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558
จักรยานพับ ทางเลือกใหม่ของชาวเมือง
จักรยานพับ ทางเลือกใหม่ของชาวเมือง
ในยุคปัจจุบันที่ราคาน้ำมันลอยตัว เดี๋ยวปรับขึ้นปรับลงเป็นรายวัน ทางเลือกหนึ่งของผู้ใช้รถยนต์ก็คือการหาพาหนะที่ประหยัดกว่ามาใช้งานแทน
จึงต้องมีจักรยานสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมารองรับความต้องการตรงนี้ มันต้องตอบสนองความต้องการได้ในด้านความเร็วที่ใช้ได้ในเขตเมือง สามารถพาคุณไปได้ในทุกที่ในระยะทางใกล้ ๆ บรรทุกสัมภาระอย่างกระเป๋าคอมพิวเตอร์หรือเป้ใส่ของใช้ที่จำเป็น เพื่อให้คุณปฏิบัติภารกิจได้อย่างไม่ขาดตอน ที่สำคัญคือต้องประหยัดเนื้อที่จอด จอดได้ทุกที่ไม่เกี่ยงพื้นที่ จะมีอะไรลงตัวล่ะนอกจากต้องเป็นจักรยานพับได้ (Folding Bicycle)
นับเป็นแนวโน้มหรือ “เทรนด์” ที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่นักธุรกิจรุ่นใหม่ผู้ไม่จำกัดการเดินทางในเมืองอยู่แต่กับรูปแบบเพื่อตอบสนองความคล่องตัวของคนเมืองโดยเฉพาะ มันประกอบขึ้นด้วยโลหะชนิดเดียวกับจักรยานเสือหมอบและเสือภูเขา แต่จดเด่นของ “เสือพับ” นี้คือโครงของมันจะมีจุดยึดติดกันด้วยสลักบานพับ ซึ่งสามารถพับให้มีขนาดเหลือเพียงครึ่งเดียวของปริมาตรเดิมในยามต้องการเคลื่อนย้าย เก็บ หรือจอดไว้ใกล้โต๊ะทำงาน
ในยุคปัจจุบันที่ราคาน้ำมันลอยตัว เดี๋ยวปรับขึ้นปรับลงเป็นรายวัน ทางเลือกหนึ่งของผู้ใช้รถยนต์ก็คือการหาพาหนะที่ประหยัดกว่ามาใช้งานแทน
จึงต้องมีจักรยานสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมารองรับความต้องการตรงนี้ มันต้องตอบสนองความต้องการได้ในด้านความเร็วที่ใช้ได้ในเขตเมือง สามารถพาคุณไปได้ในทุกที่ในระยะทางใกล้ ๆ บรรทุกสัมภาระอย่างกระเป๋าคอมพิวเตอร์หรือเป้ใส่ของใช้ที่จำเป็น เพื่อให้คุณปฏิบัติภารกิจได้อย่างไม่ขาดตอน ที่สำคัญคือต้องประหยัดเนื้อที่จอด จอดได้ทุกที่ไม่เกี่ยงพื้นที่ จะมีอะไรลงตัวล่ะนอกจากต้องเป็นจักรยานพับได้ (Folding Bicycle)
นับเป็นแนวโน้มหรือ “เทรนด์” ที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่นักธุรกิจรุ่นใหม่ผู้ไม่จำกัดการเดินทางในเมืองอยู่แต่กับรูปแบบเพื่อตอบสนองความคล่องตัวของคนเมืองโดยเฉพาะ มันประกอบขึ้นด้วยโลหะชนิดเดียวกับจักรยานเสือหมอบและเสือภูเขา แต่จดเด่นของ “เสือพับ” นี้คือโครงของมันจะมีจุดยึดติดกันด้วยสลักบานพับ ซึ่งสามารถพับให้มีขนาดเหลือเพียงครึ่งเดียวของปริมาตรเดิมในยามต้องการเคลื่อนย้าย เก็บ หรือจอดไว้ใกล้โต๊ะทำงาน
จักรยาน มันมีมากกว่าแค่ 2 ล้อ
สำหรับจักรยาน มันมีมากว่าแค่ 2 ล้อ
จักรยานคือพาหนะแบบแรก ๆ ที่เราคุ้นเคยดี พอเริ่มเดินได้พ่อแม่ก็ซื้อจักรยานให้ มันไม่ใช่จักรยาน 2 ล้ออย่างที่ขี่กันในปัจจุบันแต่เป็น 3 ล้อ เราทุกคนต่างเริ่มต้นกับจักรยาน 3 ล้อก่อนที่จะมารู้จักกับความเพลิดเพลินและความเร็วแบบสองล้อทั้งเสือภูเขา,เสือหมอบ และอื่น ๆ พอรู้จักจักรยาน 2 ล้อแล้วเราก็ละทิ้งเจ้า 3 ล้อมากประโยชน์นี้เสียสิ้นเชิง ทั้งที่มันยังทรงคุณประโยชน์อยู่ ไม่ว่าจะใช้เพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อประโยชน์อื่น เช่น ขนของหรือเพื่อการเดินทางของคนพิการ แม้จักรยาน 3 ล้อจะมีทั้งแบบล้อเดี่ยวข้างหน้าและสองล้อหน้าเพื่อหันเลี้ยวบังคับทิศทาง แต่เราเลือกจะกล่าวถึงแบบแรกมากกว่าแบบหลัง เนื่องจากมันขี่ง่ายกว่าและเป็นที่นิยมมากกว่ามาหลายปีแล้ว ทั้งเพื่อสันทนาการและเพื่อประกอบอาชีพ (สามล้อถีบตามต่างจังหวัดเป็นแบบล้อเดี่ยวอยู่หน้า)
จักรยานสามล้อ
แม้จะดูไม่ค่อยคล่องตัวเพราะมีส่วนกว้างจากสองล้อที่ยื่นออกไปข้างซ้ายและขวา แต่ข้อได้เปรียบของเจ้าสามล้อนี้คือความเสถียร ถึงคุณจะเลี้ยวตัวไม่เก่งบนสองล้อก็ขี่มันได้ เวลาเจอถนนลื่นสามล้ออาจจะไถลบ้างแต่ไม่ต้องกลัวว่ามันจะคว่ำ พอถึงเส้นทางลมแรงก็ไม่ต้องกลัวว่าจะโดยพัดล้มเหมือนสองล้ออีก ใครที่กลัวเรื่องการทรงตัวย่อมไม่กลัวการขี่สามล้อ คนผู้ทุพลภาพสามารถใช้สามล้อดัดแปลงเป็นใช้มือขับเคลื่อนแทนเท้าได้เช่นกัน
สามล้อใช้ง่ายและทรงตัวง่ายกว่าเมื่อบรรทุกสัมภาระหนัก ได้เปรียบอย่างมากเวลาไปช็อปปิ้ง หรือใช้บรรทุกอุปกรณ์เดินป่าตั้งแคมป์กันช่วงสุดสัปดาห์ ใช้บรรทุกลูกหลานเล็ก ๆ ก็ได้ ในสามล้อรับจ้างที่เราเห็นกับบ่อย ๆ ในต่างจังหวัดนั้นจะมีที่นั่งบรรทุกได้สองถึง 3 คน ซึ่งสามารถทำได้ในจักรยานสองล้อซึ่งไม่มีล้อรองรับและกระจายน้ำหนัก
จะดัดแปลงเป็นแทนเดิมแบบขี่สองคนช่วยกันออกแรงพร้อมบรรทุกสัมภาระข้างหลังอีกก็ยังได้ ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากจักรยานสองล้อที่เราคุ้นเคยกันเลยเพียงแต่ล้อมากกว่าและค่อนข้างหาที่จอดยากกว่า แต่เมื่อถึงที่จอดคุณก็เพียงแต่เดินลงมาจากมัน ไม่ต้องพิงหรือใช้ขาตั้งซึ่งอาจล้มได้ง่ายเหมือนสองล้อ ในถนนเมือง สามล้ออาจจะเสียเปรียบตรงที่ไม่สามารถลัดเลาะไปตามแถวรถยนต์ระหว่างการจราจรติดขัด แต่ก็มีผู้ผลิตบางแห่งที่ทำสามล้อให้แคบพอจะเผชิญกับสภาพการจราจรแบบนั้นได้ ข้อดีของมันอีกข้อนอกจากเรื่องการทรงตัวก็คือการมองเห็นสภาพการจราจรได้ไกล มองข้ามหลังคารถได้โดยนั่งอยู่บนอาน เมื่อต้องเปลี่ยนทิศทางมันก็เลี้ยวได้ด้วยมุมแคบ ๆ
ถ้าคุณยังไม่เคยขี่จักรยานสองล้อ การขี่สามล้อจึงเป็นเรื่องแสนง่ายเพราะไม่ต้องทรงตัว ไม่ต้องเลี้ยงตัวเหมือนพวกสองล้อ แค่ก้าวขาขึ้นคร่อมอานแล้วเหยียบลูกบันไดก็สนุกกับมันได้แล้ว สิ่งเดี่ยวที่อาจจะทำให้อึดอัดในตอนแรก ๆ ก็คือลักษณะสามล้อที่แปลก ไม่ค่อยมีใครขี่กันนี่เองซึ่งอาจทำให้เขินจนเลิกขี่ได้ตอนแรก ๆ แต่ถ้าผ่านจุดนั้นมาได้ทุกสิ่งก็ง่ายสำหรับคุณ
การขี่จักรยานสองล้อคือความพยายามสร้างสมดุลให้ได้บนเครื่องจักรซึ่งไร้ความสมดุล มันไม่สามารถตั้งอยู่ได้ด้วยตัวเอง ต้องใช้นักจักรยานสร้างสมดุลให้ด้วยการเลี้ยงตัว พยายามเฉลี่ยน้ำหนักตัวเองให้ลงตรงกลางให้ได้ เมื่อจะล้มไปในทิศทางใดก็ต้องใช้น้ำหนักขืนไปในทิศทางตรงข้าม
เทคนิคที่ต้องฝึกสำหรับสามล้อคือตอนเลี้ยวเข้าโค้ง กับจักรยานสองล้อนั้นเมื่อเข้าโค้งคุณต้องเอนตัวเข้าหาจุดศูนย์กลางโค้ง เพื่อต้านแรงหนีศูนย์กลางและเพื่อช่วยเลี้ยวเวลาเดียวกัน แต่กับสามล้อคุณทำแบบนั้นไม่ได้เพราะมีล้ออีกล้อหนึ่งคอยยันอยู่ไม่ให้เอียง ถ้าตั้งตัวตรงและความเร็วมากพอคุณจะหลุดโค้ง จะเลี้ยวให้ได้ดีจึงต้องเอียงตัวเข้าหาจุดศูนย์กลางโค้งประกอบการบังคับเลี้ยว ใช้แฮนด์ให้ได้ประโยชน์มากที่สุดในเมื่อตรงนั้นไม่มีจุดยกโค้งให้ วิธีฝึกคือคุณต้องหาที่ว่างให้ได้แม้ขนาดเท่ากับเครื่องเดียวกับสนามบาสเก็ตบอลก็พอ แล้วจากนั้นจึงพยายามเลี้ยวให้ได้ภายในความกว้าง ตามปกติแล้วเลี้ยวได้แค่ครึ่งของความกว้างเท่านั้นเว้นแต่ใช้ความเร็วค่อนข้างสูงจะต้องใช้การเอี้ยวตัวเข้าหาวงในช่วย
ข้อควรระวังของสามล้อมีอยู่ไม่กี่อย่างและหนึ่งในนั้นคือเมื่อเข้าโค้งคุณควรเอนตัวเข้าด้านในให้เหมาะสมตามความเร็วที่พุ่งมา หากไม่เอนตัวไม่สมดุลกับความเร็วแล้วล้อด้านในอาจยกตัวขึ้นส่งผลให้ตะแคงแอ้งแม้งได้ อย่าพยายามตีโค้งให้เร็วโดยไม่ได้ฝึกมาก่อน เพราะคุณจะประมาณความเร็วและเอนตัวได้ไม่มากพอชดเชยน้ำหนักหนีศูนย์กลางที่พยายามยกล้อด้านใน
เมื่อเข้าโค้งนั้นการใช้เพลาเดียวกันอาจทำให้ลำบากในการทรงตัว เพราะล้อด้านในที่หมุนเร็วเท่า ๆ กับด้านนอกจะพยายาม “ดิ้น” จนหลุดโค้งถ้าความเร็วมากพอ เพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้บางแบบจึงติดระบบแยกเพลาแบบดิฟเฟอเรนทิเอท มาให้เพื่อปรับการทำงานของล้อด้านในและนอกให้สมดุล ถ้าคุณนึกไม่ออกว่าระบบดิฟเฟอเรนทิเอท ของสามล้อเป็นยังไงก็ลองคิดถึงรถยนต์ เวลายกมันขึ้นขาตั้งตอนจะอัดฉีดให้ลองไปหมุนล้อข้างใดข้างหนึ่งดูแล้วจะพบว่าอีกข้างนั้นหมุนไปทางตรงกันข้ามเพราะเวลาเข้าโค้งล้อด้านในจะหมุนด้วยความเร็วต่ำกว่าล้อด้านนอกตามความเป็นจริง ดิฟเฟอเรนทิเอทจะช่วยให้มันหมุนตามลักษณะดังกล่าว เพราะหากปล่อยให้ล้อทั้งคู่หมุนด้วยความเร็วเท่ากันรถจะไม่เกาะถนน เป็นสาเหตุหนึ่งของการแหกโค้ง
สามล้อเป็นจักรยานแบบที่ฝรั่งเรียกว่า “Three tracks” ล้อแต่ละล้อมีแนวทางการเคลื่อนที่ของตัวเอง แตกต่างจากสองล้อซึ่งล้อหลังวิ่งทับรอยของล้อหน้าจึงได้เปรียบกว่าในเส้นทางวิบากมีหลุมบ่อมากหรือที่ทุรกันดาร ข้อเสียที่มีก็คือด้านความเร็วที่มีแรงฉุดมากกว่าสองล้อจากล้อที่สามที่ยื่นออกมาก มันเพิ่มทั้งน้ำหนักและแรงฉุด ถ้ามีเกียร์ก็ต้องทำพิเศษเพราะต้องร้อยเพลาเข้ากลางแกนดุม แตกต่างจากจักรยานสองล้อซึ่งติดเฟืองไว้ปลายดุม ในจักรยานสามล้อทั่วไปจะวางเบรกไว้ล้อหน้า เพราะตำแหน่งติดเบรกล้อหลังหาค่อนข้างยาก ต้องใช้ความระมัดระวังสูงสุดเมื่อปั่นลงทางชันมวลที่มากบวกกับเบรกที่ด้อยอยู่แล้วอาจทำให้เสียการทรงตัว มันจึงเหมาะกว่าถ้าจะใช้แต่เฉพาะทางราบ
จักรยานนอนถีบ (Recumbent)
เมื่อพูดถึงรีคัมเบนต์แล้วจะพบว่ามันมีความแตกต่างหลายข้อจากจักรยานสองล้อหรือสามล้อธรรมดา ที่เห็นชัด ๆ นอกจากท่าทางการขี่ก็คือลักษณะทางเรขาคณิตมีมากมายหลายขนาดและแบบ จะให้เป็นแทนเดมเพื่อขี่สองคนช่วยกันปั่นก็ได้
ข้อได้เปรียบของจักรยานนอนถีบ ก็คือความสบายและประสิทธิภาพสูง การขี่จักรยานนอนช่วยลดปัญหาเจ็บก้นไปได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์เพราะไม่ต้องนั่งบนอานให้น้ำหนักตัวกดทับกระดูกก้นกบกันอาน ไม่ปลดคอเพราะไม่ต้องก้มมือไม่ชาเพราะไม่ได้ก้มจึงไม่มีน้ำหนักตัวกดลงไปที่อุ้งมือ โดยเฉพาะผู้มีปัญหาปวดหลังแล้วจักรยานนอนเหมาะมาก
เมื่อมองถึงด้านนิรภัยจะพบความจริงอีกข้อหนึ่ง ว่าน้ำหนักคนขี่กระจายลงอย่างทั่วถึงในจักรยานนอน พอน้ำหนักถูกระจายทั่วคุณก็ใช้เบรกหน้าได้อย่างสบาย ๆ ไม่มีทางตีลังกาข้ามแฮนด์ไปได้เลยเพราะลำตัวคนขี่ไม่ได้ก้มอยู่เหนือแฮนด์ เท้านักจักรยานยังยันถึงพื้นได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องลุกจากที่นั่งเหมือนพวกสองล้อ ข้อเสียเปรียบคือมันค่อนข้างเตี้ยกว่าจักรยานธรรมดาเพราะต้องนอนขี่ เลยทำให้ทัศนวิสัยจำกัดโดยเฉพาะถ้าจะมองข้ามหลังรถยนต์คันหน้านั้นทำไม่ได้เลย มองข้าง ๆ ก็ไม่ค่อยเห็นเพราะเตี้ยเช่นกัน ข้อด้อยนี้จึงทำให้จักรยานนอนถีบไม่เหมาะกับการใช้งานในเมือง อีกประการหนึ่งคือเมื่อความเร็วลดต่ำมาก ๆ จะทำให้ความสามารถในการทรงตัวด้อยลง จึงไม่เหมาะจะขี่ขึ้นที่สูงอย่างสะพานชันและเนินเขา ไม่เหมือนจักรยานสองล้อที่สามารถลุกขึ้นโยกได้
จักรยานนอนแบบระยะฐานล้อสั้นจะเบากว่าและควบคุมทิศทางได้ง่ายกว่าแบบฐานล้อยาว ด้วยการนอนปั่นจึงทำให้ลูกบันไดวางตัวอยู่เหนือพื้นได้มาก ถ้าอยากขี่จักรยานแบบนี้คงต้องฝึกกันสักระยะหนึ่ง จึงจะเคยชินกับท่าทางการขี่แบบใหม่ที่แตกต่างจากสองล้อหรือสามล้อธรรมดาสิ้นเชิง ข้อดีหนึ่งที่ทดแทนกันได้คือมันทำความเร็วได้สูงเพราะลู่ลมแต่ขณะเดียวกันก็เลี้ยวโค้งได้ยากเมื่อความเร็วต่ำ และเมื่อคนขี่อยู่ในท่านอนหรือท่านั่งระดับต่ำ การให้สัญญากับรถยนต์คันหน้าจะทำได้ยาก วิธีแก้ก็คือติดเสาธงไว้กับหลังที่นั่ง มันต้องสูงพอที่คนขับรถจะเห็นได้ทั้งจากข้างหน้าและข้างหลัง
แฮนด์ของจักรยานนอนอาจจะวางไว้เหนือหรือใต้แนวขาก็ได้แล้วแต่การออกแบบ การวางแฮนด์ต่ำไม่ได้หมายความว่าเพื่อให้ลู่ลม แต่เพื่อเน้นผ่อนคลายมากกว่าสิ่งใด การให้แฮนด์ลอยอยู่สูงและคนขี่ทำท่าเหมือนกับโหนราวอะไรสักอย่างจะทำให้เลือดไม่เดินและปวด ชา ทำให้ขี่ทางไกลได้ยาก
ปัจจุบันมักมีผู้เอาจักรยานนอนปั่นมาทำลานสถิติกันมากด้านความเร็วทางตรง เป็นจักรยานที่ให้ความสนุกสนานได้ดีเมื่อขี่กันเป็นกลุ่ม แต่ยังไม่เหมาะกับการใช้ในเมืองเนื่องจากขึ้น ลงยาก ทรงตัวยากตอนแรก ๆ อาจเป็นอันตรายช่วงออกตัวหน้าไฟแดง ในต่างประเทศเราจึงเห็นมันในชนบทที่ถนนมีรถแล่นน้อยสำหรับพวกนักจักรยานวันหยุดผู้พิสมัยความสนุทรีย์ในท่านอนขี่มากกว่านั่ง
ไม่ว่าจะเป็นจักรยานสามล้อหรือนอนถีบ ทั้งสองแบบนี้ต่างหาดูได้ยากในเมืองไทย เพราะคนไทยไม่นิยมเล่น สามล้อนั้นอาจมีให้เห็นบ้างในบางจังหวัดไกล ๆ แต่ก็เป็นแบบเพื่อทำมาหากินอย่างเดียว แต่ที่ใช้สามล้อเพื่อออกกำลังกายแบบจริงจังนั้นไม่มี เนื่องจากภาพของมันทำให้นึกถึงแต่เด็กขี่สามล้อ ผู้ใหญ่ขี่สามล้อถ้าไม่ใช่เพื่อรับจ้างคงดูพิลึก ชอบกลอยู่
ส่วนจักรยานนอนถีบนั้นก็แทบไม่มีเหมือนกันในเมืองไทย น่าจะเป็นเพราะลักษณะการวางตัวคนขี่มากกว่าอย่างอื่นที่ทำให้เข้าใจว่าใช้ยาก มีจักรยานนอนถีบให้เห็นบ้างทางภาคเหนือ แต่นอกจากนั้นไม่ค่อยเคยมีใครขี่เลย แล้วคนขี่ก็มักเป็นฝรั่งมากกว่าคนไทย
ทั้งสามล้อและจักรยานนอนถีบคืออีกประเภทของจักรยานที่เราอยากให้เพื่อนรู้จักเพื่อเอาไว้เป็นทางเลือก นอกเหนือไปจากจักรยานสองล้อธรรมดา
จักรยานคือพาหนะแบบแรก ๆ ที่เราคุ้นเคยดี พอเริ่มเดินได้พ่อแม่ก็ซื้อจักรยานให้ มันไม่ใช่จักรยาน 2 ล้ออย่างที่ขี่กันในปัจจุบันแต่เป็น 3 ล้อ เราทุกคนต่างเริ่มต้นกับจักรยาน 3 ล้อก่อนที่จะมารู้จักกับความเพลิดเพลินและความเร็วแบบสองล้อทั้งเสือภูเขา,เสือหมอบ และอื่น ๆ พอรู้จักจักรยาน 2 ล้อแล้วเราก็ละทิ้งเจ้า 3 ล้อมากประโยชน์นี้เสียสิ้นเชิง ทั้งที่มันยังทรงคุณประโยชน์อยู่ ไม่ว่าจะใช้เพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อประโยชน์อื่น เช่น ขนของหรือเพื่อการเดินทางของคนพิการ แม้จักรยาน 3 ล้อจะมีทั้งแบบล้อเดี่ยวข้างหน้าและสองล้อหน้าเพื่อหันเลี้ยวบังคับทิศทาง แต่เราเลือกจะกล่าวถึงแบบแรกมากกว่าแบบหลัง เนื่องจากมันขี่ง่ายกว่าและเป็นที่นิยมมากกว่ามาหลายปีแล้ว ทั้งเพื่อสันทนาการและเพื่อประกอบอาชีพ (สามล้อถีบตามต่างจังหวัดเป็นแบบล้อเดี่ยวอยู่หน้า)
จักรยานสามล้อ
แม้จะดูไม่ค่อยคล่องตัวเพราะมีส่วนกว้างจากสองล้อที่ยื่นออกไปข้างซ้ายและขวา แต่ข้อได้เปรียบของเจ้าสามล้อนี้คือความเสถียร ถึงคุณจะเลี้ยวตัวไม่เก่งบนสองล้อก็ขี่มันได้ เวลาเจอถนนลื่นสามล้ออาจจะไถลบ้างแต่ไม่ต้องกลัวว่ามันจะคว่ำ พอถึงเส้นทางลมแรงก็ไม่ต้องกลัวว่าจะโดยพัดล้มเหมือนสองล้ออีก ใครที่กลัวเรื่องการทรงตัวย่อมไม่กลัวการขี่สามล้อ คนผู้ทุพลภาพสามารถใช้สามล้อดัดแปลงเป็นใช้มือขับเคลื่อนแทนเท้าได้เช่นกัน
สามล้อใช้ง่ายและทรงตัวง่ายกว่าเมื่อบรรทุกสัมภาระหนัก ได้เปรียบอย่างมากเวลาไปช็อปปิ้ง หรือใช้บรรทุกอุปกรณ์เดินป่าตั้งแคมป์กันช่วงสุดสัปดาห์ ใช้บรรทุกลูกหลานเล็ก ๆ ก็ได้ ในสามล้อรับจ้างที่เราเห็นกับบ่อย ๆ ในต่างจังหวัดนั้นจะมีที่นั่งบรรทุกได้สองถึง 3 คน ซึ่งสามารถทำได้ในจักรยานสองล้อซึ่งไม่มีล้อรองรับและกระจายน้ำหนัก
จะดัดแปลงเป็นแทนเดิมแบบขี่สองคนช่วยกันออกแรงพร้อมบรรทุกสัมภาระข้างหลังอีกก็ยังได้ ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากจักรยานสองล้อที่เราคุ้นเคยกันเลยเพียงแต่ล้อมากกว่าและค่อนข้างหาที่จอดยากกว่า แต่เมื่อถึงที่จอดคุณก็เพียงแต่เดินลงมาจากมัน ไม่ต้องพิงหรือใช้ขาตั้งซึ่งอาจล้มได้ง่ายเหมือนสองล้อ ในถนนเมือง สามล้ออาจจะเสียเปรียบตรงที่ไม่สามารถลัดเลาะไปตามแถวรถยนต์ระหว่างการจราจรติดขัด แต่ก็มีผู้ผลิตบางแห่งที่ทำสามล้อให้แคบพอจะเผชิญกับสภาพการจราจรแบบนั้นได้ ข้อดีของมันอีกข้อนอกจากเรื่องการทรงตัวก็คือการมองเห็นสภาพการจราจรได้ไกล มองข้ามหลังคารถได้โดยนั่งอยู่บนอาน เมื่อต้องเปลี่ยนทิศทางมันก็เลี้ยวได้ด้วยมุมแคบ ๆ
ถ้าคุณยังไม่เคยขี่จักรยานสองล้อ การขี่สามล้อจึงเป็นเรื่องแสนง่ายเพราะไม่ต้องทรงตัว ไม่ต้องเลี้ยงตัวเหมือนพวกสองล้อ แค่ก้าวขาขึ้นคร่อมอานแล้วเหยียบลูกบันไดก็สนุกกับมันได้แล้ว สิ่งเดี่ยวที่อาจจะทำให้อึดอัดในตอนแรก ๆ ก็คือลักษณะสามล้อที่แปลก ไม่ค่อยมีใครขี่กันนี่เองซึ่งอาจทำให้เขินจนเลิกขี่ได้ตอนแรก ๆ แต่ถ้าผ่านจุดนั้นมาได้ทุกสิ่งก็ง่ายสำหรับคุณ
การขี่จักรยานสองล้อคือความพยายามสร้างสมดุลให้ได้บนเครื่องจักรซึ่งไร้ความสมดุล มันไม่สามารถตั้งอยู่ได้ด้วยตัวเอง ต้องใช้นักจักรยานสร้างสมดุลให้ด้วยการเลี้ยงตัว พยายามเฉลี่ยน้ำหนักตัวเองให้ลงตรงกลางให้ได้ เมื่อจะล้มไปในทิศทางใดก็ต้องใช้น้ำหนักขืนไปในทิศทางตรงข้าม
เทคนิคที่ต้องฝึกสำหรับสามล้อคือตอนเลี้ยวเข้าโค้ง กับจักรยานสองล้อนั้นเมื่อเข้าโค้งคุณต้องเอนตัวเข้าหาจุดศูนย์กลางโค้ง เพื่อต้านแรงหนีศูนย์กลางและเพื่อช่วยเลี้ยวเวลาเดียวกัน แต่กับสามล้อคุณทำแบบนั้นไม่ได้เพราะมีล้ออีกล้อหนึ่งคอยยันอยู่ไม่ให้เอียง ถ้าตั้งตัวตรงและความเร็วมากพอคุณจะหลุดโค้ง จะเลี้ยวให้ได้ดีจึงต้องเอียงตัวเข้าหาจุดศูนย์กลางโค้งประกอบการบังคับเลี้ยว ใช้แฮนด์ให้ได้ประโยชน์มากที่สุดในเมื่อตรงนั้นไม่มีจุดยกโค้งให้ วิธีฝึกคือคุณต้องหาที่ว่างให้ได้แม้ขนาดเท่ากับเครื่องเดียวกับสนามบาสเก็ตบอลก็พอ แล้วจากนั้นจึงพยายามเลี้ยวให้ได้ภายในความกว้าง ตามปกติแล้วเลี้ยวได้แค่ครึ่งของความกว้างเท่านั้นเว้นแต่ใช้ความเร็วค่อนข้างสูงจะต้องใช้การเอี้ยวตัวเข้าหาวงในช่วย
ข้อควรระวังของสามล้อมีอยู่ไม่กี่อย่างและหนึ่งในนั้นคือเมื่อเข้าโค้งคุณควรเอนตัวเข้าด้านในให้เหมาะสมตามความเร็วที่พุ่งมา หากไม่เอนตัวไม่สมดุลกับความเร็วแล้วล้อด้านในอาจยกตัวขึ้นส่งผลให้ตะแคงแอ้งแม้งได้ อย่าพยายามตีโค้งให้เร็วโดยไม่ได้ฝึกมาก่อน เพราะคุณจะประมาณความเร็วและเอนตัวได้ไม่มากพอชดเชยน้ำหนักหนีศูนย์กลางที่พยายามยกล้อด้านใน
เมื่อเข้าโค้งนั้นการใช้เพลาเดียวกันอาจทำให้ลำบากในการทรงตัว เพราะล้อด้านในที่หมุนเร็วเท่า ๆ กับด้านนอกจะพยายาม “ดิ้น” จนหลุดโค้งถ้าความเร็วมากพอ เพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้บางแบบจึงติดระบบแยกเพลาแบบดิฟเฟอเรนทิเอท มาให้เพื่อปรับการทำงานของล้อด้านในและนอกให้สมดุล ถ้าคุณนึกไม่ออกว่าระบบดิฟเฟอเรนทิเอท ของสามล้อเป็นยังไงก็ลองคิดถึงรถยนต์ เวลายกมันขึ้นขาตั้งตอนจะอัดฉีดให้ลองไปหมุนล้อข้างใดข้างหนึ่งดูแล้วจะพบว่าอีกข้างนั้นหมุนไปทางตรงกันข้ามเพราะเวลาเข้าโค้งล้อด้านในจะหมุนด้วยความเร็วต่ำกว่าล้อด้านนอกตามความเป็นจริง ดิฟเฟอเรนทิเอทจะช่วยให้มันหมุนตามลักษณะดังกล่าว เพราะหากปล่อยให้ล้อทั้งคู่หมุนด้วยความเร็วเท่ากันรถจะไม่เกาะถนน เป็นสาเหตุหนึ่งของการแหกโค้ง
สามล้อเป็นจักรยานแบบที่ฝรั่งเรียกว่า “Three tracks” ล้อแต่ละล้อมีแนวทางการเคลื่อนที่ของตัวเอง แตกต่างจากสองล้อซึ่งล้อหลังวิ่งทับรอยของล้อหน้าจึงได้เปรียบกว่าในเส้นทางวิบากมีหลุมบ่อมากหรือที่ทุรกันดาร ข้อเสียที่มีก็คือด้านความเร็วที่มีแรงฉุดมากกว่าสองล้อจากล้อที่สามที่ยื่นออกมาก มันเพิ่มทั้งน้ำหนักและแรงฉุด ถ้ามีเกียร์ก็ต้องทำพิเศษเพราะต้องร้อยเพลาเข้ากลางแกนดุม แตกต่างจากจักรยานสองล้อซึ่งติดเฟืองไว้ปลายดุม ในจักรยานสามล้อทั่วไปจะวางเบรกไว้ล้อหน้า เพราะตำแหน่งติดเบรกล้อหลังหาค่อนข้างยาก ต้องใช้ความระมัดระวังสูงสุดเมื่อปั่นลงทางชันมวลที่มากบวกกับเบรกที่ด้อยอยู่แล้วอาจทำให้เสียการทรงตัว มันจึงเหมาะกว่าถ้าจะใช้แต่เฉพาะทางราบ
จักรยานนอนถีบ (Recumbent)
เมื่อพูดถึงรีคัมเบนต์แล้วจะพบว่ามันมีความแตกต่างหลายข้อจากจักรยานสองล้อหรือสามล้อธรรมดา ที่เห็นชัด ๆ นอกจากท่าทางการขี่ก็คือลักษณะทางเรขาคณิตมีมากมายหลายขนาดและแบบ จะให้เป็นแทนเดมเพื่อขี่สองคนช่วยกันปั่นก็ได้
ข้อได้เปรียบของจักรยานนอนถีบ ก็คือความสบายและประสิทธิภาพสูง การขี่จักรยานนอนช่วยลดปัญหาเจ็บก้นไปได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์เพราะไม่ต้องนั่งบนอานให้น้ำหนักตัวกดทับกระดูกก้นกบกันอาน ไม่ปลดคอเพราะไม่ต้องก้มมือไม่ชาเพราะไม่ได้ก้มจึงไม่มีน้ำหนักตัวกดลงไปที่อุ้งมือ โดยเฉพาะผู้มีปัญหาปวดหลังแล้วจักรยานนอนเหมาะมาก
เมื่อมองถึงด้านนิรภัยจะพบความจริงอีกข้อหนึ่ง ว่าน้ำหนักคนขี่กระจายลงอย่างทั่วถึงในจักรยานนอน พอน้ำหนักถูกระจายทั่วคุณก็ใช้เบรกหน้าได้อย่างสบาย ๆ ไม่มีทางตีลังกาข้ามแฮนด์ไปได้เลยเพราะลำตัวคนขี่ไม่ได้ก้มอยู่เหนือแฮนด์ เท้านักจักรยานยังยันถึงพื้นได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องลุกจากที่นั่งเหมือนพวกสองล้อ ข้อเสียเปรียบคือมันค่อนข้างเตี้ยกว่าจักรยานธรรมดาเพราะต้องนอนขี่ เลยทำให้ทัศนวิสัยจำกัดโดยเฉพาะถ้าจะมองข้ามหลังรถยนต์คันหน้านั้นทำไม่ได้เลย มองข้าง ๆ ก็ไม่ค่อยเห็นเพราะเตี้ยเช่นกัน ข้อด้อยนี้จึงทำให้จักรยานนอนถีบไม่เหมาะกับการใช้งานในเมือง อีกประการหนึ่งคือเมื่อความเร็วลดต่ำมาก ๆ จะทำให้ความสามารถในการทรงตัวด้อยลง จึงไม่เหมาะจะขี่ขึ้นที่สูงอย่างสะพานชันและเนินเขา ไม่เหมือนจักรยานสองล้อที่สามารถลุกขึ้นโยกได้
จักรยานนอนแบบระยะฐานล้อสั้นจะเบากว่าและควบคุมทิศทางได้ง่ายกว่าแบบฐานล้อยาว ด้วยการนอนปั่นจึงทำให้ลูกบันไดวางตัวอยู่เหนือพื้นได้มาก ถ้าอยากขี่จักรยานแบบนี้คงต้องฝึกกันสักระยะหนึ่ง จึงจะเคยชินกับท่าทางการขี่แบบใหม่ที่แตกต่างจากสองล้อหรือสามล้อธรรมดาสิ้นเชิง ข้อดีหนึ่งที่ทดแทนกันได้คือมันทำความเร็วได้สูงเพราะลู่ลมแต่ขณะเดียวกันก็เลี้ยวโค้งได้ยากเมื่อความเร็วต่ำ และเมื่อคนขี่อยู่ในท่านอนหรือท่านั่งระดับต่ำ การให้สัญญากับรถยนต์คันหน้าจะทำได้ยาก วิธีแก้ก็คือติดเสาธงไว้กับหลังที่นั่ง มันต้องสูงพอที่คนขับรถจะเห็นได้ทั้งจากข้างหน้าและข้างหลัง
แฮนด์ของจักรยานนอนอาจจะวางไว้เหนือหรือใต้แนวขาก็ได้แล้วแต่การออกแบบ การวางแฮนด์ต่ำไม่ได้หมายความว่าเพื่อให้ลู่ลม แต่เพื่อเน้นผ่อนคลายมากกว่าสิ่งใด การให้แฮนด์ลอยอยู่สูงและคนขี่ทำท่าเหมือนกับโหนราวอะไรสักอย่างจะทำให้เลือดไม่เดินและปวด ชา ทำให้ขี่ทางไกลได้ยาก
ปัจจุบันมักมีผู้เอาจักรยานนอนปั่นมาทำลานสถิติกันมากด้านความเร็วทางตรง เป็นจักรยานที่ให้ความสนุกสนานได้ดีเมื่อขี่กันเป็นกลุ่ม แต่ยังไม่เหมาะกับการใช้ในเมืองเนื่องจากขึ้น ลงยาก ทรงตัวยากตอนแรก ๆ อาจเป็นอันตรายช่วงออกตัวหน้าไฟแดง ในต่างประเทศเราจึงเห็นมันในชนบทที่ถนนมีรถแล่นน้อยสำหรับพวกนักจักรยานวันหยุดผู้พิสมัยความสนุทรีย์ในท่านอนขี่มากกว่านั่ง
ไม่ว่าจะเป็นจักรยานสามล้อหรือนอนถีบ ทั้งสองแบบนี้ต่างหาดูได้ยากในเมืองไทย เพราะคนไทยไม่นิยมเล่น สามล้อนั้นอาจมีให้เห็นบ้างในบางจังหวัดไกล ๆ แต่ก็เป็นแบบเพื่อทำมาหากินอย่างเดียว แต่ที่ใช้สามล้อเพื่อออกกำลังกายแบบจริงจังนั้นไม่มี เนื่องจากภาพของมันทำให้นึกถึงแต่เด็กขี่สามล้อ ผู้ใหญ่ขี่สามล้อถ้าไม่ใช่เพื่อรับจ้างคงดูพิลึก ชอบกลอยู่
ส่วนจักรยานนอนถีบนั้นก็แทบไม่มีเหมือนกันในเมืองไทย น่าจะเป็นเพราะลักษณะการวางตัวคนขี่มากกว่าอย่างอื่นที่ทำให้เข้าใจว่าใช้ยาก มีจักรยานนอนถีบให้เห็นบ้างทางภาคเหนือ แต่นอกจากนั้นไม่ค่อยเคยมีใครขี่เลย แล้วคนขี่ก็มักเป็นฝรั่งมากกว่าคนไทย
ทั้งสามล้อและจักรยานนอนถีบคืออีกประเภทของจักรยานที่เราอยากให้เพื่อนรู้จักเพื่อเอาไว้เป็นทางเลือก นอกเหนือไปจากจักรยานสองล้อธรรมดา
การดูแลรักษาจักรยานเสือภูเขาด้วยตนเอง
แม้คุณจะมิใช่ช่างซ่อมเสือภูเขา และคุณอาจรู้เรื่องเครื่องจักรกลน้อยถึงน้อยมาก แต่เพื่อความสนุกสนานในการเดินทางโดยไม่มีอุปสรรคจุกจิก ในระหว่างการเดินทางแต่ละครั้ง คุณสามารถดูแลเสือภูเขาด้วยตนเองได้ตามตารางการดูแลดังต่อไปนี้
ทุกครั้งก่อนการนำเสือภูเขาออกทริป
- ตรวจการเกาะของดุมล้อให้แน่นหนา
- ตรวจสภาพยางและความดันของลม
- ตรวจคอแฮนด์ให้ตั้งตรงทางและแน่นหนา
- ตรวจสอบการทำงานของเบรกให้เป็นปกติ
- ฉีดน้ำมันหล่อลื่นตามจุดต่างๆให้ครบครัน
ทุกครั้งเมื่อสิ้นสุดการเดินทาง
- ล้างและเช็ดตัวจักรยานและชิ้นส่วนต่างๆ และตากให้แห้งสนิท
- ตรวจดูร่องรอยการกระทบกระแทกและบาดแผลต่างๆ หากมี ให้ฉีดน้ำยากันสนิมและน้ำมันรักษาเนื้อโลหะ
- ฉีดน้ำมันหล่อลื่นตามจุดต่างๆให้ครบครัน ตรวจทุกสัปดาห์
- เช็ดตัวรถด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ ให้ทั่วคัน
- ตรวจซี่ลวดไม่ให้หย่อน
ตรวจทุกเดือน - ตรวจสอบและหยอดน้ำมันโซ่และเฟืองท้าย
- ตรวจสอบและหล่อลื่นตัวจัดเฟือง
- ตรวจหานอตที่หลวมตามจุดต่างๆ
- ตรวจสอบสายเกียร์และเบรก หารอยสึกและชำรุด
- ตรวจสอบและปรับลูกปืนคอจักรยาน
ตรวจทุก 3 เดือน
- ตรวจดูรอยสึกของขอบล้อ เปลี่ยนถ้าจำเป็น
- ตรวจและหล่อลื่นมือจับเบรก
- ทำความสะอาดจักรยานทั้งคันด้วยผ้าและน้ำอุ่น
- ตรวจสอบชุดบันได
ตรวจปีละครั้ง
- อัดจาระบีลูกปืนที่กะโหลกและแกนบันได
- อัดจาระบีลูกปืนล้อหน้าและล้อหลัง
- อัดจาระบีคอจักรยาน
- หล่อลื่นหลักอาน
หวังว่าเพื่อน ๆ คงจะไม่ลืมดูแลรักษาจักรยานคันเก่งของเราให้ใช้งานได้ดีเสมอนะครับ จะได้ใช้งานคู่กันไปอีกนานแสนนาน
วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558
แต่งตัวดีมีสไตล์ ไม่ไร้เหตุผล
เวลาไปขี่จักรยานรวมกลุ่มกับเพื่อน ๆ คุณ เคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ทำไมใครถึงต้องแต่งตัวอย่างนั้นอย่างนี้ ยางคนมีเครื่องประดับแปลก ๆ เช่นฮาร์เรทมอนิเตอร์ หรือกระจกมองหลังติดหน้าหมวกกันกระแทก บางคนสวมแว่นตาเลนส์ฉาบปรอทในขณะที่บางคนสวมแว่นตาเลนส์ไส ๆ บางคนนุ่งกางเกงไลคราธรรมดา ขณะที่อีกคนนุ่งกางเกงเอี้ยม ไม่ว่าจะเป็นสไตล์ไหนหรือของใครก็ตาม ทั้งหมดนี้นักจักรยานต่างทำเพื่อความมั่นใจ สะดวกสบายและปลอดภัยของตัวเองทั้งสิ้น บางคนอาจคำนึงถึงแค่ป้องกันอันตรายและเพื่อสะดวก อีกหลายคนบอกว่ามันต้องดูดี ต้องมีสไตล์ด้วย จะได้เข้ากับรถจักรยานราคาแพงระยับของตน ประมาณว่าจักรยานแพงแล้วจะมาแต่งตัวเห่ย ๆ ได้อย่างไร ลองดูเรื่องราวที่จะเล่า แล้วคุณจะทราบว่าเบื้องหลังสไตล์ของแต่ละคนนั้นมีเหตุผลแฝงอยู่
แว่นกันแดด ลม : สวมมันให้ขาแว่นทับสายรัดคาง ไม่ใช่สวมสายรัดคางทับขาแว่น
แฟชั่น : ถ้าคุณใช้แว่นราคาแพงอย่างโอคลีย์หรือรูดี้ หรือแบรนด์ไหนก็ตามที่รู้จักกันในวงการว่าอยู่บนใบหน้านักจักรยานระดับโปรฯมากที่สุด การสวมมันทับสายรัดคางจะช่วยให้โลโก้ดูเด่นเป็นสง่า ไปไหนใคร ๆ ก็รู้ว่าใช้ของจริงของแพง
ประโยชน์ : การให้ขาแว่นพาดทับสายรัดคางจะทำให้สายรัดคางนั้นกดขาเข้ากับกะโหลกของคุณ เป็นความกดดันอันไม่พึงปรารถนา ทั้งเจ็บและน่ารำคาญเมื่อขี่ทางไกลเป็นชั่วโมง การพาดขาแว่นบนสายรัดคางยังช่วยอำนวยความสะดวกให้คุณด้วยเวลาสวมหรือถอดแว่น ถอดง่ายสวมง่ายไม่ต้องกะระยะนาน ไม่อันตรายเพราะสายรัดจะไม่กดขาแว่นจนโค้งแล้วเด้งไปเกี่ยวลูกตาตอนดึงออก ข้อนี้อย่าทำเป็นเล่นไปเพราะมีสิทธิ์ตาบอดได้
กางเกงทรงแบ็กกี้ : สวมเพื่อความคล่องตัวเวลาขี่จักรยานไปทำธุระ
แฟชั่น : ใช้เพื่อขี่จักรยานในละแวกบ้านหรือไปไหนมาไหนใกล้ ๆ บ่งบอกให้รู้รสนิยมอันวิไลของคุณเมื่อใช้กางเกงทรงแบ็กกี้ เสริมเป้าแล้วมีกางเกงผ้าไลคราซ้อนด้านใน ถ้าต้องการความสะดวกสบายหรือไม่จำเป็นต้องเสริมเป้าถ้าไปทำธุระหรือขี่เล่นใกล้ๆ มีแต่พวกบ้าเห่อเท่านั้นที่สวมกางเกงผ้าไลครารัดรูปมาขี่จักรยานไปซื้อของแค่ปากซอยใน เซเว่น อีเลฟเว่น
ประโยชน์ : การมีขากางเกงเปื้อนน้ำมันหยอดโซ่จักรยานเป็นเรื่องเหลือทนจริง ๆ ทั้งสกปรกและดูไม่ดีเอาเสียเลยเผลอ ๆ คุณอาจต้องเสียกางเกงขายาวตัวนั้นไปตลอดกาลเพราะซักคราบน้ำมันไม่ออก การเลือกใช้กางเกงทรงแบ็กกี้จึงดีที่สุด จะให้ดีกว่าแค่แบ็กกี้ก็ควรเป็นกางเกงแบ็กกี้สำหรับขี่จักรยานด้วย เพื่อให้มีกางเกงผ้าไลคราบุเป้าเสริมด้านในสะดวกสบายยามขี่ใกล้ ๆ หรือหากเกิดอารมณ์มันส์ ๆ ขึ้นมาจะเพิ่มระยะทางมันก็จะช่วยได้มาก แล้วยังใช้เพื่อทำธุระอื่นได้ด้วยโดยไม่ต้องกระดากหวาดหวั่นว่าใครจะมามองเป้ากางเกง มีประโยชน์ใช้สอยมากมายด้วยกระเป๋ารอบตัว
ช่วงขาชโลมน้ำมัน : ทำให้ช่วงขาเป็นมัน เน้นกล้ามเนื้อให้ดูเด่นกว่าเดิมดีกว่าปล่อยให้เห็นรอยผิวหนังแห้งแตก
แฟชั่น : การโกนขนแล้วทาขาด้วยน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันนวดหรือโลชั่นให้ความชุ่มชื้นผิว ช่วยให้ขาดูเป็นมันเน้นกล้ามเนื้อ และดูเหมือนพวกโปรที่ปั่นเร็ว ๆ แม้ว่าจริง ๆ แล้วอาจจะปั่นจักรยานไม่เอาไหนก็ตาม
ประโยชน์ : นอกจากจะช่วยให้ดูดีถ้าน้ำมันนวดแล้วร้อนมันจะช่วยให้กล้ามเนื้อของคุณอุ่นขึ้น กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้นด้วย โดยเฉพาะในฤดูฝนเมื่อทาน้ำมันนี้จะทำให้ฝนและโคลนไม่ค่อยจับตัวกับขา ล้างออกได้ง่าย
เสื้อและกางเกงผ้ายึดสแปนเด็กซ์ (บ้างก็เรียกว่าผ้าไลครา) : ฟิตเข้ารูปดูดีเหมือนมือโปรเมื่อสวมใส่
แฟชั่น : เสื้อขี่จักรยานผ้ายึดของคุณควรสั้นเหนือเป้ากางเกง ปลายขากางเกงไม่ควรเปื่อยยุ่ยหรือยาวเลยหัวเข่าเหนือหัวเข่าคือความยาวที่ดี ทั้งเสื้อและกางเกงควรจะเข้ารูปพอดีกับสรีระของคุณ เหมือนผิวหนังชั้นที่สอง ถ้าคุณไม่มีหน้าท้องร่างกายไร้ไขมันอยู่แล้วชุดฟิต ๆ นี้จะช่วยให้ดูดีเซ็กซี่ขึ้นมาก (ขอบอก)
ประโยชน์ : ปัจจุบันนี้ชุดขี่จักรยานจะถูกออกแบบและตัดเย็บด้วยผ้ายึดเทคโนโลยีสูง ระบายได้หมดจดทั้งความร้อนและความชื้นจากเหงื่อ มันหายใจได้ตามคำโฆษณา ช่วยให้คุณสบายตัวตลอดระยะทางที่ควบจักรยานคันโปรด แตกต่างเห็นได้ชัดจากเสื้อกางเกงธรรมดา ถูกออกแบบมาเพื่อขี่จักรยานโดยเฉพาะด้วยกระเป๋าด้านหลังให้ใส่อุปกรณ์และสิ่งของในตำแหน่งหยิบจับได้สะดวก กางเกงสั้นเหนือเข่าช่วยให้เนื้อผ้าไม่เกี่ยวกับหัวเข่าจนรำคาญ คล่องตัวถูกจังหวะของการปั่น
กางเกงเอี้ยม (Bibs) : กางเกงต่อสายรั้งไหล่ ช่วยให้พุงไม่กระเพื่อม (ถ้าคุณมีพุง)น่าเกลียด
แฟชั่น : มันน่าสวมใส่เพราะพวกโปรในเปโลต็องชอบสวม เท่โคตร ๆ เวลาปล่อยซิปเสื้อทั้งหมดชายเสื้อปลิวไสวดูเหมือนพวกโปรช่วงท้าย ๆ สเตจ ใคร ๆ ประมาทฝีมือคุณไม่ได้แน่เมื่อเห็นคุณสวมกางเกงเอี้ยม
ประโยชน์ : นอกจากสวยงามเหมือนพวกมือโปรแล้วมันยังกระชับกับสัดส่วนคุณด้วย โดยเฉพาะจะให้ความสะดวกสบายจริง ๆ กับช่วงกลางของลำตัวปราศจากสายรัดเอวที่จะรั้งเข้าไปจนพุง (ถ้ามี) กระเพื่อมหลามออกมา ไม่ต้องเสี่ยงกับการกลั่นแกล้งของเพื่อน ที่ขอบขี่มาใกล้ ๆ ด้านหลังแล้วชอบดึงกางเกงคุณลงมาเกี่ยวไว้กับอาน
วางตำแหน่งวาล์วไว้ตรงกับแบรนด์ของยาง : เท่และดูดีเป็นระเบียบ
แฟชั่น : ช่วยให้คุณดูดีและใคร ๆ ที่พบเห็นจะเข้าใจได้ว่าคุณใส่ใจในรายละเอียด เวลาประกอบยางเข้ากับล้อหากไม่ทำเช่นนี้ก็เหมือนกับเดินในห้างสรรพสินค้าโดยไม่รูดซิปกางเกงนั่นเอง
ประโยชน์ : การวางตำแหน่งแบรนด์ยางไว้ให้ตรงกับวาล์ว ไม่ใช่แค่สะดวกแต่ยังช่วยให้จำได้ง่ายถึงขนาดและหน้ายาง ค้นหาได้รวดเร็วเมื่อจะทำธุระอื่นดับยางเช่นจำหน้ายางไปซื้อใหม่มาเปลี่ยน หรือต้องการทราบความดันลมยางที่ถูกต้องก่อนเติมลม เพียงกวาดตามองที่จุดเดียวคือตรงวาล์วยางคุณก็รู้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาหมุนวงล้อเป็นรอบ
โกนขนหน้าแข้ง : ดูเหมือนโปรและสวยงามในส่วนของเนื้อขาที่โผล่พ้นกางเกง
แฟชั่น : เพราะนักจักรยานระดับโลกชอบโกนกัน คุณจึงต้องโกนขนหน้าแข้งเพื่อให้ดูเหมือนพวกมือโปรเหล่านั้นความเชื่อบางแระแสบอกว่ามันช่วยให้ลู่ลมยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในทางเรียบ แต่เราเชื่อว่าคุณโกนขนหน้าแข้งเพื่อให้ขาสวยตอนซอยรอบถี่ ๆ บนบันไดและเหมือนพวกนักจักรยานระดับโลกเหล่านั้น มากกว่าอย่างอื่น
ประโยชน์ : นอกจากจะสวยงามประโยชน์ที่แท้จริงของการโกนขนหน้าแข้งคือช่วยให้สะอาด ล้างสิ่งสกปรกออกง่ายไม่ว่าคุณจะขี่ทางเรียบหรือวิบาก โดยเฉพาะเมื่อพลาดท่าล้มเป็นแผลที่ขาจะทำให้ดูแลยาดแผลได้ง่ายและสะอาดกว่าปล่อยให้มีขนรุงรัง การทาโลชั่นหรือน้ำมันนวดให้ร้อนก็ทำได้สะดวกกว่าปล่อยขนไว้เหมือนกัน
ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นเส้นผมบังภูเขาที่เรา ๆ ไม่เคยสนใจเท่าไร พอเห็นใครทำอะไรเท่ ๆ หน่อยก็ทำตามไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องการโกนขนหน้าแข้งหรืออื่น ๆ อ่านแล้วคงทราบนะครับว่าเบื้องหลังความเท่นั้นมีเหตุผลและความจำเป็นแฝงอยู่
แว่นกันแดด ลม : สวมมันให้ขาแว่นทับสายรัดคาง ไม่ใช่สวมสายรัดคางทับขาแว่น
แฟชั่น : ถ้าคุณใช้แว่นราคาแพงอย่างโอคลีย์หรือรูดี้ หรือแบรนด์ไหนก็ตามที่รู้จักกันในวงการว่าอยู่บนใบหน้านักจักรยานระดับโปรฯมากที่สุด การสวมมันทับสายรัดคางจะช่วยให้โลโก้ดูเด่นเป็นสง่า ไปไหนใคร ๆ ก็รู้ว่าใช้ของจริงของแพง
ประโยชน์ : การให้ขาแว่นพาดทับสายรัดคางจะทำให้สายรัดคางนั้นกดขาเข้ากับกะโหลกของคุณ เป็นความกดดันอันไม่พึงปรารถนา ทั้งเจ็บและน่ารำคาญเมื่อขี่ทางไกลเป็นชั่วโมง การพาดขาแว่นบนสายรัดคางยังช่วยอำนวยความสะดวกให้คุณด้วยเวลาสวมหรือถอดแว่น ถอดง่ายสวมง่ายไม่ต้องกะระยะนาน ไม่อันตรายเพราะสายรัดจะไม่กดขาแว่นจนโค้งแล้วเด้งไปเกี่ยวลูกตาตอนดึงออก ข้อนี้อย่าทำเป็นเล่นไปเพราะมีสิทธิ์ตาบอดได้
กางเกงทรงแบ็กกี้ : สวมเพื่อความคล่องตัวเวลาขี่จักรยานไปทำธุระ
แฟชั่น : ใช้เพื่อขี่จักรยานในละแวกบ้านหรือไปไหนมาไหนใกล้ ๆ บ่งบอกให้รู้รสนิยมอันวิไลของคุณเมื่อใช้กางเกงทรงแบ็กกี้ เสริมเป้าแล้วมีกางเกงผ้าไลคราซ้อนด้านใน ถ้าต้องการความสะดวกสบายหรือไม่จำเป็นต้องเสริมเป้าถ้าไปทำธุระหรือขี่เล่นใกล้ๆ มีแต่พวกบ้าเห่อเท่านั้นที่สวมกางเกงผ้าไลครารัดรูปมาขี่จักรยานไปซื้อของแค่ปากซอยใน เซเว่น อีเลฟเว่น
ประโยชน์ : การมีขากางเกงเปื้อนน้ำมันหยอดโซ่จักรยานเป็นเรื่องเหลือทนจริง ๆ ทั้งสกปรกและดูไม่ดีเอาเสียเลยเผลอ ๆ คุณอาจต้องเสียกางเกงขายาวตัวนั้นไปตลอดกาลเพราะซักคราบน้ำมันไม่ออก การเลือกใช้กางเกงทรงแบ็กกี้จึงดีที่สุด จะให้ดีกว่าแค่แบ็กกี้ก็ควรเป็นกางเกงแบ็กกี้สำหรับขี่จักรยานด้วย เพื่อให้มีกางเกงผ้าไลคราบุเป้าเสริมด้านในสะดวกสบายยามขี่ใกล้ ๆ หรือหากเกิดอารมณ์มันส์ ๆ ขึ้นมาจะเพิ่มระยะทางมันก็จะช่วยได้มาก แล้วยังใช้เพื่อทำธุระอื่นได้ด้วยโดยไม่ต้องกระดากหวาดหวั่นว่าใครจะมามองเป้ากางเกง มีประโยชน์ใช้สอยมากมายด้วยกระเป๋ารอบตัว
ช่วงขาชโลมน้ำมัน : ทำให้ช่วงขาเป็นมัน เน้นกล้ามเนื้อให้ดูเด่นกว่าเดิมดีกว่าปล่อยให้เห็นรอยผิวหนังแห้งแตก
แฟชั่น : การโกนขนแล้วทาขาด้วยน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันนวดหรือโลชั่นให้ความชุ่มชื้นผิว ช่วยให้ขาดูเป็นมันเน้นกล้ามเนื้อ และดูเหมือนพวกโปรที่ปั่นเร็ว ๆ แม้ว่าจริง ๆ แล้วอาจจะปั่นจักรยานไม่เอาไหนก็ตาม
ประโยชน์ : นอกจากจะช่วยให้ดูดีถ้าน้ำมันนวดแล้วร้อนมันจะช่วยให้กล้ามเนื้อของคุณอุ่นขึ้น กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้นด้วย โดยเฉพาะในฤดูฝนเมื่อทาน้ำมันนี้จะทำให้ฝนและโคลนไม่ค่อยจับตัวกับขา ล้างออกได้ง่าย
เสื้อและกางเกงผ้ายึดสแปนเด็กซ์ (บ้างก็เรียกว่าผ้าไลครา) : ฟิตเข้ารูปดูดีเหมือนมือโปรเมื่อสวมใส่
แฟชั่น : เสื้อขี่จักรยานผ้ายึดของคุณควรสั้นเหนือเป้ากางเกง ปลายขากางเกงไม่ควรเปื่อยยุ่ยหรือยาวเลยหัวเข่าเหนือหัวเข่าคือความยาวที่ดี ทั้งเสื้อและกางเกงควรจะเข้ารูปพอดีกับสรีระของคุณ เหมือนผิวหนังชั้นที่สอง ถ้าคุณไม่มีหน้าท้องร่างกายไร้ไขมันอยู่แล้วชุดฟิต ๆ นี้จะช่วยให้ดูดีเซ็กซี่ขึ้นมาก (ขอบอก)
ประโยชน์ : ปัจจุบันนี้ชุดขี่จักรยานจะถูกออกแบบและตัดเย็บด้วยผ้ายึดเทคโนโลยีสูง ระบายได้หมดจดทั้งความร้อนและความชื้นจากเหงื่อ มันหายใจได้ตามคำโฆษณา ช่วยให้คุณสบายตัวตลอดระยะทางที่ควบจักรยานคันโปรด แตกต่างเห็นได้ชัดจากเสื้อกางเกงธรรมดา ถูกออกแบบมาเพื่อขี่จักรยานโดยเฉพาะด้วยกระเป๋าด้านหลังให้ใส่อุปกรณ์และสิ่งของในตำแหน่งหยิบจับได้สะดวก กางเกงสั้นเหนือเข่าช่วยให้เนื้อผ้าไม่เกี่ยวกับหัวเข่าจนรำคาญ คล่องตัวถูกจังหวะของการปั่น
กางเกงเอี้ยม (Bibs) : กางเกงต่อสายรั้งไหล่ ช่วยให้พุงไม่กระเพื่อม (ถ้าคุณมีพุง)น่าเกลียด
แฟชั่น : มันน่าสวมใส่เพราะพวกโปรในเปโลต็องชอบสวม เท่โคตร ๆ เวลาปล่อยซิปเสื้อทั้งหมดชายเสื้อปลิวไสวดูเหมือนพวกโปรช่วงท้าย ๆ สเตจ ใคร ๆ ประมาทฝีมือคุณไม่ได้แน่เมื่อเห็นคุณสวมกางเกงเอี้ยม
ประโยชน์ : นอกจากสวยงามเหมือนพวกมือโปรแล้วมันยังกระชับกับสัดส่วนคุณด้วย โดยเฉพาะจะให้ความสะดวกสบายจริง ๆ กับช่วงกลางของลำตัวปราศจากสายรัดเอวที่จะรั้งเข้าไปจนพุง (ถ้ามี) กระเพื่อมหลามออกมา ไม่ต้องเสี่ยงกับการกลั่นแกล้งของเพื่อน ที่ขอบขี่มาใกล้ ๆ ด้านหลังแล้วชอบดึงกางเกงคุณลงมาเกี่ยวไว้กับอาน
วางตำแหน่งวาล์วไว้ตรงกับแบรนด์ของยาง : เท่และดูดีเป็นระเบียบ
แฟชั่น : ช่วยให้คุณดูดีและใคร ๆ ที่พบเห็นจะเข้าใจได้ว่าคุณใส่ใจในรายละเอียด เวลาประกอบยางเข้ากับล้อหากไม่ทำเช่นนี้ก็เหมือนกับเดินในห้างสรรพสินค้าโดยไม่รูดซิปกางเกงนั่นเอง
ประโยชน์ : การวางตำแหน่งแบรนด์ยางไว้ให้ตรงกับวาล์ว ไม่ใช่แค่สะดวกแต่ยังช่วยให้จำได้ง่ายถึงขนาดและหน้ายาง ค้นหาได้รวดเร็วเมื่อจะทำธุระอื่นดับยางเช่นจำหน้ายางไปซื้อใหม่มาเปลี่ยน หรือต้องการทราบความดันลมยางที่ถูกต้องก่อนเติมลม เพียงกวาดตามองที่จุดเดียวคือตรงวาล์วยางคุณก็รู้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาหมุนวงล้อเป็นรอบ
โกนขนหน้าแข้ง : ดูเหมือนโปรและสวยงามในส่วนของเนื้อขาที่โผล่พ้นกางเกง
แฟชั่น : เพราะนักจักรยานระดับโลกชอบโกนกัน คุณจึงต้องโกนขนหน้าแข้งเพื่อให้ดูเหมือนพวกมือโปรเหล่านั้นความเชื่อบางแระแสบอกว่ามันช่วยให้ลู่ลมยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในทางเรียบ แต่เราเชื่อว่าคุณโกนขนหน้าแข้งเพื่อให้ขาสวยตอนซอยรอบถี่ ๆ บนบันไดและเหมือนพวกนักจักรยานระดับโลกเหล่านั้น มากกว่าอย่างอื่น
ประโยชน์ : นอกจากจะสวยงามประโยชน์ที่แท้จริงของการโกนขนหน้าแข้งคือช่วยให้สะอาด ล้างสิ่งสกปรกออกง่ายไม่ว่าคุณจะขี่ทางเรียบหรือวิบาก โดยเฉพาะเมื่อพลาดท่าล้มเป็นแผลที่ขาจะทำให้ดูแลยาดแผลได้ง่ายและสะอาดกว่าปล่อยให้มีขนรุงรัง การทาโลชั่นหรือน้ำมันนวดให้ร้อนก็ทำได้สะดวกกว่าปล่อยขนไว้เหมือนกัน
ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นเส้นผมบังภูเขาที่เรา ๆ ไม่เคยสนใจเท่าไร พอเห็นใครทำอะไรเท่ ๆ หน่อยก็ทำตามไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องการโกนขนหน้าแข้งหรืออื่น ๆ อ่านแล้วคงทราบนะครับว่าเบื้องหลังความเท่นั้นมีเหตุผลและความจำเป็นแฝงอยู่
เสือภูเขา Mountain Bike คุณรู้จักมันดีแค่ไหน
เมื่อเห็นจักรยานยางใหญ่ ๆ ดอกหนา ๆ มีช็อคหน้าและหลังเรามักจะเรียกมันว่า “เมาเท่นไบค์” หรือ “เสือภูเขา” ไว้ก่อน โดยแทบไม่สนใจเลยว่ามันเป็นเมาเท่นไบค์จริง ๆ ตามความต้องการของผู้ผลิตหรือไม่ และจักรยานที่ถูกเรียกว่าเมาเท่นไบค์นั้นก็ถูกแบ่งแยกอกไปได้อีกหลายประเภทย่อย ๆ ไม่ได้มีแค่แบบมีตะเกียบช็อคอันเดียวคือฮาร์ดเทลและฟูลซัสเพนชั่นซึ่งมีช็อคหน้า – หลัง แต่มันถูกแบ่งประเภทตามวิธีการใช้งานได้ถึง 6 ประเภท และน่าจะมีแค่ 6 ประเภทนี้ไปอีกนานตราบเท่าที่มนุษย์ยังนึกไม่ออกว่าจะสร้างเมาเท่นไบค์ประเภทไหนขึ้นมาอีก ลองมาดูกันว่าตัวเองขี่เมาเท่นไบค์ประเภทไหนอยู่ หรือไม่แน่จักรยานที่คุณขี่อาจจะไม่ใช่เมาเท่นไบค์เลยก็ได้ ถึงแม้ว่ามันจะยางใหญ่ก็ตาม
Cross country
วัตถุประสงค์ : จักรยานแข่งวิบากหรือ “ครอส คันทรี่” นี้จุดเด่นคือต้องน้ำหนักเบา มีตะเกียบช็อคหน้าเพียงคู่เดียวหรือมีช็อคกันสะเทือนหน้าหลังก็ได้ ช่วงชักของช็อคที่กำหนดไว้ให้จักรยานแบบนี้คือ 4 นิ้ว หรือน้อยกว่านั้นเนื่องจากไม่ได้รับแรงกระทบกระแทกหนักหนาสาหัส เมื่อจักรยานครอส คันทรี่ไม่ได้ถูกขี่ลุยทางวิบากยาว ๆ ที่ไม่ได้เตรียมการไว้ก่อน (trail) ซึ่งเทรลไบค์เข้ามารับช่วงไป นักออกแบบจักรยานจึงสร้างมันให้ตรงกับงานเฉพาะกิจมากขึ้น
ครอส คันทรี่ถูกสร้างให้เบา ไต่ที่สูงได้ง่าย นักจักรยานที่มีประสบการณ์จะใช้มันขี่ในลู่แข่งที่ถูกเตรียมสภาพเอาไว้แล้ว ขี่บนถนนดินและเส้นทางที่ไม่โหดเกินไป น้ำหนักของจักรยานประเภทนี้คือเรื่องใหญ่ ดังนั้น ครอส คันทรี่เก่ง ๆ จึงตองมั่นใจในความเบาของตัวรถ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องคอยระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาดจากการใช้งานด้วย เช่นกระโจนสูงเกิน ลงพื้นกระแทกจนชิ้นส่วนทนไม่ไหว การปรนนิบัติดูแลเป็นประจำไม่ใช่คำแนะนำ แต่เป็นข้อต้องปฏิบัติกันเลยทีเดียวสำหรับ ครอส คันทรี่
น้ำหนัก : ตั้งแต่ 8.50 – 11.25 ก.ก.
ระดับความโหดที่รับได้ : ทำบันนี่ฮ็อปข้ามสิ่งกีดขวางในเส้นทาง เหินได้ระดับเตี้ย ๆ สู้กับทางโหดได้พอประมาณ ไม่ใช่ลุยดงหินกันตลอดเส้นทางหรือมีเนินให้โดดบ่อย ๆ
สิ่งที่มันไม่ใช่ : ความสบายและความทนทาน ล้มเมื่อไรโอกาสพังย่อมสูง จะขี่แบบโหดมาก ๆ ก็รับไม่ไหวอีก
Jump
วัตถุประสงค์ : “จัมพ์” ชื่อบอกอยู่แล้วว่าใช้โดด มันจึงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนอากาศ จะใช้เพื่อเดินทางไปไหน ๆ ทุกวันหรือเอาไปขี่ในเส้นทางวิบากที่ไม่ได้เตรียมการไว้ก็ได้ แต่มันถูกสร้างมาให้เหินจากเนินส่งหรือจะเอาไปตีลังกากลางหาวในสเก็ตพาร์คก็ยังได้ ดูจากสภาพแล้วคงเข้าใจว่าไม่ใช่จักรยานที่สร้างมาให้ขี่นาน ๆ น้ำหนักเบา ๆ จึงไม่เน้นแต่เน้นที่ความทนทาน เกือบทั้งหมดเลยคือฮาร์เทลเฟรมอลูมินั่นและโคร-โมลี เสริมตรงจุดนั้นจุดนี้มากมาย มีระยะห่างมากสำหรับยางหน้ากว้าง ๆ อานค่อนข้างต่ำเพื่อให้คนขี่โยกตัวถ่ายน้ำหนักซ้ายขวาหน้าหลังได้ง่ายเมื่อเหิน เล่นท่าได้สวย ส่วนใหญ่อีกเช่นกันที่ราคาของมันสูง คุณคงไว้ใจอุปกรณ์ราคาถูกไม่ได้เพราะมันคงทนแรงกระแทกจากการกระโดยไม่ไหว
น้ำหนัก : ตั้งแต่ 13.50 -18 ก.ก.
ระดับความโหดที่รับได้ : อะไรก็ได้ที่คนขี่ทนได้ จักรยานทนได้เหมือนกัน ผู้ผลิตจักรยานโดดแทบทั้งหมดไม่ยอมรับประกันชิ้นส่วนของมันนานเพราะธรรมชาติการใช้งานอันสุดโหดของมันนั่นเอง
สิ่งที่มันไม่ใช่: ความสะดวกสบายสำหรับการขี่ในเส้นทางวิบาก และการโดดสูง ๆ โหด ๆ ตลอดเส้นทางแบบดาวน์ฮิลล์
Slalom / 4X
วัตถุประสงค์: มันถูกสร้างให้นักแข่งสองคนแข่งกันลงเนินมาตามช่องทางไม้ปัก (gate) ต้องสาดโค้งตรงดินถม (Berm) ต้องเปลี่ยนทิศทางได้รวดเร็ว เฟรมต้องแข็งเพื่อการสปรินต์ด้วยความเร็วสูง อุปกรณ์ก็ต้องทนไปตามกันแต่ไม่เน้นที่น้ำหนักน้อย ๆ ใช้วัสดุสร้างเฟรมได้ทั้งอลูมินั่มและเหล็กกล้า ต้องเป็นแบบอาร์เทลและมีช่วงชักของข็อค 4 นิ้วหรือน้อยกว่า มันต้องถูกนักแข่งสปรินต์เร่งฝีเท้าสาดโค้งหรือบางครั้งก็ต้องโดดช่วงสั้น ๆ ตลอดเส้นทาง อานจึงสูงพอประมาณ ระดับอานสูงกว่าจักรยานโดด แต่ไม่สูงเท่ากับครอส คันทรี่เพราะต้องการศูนย์ถ่วงต่ำเวลาเข้าโค้งและโดด พวกนักแข่งเก่ง ๆ อาจจะใช้อุปกรณ์เบา ๆ ได้แต่ก็ต้องมีช่างคอยอยู่ปลายทางเพราะมันอาจพังพร้อมกับการแข่งเสร็จ
น้ำหนัก : 12 – 14 ก.ม.
ระดับความโหดที่รับได้ : อะไรก็ตามที่มีในสนามที่ถูกเตรียมการเอาไว้แล้วเช่นในสนามสลาลอม พร้อมตารางเวลาการดูแลเฟรมและอุปกรณ์สม่ำเสมอ
สิ่งที่มันไม่ใช่ : การขี่อย่างดาวน์ฮิลล์ที่บินสูง กระแทกหนัก หักกระจาย โดดแบบจักรยานโดด และไม่น่าจะมีอายุการใช้งานนานกว่า 2 ปี
Trail Rider
วัตถุประสงค์ : จักรยานประเภทนี้ถูกสร้างมาเพื่อลุยทางวิบากโดยเฉพาะ เป็นจักรยานในดวงใจของใคร ๆ หลาย ๆ คนเพราะซื้อมาแล้วคุ้ม จักรยานเทรลมีแบบเดียวเท่านั้นคือ ฟูลซัสเพนชั่นมีช็อคหน้า-หลัง ช่วงชักมากกว่าครอส คันทรี่ 2 นิ้ว คือ 6 นิ้ว เพื่อให้รองรับสภาพเส้นทางที่วิบากเองโดยธรรมชาติ (ย่อมโหดกว่าที่มนุษย์ทำ) บางครั้งเทรลไบค์อาจมีฮาร์ดเทลเข้ามาปะปนแต่นั่นไม่ใช่คำตอบแท้ ๆ ของเส้นทางวิบาก ความสามารถในการไต่และอัตราเร่งช่วงทางเรียบคือกุญแจสำคัญของเทรลไบค์ แต่คนขี่ยังต้องบังคับทิศทางจักรยานอยู่ได้อย่างคล่องแคล่วไม่เสียการทรงตัว เพราะสภาพจักรยานที่รองรับภารกิจวิบากปานกลางได้กว้าง บริษัทผลิตจักรยานจึงนิยมผลิตรถชนิดนี้ออกมามาก มันไม่ต้องเบามากแต่ต้องทนและทรงตัวดี ทุกเส้นทาง ระบบกันสะเทือนต้องดี ทน เกาะเส้นทางพอประมาณ เทรบไบค์แพงที่สุดใช้เฟรมสร้างจากคาร์บอนไฟเบอร์ ในขณะที่อลูมินั่มยังคงเป็นวัสดุยอดนิยม
น้ำหนัก : 11 – 14.50 ก.ก.
ระดับความโหดที่รับได้ : การขี่แบบลุยแหลกพอประมาณ เช่นการโดดจากเนินลงเนินรองรับและทิ้งดิ่งได้ไม่เกิน 3 ฟุต มันสามารถลุยได้สบาย ๆ แบบครอส คันทรี่ ทะยานด้วยความเร็วสูงได้ในพื้นที่ดงหินก้อนเตี้ย ๆ ตะปุ่มตะป่ำแบบที่ครอส คันทรี่รับไม่ไหวแต่มันเอาอยู่เพราะช่วงชักของช็อคยาวกว่า
สิ่งที่มันไม่ใช่ : ขี่โดดตลอดทางแบบดาวน์ฮิลล์หรือวิบากสุดขั้วแบบแบล็คไดมอนด์ การขี่โดดตลอดเวลาหรือสตั้นต์ในสเกตพาร์ค
Black Diamond
วัตถุประสงค์ : ถ้าคุณอยากจะทดสอบความสามารถของตัวเองล่ะก็ใช่เลย แบล็คไดมอนด์เกิดมาเพื่อภารกิจนี้โดยเฉพาะ ชื่อแบล็คไดมอนด์นี้กำเนิดจากเส้นทางที่ถูกกำหนดไว้ในรีสอร์ทหลาย ๆ ที่ เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกไว้ว่าต้องมือโปรเท่านั้นจึงจะผ่านเส้นทางโหดขนาดนี้ไปได้แบบครบสามสิบสอง
เมื่อเน้นให้รับมือกับเส้นทางสุดโหดมันจึงไม่เน้นเรื่องน้ำหนัก จักรยานแบล็คไดมอนด็สามารถเป็นได้ทั้งฮาร์ดเทล น้ำหนักมากถึง 13.50 ก.ก. ใช้เฟรมเสริมความแข็งแกร่งตลอดทั้งคันและช็อคช่วงชักยาว ที่นิยมที่สุดคือช่วงชักยาว 6 – 8 นิ้ว แลกกับน้ำหนักอีกเล็กน้อยที่อาจจะทำให้ปั่นทางเรียบได้ช้าลง แต่มันจะช่วยให้คุณมั่นใจยิ่งขึ้นตลอดเส้นทางวิบากสาหัส ไม่ต้องกลัวเฟรมร้าวหรืออุปกรณ์พังจากการกระแทก ต้องมีดุมธรู-แอ็กเชียลร้อยแกนใหญ่ ล้อทั้งหน้าและหลังต้องใช้ดิสก์เบรกใหญ่เพื่อหยุดได้มั่นใจไม่ว่าจะย่านความเร็วไหนก็ตาม
น้ำหนัก : 16 – 20 ก.ก.
ระดับความโหดที่รับได้ : อะไรก็ตามที่ตัวนักจักรยานทนได้ มันก็ทนได้เหมือนกัน เมาเท่นไบค์แบบแบล็คไดมอนด์ โคตรทนและแข็งแกร่งสุด ๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่ามันจะไม่พัง ถ้าขี่กันแบบไม่บันยะบันยังของทนแค่ไหนก็พัง ถ้าเปรียบจักรยานชนิดนี้เป็นเครื่องบิน คนขี่ก็ไม่ต่างอะไรจากนักบินทดสอบที่ต้องเค้นสมรรถนะของตัวเองและจักรยานออกมาให้หมด รีดมันออกมาให้ถึงที่สุด และเมื่อทำได้เช่นนั้นก็จงระวังให้ดีเถิดว่าอาจมีการแตกหักเสียหายของทั้งเฟรมและอุปกรณ์ อาจจะมีตัวคุณเป็นของแถมด้วยก็ได้
สิ่งที่มันไม่ใช่ : การขี่แบบสบาย ๆ ชิว ๆ ที่ไหน ๆ ก็ตาม ถ้าต้องการแบบนี้ให้ไปใช้ครอส คันทรี่หรือเทรลไบค์จะดีกว่า หรือจะให้กระแทกกระทั้นกันตลอดทางแบบดาวน์ฮิลล์ยังถือว่าแรงไป
Downhill
วัตถุประสงค์ : ถ้าคิดว่าจักรยานอะไรก็ได้จะมาร่อนลงเนิน แล้วยังเป็นคัน ๆ ครบสามสิบสองทั้งคนทั้งรถตอนปลายทางคุณคิดผิด จักรยานดาวน์ฮิลล์ต้องเป็นดาวน์ฮิลล์ที่สร้างมาเพื่อดิ่งลงเขาโดยเฉพาะ มันต้องมีเฟรมแข็งแกร่งถึงจะหนักหน่อยก็ไม่เป็นไร มีระบบกันสะเทือนที่มั่นใจได้ มีช็อคช่วงชักยาวสุด ๆ เพราะต้องกระแทกกระทั้นกันตลอดทางรวมทั้งการโดดเหินสูง ๆ ที่ตอนลงเป็นได้ทั้งนิ่มนวลแบบมีเนินรองรับและตูมเดียวกระจายทั้งคนทั้งรถ
พวกนักจักรยานดาวน์ฮิลล์ หลายคนใช้อุปกรณ์เบากว่าแบล็คไดมอนด์ เพราะพิจารณาแล้วว่ามันพังแน่ เมื่อพังก็เปลี่ยนใหม่แบบไม่ต้องซ่อม ดังนั้นจึงเล่นของเบาไปเสียเลย เป็นจักรยานแบบเดียวที่ต้องปรับแต่อุปกรณ์กันตามภูมิประเทศสนามแข่งขัน นักจักรยานที่คว้าถ้วยในสนามหนึ่งอาจจะเดี้ยงได้ในอีกสนามแบบเห็น ๆ และเป็นจักรยานประเภทเดียวอีกเหมือนกันที่คุณต้องทำการบ้านให้มาก ๆ หาข้อมูลให้ละเอียดก่อนจะควักกระเป๋าซื้อมาไว้เหินหาวเล่นสักคัน เพราะมันพังง่ายมาก มีแต่ของดีเท่านั้นที่จะอยู่กับคุณได้ (นานขึ้นอีกนิด)
น้ำหนัก : 16 – 22.5 ก.ก.
ระดับความโหดที่รับได้ : โหดแบบดาวน์ฮิลล์ระดับมืออาชีพไงล่ะ แต่ถึงจะรับได้ก็ยังพังถ้าเหินสูงแล้วลงพื้นกระแทกแรงเกิน เป็นจักรยานหนึ่งในไม่กี่ประเภทที่ต้องดูแลกันราวลูกอ่อน เพราะแทบวางใจในความปลอดภัยไม่ได้เลยหลังจากแข่งแต่ละครั้ง
สิ่งที่มันไม่ใช่ : ทางเรียบหรือวิบากใด ๆ ที่ไม่ใช่ดาวน์ฮิลล์ ลองเอาจักรยานดาวน์ฮิลล์ไปขี่ในทางเรียบแบบนั้นจะรู้ว่านรกมีจริง มันไม่ใช่ของเล่น ใช้ทิ้ง ๆ ขวาง ๆ คุณอาจไม่มีวันชนะ หรือร้ายกว่านั้นคืออาจเจ็บตัวแบบถาวร
Cross country
วัตถุประสงค์ : จักรยานแข่งวิบากหรือ “ครอส คันทรี่” นี้จุดเด่นคือต้องน้ำหนักเบา มีตะเกียบช็อคหน้าเพียงคู่เดียวหรือมีช็อคกันสะเทือนหน้าหลังก็ได้ ช่วงชักของช็อคที่กำหนดไว้ให้จักรยานแบบนี้คือ 4 นิ้ว หรือน้อยกว่านั้นเนื่องจากไม่ได้รับแรงกระทบกระแทกหนักหนาสาหัส เมื่อจักรยานครอส คันทรี่ไม่ได้ถูกขี่ลุยทางวิบากยาว ๆ ที่ไม่ได้เตรียมการไว้ก่อน (trail) ซึ่งเทรลไบค์เข้ามารับช่วงไป นักออกแบบจักรยานจึงสร้างมันให้ตรงกับงานเฉพาะกิจมากขึ้น
ครอส คันทรี่ถูกสร้างให้เบา ไต่ที่สูงได้ง่าย นักจักรยานที่มีประสบการณ์จะใช้มันขี่ในลู่แข่งที่ถูกเตรียมสภาพเอาไว้แล้ว ขี่บนถนนดินและเส้นทางที่ไม่โหดเกินไป น้ำหนักของจักรยานประเภทนี้คือเรื่องใหญ่ ดังนั้น ครอส คันทรี่เก่ง ๆ จึงตองมั่นใจในความเบาของตัวรถ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องคอยระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาดจากการใช้งานด้วย เช่นกระโจนสูงเกิน ลงพื้นกระแทกจนชิ้นส่วนทนไม่ไหว การปรนนิบัติดูแลเป็นประจำไม่ใช่คำแนะนำ แต่เป็นข้อต้องปฏิบัติกันเลยทีเดียวสำหรับ ครอส คันทรี่
น้ำหนัก : ตั้งแต่ 8.50 – 11.25 ก.ก.
ระดับความโหดที่รับได้ : ทำบันนี่ฮ็อปข้ามสิ่งกีดขวางในเส้นทาง เหินได้ระดับเตี้ย ๆ สู้กับทางโหดได้พอประมาณ ไม่ใช่ลุยดงหินกันตลอดเส้นทางหรือมีเนินให้โดดบ่อย ๆ
สิ่งที่มันไม่ใช่ : ความสบายและความทนทาน ล้มเมื่อไรโอกาสพังย่อมสูง จะขี่แบบโหดมาก ๆ ก็รับไม่ไหวอีก
Jump
วัตถุประสงค์ : “จัมพ์” ชื่อบอกอยู่แล้วว่าใช้โดด มันจึงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนอากาศ จะใช้เพื่อเดินทางไปไหน ๆ ทุกวันหรือเอาไปขี่ในเส้นทางวิบากที่ไม่ได้เตรียมการไว้ก็ได้ แต่มันถูกสร้างมาให้เหินจากเนินส่งหรือจะเอาไปตีลังกากลางหาวในสเก็ตพาร์คก็ยังได้ ดูจากสภาพแล้วคงเข้าใจว่าไม่ใช่จักรยานที่สร้างมาให้ขี่นาน ๆ น้ำหนักเบา ๆ จึงไม่เน้นแต่เน้นที่ความทนทาน เกือบทั้งหมดเลยคือฮาร์เทลเฟรมอลูมินั่นและโคร-โมลี เสริมตรงจุดนั้นจุดนี้มากมาย มีระยะห่างมากสำหรับยางหน้ากว้าง ๆ อานค่อนข้างต่ำเพื่อให้คนขี่โยกตัวถ่ายน้ำหนักซ้ายขวาหน้าหลังได้ง่ายเมื่อเหิน เล่นท่าได้สวย ส่วนใหญ่อีกเช่นกันที่ราคาของมันสูง คุณคงไว้ใจอุปกรณ์ราคาถูกไม่ได้เพราะมันคงทนแรงกระแทกจากการกระโดยไม่ไหว
น้ำหนัก : ตั้งแต่ 13.50 -18 ก.ก.
ระดับความโหดที่รับได้ : อะไรก็ได้ที่คนขี่ทนได้ จักรยานทนได้เหมือนกัน ผู้ผลิตจักรยานโดดแทบทั้งหมดไม่ยอมรับประกันชิ้นส่วนของมันนานเพราะธรรมชาติการใช้งานอันสุดโหดของมันนั่นเอง
สิ่งที่มันไม่ใช่: ความสะดวกสบายสำหรับการขี่ในเส้นทางวิบาก และการโดดสูง ๆ โหด ๆ ตลอดเส้นทางแบบดาวน์ฮิลล์
Slalom / 4X
วัตถุประสงค์: มันถูกสร้างให้นักแข่งสองคนแข่งกันลงเนินมาตามช่องทางไม้ปัก (gate) ต้องสาดโค้งตรงดินถม (Berm) ต้องเปลี่ยนทิศทางได้รวดเร็ว เฟรมต้องแข็งเพื่อการสปรินต์ด้วยความเร็วสูง อุปกรณ์ก็ต้องทนไปตามกันแต่ไม่เน้นที่น้ำหนักน้อย ๆ ใช้วัสดุสร้างเฟรมได้ทั้งอลูมินั่มและเหล็กกล้า ต้องเป็นแบบอาร์เทลและมีช่วงชักของข็อค 4 นิ้วหรือน้อยกว่า มันต้องถูกนักแข่งสปรินต์เร่งฝีเท้าสาดโค้งหรือบางครั้งก็ต้องโดดช่วงสั้น ๆ ตลอดเส้นทาง อานจึงสูงพอประมาณ ระดับอานสูงกว่าจักรยานโดด แต่ไม่สูงเท่ากับครอส คันทรี่เพราะต้องการศูนย์ถ่วงต่ำเวลาเข้าโค้งและโดด พวกนักแข่งเก่ง ๆ อาจจะใช้อุปกรณ์เบา ๆ ได้แต่ก็ต้องมีช่างคอยอยู่ปลายทางเพราะมันอาจพังพร้อมกับการแข่งเสร็จ
น้ำหนัก : 12 – 14 ก.ม.
ระดับความโหดที่รับได้ : อะไรก็ตามที่มีในสนามที่ถูกเตรียมการเอาไว้แล้วเช่นในสนามสลาลอม พร้อมตารางเวลาการดูแลเฟรมและอุปกรณ์สม่ำเสมอ
สิ่งที่มันไม่ใช่ : การขี่อย่างดาวน์ฮิลล์ที่บินสูง กระแทกหนัก หักกระจาย โดดแบบจักรยานโดด และไม่น่าจะมีอายุการใช้งานนานกว่า 2 ปี
Trail Rider
วัตถุประสงค์ : จักรยานประเภทนี้ถูกสร้างมาเพื่อลุยทางวิบากโดยเฉพาะ เป็นจักรยานในดวงใจของใคร ๆ หลาย ๆ คนเพราะซื้อมาแล้วคุ้ม จักรยานเทรลมีแบบเดียวเท่านั้นคือ ฟูลซัสเพนชั่นมีช็อคหน้า-หลัง ช่วงชักมากกว่าครอส คันทรี่ 2 นิ้ว คือ 6 นิ้ว เพื่อให้รองรับสภาพเส้นทางที่วิบากเองโดยธรรมชาติ (ย่อมโหดกว่าที่มนุษย์ทำ) บางครั้งเทรลไบค์อาจมีฮาร์ดเทลเข้ามาปะปนแต่นั่นไม่ใช่คำตอบแท้ ๆ ของเส้นทางวิบาก ความสามารถในการไต่และอัตราเร่งช่วงทางเรียบคือกุญแจสำคัญของเทรลไบค์ แต่คนขี่ยังต้องบังคับทิศทางจักรยานอยู่ได้อย่างคล่องแคล่วไม่เสียการทรงตัว เพราะสภาพจักรยานที่รองรับภารกิจวิบากปานกลางได้กว้าง บริษัทผลิตจักรยานจึงนิยมผลิตรถชนิดนี้ออกมามาก มันไม่ต้องเบามากแต่ต้องทนและทรงตัวดี ทุกเส้นทาง ระบบกันสะเทือนต้องดี ทน เกาะเส้นทางพอประมาณ เทรบไบค์แพงที่สุดใช้เฟรมสร้างจากคาร์บอนไฟเบอร์ ในขณะที่อลูมินั่มยังคงเป็นวัสดุยอดนิยม
น้ำหนัก : 11 – 14.50 ก.ก.
ระดับความโหดที่รับได้ : การขี่แบบลุยแหลกพอประมาณ เช่นการโดดจากเนินลงเนินรองรับและทิ้งดิ่งได้ไม่เกิน 3 ฟุต มันสามารถลุยได้สบาย ๆ แบบครอส คันทรี่ ทะยานด้วยความเร็วสูงได้ในพื้นที่ดงหินก้อนเตี้ย ๆ ตะปุ่มตะป่ำแบบที่ครอส คันทรี่รับไม่ไหวแต่มันเอาอยู่เพราะช่วงชักของช็อคยาวกว่า
สิ่งที่มันไม่ใช่ : ขี่โดดตลอดทางแบบดาวน์ฮิลล์หรือวิบากสุดขั้วแบบแบล็คไดมอนด์ การขี่โดดตลอดเวลาหรือสตั้นต์ในสเกตพาร์ค
Black Diamond
วัตถุประสงค์ : ถ้าคุณอยากจะทดสอบความสามารถของตัวเองล่ะก็ใช่เลย แบล็คไดมอนด์เกิดมาเพื่อภารกิจนี้โดยเฉพาะ ชื่อแบล็คไดมอนด์นี้กำเนิดจากเส้นทางที่ถูกกำหนดไว้ในรีสอร์ทหลาย ๆ ที่ เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกไว้ว่าต้องมือโปรเท่านั้นจึงจะผ่านเส้นทางโหดขนาดนี้ไปได้แบบครบสามสิบสอง
เมื่อเน้นให้รับมือกับเส้นทางสุดโหดมันจึงไม่เน้นเรื่องน้ำหนัก จักรยานแบล็คไดมอนด็สามารถเป็นได้ทั้งฮาร์ดเทล น้ำหนักมากถึง 13.50 ก.ก. ใช้เฟรมเสริมความแข็งแกร่งตลอดทั้งคันและช็อคช่วงชักยาว ที่นิยมที่สุดคือช่วงชักยาว 6 – 8 นิ้ว แลกกับน้ำหนักอีกเล็กน้อยที่อาจจะทำให้ปั่นทางเรียบได้ช้าลง แต่มันจะช่วยให้คุณมั่นใจยิ่งขึ้นตลอดเส้นทางวิบากสาหัส ไม่ต้องกลัวเฟรมร้าวหรืออุปกรณ์พังจากการกระแทก ต้องมีดุมธรู-แอ็กเชียลร้อยแกนใหญ่ ล้อทั้งหน้าและหลังต้องใช้ดิสก์เบรกใหญ่เพื่อหยุดได้มั่นใจไม่ว่าจะย่านความเร็วไหนก็ตาม
น้ำหนัก : 16 – 20 ก.ก.
ระดับความโหดที่รับได้ : อะไรก็ตามที่ตัวนักจักรยานทนได้ มันก็ทนได้เหมือนกัน เมาเท่นไบค์แบบแบล็คไดมอนด์ โคตรทนและแข็งแกร่งสุด ๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่ามันจะไม่พัง ถ้าขี่กันแบบไม่บันยะบันยังของทนแค่ไหนก็พัง ถ้าเปรียบจักรยานชนิดนี้เป็นเครื่องบิน คนขี่ก็ไม่ต่างอะไรจากนักบินทดสอบที่ต้องเค้นสมรรถนะของตัวเองและจักรยานออกมาให้หมด รีดมันออกมาให้ถึงที่สุด และเมื่อทำได้เช่นนั้นก็จงระวังให้ดีเถิดว่าอาจมีการแตกหักเสียหายของทั้งเฟรมและอุปกรณ์ อาจจะมีตัวคุณเป็นของแถมด้วยก็ได้
สิ่งที่มันไม่ใช่ : การขี่แบบสบาย ๆ ชิว ๆ ที่ไหน ๆ ก็ตาม ถ้าต้องการแบบนี้ให้ไปใช้ครอส คันทรี่หรือเทรลไบค์จะดีกว่า หรือจะให้กระแทกกระทั้นกันตลอดทางแบบดาวน์ฮิลล์ยังถือว่าแรงไป
Downhill
วัตถุประสงค์ : ถ้าคิดว่าจักรยานอะไรก็ได้จะมาร่อนลงเนิน แล้วยังเป็นคัน ๆ ครบสามสิบสองทั้งคนทั้งรถตอนปลายทางคุณคิดผิด จักรยานดาวน์ฮิลล์ต้องเป็นดาวน์ฮิลล์ที่สร้างมาเพื่อดิ่งลงเขาโดยเฉพาะ มันต้องมีเฟรมแข็งแกร่งถึงจะหนักหน่อยก็ไม่เป็นไร มีระบบกันสะเทือนที่มั่นใจได้ มีช็อคช่วงชักยาวสุด ๆ เพราะต้องกระแทกกระทั้นกันตลอดทางรวมทั้งการโดดเหินสูง ๆ ที่ตอนลงเป็นได้ทั้งนิ่มนวลแบบมีเนินรองรับและตูมเดียวกระจายทั้งคนทั้งรถ
พวกนักจักรยานดาวน์ฮิลล์ หลายคนใช้อุปกรณ์เบากว่าแบล็คไดมอนด์ เพราะพิจารณาแล้วว่ามันพังแน่ เมื่อพังก็เปลี่ยนใหม่แบบไม่ต้องซ่อม ดังนั้นจึงเล่นของเบาไปเสียเลย เป็นจักรยานแบบเดียวที่ต้องปรับแต่อุปกรณ์กันตามภูมิประเทศสนามแข่งขัน นักจักรยานที่คว้าถ้วยในสนามหนึ่งอาจจะเดี้ยงได้ในอีกสนามแบบเห็น ๆ และเป็นจักรยานประเภทเดียวอีกเหมือนกันที่คุณต้องทำการบ้านให้มาก ๆ หาข้อมูลให้ละเอียดก่อนจะควักกระเป๋าซื้อมาไว้เหินหาวเล่นสักคัน เพราะมันพังง่ายมาก มีแต่ของดีเท่านั้นที่จะอยู่กับคุณได้ (นานขึ้นอีกนิด)
น้ำหนัก : 16 – 22.5 ก.ก.
ระดับความโหดที่รับได้ : โหดแบบดาวน์ฮิลล์ระดับมืออาชีพไงล่ะ แต่ถึงจะรับได้ก็ยังพังถ้าเหินสูงแล้วลงพื้นกระแทกแรงเกิน เป็นจักรยานหนึ่งในไม่กี่ประเภทที่ต้องดูแลกันราวลูกอ่อน เพราะแทบวางใจในความปลอดภัยไม่ได้เลยหลังจากแข่งแต่ละครั้ง
สิ่งที่มันไม่ใช่ : ทางเรียบหรือวิบากใด ๆ ที่ไม่ใช่ดาวน์ฮิลล์ ลองเอาจักรยานดาวน์ฮิลล์ไปขี่ในทางเรียบแบบนั้นจะรู้ว่านรกมีจริง มันไม่ใช่ของเล่น ใช้ทิ้ง ๆ ขวาง ๆ คุณอาจไม่มีวันชนะ หรือร้ายกว่านั้นคืออาจเจ็บตัวแบบถาวร
วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558
จักรยานผู้หญิง ทำไมต้อง WSD
เพศหญิงคือหนึ่งในสองเพศที่ธรรมชาติสร้างมาบนโลก สรีระของพวกเธอมีไว้เพื่อหน้าที่เฉพาะเช่นเดียวกับบรุษ เธอมีไขมันที่สะโพกและก้นเพื่อเป็นแหล่งอาหารให้ลูกในครรภ์ มีเชิงกรานกว้างเพื่อพร้อมสำหรับการรองรับทารก มีมดลูกเป็นแหล่งกำเนิดลูก เช่นเดียวกับมนุษย์ผู้ชายที่ต้องมีกล้ามเนื้อไว้ต่อสู้แย่งชิงอาหาร มีกล้ามเนื้อที่หน้าท้องและก้นแทนไขมัน เพื่อการเคลื่อนไหวและท่วงท่าแห่งการสืบพันธุ์ แม้จะเท่าเทียมกันทางกฎหมายแต่ความแตกต่างทางสรีระของทั้งสองเพศเป็นสิ่งที่ปฎิเสธไม่ได้ ถ้าไม่เกิดความแตกต่างก็คงไร้ซึ่งความรู้สึกดึงดูดในเพศตรงข้าม ไม่มีการสืบพันธุ์ และในที่สุดมนุษย์ก็จะสูญพันธุ์ไปเพราะความแตกต่างนี้เองทำให้เครื่องมือเครื่องใช้หลายอย่างต้องถูกออกแบบเฉพาะเพศ แม้แต่จักรยานก็ไม่เว้น
ต้นเหตุที่ทำให้จักรยานต้องมีรูปแบบเฉพาะสำหรับสตรีหรือ WSD (Women Specfic Design ออกแบบเฉพาะสตรี) ก็เพราะจักรยานที่ผู้ชายขี่มันมีลักษณะทางเรขาคณิตเฉพาะสำหรับผู้ชายไม่เหมาะกับผู้หญิง อันจะทำให้เกิดผลเสียหรือความไม่ถนัดในการขี่ รวมทั้งอาจทำให้บาดเจ็บได้ถ้าขนาดจักรยานไม่ถูกต้อง จากการศึกษาเรื่องขนาดและสรีระของสตรีโดยบริษัทจักรยานใหญ่แห่งหนึ่งของสหรัฐฯ พบว่ากล้ามเนื้อด้านหลังของผู้หญิงจะรับภาระมากกว่าผู้ชาย 25 เปอร์เซ็นต์ ในท่าทางการขี่เดียวกัน เป็นผลมาจากกระดูกสะโพกและช่วงระยะกระดูกสันหลังของผู้หญิงเองที่แตกต่าง การต้องยืดตัวออกมากเกินเพราะท่อบนของโครงจักรยานยาวทำให้เกิดความเครียดที่หลังตอนล่าง แล้วต่อมาที่ไหล่ไล่ต่อไปจนถึงอุ้งมือที่จะเกิดอาการชา
โครงจักรยาน WSD จึงเกิดขึ้นมาเพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ด้านความสะดวกสบายกับนักจักรยานสตรีมากที่สุด เน้นที่การวางตำแหน่งอย่างถูกต้องของสรีระเพื่อให้เกิดความสมดุลในน้ำหนักระหว่างสะโพกและอุ้งมือ หลักใหญ่ ๆ ก็คือการร่นระยะแฮนด์เข้าใกล้อานยิ่งขึ้น รวมความยาวของท่อคออานและท่อล่างให้มีความยามเข้ากันได้กับช่วงขาและลำตัวของผู้หญิง มีอานใหญ่เพื่อรองรับกระดูกก้นกบที่ห่างมากกว่ากระดูกชิ้นเดียวกันของผู้ชาย ลดแรงกดดันที่กระดูกและเส้นประสาทบริเวณนั้น ช่วยให้ช่วงขาสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างผ่อนคลาย แรงที่ส่งไปยังลูกบันไดจึงไม่เสียเปล่า ๆ กับการต่อสู้กับความเครียดที่กล้ามเนื้อและกระดูกของผู้ขี่เอง
การร่นระยะท่อบนเพื่อให้เหมาะสมกับความยาวกระดูกสันหลังของผู้หญิงโดยเฉลี่ย ช่วยให้ความกดดันที่หลังและช่วงขาน้อยลงมาก ผลก็คือพลังที่ส่งไปตามช่วงขาสามารถขับเคลื่อนจักรยานได้เต็มที่ เป็นผลมาจากร่างกายรับภาระน้อยลง
การเลือกโครงจักรยานนั้นไม่ต่างอะไรเลยจากการเลือกเสื้อผ้า มันมีขนาดที่เหมาะสมกับสรีระของแต่ละคน ซึ่งคุณต้องเลือกด้วยความเข้าใจอย่างละเอียดถ่องแท้ แต่ในบ้านเรานั้นดูเหมือนยานพาหนะชิ้นนี้จะถูกออกแบบเพื่อผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากผู้หญิงให้ความนิยมต่อจักรยานน้อยมาก เพราะมันเป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำกลางแจ้งจึงจะสนุก ความสนุกนั้นต้องแลกกับความร้อนและการถูกรังสียูวีแผดเผา การหาจักรยานจำเพาะสำหรับผู้หญิงจึงค่อนข้างยาก แต่ในประเทศอื่นที่กิจกรรมการขี่จักรยานเป็นที่นิยม WSD เป็นโครงจักรยานที่หาไม่ยากเลย บางท่านที่อ่านบทความนี้แล้วอาจจะสงสัยว่า WSD ให้ความสำคัญกับระยะท่อบนเท่านั้นหรือ ถ้ามีโครงจักรยานธรรมดาอยู่แล้วก็เพียงแค่ลดระยะของคอแฮนด์ (Stem) ลงมาไม่ได้หรือไง คำตอบก็คือ WSD ไม่ได้สนใจท่อบน แต่มันเกิดจากการศึกษาถึงสรีระของผู้หญิง ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นลำตัวหรือช่วงขา แล้วนำผลที่ได้จากการวิจัยนั้นมาออกแบบใหม่หมด ทั้งท่อบน ท่อคออานและท่อล่างเพื่อให้เข้ากับสรีระของนักจักรยานสตรีได้อย่างเหมาะเจาะ ถ้าคุณผู้หญิงคนใดสบายตัวสบายใจกับการขี่จักรยานเดิมอยู่แล้ว นั่นเป็นทางเลือกของคุณ แต่ถ้าตั้งใจจะเอาจริงเอาจังและสามารถเสาะหาได้ WSD คือตัวช่วยที่จะทำให้การขี่จักรยานของคุณสนุกยิ่งขึ้น
โครงจักรยาน WSD จึงเกิดขึ้นมาเพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ด้านความสะดวกสบายกับนักจักรยานสตรีมากที่สุด เน้นที่การวางตำแหน่งอย่างถูกต้องของสรีระเพื่อให้เกิดความสมดุลในน้ำหนักระหว่างสะโพกและอุ้งมือ หลักใหญ่ ๆ ก็คือการร่นระยะแฮนด์เข้าใกล้อานยิ่งขึ้น รวมความยาวของท่อคออานและท่อล่างให้มีความยามเข้ากันได้กับช่วงขาและลำตัวของผู้หญิง มีอานใหญ่เพื่อรองรับกระดูกก้นกบที่ห่างมากกว่ากระดูกชิ้นเดียวกันของผู้ชาย ลดแรงกดดันที่กระดูกและเส้นประสาทบริเวณนั้น ช่วยให้ช่วงขาสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างผ่อนคลาย แรงที่ส่งไปยังลูกบันไดจึงไม่เสียเปล่า ๆ กับการต่อสู้กับความเครียดที่กล้ามเนื้อและกระดูกของผู้ขี่เอง
การร่นระยะท่อบนเพื่อให้เหมาะสมกับความยาวกระดูกสันหลังของผู้หญิงโดยเฉลี่ย ช่วยให้ความกดดันที่หลังและช่วงขาน้อยลงมาก ผลก็คือพลังที่ส่งไปตามช่วงขาสามารถขับเคลื่อนจักรยานได้เต็มที่ เป็นผลมาจากร่างกายรับภาระน้อยลง
การเลือกโครงจักรยานนั้นไม่ต่างอะไรเลยจากการเลือกเสื้อผ้า มันมีขนาดที่เหมาะสมกับสรีระของแต่ละคน ซึ่งคุณต้องเลือกด้วยความเข้าใจอย่างละเอียดถ่องแท้ แต่ในบ้านเรานั้นดูเหมือนยานพาหนะชิ้นนี้จะถูกออกแบบเพื่อผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากผู้หญิงให้ความนิยมต่อจักรยานน้อยมาก เพราะมันเป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำกลางแจ้งจึงจะสนุก ความสนุกนั้นต้องแลกกับความร้อนและการถูกรังสียูวีแผดเผา การหาจักรยานจำเพาะสำหรับผู้หญิงจึงค่อนข้างยาก แต่ในประเทศอื่นที่กิจกรรมการขี่จักรยานเป็นที่นิยม WSD เป็นโครงจักรยานที่หาไม่ยากเลย บางท่านที่อ่านบทความนี้แล้วอาจจะสงสัยว่า WSD ให้ความสำคัญกับระยะท่อบนเท่านั้นหรือ ถ้ามีโครงจักรยานธรรมดาอยู่แล้วก็เพียงแค่ลดระยะของคอแฮนด์ (Stem) ลงมาไม่ได้หรือไง คำตอบก็คือ WSD ไม่ได้สนใจท่อบน แต่มันเกิดจากการศึกษาถึงสรีระของผู้หญิง ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นลำตัวหรือช่วงขา แล้วนำผลที่ได้จากการวิจัยนั้นมาออกแบบใหม่หมด ทั้งท่อบน ท่อคออานและท่อล่างเพื่อให้เข้ากับสรีระของนักจักรยานสตรีได้อย่างเหมาะเจาะ ถ้าคุณผู้หญิงคนใดสบายตัวสบายใจกับการขี่จักรยานเดิมอยู่แล้ว นั่นเป็นทางเลือกของคุณ แต่ถ้าตั้งใจจะเอาจริงเอาจังและสามารถเสาะหาได้ WSD คือตัวช่วยที่จะทำให้การขี่จักรยานของคุณสนุกยิ่งขึ้น
อุปกรณ์ถอดเฟืองหลัง
เฟืองหลังเป็นส่วนประกอบของจักรยานที่มีการสึกหรอมาก รองมาจากผ้าเบรก ยางนอก เมื่อใช้ไปสักระยะหนึ่งก็จะเกิดการสึกหรอขึ้น และถ้ายังฝืนขี่ต่อไปอาการที่จะตามมาก็คือ เฟืองหลังรูดอาจเกิดอันตรายได้ถ้าหากขณะขึ้นยืนโยกแล้วโซ่เกิดอาการฟรี หรือ เราอยากจะถอดเฟืองเปลี่ยนไปใช้เฟืองที่เหมาะสมกับสภาพการขี่ของเรา แล้วเราจะทำอย่างไรดี วันนี้เราจะมาแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้ถอดเฟืองหลังของจักรยานกันครับ เพื่อที่จะช่วยให้ท่านถอดเฟืองหลังได้สะดวกและปลอดภัย
เฟืองจักรยานมีด้วยกันสองแบบคือแบบเกลียวและแบบสวม ปัจจุบันแบบสวมได้รับความนิยมมากกว่า อุปกรณ์ที่ใช้ถอดเฟืองจะใช้อุปกรณ์สองชนิดด้วยกันได้แก่
1. บล็อกถอดฝาล็อกจะมีลักษณะด้านหนึ่งเป็นหัวนัท อีกด้านหนึ่งจะเป็นร่องด้านนอก ตรงกลางจะกลวงและบางยี่ห้อจะมีแกนเหล็กเป็นเดือยโผล่ออกมา ซึ่งจะช่วยให้ตัวล็อกไม่หลุดออกมาเวลาทำการขันคลายฝาปิดเกลียว ส่วนด้านที่เป็นหัวนัทนั้นบางยี่ห้อจะมีรูสี่เหลี่ยมตรงกลาง ให้สามารถใช้กับประแจวัดแรงหรือประแจทอร์กได้
2. ประแจโซ่จะมีลักษณะเป็นด้ามเหล็กแบนยาวประมาณ 1 ฟุต มีปลายด้านหนึ่งติดโซ่เอาไว้ จะมีความยาวของโซ่ต่างกันคือมีขนาดยาวและขนาดสั้น โซ่ตัวยาวจะทำหน้าที่ยึดกับฟันเฟืองไม่ให้เคลื่อนที่ ส่วนตัวสั้นจะทำหน้าที่กดยึดด้ามจับไม่ให้สะบัดไปเมื่อออกแรงกด ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายขึ้นได้ และอีกด้านจะมียางหุ้มเป็นด้ามจับกันเจ็บมือ และยังจะมีอีกชุดคือประแจสำหรับถอดฝาครอบเฟืองแบบเกลียวด้วย แต่ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมเพราะถอดค่อนข้างยาก
ส่วนวิธีการใช้งานก็ไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใดครับ เพียงท่านถอดล้อจักรยานแล้วเอาแกนปลดออก ขั้นตอนต่อไปก็ให้นำเจ้าบล็อกถอด เสียบเข้าไปตรงกลางดุมล้อ จากนั้นก็ให้ใช้ประแจโซ่จับยึดเฟืองเอาไว้ ใช้ประแจเลื่อนขันนัทออก ตำแหน่งการวางให้เป็นลักษณะตัว V แล้วออกแรงกดไปคนละทาง ฝาล็อกก็จะคลายออกอย่างง่ายดาย ปัจจุบันอุปกรณ์การซ่อมบำรุงเหล่านี้สามารถหาซื้อได้งานและราคาไม่แพง มีทั้งแบบแยกและแบบเป็นชุด ลองหามาไว้ใช้ดูกได้ครับ
เฟืองจักรยานมีด้วยกันสองแบบคือแบบเกลียวและแบบสวม ปัจจุบันแบบสวมได้รับความนิยมมากกว่า อุปกรณ์ที่ใช้ถอดเฟืองจะใช้อุปกรณ์สองชนิดด้วยกันได้แก่
1. บล็อกถอดฝาล็อกจะมีลักษณะด้านหนึ่งเป็นหัวนัท อีกด้านหนึ่งจะเป็นร่องด้านนอก ตรงกลางจะกลวงและบางยี่ห้อจะมีแกนเหล็กเป็นเดือยโผล่ออกมา ซึ่งจะช่วยให้ตัวล็อกไม่หลุดออกมาเวลาทำการขันคลายฝาปิดเกลียว ส่วนด้านที่เป็นหัวนัทนั้นบางยี่ห้อจะมีรูสี่เหลี่ยมตรงกลาง ให้สามารถใช้กับประแจวัดแรงหรือประแจทอร์กได้
2. ประแจโซ่จะมีลักษณะเป็นด้ามเหล็กแบนยาวประมาณ 1 ฟุต มีปลายด้านหนึ่งติดโซ่เอาไว้ จะมีความยาวของโซ่ต่างกันคือมีขนาดยาวและขนาดสั้น โซ่ตัวยาวจะทำหน้าที่ยึดกับฟันเฟืองไม่ให้เคลื่อนที่ ส่วนตัวสั้นจะทำหน้าที่กดยึดด้ามจับไม่ให้สะบัดไปเมื่อออกแรงกด ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายขึ้นได้ และอีกด้านจะมียางหุ้มเป็นด้ามจับกันเจ็บมือ และยังจะมีอีกชุดคือประแจสำหรับถอดฝาครอบเฟืองแบบเกลียวด้วย แต่ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมเพราะถอดค่อนข้างยาก
ส่วนวิธีการใช้งานก็ไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใดครับ เพียงท่านถอดล้อจักรยานแล้วเอาแกนปลดออก ขั้นตอนต่อไปก็ให้นำเจ้าบล็อกถอด เสียบเข้าไปตรงกลางดุมล้อ จากนั้นก็ให้ใช้ประแจโซ่จับยึดเฟืองเอาไว้ ใช้ประแจเลื่อนขันนัทออก ตำแหน่งการวางให้เป็นลักษณะตัว V แล้วออกแรงกดไปคนละทาง ฝาล็อกก็จะคลายออกอย่างง่ายดาย ปัจจุบันอุปกรณ์การซ่อมบำรุงเหล่านี้สามารถหาซื้อได้งานและราคาไม่แพง มีทั้งแบบแยกและแบบเป็นชุด ลองหามาไว้ใช้ดูกได้ครับ
อยากขี่ไกลเกิน 100 กิโลเมตร ต้องทำยังไง
ใครที่เรียนมาถึงม.6 เป็นอย่างน้อยเกือบทุกคนต้องรู้จัก อัลเบิร์ต ไอน์สไตล์ นักวิทยาศาสตร์ชาวยิว-เยอรมัน เจ้าของทฤษฎีสัมพันธภาพ อันลือเลื่อง ผู้สร้างทฤษฎีการแตกตัวของอะตอมจนได้สูตรคำนวณบันลือโลก E=MC2 ที่ทำให้เกิดระเบิดปรมาณูในเวลาถัดมา ทั้งที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องแต่มีคนรู้น้อยมากว่าไอน์สไตน์ชอบสีไวโอนลินและขี่จักรยาน เขาพูดบ่อย ๆ ว่าตัวเองคิดอะไรออกเมื่อขี่จักรยาน
คำพูดที่บอกว่าเกิดความคิดใหม่ ๆ ระหว่างขี่จักรยานนอกจากจะบอกเราได้ว่าการออกกำลังกายทำให้สมองโล่งปลอดโปร่ง ยังบอกได้อีกว่าคนพูดนั้นอยากมีเวลาขี่จักรยานเยอะ ๆ หรือเอามาเชื่อมโยงกับเรื่องของเราได้คือถ้าคุณอยากมีสุขภาพดีหรืออยากขี่ให้ไกลก็ต้องหาเวลาขี่ แต่ต้องทำอย่างถูกต้องและมีเวลาพักผ่อนให้ร่างกายฟื้นตัว เฟาส์โต ค็อปปี อดีตแชมป์ตูร์ เดอ ฟร็อง หลายสมัยชาวอิตาเลียนก็เคยพูดเอาไว้เมื่อถูกผู้สื่อข่าวยุคนั้นถามว่า ทำมาถึงครองแชมป์ไว้ได้และชนะเลิศหลายรายการ คำตอบของค็อปปีสั้น ๆ และง่ายคือ “ Ride a lot “ ขี่ให้บ่อย ๆ ให้มากเข้าไว้แล้วจะเก่งเอง
สำหรับผู้ต้องการเอาชนะตัวเองด้วยการเอาตัวเลข 100 เป็นหลัก ไม่ว่ามันจะเป็นระบบเมตริก (100 ก.ม.) หรืออังกฤษ ( 100 ไมล์ = 160 ก.ม.) ก็ตาม ถ้าไม่หาเวลาขี่ก็คงยากที่จะทำระยะให้ถึง หรือถ้าทำได้ก็คงกะปรกกะเปรี้ยเต็มทนและดูไม่ดีเลยเมื่อขี่ครบ ต้องหาเวลาให้ได้และถ้าระยะทางยาวขึ้นก็ต้องมีเวลาขี่จักรยานซ้อมมากขึ้นอีก ความท้าทายของพวกนักจักรยานวันหยุดหรือปั่นเพื่อสุขภาพก็คือการหาเวลาให้ได้ ในเมื่อต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัว มีกิจกรรมนอกบ้านเป็นประจำ พอกลับมายังต้องดูแลบ้านช่องอีก ดูเหมือนว่าจะหาเวลาได้ยากเหลือเกิน อย่าว่าแต่จะไปขี่จักรยานเลยจะให้ทำเรื่องบันเทิงอื่น ๆ ก็ยังยาก
ทั้งที่หาเวลาขี่ได้ยาก มีเวลาขี่จักรยานได้น้อยกว่าที่ต้องการแต่ก็ใช่ว่านั่นคือความด้อย คุณก็เป็นคนธรรมดาเหมือนคนทั่วไปนั่นแหละ เมื่อมีเวลาขี่น้อยแต่อยากขี่จึงต้องชดเชยด้วยการวางแผนและบริหารเวลาให้เป็น วิธีหนึ่งคือหาเวลาขี่ให้ได้ และอีกหนึ่งคือใช้เวลาเท่าที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการขี่จักรยาน
บริหารเวลาให้เป็น
เมื่อเวลาเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การขี่จักรยานทางไกลบรรลุผล คุณมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
ตั้งเป้าหมาย : ต้องมีวันและเวลาแน่นอนในการขี่จักรยาน ถ้ากลัวจะลืมก็วงไว้ในปฏิทิน จะให้เป็นทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันพุธทุกสัปดาห์ก็ได้จะได้ไม่ลำบากในการจำ ปล่อยให้วันจันทร์-อังคารและพฤหัสฯ-ศุกร์ เป็นวันพักผ่อนให้ร่างกายฟื้นสภาพ พอได้วันที่ต้องการแล้วต่อไปก็จัดระเบียบชีวิตให้พร้อมสำหรับวันนั้น คือยึดวันและเวลาขี่จักรยานเป็นหลักแล้วปรับชีวิตการทำงานให้ลงตัวสอดคล้อง คุณต้องว่างเสมอเมื่อถึงเวลาขี่ งานต้องเสร็จต้องไม่มีนัดหมายประชุมใด ๆ (ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ) มาขัดขวางเมื่อถึงเวลาขี่จักรยาน ตั้งใจจริงแล้วต้องไม่มีอุปสรรคใดมาขัดขวางคุณไว้จากจักรยาน
ต้องรู้ความต้องการของตัวเอง : สมมุติว่าคุณมีเป้าหมายว่าจะขี่ 100 ก.ม. ให้ครบกับกลุ่มเพื่อนฝูง นั่นคือเป้าและตามความเข้าใจของคนทั่วไปที่ว่ายิ่งขี่มากยิ่งทน แต่ก็ไม่จริงเสมอไปหากคุณใช้โปรแกรมการซ้อมที่ถูกต้อง มีเทรนเนอร์ไว้ประกอบจักรยานปั่นในบ้านจำลองสภาพเส้นทางทั้งทางเรียบและขึ้นเขานักจักรยานที่ขี่มานานรู้ดีว่าเขาสามารถรับมือกับระยะทางและเวลานานกว่าที่เคยขี่ปกติสองถึงสามเท่าได้สบาย ๆ ตราบใดที่ยังรักษารอบขาไว้ได้และมีน้ำกับอาหารไว้ดื่มกินตลอด เมื่อเหนื่อยก็หยุดช่วงสั้น ๆ ไม่จำเป็นต้องขี่ตลอดเวลา เพราะจุดหมายคือระยะทาง เพื่อชนะใจตัวเองไม่ใช่ชนะการแข่งขันกับใคร ๆ ดังนั้นถ้าคุณขี่ได้ทุกวันแบบสบาย ๆ วันละ 40-50 ก.ม. นานติดต่อกันหลาย ๆ เดือน เจอระยะ 100 ก.ม. สักครั้งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก
จะขี่ช่วงเช้าหรือบ่ายต้องกำหนดให้แน่ : ตรงนี้ขึ้นอยู่กับการวางแผนในหัวข้อ “ตั้งเป้าหมาย” ด้วย ว่าเมื่อคุณมีเวลาขี่แล้วจะให้มันอยู่ในช่วงไหนของแต่ละวัน ที่แน่ ๆ คือมันต้องไม่รบกวนงานประจำ เรื่องนี้อาจไม่เป็นปัญหาสำหรับคนทำงานอิสระหรือมีกิจการของตัวเองอยู่ที่บ้าน แต่เป็นเรื่องใหญ่แน่กับคนทำงานออฟฟิศมีเวลาเข้าและเลิกงานตายตัว วันเสาร์อาทิตย์ อาจหาเวลาขี่ได้แต่วันธรรมดาคงแทบหมดสิทธิ์ ถ้าไม่ชดเชยด้วยการปั่นเทรนเนอร์ในบ้านการซ้อมคงขาดช่วง ถ้าจัดเวลาได้ก็ต้องมาดูกันอีกล่ะว่าขี่ตอนเช้า ๆ หรือตอนบ่ายดี มาดูกันว่าเช้ากับบ่ายจะให้ความรู้สึกในการขี่จักรยานต่างกันแค่ไหน
การขี่ตอนเช้าให้ประโยชน์กับคุณหลายอย่าง ยามเช้าไม่ค่อยร้อนไม่ว่าจะเป็นหน้าร้อนหรือหน้าฝน ยิ่งหน้าหนาวยิ่งเย็นอากาศช่วงเช้าสะอาดกว่าช่วงบ่ายเพราะรถรายังไม่ค่อยออกมาพ่นมลพิษบนถนน คุณแต่ต้องเตรียมตัวให้พร้อมด้วยการเข้านอนแต่หัวค่ำเพื่อให้สดชื่นเมื่อตื่นแต่เช้าตรู่ เท่านั้นก็พอแล้ว ถ้ารู้ว่าอาจไปทำงานไม่ทันก็เลื่อนเวลาขี่ให้เร็วขึ้นอีก นอนให้เร็วกว่าเดิมเพื่อชดเชยกัน การนอนดึกตื่นเช้าจะทำให้เพลียก่อนจะขี่ไม่เป็นผลดีต่อร่างกายเลย
ถ้าไม่มีเวลาขี่ช่วงเช้าก็เหลือแค่ตอนบ่ายและเย็นหลังเลิกงานดูจะเหมาะที่สุด ถ้าคุณคิดว่าจะเป็นอันตรายก็ต้องเลือกเส้นทางให้ดี ๆ โดยอาจจะสำรวจก่อนในตอนกลางวันก็ได้ ให้ได้ทางที่เรียบ การจราจรไม่พลุกพล่านและมีไฟส่องสว่างตลอดทาง ข้อดีคือไม่ต้องเตรียมตัวมากนอกจากต้องเคลียร์งานประจำให้เสร็จก่อนเย็นเท่านั้น คนในเมืองอาจได้ประโยชน์ตรงที่การจราจรเบาบางลงแล้วหลังเลิกงาน ส่วนคนต่างจังหวัดสบายกว่าเพราะกลับถึงบ้านได้เร็วและการจราจรเบาบางลงเร็วกว่ากรุงเทพฯเว้นแต่จังหวัดใหญ่ ๆ อย่างเชียงใหม่ที่การจราจรหนาแน่นตลอดเวลา
เพื่อความปลอดภัยสิ่งที่ต้องติดตัวและจักรยานตลอดเวลาคือไฟหน้าและหลัง แถบสะท้อนแสงก็ต้องมีและควรยกเลิกการขี่ถ้าฝนตกหรือหมอกลง โอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงมากทั้งจากทัศนวิสัยไม่ดีและสภาพถนนลื่นที่บังคับรถยนต์ได้ยาก
ถ้าขี่ไปทำงานได้ ใช้ซ้อมซะเลย : คำแนะนำเก่าแก่ที่ยังใช้ได้เสมอสำหรับการซ้อมให้ขี่ไกล ๆ คือการขี่จักรยานไปและกลับจากที่ทำงานหรือที่ใด ๆ ที่ไปทำธุระเสียเลย สมมุติว่าที่ทำงานของคุณอยู่ห่างจากบ้าน 20 ก.ม. ขี่ไปกลับก็ 40 ก.ม.แล้ว ใน กทม.เดี๋ยวนี้เห็นคนขี่จักรยานไปทำงานกันมากขึ้น คาดว่าด้วยสภาพจราจรที่ไม่หนาแน่นเหมือนกรุงเทพฯ คนต่างจังหวัดน่าจะเอื้ออำนวยให้ขี่จักรยานทำงานได้มากกว่า มันอาจด้อยคุณภาพบ้างเมื่อเทียบกับการขี่ในที่ ๆ คุณเลือกได้ เพราะต้องเจอกับสัญญาณไฟจราจรให้เคลื่อน ๆ หยุด ๆ ตลอดเวลา แต่ก็เป็นทางออกที่ดีสำหรับคนที่อยากปั่นและที่ทำงานมีห้องอาบน้ำพร้อม และอย่าได้ทำเป็นเล่นไปเพราะนักจักรยานในรายการแข่งข้ามประเทศเอมริการ (Race Across America หรือ RAAM) มีจำนวนไม่น้อยที่ซ้อมทางไกลด้วยการปั่นไปและกลับจากที่ทำงาน และใช้มันแทนรถยนต์ในชีวิตประจำวัน
ขี่จักรยานไปเที่ยว ให้คนในครอบครัวขับรถตาม : เป็นวิธีที่ดีสำหรับการท่องเที่ยวโดยเฉพาะกับคนมีครอบครัว หรือใครก็ตามที่มีคนขับรถตามเมื่อจะไปท่องเที่ยวในจุดหมายเดียวกัน คุณและเพื่อนหรือครอบครัวไปถึงที่หมายด้วยกัน ไม่ว่าจะให้เขาขับรถไปรอหรือขับรถตามไปก็ตาม เมื่อถึงแล้วใช้เวลาพักผ่อนหย่อนใจที่ปลายทางตามสบายก่อนจะยกจักรยานขึ้นรถยนต์ขับกลับบ้าน ได้ทั้งความสนุกสนานระหว่างคนในครอบครัวและได้ซ้อมไปด้วย ถ้ายังไม่เคยทำเราบอกได้เลยว่าเป็นวิธีที่สนุกเฮฮามาก ถ้าคิดว่าการขี่ไปถึงแล้วยกขึ้นรถอาจจะน้อยไปคุณจะขี่เองทั้งไปและกลับก็ได้ พวกนักจักรยานทางไกลแบบกินระยะทางใช้วิธีนี้กันเยอะ
เน้นคุณภาพมากว่าปริมาณ : คำว่าคุณภาพยังใช้ได้ดีไม่ว่าจะเป็นวงการไหน ถ้าคุณภาพที่ดีมีมากกว่าปริมาณย่อมหมายถึงประสิทธิภาพของคุณเอง ถ้าคุณมีโอกาสขี่เป็นกลุ่มนั่นคือโอกาสที่ดีสำหรับการฝึกทักษะต่าง ๆ เช่นการลาก การดูดกลุ่ม ซุกอยู่กลางวงเพื่อประหยัดพลังงาน ซึ่งเหมาะหากคุณตั้งใจว่าจะขี่กับกลุ่มทางไกล ๆ และถ้าขี่คนเดียวโอกาสเพิ่มความแข็งแกร่งก็มีด้วยการปั่นรอบจัด ๆ หรือทำอินเตอร์วัลไปตลอดทางได้เพื่อความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ
หาโอกาสขี่ขึ้นเขา : ในบรรดาการฝึกเพื่อพลังวัดกันนาทีต่อนาที ไม่มีอะไรเกิดฝึกปั่นขึ้นเขา หรือจำลองการปั่นขึ้นเนินชัน ๆ ด้วยเทรนเนอร์ ยืนยันด้วยคำพูดของ เกรก เลอม็องด์ ที่บอกว่า “ไม่มีการซ้อมอะไรจะดีเท่าขี่ขึ้นเขา” และแลนซ์ อาร์มสตอรง ที่วัดขีดความสามารถของตัวเองด้วยการขี่ขึ้นเขาโคล เดอ ลา มาโดน ถ้าทำเวลาที่ภูเขามาโดนได้ดีนั่นหมายถึง แลนซ์ พร้อมแล้วที่จะเป็นแชมป์อีกสมัย
ถ้าไปข้างนอกไม่ได้ ให้ขี่ในบ้าน : คุณทำได้ทั้งด้วยจักรยานฟิตเนสที่ได้มาตรฐานหน่อย อาจต้องลงทุนเท่า ๆ กับจักรยานจริงแต่ก็คุ้ม ในจักรยานฟิตเนสดี ๆ จะมีอุปกรณ์และเครื่องวัดให้คุณพร้อม ทั้งปริมาณแคลอรี่ อัตราชีพจร วัดเปอร์เซ็นต์ไขมัน ระยะทาง ความเร็ว มีหมด หรือจะใช้ขาจับ (เทรนเนอร์) ยึดล้อหลังจักรยานคันเก่งของคุณก็ได้ ตารางการซ้อมทั้งแบบอินเตอร์วัลและขึ้นเขามีให้ดาวน์โหลดในเน็ตเกี่ยวกับจักรยานอยู่แล้ว การได้ปั่นเหงื่อตกบนจักรยานฟิตเนสหรือเทรนเนอร์สัก 40 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมง ช่วยคุณได้มากในด้านกำลังขา การเร่งฝีเท้าสปรินต์และความแข็งแกร่งตอนขึ้นที่ชันขอเพียงคุณมีเวลาและจัดสภาพแวดล้อมให้ดีไม่น่าเบื่อ การซ้อมในร่มจะช่วยได้มหาศาล แม้แต่นักจักรยานระดับโปรในแกรนด์ทัวร์ยังต้องปั่นเทรนเนอร์ก่อนแข่ง และถ้าเทรนเนอร์ไม่ดีจริงคงไม่มีการพัฒนาซอฟต์แวร์และสร้างเทรนเนอร์ขายกันถึงทุกวันนี้
ทั้งหมดคือการซ้อมเมื่อคุณบริหารเวลาได้ เมื่อจัดแบ่งเวลาได้ มีวินัยกับตัวเองคุณก็มีเวลาซ้อมด้วยเป้าหมายหลักว่าต้องขี่ให้ไกลให้ได้ ถ้าคุณมีจิตใจมุ่งมั่นแล้วคำว่า “ไม่มีเวลา” จึงไม่ใช่ทางเลือกเพราะถ้าเอาเวลาไปเที่ยวเตร่ดูหนังฟังเพลงหรือเฮฮากับเพื่อนฝูงได้ คุณก็น่าจะแบ่งเวลามาใช้กับจักรยานได้เหมือนกัน ขึ้นอยู่แต่ว่าจะ “ทำ” หรือ “ไม่ทำ” เท่านั้น แล้วคุณเล่าจะเป็นคนแบบไหน มีหรือไม่มีเวลาก็เลือกเอาถ้าโจทย์คือระยะทางไกล ๆ
คำพูดที่บอกว่าเกิดความคิดใหม่ ๆ ระหว่างขี่จักรยานนอกจากจะบอกเราได้ว่าการออกกำลังกายทำให้สมองโล่งปลอดโปร่ง ยังบอกได้อีกว่าคนพูดนั้นอยากมีเวลาขี่จักรยานเยอะ ๆ หรือเอามาเชื่อมโยงกับเรื่องของเราได้คือถ้าคุณอยากมีสุขภาพดีหรืออยากขี่ให้ไกลก็ต้องหาเวลาขี่ แต่ต้องทำอย่างถูกต้องและมีเวลาพักผ่อนให้ร่างกายฟื้นตัว เฟาส์โต ค็อปปี อดีตแชมป์ตูร์ เดอ ฟร็อง หลายสมัยชาวอิตาเลียนก็เคยพูดเอาไว้เมื่อถูกผู้สื่อข่าวยุคนั้นถามว่า ทำมาถึงครองแชมป์ไว้ได้และชนะเลิศหลายรายการ คำตอบของค็อปปีสั้น ๆ และง่ายคือ “ Ride a lot “ ขี่ให้บ่อย ๆ ให้มากเข้าไว้แล้วจะเก่งเอง
สำหรับผู้ต้องการเอาชนะตัวเองด้วยการเอาตัวเลข 100 เป็นหลัก ไม่ว่ามันจะเป็นระบบเมตริก (100 ก.ม.) หรืออังกฤษ ( 100 ไมล์ = 160 ก.ม.) ก็ตาม ถ้าไม่หาเวลาขี่ก็คงยากที่จะทำระยะให้ถึง หรือถ้าทำได้ก็คงกะปรกกะเปรี้ยเต็มทนและดูไม่ดีเลยเมื่อขี่ครบ ต้องหาเวลาให้ได้และถ้าระยะทางยาวขึ้นก็ต้องมีเวลาขี่จักรยานซ้อมมากขึ้นอีก ความท้าทายของพวกนักจักรยานวันหยุดหรือปั่นเพื่อสุขภาพก็คือการหาเวลาให้ได้ ในเมื่อต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัว มีกิจกรรมนอกบ้านเป็นประจำ พอกลับมายังต้องดูแลบ้านช่องอีก ดูเหมือนว่าจะหาเวลาได้ยากเหลือเกิน อย่าว่าแต่จะไปขี่จักรยานเลยจะให้ทำเรื่องบันเทิงอื่น ๆ ก็ยังยาก
ทั้งที่หาเวลาขี่ได้ยาก มีเวลาขี่จักรยานได้น้อยกว่าที่ต้องการแต่ก็ใช่ว่านั่นคือความด้อย คุณก็เป็นคนธรรมดาเหมือนคนทั่วไปนั่นแหละ เมื่อมีเวลาขี่น้อยแต่อยากขี่จึงต้องชดเชยด้วยการวางแผนและบริหารเวลาให้เป็น วิธีหนึ่งคือหาเวลาขี่ให้ได้ และอีกหนึ่งคือใช้เวลาเท่าที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการขี่จักรยาน
บริหารเวลาให้เป็น
เมื่อเวลาเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การขี่จักรยานทางไกลบรรลุผล คุณมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
ตั้งเป้าหมาย : ต้องมีวันและเวลาแน่นอนในการขี่จักรยาน ถ้ากลัวจะลืมก็วงไว้ในปฏิทิน จะให้เป็นทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันพุธทุกสัปดาห์ก็ได้จะได้ไม่ลำบากในการจำ ปล่อยให้วันจันทร์-อังคารและพฤหัสฯ-ศุกร์ เป็นวันพักผ่อนให้ร่างกายฟื้นสภาพ พอได้วันที่ต้องการแล้วต่อไปก็จัดระเบียบชีวิตให้พร้อมสำหรับวันนั้น คือยึดวันและเวลาขี่จักรยานเป็นหลักแล้วปรับชีวิตการทำงานให้ลงตัวสอดคล้อง คุณต้องว่างเสมอเมื่อถึงเวลาขี่ งานต้องเสร็จต้องไม่มีนัดหมายประชุมใด ๆ (ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ) มาขัดขวางเมื่อถึงเวลาขี่จักรยาน ตั้งใจจริงแล้วต้องไม่มีอุปสรรคใดมาขัดขวางคุณไว้จากจักรยาน
ต้องรู้ความต้องการของตัวเอง : สมมุติว่าคุณมีเป้าหมายว่าจะขี่ 100 ก.ม. ให้ครบกับกลุ่มเพื่อนฝูง นั่นคือเป้าและตามความเข้าใจของคนทั่วไปที่ว่ายิ่งขี่มากยิ่งทน แต่ก็ไม่จริงเสมอไปหากคุณใช้โปรแกรมการซ้อมที่ถูกต้อง มีเทรนเนอร์ไว้ประกอบจักรยานปั่นในบ้านจำลองสภาพเส้นทางทั้งทางเรียบและขึ้นเขานักจักรยานที่ขี่มานานรู้ดีว่าเขาสามารถรับมือกับระยะทางและเวลานานกว่าที่เคยขี่ปกติสองถึงสามเท่าได้สบาย ๆ ตราบใดที่ยังรักษารอบขาไว้ได้และมีน้ำกับอาหารไว้ดื่มกินตลอด เมื่อเหนื่อยก็หยุดช่วงสั้น ๆ ไม่จำเป็นต้องขี่ตลอดเวลา เพราะจุดหมายคือระยะทาง เพื่อชนะใจตัวเองไม่ใช่ชนะการแข่งขันกับใคร ๆ ดังนั้นถ้าคุณขี่ได้ทุกวันแบบสบาย ๆ วันละ 40-50 ก.ม. นานติดต่อกันหลาย ๆ เดือน เจอระยะ 100 ก.ม. สักครั้งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก
จะขี่ช่วงเช้าหรือบ่ายต้องกำหนดให้แน่ : ตรงนี้ขึ้นอยู่กับการวางแผนในหัวข้อ “ตั้งเป้าหมาย” ด้วย ว่าเมื่อคุณมีเวลาขี่แล้วจะให้มันอยู่ในช่วงไหนของแต่ละวัน ที่แน่ ๆ คือมันต้องไม่รบกวนงานประจำ เรื่องนี้อาจไม่เป็นปัญหาสำหรับคนทำงานอิสระหรือมีกิจการของตัวเองอยู่ที่บ้าน แต่เป็นเรื่องใหญ่แน่กับคนทำงานออฟฟิศมีเวลาเข้าและเลิกงานตายตัว วันเสาร์อาทิตย์ อาจหาเวลาขี่ได้แต่วันธรรมดาคงแทบหมดสิทธิ์ ถ้าไม่ชดเชยด้วยการปั่นเทรนเนอร์ในบ้านการซ้อมคงขาดช่วง ถ้าจัดเวลาได้ก็ต้องมาดูกันอีกล่ะว่าขี่ตอนเช้า ๆ หรือตอนบ่ายดี มาดูกันว่าเช้ากับบ่ายจะให้ความรู้สึกในการขี่จักรยานต่างกันแค่ไหน
การขี่ตอนเช้าให้ประโยชน์กับคุณหลายอย่าง ยามเช้าไม่ค่อยร้อนไม่ว่าจะเป็นหน้าร้อนหรือหน้าฝน ยิ่งหน้าหนาวยิ่งเย็นอากาศช่วงเช้าสะอาดกว่าช่วงบ่ายเพราะรถรายังไม่ค่อยออกมาพ่นมลพิษบนถนน คุณแต่ต้องเตรียมตัวให้พร้อมด้วยการเข้านอนแต่หัวค่ำเพื่อให้สดชื่นเมื่อตื่นแต่เช้าตรู่ เท่านั้นก็พอแล้ว ถ้ารู้ว่าอาจไปทำงานไม่ทันก็เลื่อนเวลาขี่ให้เร็วขึ้นอีก นอนให้เร็วกว่าเดิมเพื่อชดเชยกัน การนอนดึกตื่นเช้าจะทำให้เพลียก่อนจะขี่ไม่เป็นผลดีต่อร่างกายเลย
ถ้าไม่มีเวลาขี่ช่วงเช้าก็เหลือแค่ตอนบ่ายและเย็นหลังเลิกงานดูจะเหมาะที่สุด ถ้าคุณคิดว่าจะเป็นอันตรายก็ต้องเลือกเส้นทางให้ดี ๆ โดยอาจจะสำรวจก่อนในตอนกลางวันก็ได้ ให้ได้ทางที่เรียบ การจราจรไม่พลุกพล่านและมีไฟส่องสว่างตลอดทาง ข้อดีคือไม่ต้องเตรียมตัวมากนอกจากต้องเคลียร์งานประจำให้เสร็จก่อนเย็นเท่านั้น คนในเมืองอาจได้ประโยชน์ตรงที่การจราจรเบาบางลงแล้วหลังเลิกงาน ส่วนคนต่างจังหวัดสบายกว่าเพราะกลับถึงบ้านได้เร็วและการจราจรเบาบางลงเร็วกว่ากรุงเทพฯเว้นแต่จังหวัดใหญ่ ๆ อย่างเชียงใหม่ที่การจราจรหนาแน่นตลอดเวลา
เพื่อความปลอดภัยสิ่งที่ต้องติดตัวและจักรยานตลอดเวลาคือไฟหน้าและหลัง แถบสะท้อนแสงก็ต้องมีและควรยกเลิกการขี่ถ้าฝนตกหรือหมอกลง โอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงมากทั้งจากทัศนวิสัยไม่ดีและสภาพถนนลื่นที่บังคับรถยนต์ได้ยาก
ถ้าขี่ไปทำงานได้ ใช้ซ้อมซะเลย : คำแนะนำเก่าแก่ที่ยังใช้ได้เสมอสำหรับการซ้อมให้ขี่ไกล ๆ คือการขี่จักรยานไปและกลับจากที่ทำงานหรือที่ใด ๆ ที่ไปทำธุระเสียเลย สมมุติว่าที่ทำงานของคุณอยู่ห่างจากบ้าน 20 ก.ม. ขี่ไปกลับก็ 40 ก.ม.แล้ว ใน กทม.เดี๋ยวนี้เห็นคนขี่จักรยานไปทำงานกันมากขึ้น คาดว่าด้วยสภาพจราจรที่ไม่หนาแน่นเหมือนกรุงเทพฯ คนต่างจังหวัดน่าจะเอื้ออำนวยให้ขี่จักรยานทำงานได้มากกว่า มันอาจด้อยคุณภาพบ้างเมื่อเทียบกับการขี่ในที่ ๆ คุณเลือกได้ เพราะต้องเจอกับสัญญาณไฟจราจรให้เคลื่อน ๆ หยุด ๆ ตลอดเวลา แต่ก็เป็นทางออกที่ดีสำหรับคนที่อยากปั่นและที่ทำงานมีห้องอาบน้ำพร้อม และอย่าได้ทำเป็นเล่นไปเพราะนักจักรยานในรายการแข่งข้ามประเทศเอมริการ (Race Across America หรือ RAAM) มีจำนวนไม่น้อยที่ซ้อมทางไกลด้วยการปั่นไปและกลับจากที่ทำงาน และใช้มันแทนรถยนต์ในชีวิตประจำวัน
ขี่จักรยานไปเที่ยว ให้คนในครอบครัวขับรถตาม : เป็นวิธีที่ดีสำหรับการท่องเที่ยวโดยเฉพาะกับคนมีครอบครัว หรือใครก็ตามที่มีคนขับรถตามเมื่อจะไปท่องเที่ยวในจุดหมายเดียวกัน คุณและเพื่อนหรือครอบครัวไปถึงที่หมายด้วยกัน ไม่ว่าจะให้เขาขับรถไปรอหรือขับรถตามไปก็ตาม เมื่อถึงแล้วใช้เวลาพักผ่อนหย่อนใจที่ปลายทางตามสบายก่อนจะยกจักรยานขึ้นรถยนต์ขับกลับบ้าน ได้ทั้งความสนุกสนานระหว่างคนในครอบครัวและได้ซ้อมไปด้วย ถ้ายังไม่เคยทำเราบอกได้เลยว่าเป็นวิธีที่สนุกเฮฮามาก ถ้าคิดว่าการขี่ไปถึงแล้วยกขึ้นรถอาจจะน้อยไปคุณจะขี่เองทั้งไปและกลับก็ได้ พวกนักจักรยานทางไกลแบบกินระยะทางใช้วิธีนี้กันเยอะ
เน้นคุณภาพมากว่าปริมาณ : คำว่าคุณภาพยังใช้ได้ดีไม่ว่าจะเป็นวงการไหน ถ้าคุณภาพที่ดีมีมากกว่าปริมาณย่อมหมายถึงประสิทธิภาพของคุณเอง ถ้าคุณมีโอกาสขี่เป็นกลุ่มนั่นคือโอกาสที่ดีสำหรับการฝึกทักษะต่าง ๆ เช่นการลาก การดูดกลุ่ม ซุกอยู่กลางวงเพื่อประหยัดพลังงาน ซึ่งเหมาะหากคุณตั้งใจว่าจะขี่กับกลุ่มทางไกล ๆ และถ้าขี่คนเดียวโอกาสเพิ่มความแข็งแกร่งก็มีด้วยการปั่นรอบจัด ๆ หรือทำอินเตอร์วัลไปตลอดทางได้เพื่อความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ
หาโอกาสขี่ขึ้นเขา : ในบรรดาการฝึกเพื่อพลังวัดกันนาทีต่อนาที ไม่มีอะไรเกิดฝึกปั่นขึ้นเขา หรือจำลองการปั่นขึ้นเนินชัน ๆ ด้วยเทรนเนอร์ ยืนยันด้วยคำพูดของ เกรก เลอม็องด์ ที่บอกว่า “ไม่มีการซ้อมอะไรจะดีเท่าขี่ขึ้นเขา” และแลนซ์ อาร์มสตอรง ที่วัดขีดความสามารถของตัวเองด้วยการขี่ขึ้นเขาโคล เดอ ลา มาโดน ถ้าทำเวลาที่ภูเขามาโดนได้ดีนั่นหมายถึง แลนซ์ พร้อมแล้วที่จะเป็นแชมป์อีกสมัย
ถ้าไปข้างนอกไม่ได้ ให้ขี่ในบ้าน : คุณทำได้ทั้งด้วยจักรยานฟิตเนสที่ได้มาตรฐานหน่อย อาจต้องลงทุนเท่า ๆ กับจักรยานจริงแต่ก็คุ้ม ในจักรยานฟิตเนสดี ๆ จะมีอุปกรณ์และเครื่องวัดให้คุณพร้อม ทั้งปริมาณแคลอรี่ อัตราชีพจร วัดเปอร์เซ็นต์ไขมัน ระยะทาง ความเร็ว มีหมด หรือจะใช้ขาจับ (เทรนเนอร์) ยึดล้อหลังจักรยานคันเก่งของคุณก็ได้ ตารางการซ้อมทั้งแบบอินเตอร์วัลและขึ้นเขามีให้ดาวน์โหลดในเน็ตเกี่ยวกับจักรยานอยู่แล้ว การได้ปั่นเหงื่อตกบนจักรยานฟิตเนสหรือเทรนเนอร์สัก 40 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมง ช่วยคุณได้มากในด้านกำลังขา การเร่งฝีเท้าสปรินต์และความแข็งแกร่งตอนขึ้นที่ชันขอเพียงคุณมีเวลาและจัดสภาพแวดล้อมให้ดีไม่น่าเบื่อ การซ้อมในร่มจะช่วยได้มหาศาล แม้แต่นักจักรยานระดับโปรในแกรนด์ทัวร์ยังต้องปั่นเทรนเนอร์ก่อนแข่ง และถ้าเทรนเนอร์ไม่ดีจริงคงไม่มีการพัฒนาซอฟต์แวร์และสร้างเทรนเนอร์ขายกันถึงทุกวันนี้
ทั้งหมดคือการซ้อมเมื่อคุณบริหารเวลาได้ เมื่อจัดแบ่งเวลาได้ มีวินัยกับตัวเองคุณก็มีเวลาซ้อมด้วยเป้าหมายหลักว่าต้องขี่ให้ไกลให้ได้ ถ้าคุณมีจิตใจมุ่งมั่นแล้วคำว่า “ไม่มีเวลา” จึงไม่ใช่ทางเลือกเพราะถ้าเอาเวลาไปเที่ยวเตร่ดูหนังฟังเพลงหรือเฮฮากับเพื่อนฝูงได้ คุณก็น่าจะแบ่งเวลามาใช้กับจักรยานได้เหมือนกัน ขึ้นอยู่แต่ว่าจะ “ทำ” หรือ “ไม่ทำ” เท่านั้น แล้วคุณเล่าจะเป็นคนแบบไหน มีหรือไม่มีเวลาก็เลือกเอาถ้าโจทย์คือระยะทางไกล ๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)